https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คําที่มักเขียนผิดที่ชอบออกข้อสอบ คําที่มักเขียนผิด ป.6 คําที่มักเขียนผิดในภาษาไทย MUSLIMTHAIPOST

 

คําที่มักเขียนผิดที่ชอบออกข้อสอบ คําที่มักเขียนผิด ป.6 คําที่มักเขียนผิดในภาษาไทย


21,045 ผู้ชม


คําที่มักเขียนผิดที่ชอบออกข้อสอบ  คําที่มักเขียนผิด ป.6 คําที่มักเขียนผิดในภาษาไทย

ทาน”
ความหมายของคำว่า ทาน ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ทาน ๑, ทาน- [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน
           วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน,
           เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).(ป.,ส.).

ทาน ๒ ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.

ทาน ๓ ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.

ทุกวันนี้หลายๆครั้งเราใช้คำว่าทานแทนคำว่า"รับประทาน"ซึ่งเป็นการใช้คำผิดความหมาย
จริงๆแล้วคำว่า"กิน"ไม่ได้เป็นคำที่ไม่สุภาพอะไรนะอาจจะฟังห้วนๆไปหน่อย(แต่สุภาพ)
คือเราต้องอาศัยบริบทรอบข้างด้วยเวลาใช้คำ 
แต่ถ้าใช้เป็น “ยัด” “แดก” “ซัด” แลดูจะไม่สุภาพของจริง
หากเราไม่อยากจะใช้คำว่า "รับประทาน" ก็หันมาใช้คำว่า "กิน" กันดีกว่าครับ
อย่าใช้คำว่า ทานหรือยังครับ ทานแล้วถูกปากไหมครับ เป็นการใช้คำที่ผิด

รสชาติ “ไม่อร่อย”
พอพูดถึงเรื่องกิน นิว เลยขอแถมอีกคำนึงที่เห็นใช้กันผิดตลอด
เวลาเรากินอาหารแล้วรู้สึกอาหารไม่อร่อย (กระเดือกไม่ลง)
คำว่า “ไม่อร่อย” ใช้คำว่า ไม่เป็นสรรพรส  ไม่ใช่เขียนผิดกันเป็น ไม่เป็นสับปะรด

ไอติม ไอศครีม ไอศกรีม
เห็นมีนิยายเรื่องใหม่ลงแล้วตัวเอกของเรื่อง ชื่อ ไอติม เลยเอามาเขียนอ่านเล่นๆครับ
ทั้งหมดหมายถึงสิ่งเดียวกันครับ แต่
ไอติม เป็นภาษาพูด เขียนเล่นๆได้ แต่ไม่ใช้ในงานเขียนที่เป็นทางการ

ไอศครีม เป็นการกึ่งทางการ เขียนตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา จริงๆแล้วไม่ถูกต้องตามหลัก แต่ได้ใช้กันมากจนเป็นที่ยอมรับไปในที่สุด(นิวก็ใช้อยู่ 555+) 

ไอศกรีม เป็นภาษาเขียนอย่างเป็นทางการที่ถูกต้องที่สุดในการแกะคำศัพท์ Ice-cream มาทับศัพท์เป็นภาษาไทยตามหลักราชบัณฑิตยสถาน(ตอนเด็กๆคิดว่าในหนังสือเลขกระทรวงฯประมาณตอน ป.6 ได้มั้ง เห็ยใช้ว่า ไอศกรีม เราก็ขำกับเพื่อน ว่า ขนาดป้าที่ร้านไอติมข้างล่างยังเขียนว่า ไอศครีม เลย 555+ทำไมในหนังสือถึงเขียนผิดนะ ก็เอาไปบอกคุณครู ก็เลยโดนด่าแล้วจำมาจนโตนี่ล่ะครับ)

และมีหามาเพิ่มเติมให้อีกคำครับ
ที่มา: https://www.navy.mi.th/navy_admin/saranaru3.htm
(การใช้ราชาศัพท์ กรมสารบรรณทหารเรือ)
คำว่า หมายกำหนดการ กำหนดการ
คำ ๒ คำนี้ ไม่ใช่ราชาศัพท์ แต่เป็นคำที่เกี่ยวกับประเพณี ในราชสำนัก มักมีผู้นำไปใช้ปะปนกัน โดยเข้าใจว่า หมายกำหนดการ ใช้สำหรับงาน หรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานของพิธี หรือมาทรงร่วมงาน ถ้าเป็นงานของบุคคลธรรมดาให้ใช้คำว่า "กำหนดการ" นับว่าเป็น ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน

คำว่า "หมายกำหนดการ"หมายถึง เอกสารกำหนด ขั้นตอนของงานพระราชพิธี งานพระราชกุศล และรัฐพิธี ซึ่งสำนัก พระราชวังจัดทำขึ้นตามพระบรมราชโองการ ในต้นหมายจะระบุไว้แน่ชัดว่า "นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการ เหนือเกล้าฯ สั่งว่า ..." เสมอไป และสำนักพระราชวังจะต้องส่งต้นหมายกำหนดการดังกล่าวนี้ เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ เท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา เป็นต้น

ส่วน "กำหนดการ" ใช้สำหรับพระราชวงศ์และบุคคลสามัญทั่วไป เป็นเพียงเอกสารกำหนดขั้นตอนของงานทั่วไปที่ ส่วนราชการหรือเอกชนได้จัดขึ้น โดยเขียนไว้ในบัตรหรือบอกด้วยวาจา ให้ผู้ที่ไปร่วมงานหรือร่วมพิธีได้ทราบว่า มีรายการใด วันเวลาใด สถานที่ใด แม้ว่างานนั้นๆ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเบื้องพระยุคลบาท เช่น เป็นงานที่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงาน แต่ถ้างานดังกล่าวนั้นมิใช่งาน พระราชพิธี งานพระราชกุศล หรือรัฐพิธี ซึ่งมีพระบรมราชโองการให้กำหนดขึ้นแล้ว จะเรียกว่าหมายกำหนดการไม่ได้ ต้องเรียกว่า "กำหนดการ" ทั้งสิ้น เช่น พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน มาเป็นองค์ประธานในพิธี แต่งานนี้มิใช่พระราชพิธีที่มีพระบรม-ราชโองการให้จัดขึ้น หากแต่เป็นงานที่ทางราชการทหารจัดขึ้นเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ท่าน จึงใช้ว่า "กำหนดการ"

