https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิธีเตรียมตัวหลังตกงานปุบปับ! MUSLIMTHAIPOST

 

วิธีเตรียมตัวหลังตกงานปุบปับ!


754 ผู้ชม


วิธีเตรียมตัวหลังตกงานปุบปับ!




 วิธีเตรียมตัวหลังตกงานปุบปับ!
วิธีเตรียมตัวหลังตกงานปุบปับ!
วิธีเตรียมตัวหลังตกงานปุบปับ!
วิธีเตรียมตัวหลังตกงานปุบปับ!
       เมื่อมนุษย์เงินเดือนที่ส่งเงินประกันสังคมทุกๆ เดือนตกงานปุบปับ รู้หรือไม่ว่าควรทำอย่างไร เราหาคำตอบมาให้แล้ว...! หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิรับเงินประกันสังคมคือ ต้องจ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงาน แต่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น รวมถึงต้องรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง และต้องไม่ถูกเลิกจ้างในกรณีที่กำหนดไว้ โดยจะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 นับแต่วันว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย
       
       สำหรับขั้นตอนและวิธีการขอรับประโยชน์ทดแทน
       
       1. ต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักจัดหางาน กรมการจัดหางาน (แถวสนามหลวง)
       
       2. กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วย บัตรประชาชน และรูปถ่าย 1 นิ้ว 1 ใบ (แนะนำว่าขอรูปแบบดูดี ภูมิฐานเพื่อจะได้สะดุดตาผู้ว่าจ้างคนใหม่)
       
       3. กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้
       
       -หนังสือรับรองการออกจากงาน หรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส 6-09) หรือหนังสือหรือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน
       
       -สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารประเภทออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชี
       
       -เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการสัมภาษณ์/ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน
       
       4.เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานทำการเลือกตำแหน่งงานว่างให้เลือก 3 แห่ง ให้ผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้พิจารณา
       
       5. หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธงานหรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้และไม่ไปรายงานตัวตามที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที
       
       6. เจ้าหน้าที่จะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง
       
       7.เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมดึงข้อมูลผู้ประกันตนกรณีว่างงานขึ้นมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ
       
       8. เมื่อคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้งผ่าน 8 ธนาคาร ปล.แนะนำเพิ่มอีกนิดว่า ถ้าเขานัดวันไหนไปก่อนวันนัดได้จะดี ข้อสำคัญห้ามชะล่าใจปล่อยจนลืมวันนัดหมาย เพราะคุณอาจจะไม่ได้เงินชดเชยแม้แต่เก๊เดียว
       
       ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://www.sso.go.th หรือโทรศัพท์สายด่วน 1506
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
 

อัพเดทล่าสุด