https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทุกคนคือบันไดสู่ความสำเร็จอย่างนั้นหรือ ? MUSLIMTHAIPOST

 

ทุกคนคือบันไดสู่ความสำเร็จอย่างนั้นหรือ ?


721 ผู้ชม


ทุกคนคือบันไดสู่ความสำเร็จอย่างนั้นหรือ ?




คอลัมน์ HR ccorner
โดย คม สุวรรณพิมล Komsuwanpimon@yahoo.com
"ถ้าไม่ข้ามหัวคนอื่น จะสำเร็จได้อย่างไร"
ความคิดที่ฝังอยู่ในหัวของคนทำงานยุคใหม่หลายๆ คน ซึ่งคนยุคใหม่จะสร้างแนวคิดและหลักการสู่ความสำเร็จแบบใหม่ๆ ตามสมัยดิจิทัล คือ ทุกอย่างต้องรวดเร็ว ฉับไว แม่นยำ สร้างสรรค์ ดังนั้นถ้าใครมีคุณสมบัติเช่นนี้ก็ถือว่ามีคุณสมบัติในการกระโดดข้ามหัว คนอื่นๆ ได้
นับว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีของคนรุ่นใหม่ ที่แตกต่างกับคนเก่าๆ ไปพอสมควร ที่มักจะยึดติดปรัชญา ความซื่อสัตย์ ขยัน อดทน ซึ่งถ้าเอาปรัชญานี้มาใช้กับเด็กรุ่นใหม่ๆ อาจจะเป็นอะไรที่เชยมาก เพราะเขาคงไม่มีเวลารออะไรนาน ชีวิตคอมพิวเตอร์กับชีวิตจริงๆ แทบจะกลายเป็นสิ่งเดียวกันแล้ว
"คิดและทำเหมือนคอมพิวเตอร์"
"ความอดทน" ถูกแทนที่ด้วย "ความรวดเร็ว" "ความขยัน" ก็แทนที่ด้วย "ความแตกต่างและแปลกใหม่"
ส่วน "ความซื่อสัตย์" พักเก็บไว้ก่อนเพราะโลกทุกวันนี้เขาคุยกันด้วย "ผลประโยชน์"
แต่เหนือสิ่งอื่นใดของชีวิตวัยทำงานสมัยใหม่นี้ เรื่องที่ถูกละเลยมากที่สุด คือ "ความสัมพันธ์" เพราะความสัมพันธ์นั้นยึดหลักการที่ว่า ถ้าความสัมพันธ์นั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใดๆ ก็ไม่จำเป็นต้องยั่งยืน สาเหตุหลักๆ ก็มาจาก "ชีวิตคอมพิวเตอร์" ที่สิงอยู่ในร่างของเด็กยุคใหม่แทบทุกคนนั่นเอง
แบบฝึกหัดแรกของคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์เบื้องต้นก็มาจาก "คอมพิวเตอร์" ดังนั้นความสัมพันธ์ในรูปแบบนี้ก็จะฝังรากอยู่ในใจของเขาเหล่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์แบบนี้มันมีลักษณะฉาบฉวยไม่จีรังยั่งยืน มีผลประโยชน์แอบแฝงไม่เรื่องใดก็เรื่องหนึ่ง และที่สำคัญไม่จำเป็นต้องแคร์ความรู้สึกใดๆ ของคนอื่น
ซึ่งเมื่อเด็กรุ่นใหม่เติบโตขึ้นด้วยการเรียนรู้และฝึกฝนมาแบบนี้ เมื่อเขาเหล่านี้ก้าวสู่โลกแห่งความจริง เขาก็คิดว่าการสร้างความสัมพันธ์กับ "คนอื่น" ก็ต้องเป็นแบบนี้ด้วยเช่นกัน
เมื่อทุกคนต่างคิดและมารวมตัวกัน สังคมของคนรุ่นใหม่ก็มีสภาพที่ไม่แตกต่างกับโลกเสมือนจริงที่เขาสัมผัสกันมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งทำให้สังคมเดิมๆ ที่เคยใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมาช้านานเปลี่ยนไป !