ที่มักเขียนผิด คำที่เขียนถูกต้อง

1. กงกรรมกงเกวียน กงเกวียนกำเกวียน

เรามักพูดกันด้วยความชินปากว่า “กงกรรมกงเกวียน”
ซึ่งแท้จริงแล้วที่ถูกต้อง คือ “กงเกวียนกำเกวียน”คำนี้เป็นสำนวน
หมายถึง  กรรมสนองกรรม เวรสนองเวร  อุปมาคือ ทำอย่างไรวันหนึ่งก็อาจเจอแบบนั้น

2. เกมส์ เกม

เกมส์ คำนี้มักเขียนผิดกันมาก  ที่ถูกต้องใช้ว่า “เกม”
เพราะเราทับศัพท์ภาษาอังกฤษมา จากคำว่า “game”
ไม่มีเสียง /s/ ท้ายคำ จึงไม่จำเป็นต้องใส่ ส.เสือ การันต์ ต่อท้าย เพื่อไม่ออกเสียง

3. สังเกตุ สังเกต

ผู้ใช้ภาษามักใช้ผิดเป็น “สังเกตุ”  อาจเกิดจากความเคยชินจากการใช้คำว่า
“อุบัติเหตุ ,เหตุการณ์” ซึ่งต้องมีสระอุ   ส่วนคำว่า สังเกต  ที่ถูกต้อง จะต้องไม่มีสระอุ

4. โควต้า โควตา

คำว่า โควต้า ทับศัพท์มาจากภาษาต่างประเทศคือ “Quota”
มักเขียนผิดโดยเพิ่มวรรณยุกต์โทเข้าไปด้วย ที่ถูกจะต้องไม่มีวรรณยุกต์โทกำกับ

5. ทะเลสาป ทะเลสาบ

ผู้ใช้อาจสับสนกับ คำว่า “สาป”  ซึ่ง หมายถึง  แช่ง ให้เป็นไปต่างๆ
“สาบ” มีหลายความหมาย ที่ใช้ว่า ทะเลสาบ นั้น  สาบ หมายถึง  แหล่งน้ำที่ใหญ่
คล้ายๆบึง แต่โตกว่า

6. สามเศร้า สามเส้า

เรามักจะได้ยินการใช้คำว่า “รักสามเส้า
และมักจะเขียนผิดเป็น “รักสามเศร้า” อยู่เสมอ
ผู้เขียนเองเคยใช้ผิดเมื่อเป็นเด็กๆเพราะคิดว่า ความรักแบบสามคนนั้น
มันเป็นเรื่อง “เศร้า” เลยใช้ผิด  แท้จริงต้องใช้ว่า “รักสามเส้า”

7. กาละเทศะ กาลเทศะ

คำนี้เป็นอีกหนึ่งคำยอดฮิตที่มักใช้ผิด เนื่องจากคำนี้อ่านว่า  “กา – ละ – เท – สะ”
การเขียนตามเสียงอ่านจึงอาจผิด โดยใส่สระ อะ เข้าไปด้วย  ที่ถูกต้องคือ “กาลทะศะ”
หมายถึง  ความไม่ควรแก่สถานที่หรือเวลา

8. คอลัมภ์ , คอลัมม์ คอลัมน์

คอลัมน์  เป็นคำทับศัพท์ มาจากคำว่า “column”
เมื่อทับศัพท์เช่นนี้ มีเสีย /n/ อยู่ข้างท้าย เราไม่ออก เสียง จึงใช้ /น/ การันต์ ไว้
คอลัมน์ หมายถึง แถบที่เรียงกันลงมาเป็นแนวตั้ง ในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสาร  มัก
แบ่งข้อความหรือความเรียงออกเป็นหลายๆคอลัมน์ เพื่อสะดวกแก่การอ่าน และการจัดวาง

9. อนุญาติ อนุญาต

ดอกจันตัวโตๆสามร้อยดอก** คำนี้มักเป็นคำที่เขียนผิดกันบ่อยมากๆ
เวลาที่อ่านใน social network ต่างๆ   เช่น facebook
ผู้ใช้อาจสับสนกับคำว่า  “ญาติ” ซึ่ง หมายถึง พี่ๆน้องๆ  คำว่าญาติ เดี่ยวๆ ต้องมีสระอิ
แต่ว่า “อนุญาต” ที่หมายถึง การยินยอมนั้น ไม่มีสระ อิ

10.  เท่ห์ เท่
คำว่า เท่  เป็นแสลง  ถ้าจะชมใครว่า ดูดี โคตรแนว บลา บลา  ต้องใช้ว่า “เท่”
ส่วน “เท่ห์”  คำนี้ ที่มีการันต์  มันมีความหมายของมันอยู่  เท่ห์ หรือ เทห
เป็นภาษาบาลี สันสกฤติ มีความหมายว่า “ร่างกาย”
แต่คนโดยทั่วไปมักสับสนคำว่า “เท่” กับ “เท่ห์” ใน ฉงนสนเท่ห์ <<
ฉงนสนเท่ห์  ต้องมี ห หีบ การันต์ ในขณะที่ เท่ ที่แปลว่า ดูดี ไม่ต้องมี ห การันต์

11. ธำรงค์ ธำรง

ธำรง ในที่นี้ หมายถึง การคงไว้ ชูไว้ เช่น
“ เราควรธำรงไว้ซึ่งชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์”
มักสะกดผิด โดยเพิ่ม ค ควาย การันต์เข้ามาด้วย
ผู้ใช้ภาษาไทยอาจสับสนกับคำว่า  ธำมรงค์  ราชาศัพท์ที่แปลว่า แหวน
คำว่า ธำมรงค์ นั้นมี การันต์ ส่วน ธำรง นั้น ไม่มี

12. อินเตอร์เน็ต, อินเตอร์เนท อินเทอร์เน็ต

คำว่า “Internet” เป็นคำทับศัพท์ที่เรามักใช้กันอยู่เป็นประจำ
ในชีวิตประจำวัน แต่มักจะย่อกันว่า “net” คำนี้ มักเขียนกันว่า อินเตอร์เน็ต
มานมนาน แต่ที่ถูกต้องตามหลักการทับศัพท์ ต้องใช้ว่า “อินเทอร์เน็ต”
เพราะใน ภาษาอังกฤษ  ในคำนี้ เสียง /t/ ออกเป็น /ท/  ไม่ใช่ เสียง /ต/

