https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม MUSLIMTHAIPOST

 

รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม


6,465 ผู้ชม

การติดเชื้อราที่ผิวหนัง เกิดจาก เชื้อรา ลุกลามเข้าเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ที่ตายเช่น เล็บ หนังกำพร้า ผม เชื้อที่เป็นสาเหตุ โรค เชื้อรา จะพบได้ทั่วโลกขึ้นกับชนิดของเชื้อรา อุณหภูมิ ความชุ่มชื้นของอากาศ สุขภาพ และความสะอาด


การติดเชื้อราที่ผิวหนัง เกิดจาก เชื้อรา ลุกลามเข้าเซลล์โดยเฉพาะเซลล์ที่ตายเช่น เล็บ หนังกำพร้า ผม เชื้อที่เป็นสาเหตุ โรค เชื้อรา จะพบได้ทั่วโลกขึ้นกับชนิดของเชื้อรา อุณหภูมิ ความชุ่มชื้นของอากาศ สุขภาพ และความสะอาด... 


ผื่นที่มีลักษณะของการมีขุย ผื่นสีแดง ขอบอาจจะชัดหรือไม่ชัด กลมหรือรีให้นึกถึงโรคง่ายๆ 2 โรคคือผื่นแพ้ eczema และ เชื้อรา ดังนั้นควรขูดขุยเพื่อตรวจหาเชื้อรา โรคที่พบได้บ่อยๆ เชื้อราสามารถเกิดที่ไหนของร่างกายก็ได้ เช่นเกิดที่ขาหนีบที่เราเรียก สังคังหรือ Tinea cruris เกิดที่เท้าเรียกTinea pedis หรือฮ่องกงฟุต เกิดที่หน้าเรียกTinea facii เกิดตามตัวเรียก Tineacoporis บริเวณที่เป็นได้ง่ายได้แก่บริเวณที่ชื้น เหงื่ออกมาก การระบายอากาศไม่ดี 

รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม

ชนิดของกลาก กลากตามผิวหนัง เช่น ใบหน้า ลำตัว แขน-ขา รักแร้ มือ ง่ามเท้า ฝ่าเท้า และบริเวณขาหนีบ (สังคัง) ผื่นจะเริ่มเป็นตุ่มแดงและขยายวงกว้างขึ้น ขอบจะมีลักษณะนูนแดง มีขุยขาวๆ ที่ขอบ มักมีอาการคันมาก สำหรับกลากที่ง่ามเท้า – ฝ่าเท้าที่เรียกว่า ฮ่องกงฟุต ผิวหนังจะเป็นแผ่นขาวยุ่ยๆ ลอกได้ หรืออาจเป็นสะเก็ด มีกลิ่นและคันมาก กลากที่เล็บมักเป็นเรื้อรังอาจไม่มีอาการคันหรือเจ็บ มักเกิดที่ปลายเล็บหรือด้านข้างของเล็บก่อน เล็บจะด้านกลายเป็นสีน้ำตาล ขาวขุ่น มีลักษณะขรุขระ เปื่อยยุ่ย และตัวเล็บอาจแยกจากหนังใต้เล็บได้ กลากที่ศีรษะ ส่วนมากพบในเด็กติดต่อกันได้ง่าย ลักษณะที่พบคือ ผมร่วงเป็นหย่อม เส้นผมหักเป็นจุดดำๆ หนังศีรษะบริเวณที่ผมร่วงเป็นสะเก็ด ในรายเป็นรุนแรงจะมีตุ่มหนองรอบรูขุมขนและลุกลามกลายเป็นก้อนนูนมีน้ำเหลืองกรัง เรียกว่า “ชันนะตุ” 

การติดต่อ สามารถติดต่อคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง คนได้รับเชื้อนี้จากคน จากเชื้อที่อยู่บนดิน สัตว์เช่น แมว สุนัข 

รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม

การป้องกัน ห้ามใช้ของร่วมกับคนอื่น เช่น หวี หมวก รองเท้า รักษาความสะอาดบริเวณที่อับเช่น ขาหนีบ ซอกนิ้ว อาบน้ำเสร็จแล้วซับให้แห้งโรยแป้งฝุ่น คอยตรวจรองเท้าอย่าให้แคบไป หลังว่ายน้ำต้องเปลี่ยนเป็นผ้าแห้ง รักษาความสะอาดของที่ใช้ร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ เครื่องสุขภัณฑ์ หลีกเลี่ยงสัมผัสกับผู้ที่เป็นโรค ให้รีบรักษาผู้ที่เป็นโรคด้วยยาที่เหมาะสม

การปฏิบัติตนเมื่อเป็นกลากเกลื้อน รักษาความสะอาดของร่างกายให้ทั่วถึงอย่างสม่ำเสมอ อาบน้ำฟอกสบู่และเช็ดตัวให้แห้งทุกครั้ง โดยเฉพาะบริเวณซอก เช่น รักแร้ ขาหนีบ ง่ามเท้า เป็นต้น ตัดเล็บมือ เล็บเท้าให้สั้น หมั่นล้างมือให้สะอาดและอย่าเกาเพราะจะทำให้เชื้อลุกลามไปที่อื่นได้ ป้องกันการแพร่เชื้อ โดยแยกเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ไม่ใช้ปะปนกันและควรซักทำความสะอาดตากแดดให้แห้งทุกครั้ง ควรมาทำการตรวจรักษาจากแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

การรักษา เชื้อราที่ผิวหนัง โดยทั่วไปจะใช้ยาทาวันละ 2-3 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าผื่นจะหาย โดยทายาที่ผื่นและบริเวณใกล้เคียงโดยรอบหลังจากผื่นหายแล้วควรทายาต่ออีกประมาณ 2 สัปดาห์ และอย่าใช้มือเปื้อนยาขยี้ตา สำหรับเชื้อราที่เล็บและหนังศีรษะการรักษายุ่งยากกว่า ต้องใช้ยารับประทาน 

รู้จักโรคเชื้อรา ป้องกันได้ก่อนลุกลาม

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด