ยาแก้โรคสะเก็ดเงิน โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่ โรคสะเก็ดเงิน การรักษา MUSLIMTHAIPOST

 

ยาแก้โรคสะเก็ดเงิน โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่ โรคสะเก็ดเงิน การรักษา


1,027 ผู้ชม


ยาแก้โรคสะเก็ดเงิน โรคสะเก็ดเงินติดต่อหรือไม่ โรคสะเก็ดเงิน การรักษา

 

 ยารักษาโรคสะเก็ดเงิน
ยากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามิน ดี 3 (Calcipotriene) เป็นยารูปแบบวิตามินดี ลักษณะเป็นครีม ราคาค่อนข้างแพง เหมาะกับผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงิน ที่เป็นน้อยจนถึงปานกลาง แต่ไม่ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น และไม่ควรใช้มาก เนื่องจากอาจเกิดการระคายเคืองได้ จึงไม่ควรใช้บริเวณใบหน้า ข้อพับ อวัยวะเพศ ยากลุ่มน้ำมันดิน เป็นสารเคมีกลุ่มไฮโดรคาร์บอน ที่ได้มาจากธรรมชาติ ผู้ที่เป็นผื่นที่หนังศีรษะ สามารถใช้ แชมพูผสมน้ำมันดิน (Tar Shampoo) ช่วยรักษา โรคสะเก็ดเงิน ได้ ส่วน ครีมผสมน้ำมันดิน ก็ใช้รักษาผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าได้ดี ข้อดี คือ โอกาสที่ผื่น และผิวหนังอักเสบจะกลับมาเป็นใหม่ เป็นได้ช้ากว่าใช้ยาสเตียรอยด์ แต่ข้อเสียคือ หาซื้อยาก ต้องซื้อตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ และยังมีสีและกลิ่นที่ไม่น่าใช้ ยาออกฤทธิ์ช้าไม่ทันใจ ยาทากลุ่มเรตินอล วิตามินเอ ทำเป็นยาเจลทาวันละครั้ง ใช้ได้ดีกับ โรคสะเก็ดเงิน ที่หนังศีรษะและเล็บ โดยมักใช้ร่วมกับยาสเตียรอยด์ แอนทราลีน (Anthralin) เป็นยาที่ใช้รักษา โรคสะเก็ดเงิน มานานและนิยมใช้มากที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะใช้รักษาร่วมกับรังสี UV ข้อจำกัดมีเพียงแค่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทามีสีคล้ำขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับผื่นแดงและมีน้ำเหลือง เพราะอาจทำให้โรคกำเริบมากขึ้น และไม่ควรใช้กับผื่นบริเวณหน้า คอ ข้อพับ ขาหนีบ อวัยวะเพศ เพราะจะระคายเคืองได้ง่าย Salicylic Acid เป็นยาใช้ละลายขุย ทำให้ผิวหนังนุ่ม ลอกขุยออกได้ง่าย เพราะมีส่วนผสมของกรด อยู่ในรูปครีม หรือขี้ผึ้ง เหมาะใช้กับผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ไม่ควรใช้กับข้อพับ และเด็ก เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย ขั้นที่ 2 การใช้แสงรักษา Phototherpy - Ultraviolet Light B เป็นการรักษาโดยใช้รังสีอัลตราไวโอเล็ตบี ใช้ได้ดีกับคนที่เป็นมาก โดยมีผลข้างเคียงน้อย คือ จะมีอาการคันและอาการแดงหรือไหม้ของผิวหนัง แต่มีข้อจำกัดคือ ผู้ป่วยต้องมารักษาที่โรงพยาบาล 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 เดือนติดต่อกัน จากนั้นให้ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ PUVA เป็นการรักษา โรคสะเก็ดเงิน โดยใช้แสงอัลตราไวโอเล็ตเอ หรือ PUVA ร่วมกับการใช้ยา psoralen โดยให้ผลดีถึงร้อยละ 75 แต่มีผลข้างเคียงมาก คืออาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นควรใช้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง และผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉายแสง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รักษาประมาณ 20-30 ครั้ง ให้รักษาต่อไปอีก 2-3 เดือน จะลดโอกาสการเกิดซ้ำได้ใหม่ ขั้นที่ 3 การให้ยารับประทาน ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ เมโธเทร็กเซท (Methotrexate) มักนิยมใช้กับผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงิน ที่เป็นรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่นโดยใช้การรับประทานและฉีดอาทิตย์ละครั้ง เพราะมีผลข้างเคียงสูง คือ อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รวมทั้งอาจทำให้เกิดตับอักเสบ และตับแข็ง ดังนั้นการใช้ยานี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และผู้ป่วยต้องตรวจเลือดก่อนการรักษา และหลังการรักษาทุก ๆ 3-4 เดือน นอกจากนี้ ยาประเภทนี้ยังใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยบางประเภท เช่น หญิงตั้งครรภ์ , ผู้ป่วยโรคตับหรือไต, ผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ,ผู้ที่ดื่มเหล้ามาก, ผู้ที่ติดเชื้อระยะรุนแรง เป็นต้น Oral Retinoids เป็นยาในกลุ่มวิตามินเอ ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินรุนแรง