https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก MUSLIMTHAIPOST

 

วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก


804 ผู้ชม


เสียงปืนดังอีกแล้ว วันที่สามแล้ว   


เรื่องของพระยาละแวก 


     อยากบอกว่า  วันนี้(๒๔ เมษายน 2554) เสียงปืนหนักกว่า  ถี่กว่า  
บ้านสั่นสะเทือนเป็นระยะ เสียงเหมือนอยู่ใกล้ ๆ  น่ากลัว  
     ธรรมชาติของคนไทย ที่อยู่ในสายเลือด คือไม่รุกราน 
มีนิสัยที่รักสงบ  คนไทยทุกคนทั้งระดับผู้นำประเทศ  จนถึงชาวบ้านทั่วไป   
ต่างมีภาระหน้าที่มากมายในแต่ละวัน  ที่สำคัญกว่าการทำความเดือนร้อน
ให้คนอื่น  การรุกราน จึงมิใช่วิสัยของคนไทย
 
     หลังจากนำเสนอเรื่อง "เสียงปืนดังใกล้บ้าน ..ลูกหลานพระยาละแวก"
มีนักเรียนเข้ามาถามทาง fbมากมายว่า พระยาละแวกเป็นใคร  วันนี้ขอนำ
เรื่องราวของพระยาลแวกมากให้ศึกษากัน

ประเด็นการศึกษา   ประวัติศาสตร์ไทย ซ่อนไว้ในวรรณคดี
สาระการเรียนรู้ภาษาไทย  เรื่องลิลิตตะเลงพ่าย (เกร็ดความรู้ประกอบเรื่อง)
ชั้นมัธยมศึกษาปที่ ๕


       เมื่อปีพศ. ๒๐๗๕ ในรัชสมัยพระมหาจักรพรรดิ ( ช่วงเปลี่ยนแผ่นดิน
จากพระชัยราชามาเป็นพระเทียรราชา หรือพระมหาจักรพรรดิ ) 
กรุงหงสาวดีได้ยกทัพมาตีไทย 
     ฝ่ายเขมรพระยาละแวก เห็นได้ทีจึงยกทัพเข้ามาทางปราจีนบุรีกวาดต้อนผู้คน 
กลับไปเขมรจำนวนมาก หลังจากพม่ายกทัพกลับไปสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ทรงพิโรธมาก จึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปถึงเมืองพระตะบองและละแวก
           วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก

                                  ภาพจาก : movie.mthai.com 
    พระยาละแวก เห็นท่าจะแพ้ในการศึกจึงมีราชสาสน์มากราบทูลพระมหา
จักรพรรดิ จับใจความได้ ว่า “ ข้าพระองค์ผู้ปกครองกัมพูชา มิได้เกรงพระบรม
เดชานุภาพที่ไปกวาดต้อนคนจากปราจีนบุรี ขออย่าทรงพิโรธยกทัพมาตีเมือง
ข้าพเจ้าจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และเป็นข้าพระบาทตราบชั่วกัลปวสาน ”
หลังจากนั้น ๓ วัน พระยาละแวกได้นำเครื่องราชบรรณาการ พร้อมด้วยนักพระสุโท
และนักพระสุทันเป็นราชบุตรมาเข้าเฝ้า ทางพระมหาจักรพรรดิก็ทรงคลายพิโรธ
และขอนำโอรสทั้งสองไปเลี้ยงดู พระยาละแวกก็ยอมจากนั้นก็กวาดต้อนคน
ชาวปราจีนบุรีกลับคืนมาฝั่งไทย ต่อมาไม่นานญวณได้ยึดเมืองละแวก ไทยจึง
ส่งกองทัพไปช่วยเพื่อตีเมืองคืนแต่ทำไม่สำเร็จ
                  วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก
                                           ภาพจาก : thaicinema.org
    ในปีพศ.๒๑๑๓ รัชสมัยพระมหาธรรมราชาหลังจากที่ไทยเสียกรุงให้แก่พม่า
เพียงปีเดียว พระยาละแวกจากเขมรได้ถือโอกาสเข้ามาปล้นและตีเมืองนครนายก
(ทั้งที่เคยให้สัจจะว่าจะขอเป็นข้าพระบาทกษัตริย์ไทยชั่วกัลปาวสาน) 
พระมหาธรรมราชาจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพไปปราบ ให้ทหารนำปืนจ่ารงค์ยิงไปถูก
พระจำปาธิราชของเขมรตายคาที่บนคอช้าง ทัพของเขมรถอยกลับไปแต่ก็ย้อน
กลับมาปล้นเมืองอีกหลายครั้ง นอกจากนี้พระยาละแวกยังนำทัพมากวาดต้อน
ผู้คนแถวจันทรบุรี ระยอง ฉะเชิง เทรากลับไปเขมรจำนวนมากด้วยความคด
ในข้องอในกระดูก พระยาละแวกได้ยกทัพมาถึงปากน้ำพระประแดงโจมตีเมือง
ธนบุรีจับชาวเมืองธนบุรีและนนทบุรีเป็น เชลยจำนวนมาก เลยได้ใจรวบรวมคน
หมายจะตีกรุงศรีอยุธยา แต่งทัพเรือ ๓๐ ลำเข้าปล้นบ้านนายก่าย แต่โชคไม่ดี
ถูกปืนใหญ่ของไทยยิงตายเป็นจำนวนมาก ฝ่ายเขมรแตกทัพหนีกลับไปทาง
พระประแดง ( หนีไม่หนีเปล่ายังกวาดต้อนผู้คนแถวสาครบุรีกลับไปอีกด้วย  )
                    วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก
                                     ภาพจาก shinenoy.blogspot.com

      ในปีพศ.๒๑๒๙ พระยาละแวกเห็นว่าไทยกำลังสู้ศึกหงสาวดีอยู่ จึงฉวยโอกาส
ยกทัพเข้ามาตีเมืองปราจีน สมเด็จพระนเรศวรทรงตรัสว่า “ พระยาละแวกตระบัตสัตย์
อีกแล้ว จึงต้องยกไปปราบให้ราบคราบ ” ผลการศึกกองทัพไทยไล่ตีเขมรไป
จนสุดชายแดน ทหารเขมรล้มตายจำนวนมาก  ในปีพศ.๒๑๓๒ หลังจากสมเด็จ
พระนเรศวรครองราชย์ ทรงปรึกษาข้าราชการว่ากษัตริย์เขมรมีใจคิดไม่ซื่อเหมือน
พระยาละแวก ชอบซ้ำเติมไทยในยามศึกกับพม่า จึงทรงมีพระราชดำริที่จะยกทัพ
ไปแก้แค้นเอาโลหิตมาล้างพระบาท ทรงจัดกองทัพให้ไปตีเมืองปัตบอง เมืองโพธิสัตว์
แล้วเข้าล้อมเมืองละแวกเอาไว้ ทรงล้อมเมืองนานถึง ๓ เดือนยังตีไม่ได้ เสบียงอาหาร
เริ่มลดน้อยลงจึงทรงรับสั่งให้ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยาไปก่อน แล้วจะเตรียมการมาตี
ในภายหน้า
                  https://www.bandhit.com/History/History.html
               วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก
                                   ภาพจาก : oknation.net
 ในพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติฯ ลงข้อความสั้น ๆ 
เกี่ยวกับสงครามกับพระยาละแวกครั้งนั้นว่า 
“ศักราช ๙๕๕ มะเส็งศก…ณ วันศุกร์ขึ้น ๑๐ ค่ำเดือนยี่ เพลารุ่งแล้ว ๓ นาฬิกา ๖ บาท
 เสด็จพยุหยาตราไปเอาเมืองละแวก และตั้งทัพชัย ตำบลบางขวด เสด็จไปครั้งนั้น
ได้ตัวพระยาศรีสุพรรณ ในวันอาทิตย์แรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ นั้น” 
และในพงศาวดารเขมร (ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๑) ลงข้อความเรื่องเดียวกันว่า 
“ลุ ศักราช ๙๕๕ ศกมะเส็ง นักษัตรได้ ๒ เดือน… จึงสมเด็จพระนเรศวร
พระเจ้ากรุงไทยยกกองทัพไพร่พล ๕ หมื่นมารบกับพระองค์ (คือพระสัตถา
หรือพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี) พาสมเด็จพระอัครมเหสีกับสมเด็จพระราชบุตร
ทั้ง ๒ หนีไปอยู่เมืองศรีส่อชอ ลุ ศักราช ๙๕๖ ศกมะเมียนักษัตร…
พระองค์พาสมเด็จพระอัครมเหสีกับพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ไปเมืองลาว 
ฝ่ายพระองค์บรมบพิตร เมื่อ ลุ ศักราช ๙๕๗ ศกมะแมนักษัตร พระชันษา
ได้ ๔๓ ปี พระไชยเชษฐาพระราชบุตรใหญ่ เมื่อ ลุ ศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตร
 พระชันษาได้ ๒๓ ปี นักองค์บรมบพิตรทั้งสองพระองค์สุรคตอยู่ที่เมืองลาว 
ยังแต่พระบรมราชาธิราชผู้เป็นพระอนุชา พระชันษาได้ ๑๘ ปี อยู่เมืองลาว…
ฝ่ายสมเด็จพระศรีสุพรรณผู้เป็นพระอนุชา… ครั้งนั้นจึงพระนเรศวรเป็นเจ้าพระองค์
กับพระราชบุตรแล้วกวาดต้อนตัวเขมรไปเป็นอันมาก ลุ ศักราช ๙๕๖ 
ศกมะเมีย นักษัตรเดือน ๓ จึงพระนเรศวรเป็นเจ้านำพระองค์ไปกรุงศรีอยุธยา
ให้แต่พระมหามนตรีเป็นแม่ทัพใหญ่รั้งอยู่อุดงฦๅไชย…”

