https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
7 วิธีการดำเนินการตัดสินใจ MUSLIMTHAIPOST

 

7 วิธีการดำเนินการตัดสินใจ


555 ผู้ชม


7 วิธีการดำเนินการตัดสินใจ




7 วิธีการดำเนินการตัดสินใจ เป็นชุดขั้นตอนสำหรับการตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีความชอบธรรมของการตกลงเห็นพ้องของกลุ่ม โดยให้ทุกคนเข้ามามีบทบาท ซึ่งหมายถึงต้องกำหนดวิธีการตัดสินใจขึ้นมา
       
       คาร์พูล (Car-pool)
       
        รู้จักกันในแง่ของการตัดสินใจเป็นเอกฉันท์ วิธีนี้มีลักษณะของการขอข้อมูลความคิดเห็นจากทุกคน แล้วทำให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน ปัจจุบันนี้ผู้จัดการนับล้านเรียกตัวเองว่า นักสร้างความเป็นเอกฉันท์ เพราะคำเรียกทำให้พวกเขาฟังแล้วดูเป็นคนดี ไม่ใช่พวกชอบใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และเมื่อบรรลุถึงการตัดสินใจที่เป็นเอกฉันท์แล้ว ทุกคนก็ยังคุยกันได้ ซึ่งจัดว่าดี แต่การจะได้รับความเห้นพ้องเป็นเอกฉันท์นั้น ต้องแลกมาด้วยความคิดเห็นของทุกคนถูกกลบกลืน ผนวกรวมความคิดเห็นคัดค้านทั้งหมด
       
        ซึ่งตามธรรมดาแล้วความเห็นเป็นเอกฉันท์มักจะมีการประนีประนอมผ่อนปรนอย่างมหาศาล และท้ายสุดก็จะให้ผลลัพธ์ในระดับดีปานกลางเท่านั้น และกว่าจะมีการตัดสินเป็นเอกฉันท์ได้ก็ต้องใช้เวลานาน ซึ่งแท้จริงแล้วเมื่อคนส่วนใหญ่บอกว่าต้องการความเห็นเป็นเอกฉันท์นั้น พวกเขากำลังปล่อยให้ผู้มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจไป แบบมีการปรึกษาหารือ
       
       บาย-อิน (Buy-in)
       
        เป็นที่รู้จักกันในนามของผู้มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจ โดยมีการปรึกษาหารือ วิธีก็คือ ผู้นำตัดสินใจภายหลังมีการปรึกษาหารือร่วมกันกับสมาชิกคนอื่นๆ ของทีม และขอความคิดเห็นของคนเหล่านั้นแล้ว ภายหลังได้ยินได้ฟังมากพอจะสามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลพอ คนเป็นผู้นำก็จะยุติการปรึกษาหารือนั่น แล้วตัดสินใจออกมา
       
        จากนั้นก็จะกลับไปหาสมาชิกของทีมทุกคน แล้วบอกให้ทุกคนรู้ว่า ข้อมูลความคิดเห็นต่างๆ ที่พวกเขาป้อนเข้ามานั้น มีผลต่อการตัดสินใจอย่างไร วิธีการแบบบาย-อินนี้ ให้ความชัดเจน รวมไปถึงการมีภาระรับผิดชอบ ทุกคนต่างรู้สึกว่าได้แสดงความคิดเห็นของตัวเอง
       
       ทอป-ดาวน์ (Top-down)
       
        รู้จักกันในอีกลักษณะหนึ่งว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจโดยไม่มีการปรึกษาหารือ การตัดสินใจในลักษณะนี้ผู้นำจะแค่บอกว่า "เรื่องนี้จะเป็นแบบนี้นะ... แบบนั้นนะ" นี่เป็นระบบปกครองโดยผู้มีอำนาจเพียงคนเดียว ซึ่งเมื่อมีการตัดสินใจจากเบื้องบนในองค์กรแล้ว ก็จะกระจายการตัดสินใจนั้น ลงมาสู่คนทำงานข้างล่าง มีทางเลือกอยู่สองอย่างคือ ยอมรับการตัดสินใจนี้ หรือมิฉะนั้นก็เดือดร้อน ไม่มีการเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจนี้ เพราะฉะนั้นอย่าเสแสร้งแกล้งทำเป็นขอความคิดเห็นของใครเลย
       