13. ผูกพันธ์    ผูกพัน

*** คำนี้ก็เป็นอีกคำยอดฮิตที่มักใช้กันผิด  ผู้ใช้ภาษา อาจสับสน
กับคำว่า “สัมพันธ์”  แท้จริงแล้วเป็นคนละคำกัน  พันธ์ หมายถึง  ผูก มัด ตรึง
เช่นที่ใช้กันว่า “พันธะ”

14. หอมหวล หอมหวน
อบอวน อบอวล

คำสองคำนี้มีความหมายใกล้กันมาก คือ ใช้กับสัมผัส “กลิ่น”
มีความหมายถึง เต็มไปด้วยกลิ่น มักใช้กับกลิ่นพึงประสงค์ เช่น
อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของดอกไม้  ขนมไทยนี้หอมหวนดีจริง ฯลฯ

15.เลือกสรรค์ เลือกสรร

*** คำนี้ก็มักใช้ผิดบ่อย  “สรร”  แปลว่า เลือก คัดเลือก  จึงต้องใช้ว่า “เลือกสรร”
“สรรค์”  แปลว่า  สร้างให้มีขึ้น มักใช้คู่กับคำว่า สร้างสรรค์
คือการสร้างให้มีขึ้นนั่นเอง

16. เวทมนต์, เวทย์มนต์ เวทมนตร์

17. โลกาภิวัฒน์ โลกาภิวัตน์

คำนี้เป็นอีกคำที่มักจะเขียนผิดกัน  เพราะเราชินกับคำว่า วัฒนา
เลยอาจสะกดคลาดเคลื่อนได้ โลกาภิวัตน์ เป็นศัพท์บัญญัติ
จากคำว่า globalization  หมายถึง  การที่มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดของโลก
สามารถรับรู้ ติดต่อสื่อสาร ได้อย่างรวดเร็ว

18. โอกาศ โอกาส

คนมักสับสนกับคำว่า “อากาศ”  จึงใช้เป็นโอกาศไปด้วย ที่ถูกต้องคือ “โอกาส”

19. โล่ห์ โล่

โล่  ที่เป็นเครื่องศัตราวุธ ป้องกันกำบังในการทำศึก ที่มักใช้คู่กับหอก
ไม่มี ห หีบ การันต์ เช่นเดียวกับ โล่ ในความหมายที่หมายถึง
สิ่งที่มอบให้ผู้แข่งขันที่ชนะเลิศ ก็ใช้ว่า “โล่” เช่นเดียวกัน

20. ค่ำที่เขียนได้ 2 แบบ

น่าสนใจอยู่ 1 คำ ที่ตอนแรก ผู้เขียนเข้าใจมาตลอดว่าควรใช้แบบนี้เท่านั้น
คือคำว่า “ร่ำลา” ตั้งแต่เป็นเด็กๆมา ก็ใช้ ร่ำลามาตลอด วันดีคืนดีได้เจอนวนิยาย
ของสำนักพิมพ์หนึ่ง สะกดว่า “ล่ำลา”
ผู้เขียนก็สงสัยว่าปรู๊ฟไม่ละเอียดหรือยังไง แต่เมื่อไปหาข้อมูล ก็พบว่า
ปัจจุบัน ราชบัณฑิตยสถานได้ประกาศให้ใช้ได้ทั้ง ๒ คำ  คือ “ล่ำลา” และ “ร่ำลา”
ความหมายเดียวกันกับ ลา  อำลา

“คำที่มักเขียนผิด” นี้เกิดจากการที่ผู้เขียนเห็นเพื่อนพ้องใน social network
สะกดคำบางคำไม่ถูกต้อง ก็เลยลองรวบรวมบางส่วนตามที่เข้าใจ
และบางส่วนจากที่เรียนมา นำมาไว้ใน blog นี้
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนผ่านมาอ่านไม่มากก็น้อย – หรือถ้ารู้แล้วก็ขออภัย

--- รายชื่อคำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย เรียงลำดับตามตัวอักษรตาม คำที่เขียนถูก.....เอามาฝากกันครับ เนื่องจากพวกเราเป็นสมาชิกในเว็บบอร์ดสาธารณะ วันๆหนึ่งนั่งพิมพ์ข้อความแสดงความคิดเห็นกันมากมายหลายคำ  มีคนผ่านมาอ่านมากมาย ผมเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกขัดๆตาเวลาเห็นคำที่สะกดผิด บางคำก็เป็นคำง่ายๆที่มักพบเจอในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว แต่ก็อาจสะกดผิดโดยไม่รู้ตัว เลยเอามาฝากกันครับ


คำที่มักเขียนผิด   คำที่เขียนถูก หมายเหตุ

กงกำกงเกวียน   กงเกวียนกำเกวียน   กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน
กงศุล   กงสุล  
กฏ   กฎ   กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา เช่น กฎหมาย ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก
กบฎ, กบถ  กบฏ   ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ"
กระพริบ    กะพริบ  
กระแนะกระแหน    กระแหนะกระแหน    พูดกระทบหรือพูดเป็นเชิงเสียดสี
กริยา    กิริยา    "กิริยา" คือ อาการ การกระทำ เช่น ปฏิกิริยา
กิริยา    กริยา    "กริยา" (กฺริ-) คือ คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา
กรีธา, กรีทา    กรีฑา    กีฬาประเภทหนึ่ง
กรีฑา    กรีธา    เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ
กเลวราก    กเฬวราก  
กระโหลก    กะโหลก    จำไว้ว่า กะโหลก กะลา
กลาสี    กะลาสี    เขียนเรียงพยางค์ปกติ
กอร์ป, กอปร์    กอปร    อ่านว่า "กอบ"
กังวาล    กังวาน  
กานเวลา    กาลเวลา    กาล หมายถึง เวลา
กาละเทศะ    กาลเทศะ  
กำเหน็ด    กำเหน็จ  
กิติมศักดิ์    กิตติมศักดิ์    อ่านว่า "กิด-ติ-มะ-สัก"
กินนรี    กินรี    แต่ "กิน-นอน" เขียน 'กินนร'
กุฎ, กุฎิ    กุฎี, กุฏิ    "กุฏิ" อ่านว่า "กุด" หรือ "กุด-ติ" , ถ้าต้องการอ่าน "กุ-ดี" ต้องเขียน "กุฎี" (ใช้คำไหนก็ได้)
เกียรติ์    เกียรติ    อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ขบฏ    ขบถ    ดู กบฏ
โขมย    ขโมย  
ขมักเขม้น    ขะมักเขม้น  
ขาดดุลย์    ขาดดุล    ดู "ดุล", "สมดุล"
ไข่มุกด์, ไข่มุข    ไข่มุก  