                    วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก
                                                 ภาพจาก : oknation.net
จากหลักฐานทั้งของไทยและของเขมรนี้ได้ความตรงกันว่า 
๑. ในปีจุลศักราช ๙๕๕ สมเด็จพระนเรศวรยกทัพไปตีเมืองละแวก 
จับพระศรีสุพรรณพระอนุชาของพระยาละแวกได้ จึงนำตัวมาที่กรุงศรีอยุธยา 
๒. สำหรับตัวพระยาละแวกนั้นจากหลักฐานของไทยมิได้ระบุถึง แต่หลักฐาน
ของเขมรระบุว่า พระองค์หนีไปได้ไปพิงพักอยู่เมืองลาวพร้อมด้วยพระมเหสี
และโอรสอีก ๒ องค์ และอีก ๓ ปีต่อมาคือในจุลศักราช ๙๕๘ พระยาละแวก
และโอรสองค์โตก็สิ้นพระชนม์ที่เมืองลาวนั้น 
พงศาวดารเขมรยังได้กล่าวต่อไปว่า  “ลุ ศักราช ๙๕๘ ศกวอกนักษัตรมีฝรั่งคนหนึ่ง
ชื่อละวิศเวโล…ฝรั่งนั้นไปเชิญพระบรมราชา ผู้เป็นพระราชบุตรน้อยของ
พระบรมราชาธิราชรามาธิบดีมาจากเมืองลาว เมื่อศักราช ๙๕๙ ศกระกานักษัตร…
ลงมาทรงราชย์อยู่ ณ เมือง ศรีส่อชอ ลุ ศักราช ๖๗๑ ศกกุนนักษัตร… จึงมีจามชื่อ
โปรัตกับแขกชื่อฬะสะมะนา ลอบฆ่าพระองค์สุรคต… จึงสมเด็จพระเทวีกษัตริย์เป็น
สมเด็จพระอัยกี พระองค์ให้ราชสาส์นไปขอสมเด็จพระศรีสุพรรณ ผู้เป็นพระภัคินีโย
แต่งกรุงศรีอยุธยา
… จึงพระเจ้ากรุงไทยปล่อยให้สมเด็จพระศรีสุพรรณมาจากกรุงไทย 
มาทรงราชย์สนองสมเด็จพระเรียม ณ เกาะสาเกดในปีฉลูนั้น จึงสมเด็จพระเทวี
กษัตริย์ผู้เป็นพระมาตุจฉา…พระนางให้ไปขอพระไชยเชษฐาเป็นพระราชบุตร
ผู้น้องแต่พระเจ้ากรุงไทย จึงพระเจ้ากรุงไทยโปรดพระราชทานให้มา 
แล้วพระองค์ให้สมเด็จพระราชบุตรทั้งสองพระองค์ปราบบรรดาหัวเมืองใหญ่น้อย
ราบสิ้นแล้ว พระองค์ไปสถิตอยู่ที่เมืองละวาเอมแขวงเมืองพนมเพ็ญ 
เมื่อศักราช ๙๗๓ ศกฉลูนักษัตร” 
                        ที่มา : https://atcloud.com/stories/21881

