https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อยากได้ Feedback แต่ไม่มีใครกล้าให้ ทำไงดี ? MUSLIMTHAIPOST

 

อยากได้ Feedback แต่ไม่มีใครกล้าให้ ทำไงดี ?


740 ผู้ชม


อยากได้ Feedback แต่ไม่มีใครกล้าให้ ทำไงดี ?




ผมคิดว่าการได้รู้ว่าคนอื่นคิดกับงานที่เราทำอย่างไร เป็นอะไรที่น่าสนใจมาก มันช่วยให้เราพัฒนาแนวทางการทำงานหรือผลการทำงานออกไปได้ ผมมีโอกาสได้ไปพูดเรื่องนี้อย่างสั้นๆ ในระหว่างที่ผมไปเป็นวิทยากรให้กับองค์กรแห่งหนึ่ง
หลังจบการสัมมนามีคนมาถามผมว่า เขาเห็นด้วยกับการได้รับ feedback เพื่อที่จะสามารถนำไปพัฒนาตนเองได้ แต่คนในองค์กรไม่มีใครกล้าแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องงานของเขาเลย แล้วเขาควรจะทำอย่างไรดี
ผมขอบอกเลยแล้วกันว่า หลายคนมีปัญหาเช่นนี้ หลายคนมองเห็นประโยชน์ของ feedback อยากได้ feedback แต่ไม่เคยได้ หรือไม่ค่อยได้
ข้อแนะนำของผมคือ ถ้าคุณต้องการได้ feedback มันต้องเริ่มจากตัวคุณเองก่อน ก่อนอื่นคุณต้องทำให้เขาเห็นว่า คุณมองเห็นถึงความสำคัญของทุกๆ feedback ที่คุณได้รับ คุณพิจารณาทบทวนทุก feedback ที่ได้ ส่วนวิธีการอื่นๆ ประกอบไปด้วย
1.ควบคุมตนเอง อย่าปกป้องตนเองใน feedback ที่กำลังได้รับ-โดยปกติคนส่วนมากเมื่อได้รับข้อมูลในแง่ลบเกี่ยวกับตนเอง สิ่งแรกที่เราทำคือ ปฏิเสธ บ้างก็ปฏิเสธออกไปเลยตรงๆ หรือบางคนก็ปฏิเสธด้วยการพยายามอธิบายเพื่อปกป้องตนเอง ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้ที่เข้ามาให้ feedback เบื่อหน่ายและไม่ต้องการที่จะให้ feedback อีกในอนาคต
ดังนั้น สิ่งที่เราควรทำคือพยายามควบคุมตนเอง อย่าปกป้องตนเองมากจนเกินไป ลองนึกถึงหัวอกเขาหัวอกเราดูว่า ถ้าเวลาที่เราให้ข้อมูลคนอื่นแล้ว แล้วเขาก็ปฏิเสธทุกสิ่งที่เราพูดออกไป ในอนาคตเราเองก็คงไม่อยากให้ข้อมูลเขาอีก
2.ฟังให้เข้าใจ-การฟังเป็นสิ่งที่หลายคนมองว่าเป็นอะไรที่ง่าย แต่คุณแน่ใจหรือว่าคุณกำลังฟัง หรือคุณแค่ได้ยิน ทักษะการฟังที่ดีนั้นประกอบไปด้วย
- การฟังด้วยหู (การเงี่ยหูฟัง ตั้งใจฟัง)
- การฟังด้วยตา (ระหว่างรับฟังสายตาต้องมองผู้ฟัง และคอยสังเกตภาษากายของผู้ฟังด้วยว่าเขารู้สึกอย่างไร)
- การฟังด้วยตัว (พยักหน้า ขยับตัวเข้าไปใกล้อีกนิด)
- การฟังด้วยปาก (ระหว่างสนทนาและรับฟัง ต้องมีการตอบสนองบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการ "เออ" หรือการ "ออ")
3.อย่ารีบตัดสินอะไร-ฟังเขาให้จบก่อนที่จะตัดสินว่าเขาให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง อย่าลืมว่าแม้ว่าคุณจะไม่ได้ตั้งใจให้เป็นเช่นที่เขาบอกมา แต่ว่าคนเห็นสิ่งที่คุณทำเป็นเช่นนั้น ดังนั้นคุณต้องฟังเพื่อให้เข้าใจว่า การแสดงออกของคุณมันไม่ได้เป็นไปตามที่คุณคิด คนอื่นเขามองการแสดงออกของคุณเป็นในอีกรูปแบบหนึ่ง
4.สรุปสิ่งที่คุณได้ยิน-การที่คุณสรุปสิ่งที่คุณเข้าใจให้ผู้ที่ให้ข้อมูลคุณฟัง เป็นการบอกเขาอย่างนัยๆ ว่า คุณตั้งใจฟังเขาพูดจริงๆ ซึ่งการทำเช่นนี้จะทำให้ผู้พูดรู้สึกว่า เขาได้รับความสนใจ