        แต่วิธีแบบเผด็จการนี้ใช้ได้ผลดีในงานด้านบริหาร แต่ถ้าเป็นลักษณะเชิงการเมืองแล้ว นี่เป็นวิธีที่ไม่ดีนัก เนื่องจากลักษณะงานเชิงการเมืองนั้น ความคิดเห็นของคนอื่นๆ มีความสำคัญ และวิธีนี้บั่นทอนความกระตือรือร้น และความรู้สึกผูกพันตนเองของทีมงาน ซึ่งความไม่พอใจและไม่เห็นด้วยสามารถจะนำไปสู่ความเสื่อมถอยของกลุ่มได้
       
        (แต่ถ้าหากคุณคือ ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จที่ออกกฎใดๆ ขึ้นมาแล้ว ใครก็ตั้งข้อกังขาใดๆ ไม่ได้ อาจจะมีตัวแปรซึ่งเป็นคนที่ใหญ่กว่าคุณแทรกตัวเข้ามา ถ้าหากคุณเป็นผู้นำแล้วจะใช้วิธีนี้ตัดสินใจในช่วง 100 วันแรก เราไม่ขอแนะนำ เพราะเมื่อใดก็ตามที่ผู้นำกลุ่มพยายามยัดเยียดหรือสร้างภาพให้สมาชิกของทีมงานคิดว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้ของพวกเขา มีผลกระทบต่อการตัดสินใจที่ได้ เมื่อนั้นความไว้ใจในหมู่ทีมงานจะหมิ่นเหม่เสี่ยงต่อการสูญเสียที่สุด)
       
       โหวต-อัป (Vote-up)
       
        รู้จักกันในแง่ของการตัดสินใจด้วยเสียงข้างมาก ซึ่งมีลักษณะของประชาธิปไตย ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายชนะ ในขณะที่เสียงส่วนน้อยพ่ายแพ้ เป็นวิธีการตัดสินใจที่รวดเร็ว โปร่งใส สามารถสยบความไม่เห็นด้วยให้ลดน้อยลงได้
       
        วิธีการตัดสินใจแบบโหวต-อัปนี้ ใช้ได้ผลดีเมื่อไม่มีเวลาพอจะรอการตัดสินใจเป็นเอกฉันท์ หรือการตัดสินใจนั้นไม่สำคัญถึงขนาดต้องเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ทุกคนในทีมต้องเห็นด้วยทั้งหมด และการตัดสินใจนั้นไม่ได้สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อการนำแผนไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ
       
        แต่วิธีการแบบโหวต-อัปนั้นก็มีจุดอ่อนอยู่ตรงที่ ทำให้เสียงส่วนน้อยไม่มีความสุข และในเวลาต่อมาเสียงส่วนน้อยนี้ก็อาจพยายามโค่นล้มการตัดสินใจที่ออกไปแล้วให้คว่ำไป
       
       อิน-กรุ๊ป (In-group)
       
        หรือวิธีการตัดสินใจด้วยเสียงข้างน้อย วิธีนี้คือมีกลุ่มย่อยในกลุ่มใหญ่ออกไปรวบรวมข้อมูล แล้วทำการเสนอแนะการตัดสินใจส่งกลับไปให้กลุ่มใหญ่กว่า พร้อมกับคาดหวังว่า กลุ่มใหญ่จะยอมรับข้อเสนอแนะนี้ โดยที่ระบบไม่เหมาะสำหรับการตัดสินใจแบบบาย-อิน และการผูกพันคนในวงกว้างให้มาตัดสินใจร่วมกัน
       
        แต่การไม่ได้รับความเห็นจากทุกคนในทีม แม้แต่คนที่มีประสบการณ์ด้อยกว่า จึงทำให้วิธีการแบบอิน-กรุ๊ปนี้ มองข้ามปัญหาสำคัญบางอย่างไปโดยไม่ได้แก้ไข ความขัดแย้ง กับการโต้เถียงคัดค้าน จึงกลายเป็นปัญหาสร้างความแตกแยก ทำลายประสิทธิผลในการทำงานของกลุ่มได้ในอนาคต
       
       เซ็นเตอร์-สทริป (Center-strip)
       