--------------------------------------------------------------------------

ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ ฃ

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

คฑา, คธา    คทา  
ฅน    คน    คำนี้เลิกใช้แล้ว,และ ฅ ไม่เคยใช้เขียนคำว่า ฅน
ครองราช    ครองราชย์    แต่ ครองราชสมบัติ
คริสต์กาล    คริสตกาล    ใช้ตามโบราณ
คริสต์จักร    คริสตจักร    ใช้ตามโบราณ
คริสตศตวรรษ    คริสต์ศตวรรษ    ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสตทศวรรษ    คริสต์ทศวรรษ    ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คริสตศาสนา    คริสต์ศาสนา    ไม่นิยมสมาสข้ามภาษา
คฤหาสถ์    คฤหาสน์    คฤห + อาสน
คุรุศาสตร์    ครุศาสตร์  
คุรุภัณฑ์    ครุภัณฑ์  
ครุศึกษา    คุรุศึกษา  
คลีนิก    คลินิก  
ฆ้อน    ค้อน  
คนอง    คะนอง  
คุ้กกี้    คุกกี้    ออกเสียง คุก โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์
คำนวน    คำนวณ  
คำดุษฎี    คำสดุดี  
(นักเรียน)โข่ง    (นักเรียน)โค่ง    โค่ง= โตกว่าเพื่อน
โครงการณ์    โครงการ    การ คือ งาน

----------------------------------------------------------------------------

ปัจจุบันไม่มีคำที่ใช้ ฅ

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ฆาตรกร    ฆาตกร    ฆาต แปลว่า ฆ่า
ฆาตรกรรม    ฆาตกรรม    ฆาต แปลว่า ฆ่า
ฆารวาส    ฆราวาส  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

งบดุลย์    งบดุล    ไม่ใช่ ดุลย์
งูสวัส    งูสวัด

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

จงกลม    จงกรม    การฝึกสมาธิ
จงอย    จะงอย  
จรเข้    จระเข้    เครื่องดนตรีไทย เรียก "จะเข้"
จราจล    จลาจล    มาจากคำ จล + อจล
จั๊กจั่น    จักจั่น  
จักร์    จักร  
จักรพรรดิ์    จักรพรรดิ    ไม่ออกเสียงสระอิ
จักรวรรดิ์    จักรวรรดิ    ไม่ออกเสียงสระอิ
จักรสาน    จักสาน    เครื่องใช้ที่ทำด้วยมือ
จาระนัย    จาระไน  
จาละเม็ด    จะละเม็ด  
จำนงค์    จำนง    แผลงจาก "จง"
จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    มีการันต์
เจตจำนงค์    เจตจำนง    แผลงจาก "จง"
เจียรไน    เจียระไน  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ฉนั้น    ฉะนั้น  
ฉนี้    ฉะนี้  
ฉะบับ    ฉบับ  
ฉันท์ญาติ    ฉันญาติ    "ฉัน" ในที่นี้หมายถึง เสมือน, "ฉันท์" หมายถึง ความพอใจ

----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ชนี    ชะนี  
ชมด    ชะมด  
ชมภู    ชมพู  
ชมภู่    ชมพู่  
ชลอ    ชะลอ  
ชัชวาลย์    ชัชวาล  
(สิ้น)ชีพตักษัย    (ถึง)ชีพิตักษัย    ตาย ใช้กับหม่อมเจ้า
ชีวะประวัติ    ชีวประวัติ    สมาสแล้วลบวิสรรชนีย์

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ซาละเปา    ซาลาเปา  
เซ็นต์ชื่อ    เซ็นชื่อ    จากคำอังกฤษ sign, ไม่มี ต การันต์
เซ็นติเมตร    เซนติเมตร  

----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ฌาณ    ฌาน  

----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ญวณ    ญวน  
ญาต    ญาติ  
ญาน    ญาณ  

----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ฑัณฑ์    ทัณฑ์  
ฑูต    ทูต  
ฑีฆายุโก โหตุ    ทีฆายุโก โหตุ    ทีฆายุ หมายถึง อายุยืนยาว

----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ณ.    ณ    อ่านว่า นะ "ณ" หมายถึง ที่, ไม่มีเขียนจุดหลัง ณ และมักเว้นวรรคหน้าหลัง "ณ"

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ดอกจันทน์    ดอกจัน    เครื่องหมาย *, เรียกตามชื่อดอกของต้นลูกจัน
ดำหริ, ดำริห์    ดำริ    อ่านว่า "ดำ-หริ"
ดำรงค์    ดำรง  
ดุลย์    ดุล    "ดุล" และ "สมดุล" ไม่มี "ย์"
เดินเหิร    เดินเหิน  
โดยดุษฎี    โดยดุษณีย์    ดุษณีย์ หมายถึง ยอมรับแต่โดยดี

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ต่างๆ นาๆ    ต่างๆ นานา    นานา ไม่ใช้ไม้ยมก เพราะเป็นคำมูลสองพยางค์
ตาราง    ตะราง    สะกดถูกทั้งสองคำ แต่ที่คุมขัง ใช้ว่า ตะราง, ส่วน ตาราง หมายถึง ช่องสี่เหลี่ยม
ตาลขโมย    ตานขโมย  
ตำหรับ    ตำรับ  
ไตรยางค์    ไตรยางศ์  
ใต้หวัน    ไต้หวัน    คำนอกกฎการใช้ ไม้ม้วน
ใต้ฝุ่น    ไต้ฝุ่น  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ถนนราดยาง    ถนนลาดยาง    ลาด หมายถึง ปู
ถั่วพลู    ถั่วพู    ถั่วที่ด้านข้างมีรอยเป็นพู
ถ่วงดุลย์    ถ่วงดุล  
ถ่ายตัว    ไถ่ตัว  
เถาว์    เถา  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ทนง    ทะนง  
ทนุถนอม    ทะนุถนอม  
ทนุบำรง    ทะนุบำรุง  
ทรนง    ทระนง  
ทลาย    ทะลาย    สะกดถูกทั้งสองคำ, ทะลาย หมายถึง ช่อผลของมะพร้าว, ทลาย หมายถึง พัง
ทะยอย    ทยอย  
ทะแยง    ทแยง  
ทะเลสาป    ทะเลสาบ  
ท้าวความ    เท้าความ    เขียนเหมือน "เท้า"
ทุกขกิริยา    ทุกรกิริยา    หมายถึง กิจที่ทำได้ยาก
ทุภิกขภัย    ทุพภิกขภัย    ทุ + ภิกขภัย, เติม พ ข้างหน้า ภ
ทูนกระหม่อม    ทูลกระหม่อม  
ทูลหัว    ทูนหัว  
เทอด    เทิด  
เทพพนม    เทพนม    เทว + นม ไม่ใช่ เทพ+ พนม
เทเวศน์    เทเวศร์    เทว + อิศร์
แท๊กซี่    แท็กซี่  
โทรทรรศน์    โทรทัศน์    สะกดถูกทั้งสองคำ, โทรทรรศน์ คือ กล้องส่องทางไกล, โทรทัศน์ คือเครื่องใช้ไฟฟ้าแบบหนึ่ง

