https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มาทำให้ผู้สมัครงานประทับใจกันเถอะ MUSLIMTHAIPOST

 

มาทำให้ผู้สมัครงานประทับใจกันเถอะ


651 ผู้ชม


มาทำให้ผู้สมัครงานประทับใจกันเถอะ




การทำให้ผู้สมัครงานประทับใจกับกระบวนการสรรหาคัดเลือกของบริษัทถือเป็นการสร้างฐานผู้สมัครงานจากการบอกต่อที่ดีมาก และมันก็ช่วยป้องกันข่าวลือเสียๆ หายๆ เกี่ยวกับบริษัทจากผู้สมัครงานที่มีประสบการณ์ที่ไม่ดีในการสมัครงานกับเราด้วย
ซึ่งการกระทำต่างๆ ของฝ่าย HR/ Recruiter ที่ทำให้ผู้สมัครงานหงุดหงิดไม่ประทับใจ ที่พวกเราชาว recruiter จะได้ระมัดระวังการกระทำของเราให้มากขึ้นนั้นก็ได้แก่
1. การให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือให้ด้วยท่าทีไม่เต็มใจ (บางครั้งก็กึ่งรำคาญ) อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ recruiter มือใหม่ที่มักตอบทุกคำถามของผู้สมัครงานว่า “นี่เป็นขั้นตอนการรับสมัครพนักงานของเราค่ะ เราไม่สามารถข้ามขั้นตอนได้” หรือไม่ก็ตอบว่า “ไม่ทราบค่ะ” ยันเต ก็ทำให้ผู้หางานเปลี่ยนใจไม่มาสมัครงานกับบริษัทของคุณก็เป็นได้
2. ต้องผ่านกระบวนการสัมภาษณ์หลายครั้ง ยิ่งกว่าจำเลยที่ต้องไปขึ้นทั้งสามศาล (ไม่นับรวมตอนที่สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์อีกร่วมครึ่งชั่วโมง)
3. ผู้สัมภาษณ์ทำให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขาเหมาะสมกับตำแหน่งนั้น แต่สุดท้ายก็เงียบหายแถมไม่มีการติดต่อหรือแจ้งให้ทราบว่าทางบริษัทมีการตัดสินใจหรือรับผู้สมัครคนอื่นไปแล้ว
4. ผู้สัมภาษณ์ไม่มีการเตรียมตัวมาล่วงหน้า เรียกว่าเพิ่งอ่าน resume ของเขาให้เห็นกันซึ่งๆ หน้า และตั้งคำถามไร้สาระประเภท “ทำไมคุณถึงมาสมัครงานกับเรา?” ทั้งๆ ที่ผู้สมัครงานคนนั้นไม่ได้มาสมัครงานเอง แต่เป็นคนที่บริษัทคุณจ้าง Executive Search Firm ให้ไปหามา
5. ระบบการกรอกใบสมัครงานแบบออนไลน์ที่ไม่สมประกอบ ประเภทกรอกข้อมูลเป็นนานสองนานแต่พอกดปุ่มตกลงเพื่อให้ระบบบันทึกข้อมูลของผู้สมัคร ระบบก็ล่มไปซะดื้อๆ เป็นประจำ
6. ต้องลางานเพื่อไปสัมภาษณ์งานกับบริษัทเดียว 2 – 3 วัน แต่สุดท้ายก็เงียบหาย เพราะบริษัทเจ้ากรรมไม่ส่งข่าวมาเลยว่าผลการสัมภาษณ์เป็นอย่างไรบ้าง
7. ไม่มีการบอกให้ทราบล่วงหน้า (หรือถึงถามคนที่ติดต่อมานัดให้ไปสัมภาษณ์ก็ตอบคำถามไม่ได้) ว่าจะต้องไปรับการสัมภาษณ์จากใคร ใช้เวลานานเท่าไหร่ มีการทดสอบอะไรไหม และเมื่อไปถึงที่บริษัทนั้นตามเวลา ก็ต้องนั่งเงกคอยผู้สัมภาษณ์ที่ติดประชุมหรือธุระอื่นอีกร่วมชั่วโมง พร้อมกับมองนาฬิกาตัวเองเป็นระยะๆ ด้วยความรู้สึกไม่อยากทำงานกับบริษัทนั้นมากขึ้นทุกทีๆ
ผู้สมัครงานมักนำเอาพฤติกรรมลักษณะนี้ของฝ่าย HR / recruiter ไปบอกต่อกันปากต่อปาก ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อบริษัทของคุณเลย และยิ่งไม่ส่งผลดีต่อการทำงานของ Recruiter ด้วย เพราะมันอาจทำให้คนที่เหมาะสมกับบริษัทของคุณไม่มาสมัครงานกับคุณก็ได้
ที่มา : bloggang.com

อัพเดทล่าสุด