        หรืออีกนัยหนึ่งคือ วิธีการตัดสินใจแบบใช้มาตรฐานเฉลี่ย วิธีก็คือ คุณหาจุดกลางของไอเดียต่างๆ ทางสายกลางเป็นคำตอบที่เหมาะที่สุดเสมอ แต่ตามปกตินั้น ผลที่ได้มักไม่ทำให้ใครมีความสุขเป็นพิเศษเลยแม้แต่คนเดียว แม้แต่คนที่ยึดทางสายกลางที่สุดในกลุ่มก็ตาม เพราะนี่คือการเลือกที่จะส่งปัญหาตามมาอีกมากมาย
       
       เอาต์ไซด์-รูล (Outside-rule)
       
        โดยรู้จักอีกชื่อหนึ่งว่า การตัดสินใจโดยที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ วิธีคือคุณไปจ้างใครสักคนจากภายนอกมาบอกสิ่งที่คุณเองก็รู้อยู่แล้ว แล้วก็เรียกเก็บเงินค่าคำแนะนำที่พวกเขาให้คุณ วิธีการใช้ผู้เชี่ยวชาญนี้ดีเยี่ยมสำหรับปกป้องตัวเอง เพราะ "ไม่มีใครถูกไล่ออกเพราะไปจ้างไอบีเอ็ม (ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ)" แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ถ้าตัวคุณเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่คุณจ้างเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง?
       
        ทั้ง 7 วิธีการนี้ คุณจะเลือกวิธีการตัดสินใจแบบไหนเป็นหลัก? ขอให้เลือกลักษณะการตัดสินใจที่กลุ่มของคุณใช้กันบ่อยที่สุด หากทีมงานของคุณเป็นทีมด้านนำแผนไปปฏิบัติ ก็ขอให้ใช้วิธีการแบบผู้มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจแบบใดแบบหนึ่งที่กล่าวไปแล้ว เพราะช่วยประหยัดเวลากับให้ความชัดเจน
       
        แต่ถ้าทีมงานของคุณมักจะเกี่ยวข้องกับการดำเนินนโยบาย หรือมีลักษณะของการพิจารณา "ทางการเมือง" ลักษณะใดก็ตาม ขั้นตอนการตัดสินใจจะต้องช้าลง และให้ทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นออกมา
       
       ระวังกระแสนิยม
       
        ถึงแม้วิธีการตัดสินใจทางธุรกิจที่เป็นกระแสนิยมนั้น มักจะเอนเอียงไปในด้านของวิธีใดวิธีหนี่งที่กล่าวมาใน 7 วิธี แต่ถ้าเป็นบทความในนิตยสาร วธีที่ฟังแล้ว "ดูดี" ก็มักจะเป็นวิธีการตามแบบประชาธิปไตย เสียงส่วนใหญ่เป็นฝ่ายชนะ กับวิธีการความเห็นเป็นเอกฉันท์ ทว่าจริงๆ แล้วไม่มีวิธีการใดเรียกได้ว่า ถูกหรือผิดสำหรับตัดสินใจ
       
        จุดสำคัญอยู่ตรงที่ ทุกคนในกลุ่มต้องเข้าใจล่วงหน้าว่า วิธีการตัดสินใจที่จะใช้นั้นคืออะไร เพราะสิ่งเลวร้ายที่สุดที่คนเป็นผู้นำสามารถจะทำได้คือ ทำให้คนในกลุ่มต้องเจอกับสิ่งที่ตัวเองไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อน
       
        แล้วถ้าได้รับการสนับสนุนล่วงหน้า ไม่ว่าคุณจะเลือกใช้วิธีใดตัดสินใจ ก็ย่อมจะเป็นวิธีที่เหมาะสมทั้งสิ้น
       
       จากหนังสือ "The Accidental Leader : What to do when you''re suddenly in charge" หรือ "ผู้นำบุญหล่นทับ" โดย ฮาร์วีย์ รอบบินส์ และ ไมเคิล ฟินเลย์ แปลและเรียบเรียงโดย ศิระ โอภาสพงษ์ สำนักพิมพ์ เอ.อาร์. บิซิเนส เพรส

แหล่งข้อมูล : หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

อัพเดทล่าสุด