https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การพัฒนาองค์การ MUSLIMTHAIPOST

 

การพัฒนาองค์การ


533 ผู้ชม


การพัฒนาองค์การ




    

การพัฒนาองค์การ

               

 วิธีการพัฒนานักบริหารวิธีหนึ่งซึ่งครอบคลุมคาบเกี่ยวกับหลายวิธีนั้นโดยมากมักจะมีการศึกษาในแง่ของการพัฒนาองค์การ (organization development) ซึ่งมุ่งพยายามที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนโครงสร้างขององค์การและวิธีปฏิบัติทางการบริหารต่างๆ เพื่อเสริมสร้างให้เกิดผลงานที่ดีขึ้น ในการจัดทำพัฒนาองค์กรนั้นมีปัจจัยต่างๆ จำนวนมากที่เกี่ยวข้องอยู่เสมอด้วย และลักษณะส่วนใหญ่มักจะดำเนินการเหมือนกันตามขั้นตอนดังนี้ คือ

1. จุดมุ่งของการพัฒนาจะอยู่ที่องค์การทั้งหมดเป็นสำคัญ โดยมิใช่การมุ่งที่ตัวบุคคล หรือกลุ่มย่อยขนาดต่างๆ

2. วิธีการอบรมมักจะใช้วิธีการร่วมถกปัญหาต่างๆ หรือพยายามมุ่งจัดทีมงาน การพยายามมุ่งฝึกหัดให้มีการจัดทีมงานให้ดี หรือการใช้วิธีการประชุมเผชิญหน้ากันอย่างเปิดเผย และให้มีประสบการณ์ในเรื่องของการขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ดังนั้น จะเห็นได้ว่าวิธีการที่ใช้ที่นี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการให้มีการเรียนรู้จากประสบการณ์

3. โดยปกติมักจะมีการใช้ผู้ชำนาญการที่เป็นที่ปรึกษาจากภายนอก หรือใช้สื่อแห่งการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อที่จะเอื้ออำนวยและประสานในกระบวนการพัฒนาองค์การหรือเป็นผู้กำกับการให้สามารถสรุปผลที่เกิดขึ้นได้

การจัดทำพัฒนาองค์การนั้นมักจะมีลำดับแต่ละขั้นดังนี้ คือ

 

1. การวิเคราะห์เบื้องต้น

     ในขั้นแรกนี้คือ การมีที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาปัญหาที่อาจจะมีอยู่ในองค์การ

 

2. การเก็บข้อมูล

     ภายหลังจากการได้มีการวิเคราะห์ปัญหาองค์การแล้วที่ปรึกษาก็จะออกไปสำรวจในจุดต่างๆ อย่างลึกซึ้ง เพื่อค้นหาลักษณะของปัญหาและแนวทางที่อาจจะแก้ไขได้

 

3. การให้เรื่องราวข้อมูลย้อนกลับและการจัดให้มีการประชุมกัน

     ที่ปรึกษาจะนำเอาเรื่องที่ได้ค้นพบนั้นป้อนกลับไปยังกลุ่มต่างๆ และกำหนดลำดับก่อนหลังของสิ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลง

 

4. การวางแผนและการแก้ไขปัญหา

     การแก้ปัญหาจะเริ่มกับกลุ่มต่างๆ โดยแต่ละกลุ่มจะเลือกวิธีและหนทางในการแก้ปัญหาของตนที่จะให้ได้คำตอบออกมา

 

5. การสร้างทีมงาน

     ที่ปรึกษาจะใช้วิธีการให้แสดงบทบาทหรือวิธี sensitivity training หรือการใช้เกมบริหารเพื่อที่จะเสริมให้กลุ่มแก้ปัญหาร่วมกันได้มากขึ้น ในรูปแบบที่จะเป็นลักษณะเป็นทีม

 

6. การพัฒนาระหว่างกลุ่ม

   ที่ปรึกษาจะพยายามพัฒนาให้มีความกลมเกลียวกันในระหว่างทีมงานหลายๆ กลุ่ม เพื่อที่จะให้เป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นที่มีการประสานงานระหว่างทีมงานต่างๆ

 

7. การติดตามผลและการประเมินผล

     ในขั้นสุดท้ายนี้ที่ปรึกษาจะทำการวิเคราะห์สรุปผลเพื่อประเมินผลเทียบกับเป้าหมายของการพัฒนาองค์การที่ได้ตั้งไว้

 

 

ที่มา: การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (ฉบับปรับปรุงใหม่ พิมพ์ครั้งที่ 11 ) โดย รศ.ธงชัย สันติวงษ์

อัพเดทล่าสุด