https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สิงคโปร์ โหมนำเข้าแรงงานหัวกะทิ เร่งสร้าง "Talent Capital" ดัน ศก MUSLIMTHAIPOST

 

สิงคโปร์ โหมนำเข้าแรงงานหัวกะทิ เร่งสร้าง "Talent Capital" ดัน ศก


784 ผู้ชม


สิงคโปร์ โหมนำเข้าแรงงานหัวกะทิ เร่งสร้าง "Talent Capital" ดัน ศก




สิงคโปร์ โหมนำเข้าแรงงานหัวกะทิ เร่งสร้าง "Talent Capital" ดัน ศก

ต้องยอมรับว่า ประเทศเล็กๆที่มีประชากรเพียงประมาณ 5 ล้านคนอย่าง สิงคโปร์ แต่กลับสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
เว็บไซต์ atimes.com รายงานว่า รัฐบาลสิงคโปร์พยายามทุกๆ ทางเพื่อ จะรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจเอาไว้ ซึ่งก็รวมถึงการสร้าง ความเปลี่ยนแปลงด้านประชากร เพื่อรองรับ การเติบโตทางเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง โดยการนำเข้าแรงงาน มากความสามารถจากต่างชาติ
แต่ทว่าแนวทางดังกล่าวก็นำมาซึ่งความเสี่ยงทางการเมือง เนื่องจากประชาชน ชาวสิงคโปร์แท้ๆ ไม่เห็นด้วยกับการ ไหลบ่าเข้ามาของชาวต่างชาติที่เข้ามาแย่งงานดีๆ รายได้สูงๆ ในบ้านของตัวเอง
ปัจจุบัน ประชากรทุกๆ 1 ใน 5 ที่อาศัยในสิงคโปร์เป็นชาวต่างชาติ และทุกๆ 6 ใน 10 ของงานใหม่ในปีที่แล้ว ตกเป็นของผู้ที่โอนสัญชาติมาเป็นสิงคโปร์ ขณะที่ตัวเลขของชาวต่างชาติที่ขอยื่น เป็นพลเมืองสิงคโปร์ในปี 2550 อยู่ที่ 14,000 ราย เนื่องจากรัฐบาลลอดช่อง ได้ปูพรมแดงให้กับชาวต่างชาติที่มีการศึกษาดี มีความทะเยอทะยาน และอยากร่ำรวยเพื่อให้เข้ามาทำงาน และอาศัยในสิงคโปร์อย่างถาวร
การที่รัฐบาลสิงคโปร์พยายามนำเข้าบุคลากรระดับหัวกะทิ ก็เพราะต้องการสร้าง "ทุนความสามารถ" (talent capital) ให้รองรับกับความทะเยอทะยานทางเศรษฐกิจใหม่ที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม การวิจัยที่ทันสมัย การตลาดแบบเฉพาะกลุ่ม (niche) และทุนนิยมเทคโนโลยี ซึ่งเปรียบเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจเติบโตในระยะยาว และเป็นความสำเร็จของชาติ
น่าสนใจว่า สิงคโปร์ถือเป็นผู้เล่นสำคัญในธุรกิจการเงินโลก โดยกองทุนเพื่อความมั่งคั่งแห่งชาติ (sovereign wealth funds) ของสิงคโปร์ได้ใช้เงินที่มีอยู่มหาศาลเข้าไปกว้านซื้อหุ้นในสถาบันการเงินชั้นนำของโลกหลายแห่ง ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของธุรกิจการเงินโลก
นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังตั้งเป้าที่จะเป็นฮับด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ไบโอเมดิคัล และอุตสาหกรรมพลังงานทางเลือก
ซึ่งแน่นอนว่า การจะผลักดันให้สิงคโปร์เติบโตอย่างยั่งยืน และได้ประโยชน์จากอุตสาหกรรมไฮเอนด์ดังกล่าวจำเป็นต้องพึ่งพาทรัพยากรมนุษย์ แต่แนวโน้มด้านประชากรของสิงคโปร์กลับไม่ได้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศมากนัก
เพราะแรงงานชาวสิงคโปร์มีจำนวนไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เนื่องจากสิงคโปร์กำลังประสบภาวะอัตราการเกิดของทารกต่ำ แม้อัตราการเกิดของทารกในปีที่แล้วจะอยู่ที่ 1.29 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 1.24 ในปี 2547 จากการกระตุ้นให้คู่แต่งงานมีบุตรมากขึ้น แต่สิงคโปร์ก็ยังไม่พ้นปัญหาอัตราการขยายตัวของประชากรที่ลดลง
