WORLD HR CONGRESS 2008 MUSLIMTHAIPOST

 

WORLD HR CONGRESS 2008


540 ผู้ชม


WORLD HR CONGRESS 2008




ฉบับนี้ผมขอแบ่งปัน future trend ของ HR ในช่วง 3 ปีข้างหน้าในส่วนต้นเรื่องก่อนนะครับ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์กับพวกเราชาว HR ไม่มากก็น้อย ซึ่งจัดโดย World Federation of Personnel Management Association (WFPMA) และ Chartered Institute of Personnel and Development (CIPD)

มี HR จาก 76 ประเทศทั่วโลกในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา ในแถบเอเชียของเรา ก็มี สิงคโปร์ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และประเทศไทยของเรา ซึ่งมีไปกันราวๆ 10 คนครับ

ในความคิดเห็นของผมปีนี้ ทวีปแอฟริกามีคำถามเชิงรุกโดดเด่นเป็นพิเศษ และผมได้มีโอกาส เสนอข้อคิดเห็นในที่ประชุม โดยเสนอให้มีการแบ่งปันประสบการณ์ด้าน HR ในส่วนของทุกทวีปที่เข้ามาร่วมประชุม เพิ่มเติมในวาระของการสัมมนา

มิใช่แต่เชิญวิทยากรจากฝั่งอเมริกาและยุโรปเท่านั้น เพราะเป็นงานสัมมนาในระดับโลก จึงควรให้ความเท่าเทียมกันกับทุกประเทศทั่วโลก อันจะเป็นประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุดทั้งในเชิงลึกและกว้าง แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคน

ทั้งนี้มีจุดยืนที่ว่า แนวคิดงานด้าน HR เกิดขึ้นที่ใดก็ได้ไม่ว่าส่วนใดของโลก ปัญหา HR ที่แก้ได้ในซีกโลกหนึ่ง อาจยังไม่สามารถหาทางแก้ไขได้ในอีกซีกโลกหนึ่ง

ผมขอสรุปประเด็นความสนใจของ FUTURE TREND OF HR ดังนี้คือ งานของเราต้องให้ความสนใจ ที่จะต้องพัฒนาผู้บริหารให้มีภาวะผู้นำมากขึ้น (Leadership Development) ในฐานะผู้กุมชะตาของธุรกิจ

THINK GLOBAL เน้นบทบาทผู้นำ ที่ต้องค้นหาพนักงานที่มีความสามารถ และวางแผนบริหารจัดการบุคลากรกลุ่มนี้ให้ดี ในฐานะบุคลากรที่มีผลงานดี มีศักยภาพในการพัฒนาขึ้นมาทดแทนได้ในอนาคต (Talent Management)

โดยเน้นวิธีการสอนงาน (Coaching Technique) และคาดหวังว่ากลุ่มคนเหล่านี้ หรือเรียกว่า STAR ในอนาคต จะมาช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลง (Change Management) นำนวัตกรรมใหม่ๆ (Innovation) มามุ่งพัฒนาให้องค์กรมีขีดความสามารถมากยิ่งขึ้น (Organization capability Development) ที่สำคัญที่สุดต้องมุ่งที่จะสร้างบุคลากรให้มีความผูกพันกับบริษัท

อีกสิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตว่า HRTREND ในซีกโลกตะวันตก เริ่มหันไปสนใจการแสวงหาความรู้ ความจริงทางด้าน SOFT SKILL มากขึ้น กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับการบริหารภาวะอารมณ์ ความรู้สึก ความผูกพัน จิตใจ หรืออาจเรียกรวมๆ กันว่า “RE- EGERNIZING ORGANIZATION” หรือผลักดันการทำงานจากพลังภายในตัวของบุคคล พร้อมกันนี้ผมจะได้นำเข้า New Modern Management - Know how เข้ามา เพื่อแบ่งปันกับพวกเราชาว HR ในโอกาสที่เหมาะสมต่อไปนะครับ

สำหรับในประเด็นที่จะเสนอต่อไปนี้ เป็นประเด็นที่ผมพิจารณาแล้วเห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับคนทำงานในทุกสายวิชาชีพ และเพื่อให้มีความหลากหลายมากขึ้นในเนื้อหาสาระ จึงขอเสนอกรอบแนวคิดจากหนังสือที่ชื่อว่า “Why should the Boss listen to you” หรือ “ทำอย่างไรให้เจ้านายฟังเราบ้าง?” ของ James E. Lukaszewski CEO & CHAIRMAN of the Lukaszewski Group Inc. ร่วมกับการวิพากษ์ของผม มีแนวทางปฏิบัติที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

1.คุณต้องสร้างความไว้วางใจในตัวคุณ ในสายตาของเจ้านาย เป้าหมายที่สำคัญในข้อนี้ก็คือ การได้รับความไว้วางใจ ให้เป็นที่ปรึกษาของเจ้านายท่าน ในการร่วมตัดสินใจในเรื่องที่มีความเชี่ยวชาญ ในข้อนี้ผมมีความคิดเห็นสอดคล้อง แต่ขอขยายผลต่อยอดความคิดตรงที่ว่า ความไว้วางใจต้องมาจากผลงานที่มีคุณภาพและโดดเด่น มีผลกระทบในวงกว้าง และที่สำคัญต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งเจ้านาย และ key man ของธุรกิจ และถ้าเป็นไปได้กับเหล่าพนักงานโดยทั่วไปด้วยจะดีเยี่ยม