และที่สำคัญ ความสำคัญของ "หัว" คนอื่นก็ลดน้อยถอยลง ปรัชญาความสำเร็จโดยใช้ "หัว" คนอื่นเป็นบันไดก็เรื่องที่จะปฏิบัติและแพร่หลายมากขึ้น
แต่ว่าปรัชญานี้มันถูกต้องในโลกปัจจุบันนี้แล้วหรือยัง ?
ที่จริงคำถามนี้มันแยกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ "ผิดหรือไม่ที่จะกระโดดข้ามหัวคนอื่น ?" และ "เราควรจะปฏิบัติต่อหัวคนอื่นแบบใด ?"
คำตอบแรกที่ว่าผิดหรือไม่ที่จะกระโดดข้ามหัวคนอื่น อันนี้ตอบได้ไม่ยากเลยว่า "ไม่ผิด" การที่เราจะก้าวหน้าเหนือคนอื่นๆ ยังไงก็ไม่ผิด แต่สิ่งที่จะทำให้เราผิด คือเราใช้วิธีอะไรในการก้าวข้ามเขาไป มันก็ง่ายๆ นะ มีอยู่แค่ 2 แบบ "กระโดดข้ามไป" หรือ "กดเขาลงมา" แล้วข้ามไป
วิธีกระโดด เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่เราจะข้าม เพราะมันคือ "พัฒนาการ" ที่สูงขึ้น เมื่อสูงขึ้นเราย่อมข้ามได้ วิธีนี้ไม่มีใครเจ็บตัว แต่มันได้สร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมได้
ส่วนวิธีกดให้ลงมา วิธีนี้เราสามารถข้ามผ่านไปได้ก็จริง แต่มันไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาเลย คุณก็ยังเก่งเท่าเดิม สังคมก็ยังเหมือนเดิม เพียงแต่ที่ข้ามได้เพราะคุณ "ทำให้เขาต่ำลง" วิธีนี้นอกจากไม่จีรังยั่งยืน ไม่ได้สร้างมิตรแล้ว กลับสร้างศัตรูเพิ่มขึ้นอีก
ส่วนอีกคำถามหนึ่งที่ว่า "เราควรปฏิบัติอย่างดีกับหัวของคนอื่น ?"
ก่อนตอบคำถามนี้ ผมขอถามก่อนนะว่า คุณว่าคนเราจะประสบความสำเร็จได้เพราะตัวเองเพียงคนเดียวหรือเปล่า ?
แน่นอนไม่ใช่แน่ๆ เราทุกคนไม่มีทางประสบความสำเร็จด้วยความสามารถของตัวเองเพียงคนเดียว ไม่ว่าคุณจะเก่งกาจมาจากไหนก็ตาม คุณก็ต้องการการสนับสนุน ช่วยเหลือจากคนอื่น ทั้งในแง่ของคนที่เหนือกว่า เท่ากัน และต่ำกว่า ดังนั้นถ้ารู้อย่างนี้คุณว่าเราควรจะปฏิบัติตัวกับเขาเช่นใดล่ะ เขาถึงจะมาช่วยเหลือคุณอย่างเต็มใจ คำตอบผมว่าคุณก็รู้อยู่แล้ว "ปฏิบัติต่อคนอื่นให้เหมือนกับที่คุณอยากให้เขาปฏิบัติต่อคุณ"
แต่สำหรับผมมีเคล็ดลับที่เพิ่มการสนับ สนุนให้มากขึ้นโดยการ "ปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างเช่นที่เขาต้องการให้เราปฏิบัติต่อเขา"
ถ้าคุณทำได้เช่นนี้ คุณจะได้ "ใจ" เขามาเต็มๆ ความช่วยเหลือและสนับสนุนที่คุณต้องการก็คงได้มาไม่ยากนัก
ถ้าคุณประสบความสำเร็จด้วยการเอาเปรียบคนอื่น เหยียบหัวคนอื่น วันหนึ่งคุณก็จะยืนอยู่บน "ยอดเขา" เพียงคนเดียว ไม่มีใครอยากอยู่เคียงข้างคุณสักคน มองลงไปก็เห็นคนอื่นอยู่ข้างล่าง ถึงเขาไม่ประสบความสำเร็จเช่นคุณ แต่เขาก็ดูมีความสุขดี และที่สำคัญดูแล้วมี "ความสุขมากกว่า" คุณเสียอีก
คุณอยากเป็นเช่นนั้นหรือ ?
หน้า 37

ที่มา : matichon.co.th

อัพเดทล่าสุด