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ทำเนียม    ธรรมเนียม    ในหนังสือเก่าๆ เขียน "ทำเนียม" ก็มี, แต่ปัจจุบัน ใช้ "ธรรมเนียม" (มาจาก ธรรม + นิยม)
ธรรมธรรโม    ธรรมะธัมโม  
ธัญญพืช    ธัญพืช  
ธุระกิจ    ธุรกิจ    สมาสแล้ว ลบวิสรรชนีย์
ธำรงค์    ธำรง  
ธำมรง    ธำมรงค์    แปลว่า "แหวน"

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

น๊ะ    นะ    ออกเสียงวรรณยุกต์ตรี โดยไม่ปรากฏรูป
นะค่ะ    นะคะ    ค่ะ เป็นเสียงโท หรือเสียงต่ำ ใช้แสดงความสุภาพ ใช้ในประโยคบอกเล่า
นพดล    นภดล    เว้นแต่ "นพดล" ที่เป็นชื่อเฉพาะ
นวตกรรม    นวัตกรรม  
น็อต    นอต    ทับศัพท์จาก nut ในภาษาอังกฤษ
นัยตา    นัยน์ตา  
นาฑี    นาที    พบบ้างในหนังสือเก่า, ปัจจุบันนักเขียนบางท่านนิยมใช้
นานับประการ    นานัปการ  
นิเทศน์    นิเทศ  
นิมิตร,นิรมิตร    นิมิต,นิมิตร  
เนืองนิจ    เนืองนิตย์  
โน๊ต    โน้ต    อักษรต่ำ ไม่ใส่ไม้ตรี

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

บันทัด    บรรทัด  
บันทุก    บรรทุก  
บันลุ    บรรลุ  
บันเลง    บรรเลง  
บะหรั่นดี    บรั่นดี  
บล็อค    บล็อก  
บ่วงบาศก์, บ่วงบาต, บ่วงบาท    บ่วงบาศ  
บรเพ็ด    บอระเพ็ด  
บังสกุล    บังสุกุล  
บังเอิน    บังเอิญ  
บัญญัติไตรยางค์    บัญญัติไตรยางศ์    เหมือน ไตรยางศ์
บัตรสนเท่    บัตรสนเท่ห์  
บางลำภู    บางลำพู  
บาททะยัก, บาดทยัก    บาดทะยัก  
บาต    บาตร    เครื่องใช้อย่างหนึ่งของพระสงฆ์
บาทบงส์    บาทบงสุ์    อ่านว่า บาด-ทะ-บง
บาดหลวง    บาทหลวง  
บำเน็จ    บำเหน็จ  
บิณฑบาตร, บิณฑบาท    บิณฑบาต  
บิดพริ้ว    บิดพลิ้ว  
บุคคลากร    บุคลากร  
บุคคลิกภาพ    บุคลิกภาพ  
บุปผาชาติ    บุปผชาติ  
บุษราคำ    บุษราคัม  
บูรณะปฏิสังขรณ์    บูรณปฏิสังขรณ์    คำสมาส
เบญจเพศ    เบญจเพส    เพส มาจากคำว่า วีสะ=20 เบญจ =5, เบญจเพส = 25
เบ็นซิน, เบนซิล    เบนซิน  
เบรค    เบรก    ดู หลักการทับศัพท์

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ปฏิกริยา    ปฏิกิริยา  
ประติทิน    ปฏิทิน  
ประติพัทธ์    ปฏิพัทธ์  
ปฏิสังขร    ปฏิสังขรณ์  
ปฐมนิเทศน์    ปฐมนิเทศ  
ปนิธาน    ปณิธาน    (กริยา) ตั้งใจไว้
ปรณนิบัติ    ปรนนิบัติ  
ปรมณู    ปรมาณู    ปรม + อณู
ปองดอง    ปรองดอง  
ประกายพฤกษ์    ประกายพรึก  
ประกาษิต    ประกาศิต  
ประจันบาน, ประจันบาล, ประจัญบาล    ประจัญบาน  
ประจัญหน้า    ประจันหน้า  
ประจัญห้อง    ประจันห้อง  
ประนต    ประณต    (กริยา) น้อมไหว้
ประนม    ประณม    (อาการนาม) การน้อมไหว้
ประนาม    ประณาม  
ประนิธาน    ประณิธาน    (อาการนาม) การตั้งความปรารถนา
ปราณีต    ประณีต  
ประดิษฐ์ประดอย    ประดิดประดอย  
ประณีประณอม    ประนีประนอม  
ประเมิณ    ประเมิน  
ประสบการณ์    ประสบการณ์  
ประสูต, ประสูตร    ประสูติ  
ประสูติกาล    ประสูติการ    การคลอด
ประสูติการ    ประสูติกาล    เวลาที่คลอด
ปะหลาด, ปลาด    ประหลาด  
ประหัดประหาร, ประหัตถ์ประหาร    ประหัตประหาร  
ปรำปรา, ปะรำปะรา    ปรัมปรา    อ่านว่า ปะ-รำ-ปะ-รา
ปราณี    ปรานี    ปราณี = ผู้มีชีวิต
ปราณีปราศัย    ปรานีปราศรัย  
ปราถนา    ปรารถนา    อ่านว่า "ปราด-ถะ-หนา"
ปล้นสดมภ์    ปล้นสะดม  
ปวารนา    ปวารณา  
ปแล่ม, แปล่ม    ปะแล่ม  
ปักษิณ    ปักษิน  
ปาฏิหาร, ปาฏิหารย์    ปาฏิหาริย์  
ปิคนิค    ปิกนิก    คำทับศัพท์
ปุโลหิต    ปุโรหิต  
เปอร์เซนต์    เปอร์เซ็นต์    คำทับศัพท์
เป๋อเล๋อ    เป๋อเหลอ    อักษรต่ำ ไม่ใช้วรรณยุกต์จัตวา