2.การมีวาทศิลป์ที่แสดงถึงวิสัยทัศน์อันสร้างสรรค์ สามารถสร้างแรงโน้มน้าวให้คล้อยตาม ในประเด็นนี้ผมขอวิพากษ์ในแง่ที่ว่า ช่วง Honey Moon Period สั้นมากๆ ดังนั้นหากเราให้คำมั่นไว้อย่างสวยหรู ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องทำให้คำพูดเหล่านั้นแปลงสู่ภาคปฏิบัติได้ด้วย มิฉะนั้นก็เป็นเรื่องไร้ค่า และทำลายความน่าเชื่อถือของเราเอง เป็นการเตือนตัวเราว่าพูดแล้วต้องทำให้ได้

3.พัฒนาตนเองไปสู่ผู้เชี่ยวชาญในแง่การจัดการ ซึ่งจะทำให้การนำเสนอในประเด็นต่างๆ มีความน่าเชื่อถือ เพราะถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ ประเด็นของผมในการวิพากษ์ ก็คือ ทำอย่างไรที่จะให้ตัวเรามีความเชี่ยวชาญในหลายๆ ด้าน มิใช่ด้านงานบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างเดียว จริงอยู่ที่ว่าโลกสมัยใหม่ เริ่มเน้นให้ผู้บริหารและบุคลากรทำงานในลักษณะผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น ตามความคิดเห็นของ Management Guru ชื่อดังคือ Peter Drucker แต่ก็มิได้มีขอบเขตว่าจะต้องเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ยิ่งเชี่ยวชาญมากด้าน ก็ยิ่งมีโอกาสสร้างผลงานได้มาก

4.ฝึกคิดในเชิงกลยุทธ์ให้มากๆ (Strategic Thinking) หรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือ การคิดในเชิงนวัตกรรมให้มาก มองทุกสิ่งให้มีมิติทางลึกและทางกว้าง ให้เป็นระบบให้มากขึ้น เป็นการมองไปข้างหน้าในเชิงรุก มิใช่จำเจกับการทำงานที่ซ้ำซากในแต่ละวัน (Routine Job)

การวิพากษ์ของผมในข้อนี้ก็คือ แม้เป็นงานที่เป็น Routine Job เราก็สามารถคิดเชิงกลยุทธ์ได้ เช่น การให้บริการงานด้านทรัพยากรบุคคล โดยทั่วไปก็ต้องกำหนดเป็น มาตรฐานงานบริการ (Service Standard) เราก็สามารถท้าทาย โดยยกระดับมาตรฐานการให้บริการสูงขึ้นอีก เพื่อให้ลูกค้าพอใจมากยิ่งขึ้น หรือพอใจเกินความคาดหวัง ซึ่งจะส่งผลกระทบให้กับ HR- KPI ในที่สุด

5.มีทักษะในการวิเคราะห์ที่ดี และสามารถทำนายผลลัพธ์ได้ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ สำหรับข้อนี้ผมขอวิพากษ์ว่า ผู้ที่จะมีทักษะการวิเคราะห์ที่ดี ต้องมีองค์ประกอบสำคัญ คือ ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้รอบตัวด้านธุรกิจเป็นอย่างดี มีประสบการณ์ทำงานมายาวนาน โดยเฉพาะเคยผ่านงานที่เป็นโครงการมาหลายโครงการ สำคัญที่สุดต้องมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์ ก็จะทำให้การพยากรณ์เหตุการณ์ต่างๆเป็นไปอย่างแม่นยำครับ

6.ให้คำแนะนำอย่างสร้างสรรค์ โดยปกติ เจ้านายจะมีความลำบากใจมากถ้าการตัดสินใจแต่ละครั้ง แต่ละเรื่องต้องอยู่ในรูปแบบของ WIN- LOSE ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคำแนะนำของเราต้องมุ่งสู่การพัฒนาสิ่งต่างๆ ให้ดีขึ้น ในเชิงของ WIN- WIN Solutions และคำแนะนำนั้นต้องมีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติได้ด้วยครับ ข้อนี้ผมเห็นด้วยเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์

7.แสดงให้เจ้านายเห็นว่าคำแนะนำของเราจะนำไปปฏิบัติได้อย่างไร ให้เกิดความชัดเจนของขั้นตอนในการปฏิบัติ ตลอดจนผลประโยชน์ที่จะได้รับคืออะไร ผมขอขยายผลเพิ่มเติมในประเด็นนี้ก็คือ หากผลลัพธ์ออกมาสำเร็จดังความตั้งใจ ก็ขอให้มีการแบ่งปันประสบการณ์นี้ให้กับผู้อื่นในองค์กรด้วย ( KNOWLEDGE SHARING) เพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินทางปัญญาขององค์กร (INTELLIGENCE ASSETS)

พบกันใหม่ฉบับหน้านะครับ สวัสดีครับ

 

โดย ภัทรพงษ์ พรรณศิริ

อัพเดทล่าสุด