                  วิชาภาษาไทย ภาษาไทย การอ่าน วรรณคดี ลิลิตตะเลงพ่าย เรื่องของพระยาละแวก
                                                  ภาพจาก : oknation.net

     หลักฐานนี้ ดร.อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า รองผู้สำเร็จราชการหมู่เกาะฟิลิปปินส์
เขียนไว้เป็นภาษาสเปน ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. ๑๖๐๘ ที่เมือง San Geronimo 
อเมริกาใต้ตรงกับปีที่ ๓-๔ ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรฐ มีคนแปลออก
เป็นหลายภาษาเฉพาะฉบับภาษาอังกฤษชื่อ Hon. Henry E.J. Stanley 
เฉพาะเรื่องราวพระยาละแวกในรัชกาลสมเด็จพระนเรศ   นำมาให้อ่านเฉพาะ
ที่เกี่ยวข้องดังนี้

         หน้า ๕๐–๕๑… พวกสเปนสืบได้ความว่า พระยาละแวกเสด็จอยู่ในประเทศลาว 
จึงออกติดตามเพื่ออัญเชิญให้เสด็จกลับกรุงกัมพูชา พวกหนึ่งไปทางบก 
พวกหนึ่งไปทางเรือจนถึงเมืองตังเกี๋ย แล้วเดินบกไปประเทศลาวจนถึง
นครหลวงของลาว (เขียนชื่อไว้ว่า Alanchan) จึงได้ทราบว่าพระยาละแวก
สวรรคตที่นั่น พระโอรสองศ์ใหญ่และพระธิดาก็สิ้นพระชนม์ด้วย เหลืออยู่แต่
โอรสอีกองศ์หนึ่งมีชื่อว่า Prauncar กับพระมารดาเลี้ยงพระอัยยิกา 
และพระมาตุฉาหลายพระองค์ (ไม่บอกจำนวน) จึงอัญเชิญท่านเหล่านี้ลงเรือ
 ล่องลงมาตามลำน้ำ (โขง) จนเข้าเขตแดนกัมพูชา เมื่อ Prauncar 
ปราบปรามยุคเข็ญเกือบเสร็จสิ้นแล้วก็ได้เสด็จขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน 
(ทรงพระนามสุธรรมราชา) 
        หน้า ๙๒–๙๓… ลงคำแปลพระราชสาส์นของกษัตริย์เขมร องค์ที่ระบุชื่อ 
Prauncar (เห็นจะเป็นพระสุธรรมราชาในพงศาวดารเขมร) 
ถึง ดร.อันโตนิโอ เดอ มอร์ก้า ยกย่องว่านายทหารสเปน ๒ คน ซึ่งออกติดตาม
พระราชบิดาของพระองค์ท่านจนถึงเมืองหลวงของประเทศลาวและได้นำ
พระองค์กลับมาครองกรุงกัมพูชาสืบไปพระองค์จึงพระราชทานยศชั้น 
เจ้าพระยา ให้ทั้ง ๒ คน และให้กินเมืองด้วย นายทหารชื่อ Don Bas Castino 
ทรงให้กินเมืองตรัน และนายทหารชื่อ Don Diego Portugal ให้กินเมือง Bapano 
หน้า ๙๓–๑๑๒… เป็นจดหมายของ Blas Ruyz be Hurnan Ghnzales 
เขียนถึงรองผู้สำเร็จราชการเดอมอร์ก้า เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน
ราชอาณาจักรกัมพูชาไว้อย่างยืดยาวยืนยันเรื่องราวการติดตาม
พระยาละแวกจนถึงเมืองลานช้าง (Lanchan) อันเป็นเมืองหลวงของลาว
 “เมื่อเรามาถึง กษัตริย์กัมพูชาที่ทรงชราแล้วได้สวรรคตเสียก่อน พระราชธิดา
และโอรสองค์ใหญ่ก็สิ้นพระชนม์ด้วย (หน้า ๙๙) นอกนั้นก็กล่าวเช่นเดียวกับ
เรื่องราวของ Don Bas และ Don Diego

            ที่มา : https://atcloud.com/stories/21881
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3658

อัพเดทล่าสุด