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ผะดุง    ผดุง  
ผรุสวาส    ผรุสวาท  
ผลลัพท์    ผลลัพธ์  
ผัดเปลี่ยน    ผลัดเปลี่ยน  
ผัดผ้า    ผลัดผ้า  
ผัดเวร    ผลัดเวร  
ผลานิสงฆ์    ผลานิสงส์  
ผะอบ    ผอบ  
ผลัดผ่อน    ผัดผ่อน  
ผลัดวันประกันพรุ่ง    ผัดวันประกันพรุ่ง  
ผลัดหนี้    ผัดหนี้  
ผาสุข    ผาสุก  
ผีซ้ำด้ามพลอย    ผีซ้ำด้ำพลอย    ด้ำ เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ผีเรือน
ผลุดลุกผลุดนั่ง    ผุดลุกผุดนั่ง  
ผูกพันธ์    ผูกพัน  
ผู้เยา    ผู้เยาว์  
เผอไผ    เผลอไผล  
เผลอเรอ    เผอเรอ  
ผเอิญ, ผะเอิญ    เผอิญ  
เผ่าพัน    เผ่าพันธุ์  
แผ่ส้าน, แผ่ซ้าน    แผ่ซ่าน  
แผนการณ์    แผนการ  
แผงฤทธิ์    แผลงฤทธิ์  
ผไท, ผะไท    ไผท  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ฝรั่งเศส    ฝรั่งเศส  
ฝักใฝ่, ฝักไฝ่    ฝักฝ่าย    พวก, ข้าง
ฝักฝ่าย, ฝักไฝ่    ฝักใฝ่    เอาใจใส่, ผูกพัน
ฝากครร    ฝากครรภ์  
ฝีดาด    ฝีดาษ    ไข้ทรพิษ
ฝึกปือ, ฝึกปลือ    ฝึกปรือ  
ใฝ    ไฝ    ไม่อยู่ในกลุ่มคำที่เขียนด้วยไม้ม้วน

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

พงพันธุ์, พงษ์พันธุ์    พงศ์พันธุ์  
พะยัก    พยัก  
พะยักพะเยิด, พยักเพยิด    พยักพเยิด  
พยัฆ, พะยัคฆ์    พยัคฆ์    เสือ
พะยาน    พยาน  
พญาบาท, พยาบาตร    พยาบาท  
พะยุง    พยุง  
พะเยีย, เพยีย    พเยีย    พวงดอกไม้
พรมจรรย์    พรหมจรรย์  
พรรณา    พรรณนา    อ่านว่า พัน-นะ-นา
พราห์มณ์, พรามณ์    พราหมณ์    อ่านว่า พฺราม
พร่ำพรอด    พร่ำพลอด  
พลกำลัง    พละกำลัง  
พลาสติค    พลาสติก  
พหูสูตร    พหูสูต  
พแนง, แพนง    พะแนง  
พยอม    พะยอม    ชื่อต้นไม้ มีดอกสีขาว
พวักพวน    พะวักพะวน  
พังทะลาย    พังทลาย  
พันธุ์ทาง    พันทาง    ลูกผสมต่างสายพันธุ์
พัสดี    พัศดี  
พัศดุ    พัสดุ  
พากษ์ (หนัง)    พากย์ (หนัง)  
พานิชย์    พาณิชย์  
พาหุรัต, พาหุรัตน์    พาหุรัด  
พิณภาทย์    พิณพาทย์  
พิบูลย์    พิบูล  
พิราป    พิราบ    นกชนิดหนึ่ง
พิราป    พิลาป    คร่ำครวญ, ร้องไห้
พิสวง    พิศวง  
พิสวาส    พิศวาส  
พิศดาร    พิสดาร  
พิศมัย    พิสมัย  
พึมพัม    พึมพำ  
พุดตาล    พุดตาน    ดอกไม้ชนิดหนึ่ง
พุทธชาติ    พุทธชาด    ดอกไม้ชนิดหนึ่ง
ภู่กัน    พู่กัน  
ภู่ระหง    พู่ระหง  
เพชรฆาต, เพ็ชรฆาต    เพชฌฆาต  
เพ็ชร    เพชร  
เพริดพริ้ง    เพริศพริ้ง  
เพิ่มพูล    เพิ่มพูน  
เพียบพ้อม    เพียบพร้อม  
โพชงค์    โพชฌงค์  
โพธิ์ทะเล    โพทะเล  
โพนทนา    โพนทะนา  
ไพทูรย์    ไพฑูรย์

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ฟรีบา    ฟรีบาร์  
ฟังก์ชั่น    ฟังก์ชัน    ไม่มีไม้เอก
ฝั้น    ฟั่น  
ฟาธอม, แฟทอม, แฟธอม    ฟาทอม    หน่วยวัดระยะทาง
ฟิลม์, ฟลิม์    ฟิล์ม  
ฟิว    ฟิวส์  
ฟุ้งส้าน    ฟุ้งซ่าน  
ฟุดบอล, ฟุทบอล    ฟุตบอล  
ฟูลสแกป    ฟุลสแก๊ป    หน้ากระดาษที่มีเส้นบรรทัด
เฟิร์น    เฟิน  
แฟชัน    แฟชั่น    มีไม้เอก
ไฟแช๊ก    ไฟแช็ก  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ภคิณี    ภคนี  
พวังศ์    ภวังค์  
พันธารักษ์    ภัณฑารักษ์  
ภาคภูม    ภาคภูมิ  
ภาคฑัณฑ์    ภาคทัณฑ์  
ภูมใจ    ภูมิใจ  
ภูมลำเนา    ภูมิลำเนา  
ภาพยนต์    ภาพยนตร์  
ภาวะการณ์, ภาวะการ    ภาวการณ์  
พุชงค์    ภุชงค์  
ภูติผี    ภูตผี  
เพตรา    เภตรา  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