5.ถามเพื่อให้เข้าใจ-จงถามผู้พูดเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เขาพูด ถามด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล อย่าถามเหมือนลองดีหรือเพื่อให้เขารู้สึกจนมุม เพราะไม่เช่นนั้นคุณจะไม่ได้รับความคิดเห็นจากเขาคนนี้อีกเลย จงมุ่งเน้นไปที่คำถามเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนกับตนเอง
6.ขอตัวอย่างในการกระทำของคุณ-บางครั้งคนบางคนให้ feedback ที่ค่อนข้างคลุมเครือมาก เช่น พี่รู้ไหม พี่เป็นคนที่สื่อสารไม่ชัดเจน การที่บอกว่าสื่อสารไม่ชัดเจนนั้นเป็นอะไรที่กว้างมาก สิ่งที่คุณควรทำคือ การขอตัวอย่างว่าที่ว่าไม่ชัดเจนเป็นอย่างไร และด้วยการขอตัวอย่างจะทำให้คุณเข้าใจความหมายที่แน่ชัดของ feedback ที่ว่าสื่อสารไม่ชัดเจนมากขึ้น
7.เข้าหาได้ง่าย-การเข้าหาได้ง่ายไม่ใช่แค่คำพูดที่ว่า ประตูห้องพี่เปิดเสมอ เข้ามาคุยได้ตลอดเวลา แต่ในความเป็นจริงคุณไม่เคยอยู่ที่ห้องเลย หรือถ้าอยู่ก็จะยุ่งอยู่ตลอดเวลา แล้วใครล่ะจะกล้าเข้าไปให้ feedback คุณ
นอกจากนี้ การเข้าหาได้ง่ายรวมไปถึงท่าทางการแสดงออกของคุณ คงไม่มีใครหรอกที่อยากจะให้ feedback กับคนที่ดูหงุดหงิดตลอดเวลา ภาษากายและการแสดงออกทางหน้าตาล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการแสดงให้เห็นถึงการเข้าหาได้ง่าย
8.ความปลอดภัย-สำหรับคนไทยแล้วข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญที่สุดในการตัดสินใจให้ feedback หลายคนจะเกรงกลัวที่จะให้ feedback โดยเฉพาะกับหัวหน้าของตนเอง เพราะแน่นอนหัวหน้าย่อมมีอำนาจในการให้คุณให้โทษกับเขา ถ้า feedback ไปแล้วไม่ถูกใจหัวหน้า เขาก็เกรงว่าจะโดนทำโทษ หรือโดนกลั่นแกล้ง
วิธีการแก้โดยการพูดเฉยๆ ว่าไม่ต้องกลัว ผมจะไม่ทำอะไรคนที่มาให้ feedback ผมหรอกนั้น เป็นอะไรที่หลายคนจะไม่ค่อยเชื่อ แม้ว่าคุณจะหมายความตามนั้นจริงๆ ลองวิธีง่ายๆ เริ่มจากการทำตู้หน้าห้องเพื่อให้ใครก็ได้สามารถส่ง feedback ต่างๆ มาให้คุณได้โดยไม่ต้องลงนาม เป็นต้น
ซึ่งในเบื้องต้นเป็นแนวทางการขอ feedback แต่การได้ feedback มานั้นมีหนึ่งอย่างที่คุณต้องพึงระวังไว้คือ feedback ที่ได้มาไม่ได้เป็นอะไรที่ถูกเสมอ บางครั้งคุณอาจจะต้องตรวจสอบกับคนอื่นด้วยว่า feedback ที่ได้รับมานั้นถูกต้องหรือไม่ feedback โดยมากเป็นอะไรที่มาจากความคิดเห็นของคนคนหนึ่ง แต่คนอื่นอาจจะไม่เห็นด้วยตามนั้นก็ได้
ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการขอ feedback เช่นนี้ อย่าเพิ่งหวังว่าคนอื่นจะกล้าเข้ามาให้ feedback กับคุณทันที คนทุกคนต้องประเมินความปลอดภัยของตนเองก่อน (จากข้อ 8) ก่อนที่จะกล้าเข้ามาให้ feedback อย่าเพิ่งคิดมากถ้ายังไม่มีใครเข้ามาให้ feedback แม้แต่คนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหารระดับสูงหลายคนยังมองว่าการให้ feedback เป็นอะไรที่น่ากลัว เพราะทุกคนไม่แน่ใจว่าคนที่ได้รับ feedback ไปนั้นจะเปิดใจรับได้กว้างแค่ไหน
แต่ถ้าคุณไม่เริ่มทำอะไรเลย อนาคต คุณก็จะเป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้รับ feedback จากใคร เพราะฉะนั้นจงเริ่มทำเพื่อให้ได้ feedback ก่อนที่การกระทำบางอย่างของคุณ (ที่คุณไม่เคยรู้) จะทำให้คุณเสียใจได้
หน้า 37

คอลัมน์ ถามมา-ตอบไปสไตล์คอนซัลต์
โดย อภิวุฒิ พิมลแสงสุริยา Apiwut@riverorchid.com

ที่มา : matichon.co.th


อัพเดทล่าสุด