https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
6 ปัญหาป่วนสมอง เมื่อเจ้านายไม่ฟังลูกน้อง MUSLIMTHAIPOST

 

6 ปัญหาป่วนสมอง เมื่อเจ้านายไม่ฟังลูกน้อง


619 ผู้ชม


6 ปัญหาป่วนสมอง เมื่อเจ้านายไม่ฟังลูกน้อง



บนโลกการทำงานที่เรื่องการบริหารคนซับซ้อนมากทุกที ปัญหาสำคัญคือ "การไม่รับฟังความคิดเห็น" โดยเฉพาะหัวหน้ากับลูกน้องที่เป็นไม่เบื่อไม่เมากันมา ทำให้ไม่ก่อเกิดนวัตกรรมใหม่ในการทำงาน และนับวันยิ่ง ใส่ "เกียร์ถอยหลัง" และ "เกียร์ว่าง" แล้วหน่วยงานจะเหลืออะไร !?
       
        อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอพีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด ที่ปรึกษาองค์กรด้านบริหารทรัพยากรบุคคล เล่าว่า ปัญหาอย่างมากในการจัดการทรัพยากรซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม คือผู้บังคับบัญชาในระดับต่างๆ ไม่ฟังความคิดเห็นของลูกน้อง โดยอาจจะมาจาก 6 ปัจจัย ดังนี้
       
       1. ลูกน้องไม่เก่งพอ ทำให้หัวหน้าไม่ค่อยรับฟังเพราะมีความรู้สึกว่าฟังเท่าไรก็ฟังไม่ขึ้น ดังนั้น วิธีแก้ไขคือ ผู้บังคับบัญชาต้องคุยโดยตรงและเจาะจงในปัญหาที่ลูกน้องต้องแก้ไข
       2. หัวหน้ายึดในประสบการณ์ตนเองอย่างเดียว เนื่องจากโดยส่วนตัวอาจจะเคยทำงานโดยวิธีการเดิมแล้วประสบความสำเร็จทำให้ไม่ค่อยรับฟังความคิดคนอื่น ซึ่งแก้ไขได้โดยหัวหน้าต้องเตือนตัวเองเสมอว่า สิ่งที่เคยทำดีแล้วย่อมเป็นแนวทางที่คุ้นเคยแต่มีวิธีอื่นอีกไหมที่จะพัฒนาให้ดีขึ้นไปอีกโดยปราศจากทัศนคติของตน
       
       3. หัวหน้าเป็นคน Perfectionist กลัวความผิดและไม่ยอมรับความเสี่ยง เมื่อมอบหมายงานจึงต้องลงรายละเอียดปลีกย่อย แก้ไขโดยผู้บริหารต้องทบทวนตนเองว่า ในรายละเอียดปลีกย่อยที่ตนเองมุ่งเน้นมันมากเกินไปหรือเปล่า จึงควรปล่อยให้พนักงานทำเองเพื่อความอิสระในการทำงานบ้าง
       
       4. สไตล์หัวหน้าเป็นคนไม่ชอบฟังใคร เป็นปัจจัยที่แย่มากและต้องใช้เวลาในการแก้ไขโดยพยายามชี้ให้เห็นถึงข้อดีในการเป็นผู้ฟังที่ดี ซึ่งหากทำได้จะเป็นแรงจูงใจให้กับบุคลากรอยากทำงานด้วย
       
       5. หัวหน้ามีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เพราะยิ่งมีตำแหน่งมากเท่าไรจะชื่นชมความคิดของคนอื่นน้อยลง หนทางแก้ไขผู้บริหารต้องเปลี่ยนมุมมองความคิดว่าตนต้องพยายามเรียนรู้ตลอดเวลาและมองให้เห็นข้อดีที่เกิดขึ้นเมื่อลูกน้องเสนอความคิด
       
       6. ปัญหาเรื่องกระบวนการในการฟัง มีคนบางกลุ่มที่ Hearing but not Listening มีปัญหาในกระบวนการย่อยข้อมูล ทำได้แค่ได้ยินคนอื่น แต่ไม่มีกระบวนการในการกรองข้อมูล นำมาคิดเอาไปต่อยอด เช่น ลูกค้าโทรมาบอกว่าไม่พอใจในการบริการคนที่ไม่รู้จักกรองข้อมูลก็ไม่คิดอะไร แต่คนที่รู้จักกรองข้อมูลกลับคิดว่า ลูกค้าโทรมาไม่พอใจกี่ครั้งแล้วและน้ำเสียงเป็นอย่างไร วิธีการแก้ปัญหาคือ บอกผู้มีปัญหาตรงๆ เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน
       
       อริญญา สรุปทิ้งท้ายว่า การที่หัวหน้าไม่ฟังลูกน้องอาจจะไม่ได้มาจากสาเหตุเดียวแต่ต้องมาวิเคราะห์และแก้ปัญหาทีละจุด ขณะที่หัวหน้าต้องมองให้เห็นถึงผลเสียที่ไม่ฟังคนอื่นเพราะหากบรรยากาศในที่ทำงานดีเท่าไรย่อมเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากเท่านั้น

โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์

อัพเดทล่าสุด