มกุฏราชกุมาร    มกุฎราชกุมาร    ใช้ ฎ ชฎา
มงกุฏ    มงกุฎ    ใช้ ฎ ชฎา
มนฑป, มณทป    มณฑป    อ่านว่า มน-ดบ
มนเฑียร, มณเฑียร    มนเทียร  
มรณะภาพ    มรณภาพ  
มรึตยู    มฤตยู  
มนทิน    มลทิน  
มหรรนพ, มหันนพ    มหรรณพ  
มหรศพ    มหรสพ    อ่านว่า มะ-หอ-ระ-สบ
มหรรศจรรย์    มหัศจรรย์  
มหาหิงค์    มหาหิงคุ์  
เมหสี    มเหสี  
มไหสวรรค์    มไหศวรรย์  
มหะหมัด, มะหะมัด    มะหะหมัด  
มัคคุเทศ, มัคคุเทศน์    มัคคุเทศก์  
มันทนศิลป์, มันฑณศิลป์    มัณฑนศิลป์  
มัธยัสต์    มัธยัสถ์  
มัสยา    มัศยา, มัตสยา    ปลา
มัสหมั่น    มัสมั่น    อ่านว่า มัด-สะ-หมั่น
มัสตาด    มัสตาร์ด  
มาตราการ    มาตรการ  
มาตราฐาน    มาตรฐาน  
หม้าย    ม่าย    บางท่านถือว่าควรเขียน หม้าย แต่ถ้ายึดตามพจนานุกรม ต้องใช้ "ม่าย"
มืดมนต์, มืดมล    มืดมน  
แมลงพู่, แมลงผู้    แมลงภู่  
ไมร์, ไมค์    ไมล์    หน่วยวัดระยะทาง
ไมยราพ    ไมยราบ  

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ยานัตถ์    ยานัตถุ์  
จีราฟ    ยีราฟ  
ย่อมเยาว์    ย่อมเยา  
ยาเกล็ด    ยาเกร็ด    หมายถึง ตำรา
เยาวัย    เยาว์วัย  
ใยดี    ไยดี  
ใยไพ    ไยไพ  
ไยแมงมุม    ใยแมงมุม

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

รกชัด    รกชัฏ  
รนรงค์    รณรงค์  
รมนีย์, รมณี    รมณีย์  
ระเบ็งเซ็งแซ่    ระเบงเซ็งแซ่  
รเห็จ, เรห็จ    ระเห็จ  
รสชาด    รสชาติ  
รักษาการณ์    รักษาการ    เช่น รักษาการในตำแหน่ง...
รักษาการ    รักษาการณ์    เช่น ยามรักษาการณ์
รัญจวญ, รัญจวณ    รัญจวน  
รังษี, รังศี    รังสี    ยกเว้นชื่อเฉพาะ
รัสมี, รัษมี    รัศมี  
รากเง่า    รากเหง้า  
ลาดหน้า    ราดหน้า  
ราพนาสูร    ราพณาสูร  
รื่นรมณ์    รื่นรมย์  
แร็กเก็ต    แร็กเกต  
ริ้บบิ้น    ริบบิ้น    ออกเสียง ริบ โดยไม่มีรูปวรรณยุกต์
เรี่ยราย    เรี่ยไร  
โรมันคาธอลิค    โรมันคาทอลิก  
โรงธารกำนัล    โรงธารคำนัล    หมายถึง ท้องพระโรง

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ฤกษ์ผานาที    ฤกษ์พานาที    สองคำที่สับสน คือ "ฤกษ์พานาที" กับ "เลขผานาที"

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

ลัดดาวัลย์, ลดาวัณย์    ลดาวัลย์    ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ยกเว้นชื่อเฉพาะ
ลมปราน    ลมปราณ  
ลมหวล    ลมหวน  
ล็อกเก็ต    ล็อกเกต  
ละคอน    ละคร    "ละคอน" เป็นคำไทยโบราณ ใช้เมื่อต้องการรักษาความดั้งเดิมไว้ เช่น สาขาศิลปะและการละคอน
ลองใน    ลองไน    ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง
ลเมียดลไม    ละเมียดละไม  
ลเอียดลออ, ละเอียดละออ    ละเอียดลออ  
ลโมบ    ละโมบ  
ลักเพท, ลักเพส    ลักเพศ  
รังถึง    ลังถึง  
ลาดตระเวณ    ลาดตระเวน  
ลายเซ็นต์    ลายเซ็น  
ลาวัลย์    ลาวัณย์    หมายถึง ความงาม ความน่ารัก
ลิปต์, ลิฟ    ลิฟต์    มาจากคำภาษาอังกฤษ lift
ลิปสติค    ลิปสติก  
ลำใย    ลำไย  
ริดรอนสิทธิ์    ลิดรอนสิทธิ์  
ลุกลี้ลุกรน    ลุกลี้ลุกลน  
ลูกเกตุ    ลูกเกด  
เล่นพิเรนท์    เล่นพิเรนทร์  
ลูกนิมิตร    ลูกนิมิต  
ลูกบาศ    ลูกบาศก์  
เล่กระเท่    เล่ห์กระเท่ห์  
เลือกสรรค์    เลือกสรร  
โล่ห์    โล่    มิได้แผลงมาจาก "โลหะ"
ฦๅชา    ลือชา    ฦ ฦๅ ไม่มีที่ใช้ในปัจจุบัน

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

วงษ์วาน    วงศ์วาน    เช่น ชื่อถนน "งามวงศ์วาน"
วักซีน    วัคซีน  
วันโรค    วัณโรค  
วันทยาหัตถ์    วันทยหัตถ์    คำสมาส
วันทยวุธ    วันทยาวุธ    คำสนธิ
วางกล้าม    วางก้าม    วางโต
วายชน    วายชนม์  
วาระดิถี    วารดิถี  
วิ่งเปรี้ยว    วิ่งเปี้ยว  
วิ่งผัด    วิ่งผลัด  
วินาฑี    วินาที  
วิตถาน, วิตถาล    วิตถาร  
วิตตามิน, วิตะมิน    วิตามิน  
วินาศะกรรม    วินาศกรรม  
วิศาขบูชา    วิสาขบูชา  
วิหารคต    วิหารคด  
เวรคืน    เวนคืน  
เวียตนาม    เวียดนาม  
เวทย์มนตร์, เวทมนต์    เวทมนตร์