ภาครัฐจึงพยายามเสาะหาวิธีรับมือกับเรื่องดังกล่าว โดยได้เพิ่มความพยายาม มากขึ้นในการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีความสามารถเข้ามาเติมเต็มความต้องการของภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ ชาวสิงคโปร์มีลูกเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันอัตราการตอบรับของชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2549 มีชาวต่างชาติที่ได้รับสิทธิเป็นพลเมืองของสิงคโปร์อยู่ที่ 13,200 คน เพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาที่ 7,000 คน
แต่เมื่อมีชาวต่างชาติเข้ามาอยู่ในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เริ่มสร้างความกังวลให้กับคนสิงคโปร์แท้ๆ โดยจาก ผลสำรวจของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นในปีที่แล้วพบว่า คนสิงคโปร์ 9 ใน 10 กังวลว่าจะสูญเสียหน้าที่การงานให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ จากต่างประเทศ และไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลเอาอกเอาใจให้ชาวต่างชาติเข้ามา ทำมาหากินในบ้านเพิ่มขึ้น ขณะที่อีก 43% เห็นว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับแรงงานต่างชาติมากกว่าประชาชนของตัวเอง
นอกจากนี้ การหลั่งไหลเข้ามาของ ชาวต่างชาติยังเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์ พุ่งพรวดประมาณ 31.2% ในช่วงต้นปี ถึงกลางปี 2550 ส่วนบริษัทนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ 2 รายให้ข้อมูล สอดคล้องกันว่า ในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2550 ราคาอพาร์ตเมนต์ใน 3 ทำเลทองเพิ่มขึ้นกว่า 10%
อย่างไรก็ตาม แม้กระแสความไม่พอใจในหมู่ชาวสิงคโปร์จะขยายวงมากขึ้น แต่ "หม่า โบ ตัน" จากกระทรวงพัฒนา แห่งชาติประเมินว่า สิงคโปร์จำเป็นต้องพึ่งพาแรงงานอีกราว 1.5 ล้านคนในอีก 50 ปีข้างหน้า เพื่อให้จำนวนประชากรอยู่ที่ 6.5 ล้านคน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพียงพอ ต่อการสร้างความยั่งยืนและสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้าน mangalorean.com ระบุว่า รัฐบาลสิงคโปร์พยายามกระตุ้นอัตรา การเกิด ทั้งการให้สิทธิพิเศษด้านภาษี และมาตรการอื่นๆ ซึ่งมีมูลค่าราว 1.1 พันล้านดอลลาร์ รวมทั้งสร้างบรรยากาศเป็นมิตรต่อครอบครัว (family-friendly) ให้เกิดขึ้นในสังคมสิงคโปร์ เพราะหากปล่อยเช่นนี้อาจจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคต
มาตรการกระตุ้นอัตราการเกิด อาทิ ครอบครัวสามารถขอคืนภาษีสำหรับเด็กได้ราว 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือ 2,875 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 2,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ รวมทั้งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ 50,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ต่อปี และได้รับเงินสดค่า "เบบี้ โบนัส" สำหรับลูกคนแรกและคนที่ 2 เป็น 4,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ เพิ่มจากเดิม 3,000 ดอลลาร์สิงคโปร์
ขณะที่ 25% ของจำนวนประชากร ในสิงคโปร์ที่มีราว 4.6 ล้านคนเป็นชาวต่างชาติ และรัฐบาลพยายามจะกระตุ้นให้คนเหล่านี้เข้ามายังสิงคโปร์มากขึ้น
หน้า 15

ที่มา : หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ

อัพเดทล่าสุด