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

สสิธร, ศศิทร    ศศิธร    ศศิธร หมายถึง ดวงจันทร์
ศิลป    ศิลปะ    ใช้เป็นศัพท์โดด
ศิลปะกรรม    ศิลปกรรม    คำสมาส
ศิลปะวัฒนธรรม    ศิลปวัฒนธรรม    หากต้องการแยกคำควรใช้ "ศิลปะและวัฒนธรรม"
ศิลปะวัตถุ    ศิลปวัตถุ    คำสมาส
ศึกษานิเทศ, ศึกษานิเทศน์    ศึกษานิเทศก์  
สัตรู, ศตรู    ศัตรู  
โสกเศร้า    โศกเศร้า  
โสกศัลย์, โศกสันต์    โศกศัลย์  
โศกะนาฏกรรม, โศกนาฎกรรม    โศกนาฏกรรม    ใช้ ฏ ปฏัก
ไสล, ศไล    ไศล    หมายถึง เขาหิน
ศรีษะ    ศีรษะ  
ศัทธา    ศรัทธา, สัทธา    นิยมใช้ "ศรัทธา" มากกว่า

-----------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

สะกัด    สกัด  
สะกาว    สกาว  
สะดับ    สดับ  
สถานการ, สถานะการณ์    สถานการณ์  
สรรค์หา    สรรหา    สรรค์ หมายถึง สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น
สรรค์แสร้ง    สรรแสร้ง  
สดวก    สะดวก  
สพาน    สะพาน  
สะบาย    สบาย  
สะบู่    สบู่  
สะไบ, ไสบ    สไบ  
สะบง    สบง  
สมดุลย์    สมดุล  
สถิตย์    สถิต  
สิงห์โต    สิงโต    หรือใช้เพียงคำว่า สิงห์
สัปรด, สัปปะรด, สับปะรส    สับปะรด    มิได้แผลงมาจาก สรรพรส
สัมนา, สำมะนา    สัมมนา  
สอาด    สะอาด  
สังเกตุ    สังเกต  
สังวรณ์    สังวร  
สังวาลย์    สังวาล    ยกเว้นชื่อเฉพาะ "สังวาลย์"
สังสรร    สังสรรค์  
สัญโดษ    สันโดษ  
สร้างสรร    สร้างสรรค์  
สอบเชาว์    สอบเชาวน์  
สัพเหร่อ, สัปปะเหร่อ    สัปเหร่อ  
สาบาญ    สาบาน  
สาธร    สาทร    ชื่อถนนสายหนึ่ง และเขตการปกครองในกรุงเทพมหานคร
สาระพี, สารพี    สารภี    ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวกลิ่นหอม, มิได้หมายถึง เครื่องครัว
สรรพยอก    สัพยอก  
สัญลักษ์    สัญลักษณ์  
สกิด    สะกิด  
สกด    สะกด  
สคราญ    สะคราญ  
สะพึงกลัว    สะพรึงกลัว  
สักการะบูชา    สักการบูชา    คำสมาส
สายสิญจ์    สายสิญจน์  
สรรเพชร    สรรเพชญ  
สัปลับ    สับปลับ  
สัมภาษ, สัมพาส    สัมภาษณ์  
สาธารณะชน    สาธารณชน    คำสมาส
สาธารณะประโยชน์    สาธารณประโยชน์    คำสมาส
สาธารณะสถาน    สาธารณสถาน    คำสมาส
สาธารณะสุข    สาธารณสุข    คำสมาส
สาปสูญ    สาบสูญ  
สาบแช่ง    สาปแช่ง  
สาบสรร    สาปสรร  
สังเขบ    สังเขป  
สาระประโยชน์    สารประโยชน์    คำสมาส
สารสำคัญ    สาระสำคัญ    มิใช่คำสมาส
สารัตถะประโยชน์    สารัตถประโยชน์    คำสมาส
สารัตถสำคัญ    สารัตถะสำคัญ    มิใช่คำสมาส
สำอางค์    สำอาง  
สีสรร, สีสรรค์    สีสัน  
สะเบียง, สเบียง    เสบียง  
สูจิบัตร    สูติบัตร  
โสรส    โสฬส    อ่านว่า "โส-ลด"

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

หกคเมน, หกคะเมร    หกคะเมน  
หงษ์    หงส์  
หนอยแน่    หน็อยแน่  
อย่าร้าง    หย่าร้าง  
หน้าปัทม์นาฬิกา    หน้าปัดนาฬิกา  
หัวมงกุฎท้ายมังกร    หัวมังกุท้ายมังกร    (สำนวน)ไม่เข้ากัน ไม่กลมกลืนกัน
โหรพา, โหระภา    โหระพา  
หมาหมุ้ย    หมามุ่ย, หมามุ้ย  
หยากใย่, หยักไย่, อยากไย่    หยากไย่  
ห่วงไย    ห่วงใย    คำที่ใช้ไม้ม้วน
หยิบย่ง, หยิบโย่ง    หยิบหย่ง  
หมาไน    หมาใน  
เหม็นสาป    เหม็นสาบ  
แหลกราญ    แหลกลาญ  
เหล็กใน    เหล็กไน    มิได้หมายความว่า เหล็กอยู่ข้างใน
โหยหวล    โหยหวน  
มั๊ย, ไม๊    ไหม    แผลงมาจาก "หรือไม่" (อาจอนุโลมใช้ มั้ย ตามเสียงพูด)
ใหหลำ    ไหหลำ  

------------------------------------------------------------------------------

คำที่มักเขียนผิด    คำที่เขียนถูก    หมายเหตุ

อนุญาต    อนุญาต    ญาติ เขียนมีสระ อิ
อวสาณ, อวสาร    อวสาน  
อะหลั่ย    อะไหล่  
อเนถอนาถ    อเนจอนาถ  
อภิเสก    อภิเษก  
อะลุ่มอะล่วย, อลุ่มอล่วย    อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย  
อัธจันทร์    อัฒจันทร์  
อัทยาศัย, อัธยาษัย    อัธยาศัย  
อัมพาส    อัมพาต  
อัตคัต    อัตคัด  
อนุกาชาติ    อนุกาชาด  
อนาธร    อนาทร  
อนุเสาวรีย์, อณุสาวรีย์    อนุสาวรีย์  
อัมรินทร์    อมรินทร์    ยกเว้นชื่อเฉพาะ "อัมร

อัพเดทล่าสุด