โดยต้องใช้ร่วมกับ UVB และ PUVA ผลข้างเคียงของการใช้ยาคือ ผิวจะแห้ง ลอกเป็นขุย ผมร่วง ทำให้ไขมันในเลือดสูง และตับอักเสบ หากหยุดการรักษาในระยะต้น ๆ จะกลับเป็นปกติได้ หากใช้ยาเกิน 1 ปี อาจทำให้เกิดกระดูกงอกได้ ข้อควรระวังคือ ยานี้ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการ และผู้ใช้ยาห้ามตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากยาสามารถอยู่ในเลือดได้นานถึง 2 ปี และไม่ควรได้รับวิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินเออีก ไซโคสปอริน (Cyclosporine) เป็นยากดภูมิคุ้มกัน ที่ใช้กับผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงิน รุนแรง ผลข้างเคียงคือ อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นพิษต่อไตได้ ถ้าหยุดยาในระยะต้น ๆ อาจจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ ไม่ควรใช้กับผู้ที่ไตพิการ มีโรคความดันโลหิตสูง เคยเป็นมะเร็งมาก่อน หญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้นยากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามิน ดี 3 (Calcipotriene) เป็นยารูปแบบวิตามินดี ลักษณะเป็นครีม ราคาค่อนข้างแพง เหมาะกับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน ที่เป็นน้อยจนถึงปานกลาง แต่ไม่ควรใช้ร่วมกับยาชนิดอื่น และไม่ควรใช้มาก เนื่องจากอาจเกิดการระคายเคืองได้ จึงไม่ควรใช้บริเวณใบหน้า ข้อพับ อวัยวะเพศ ยากลุ่มน้ำมันดิน เป็นสารเคมีกลุ่มไฮโดรคาร์บอน ที่ได้มาจากธรรมชาติ ผู้ที่เป็นผื่นที่หนังศีรษะ สามารถใช้ แชมพูผสมน้ำมันดิน (Tar Shampoo) ช่วยรักษา โรคสะเก็ดเงิน ได้ ส่วน ครีมผสมน้ำมันดิน ก็ใช้รักษาผื่นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้าได้ดี ข้อดี คือ โอกาสที่ผื่น และผิวหนังอักเสบจะกลับมาเป็นใหม่ เป็นได้ช้ากว่าใช้ยาสเตียรอยด์ แต่ข้อเสียคือ หาซื้อยาก ต้องซื้อตามโรงพยาบาลใหญ่ ๆ และยังมีสีและกลิ่นที่ไม่น่าใช้ ยาออกฤทธิ์ช้าไม่ทันใจ ยาทากลุ่มเรตินอล วิตามินเอ ทำเป็นยาเจลทาวันละครั้ง ใช้ได้ดีกับ โรคสะเก็ดเงิน ที่หนังศีรษะและเล็บ โดยมักใช้ร่วมกับยาสเตียรอยด์ แอนทราลีน (Anthralin) เป็นยาที่ใช้รักษา โรคสะเก็ดเงิน มานานและนิยมใช้มากที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจะใช้รักษาร่วมกับรังสี UV ข้อจำกัดมีเพียงแค่ทำให้เกิดอาการระคายเคือง และทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทามีสีคล้ำขึ้น นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับผื่นแดงและมีน้ำเหลือง เพราะอาจทำให้โรคกำเริบมากขึ้น และไม่ควรใช้กับผื่นบริเวณหน้า คอ ข้อพับ ขาหนีบ อวัยวะเพศ เพราะจะระคายเคืองได้ง่าย Salicylic Acid เป็นยาใช้ละลายขุย ทำให้ผิวหนังนุ่ม ลอกขุยออกได้ง่าย เพราะมีส่วนผสมของกรด อยู่ในรูปครีม หรือขี้ผึ้ง เหมาะใช้กับผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า แต่ไม่ควรใช้กับข้อพับ และเด็ก เพราะทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย ขั้นที่ 2 การใช้แสงรักษา Phototherpy - Ultraviolet Light B เป็นการรักษาโดยใช้รังสีอัลตราไวโอเล็ตบี ใช้ได้ดีกับคนที่เป็นมาก โดยมีผลข้างเคียงน้อย คือ จะมีอาการคันและอาการแดงหรือไหม้ของผิวหนัง แต่มีข้อจำกัดคือ ผู้ป่วยต้องมารักษาที่โรงพยาบาล 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 เดือนติดต่อกัน จากนั้นให้ทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ PUVA เป็นการรักษา โรคสะเก็ดเงิน โดยใช้แสงอัลตราไวโอเล็ตเอ หรือ PUVA ร่วมกับการใช้ยา psoralen โดยให้ผลดีถึงร้อยละ 75 แต่มีผลข้างเคียงมาก คืออาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ ดังนั้นควรใช้ในผู้ที่มีอาการรุนแรง และผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉายแสง สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รักษาประมาณ 20-30 ครั้ง ให้รักษาต่อไปอีก 2-3 เดือน จะลดโอกาสการเกิดซ้ำได้ใหม่ ขั้นที่ 3 การให้ยารับประทาน ยาที่นิยมใช้ ได้แก่ เมโธเทร็กเซท (Methotrexate) มักนิยมใช้กับผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงิน ที่เป็นรุนแรง ไม่ตอบสนองต่อการรักษาวิธีอื่นโดยใช้การรับประทานและฉีดอาทิตย์ละครั้ง เพราะมีผลข้างเคียงสูง คือ อาจทำให้ผู้ใช้รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร รวมทั้งอาจทำให้เกิดตับอักเสบ และตับแข็ง ดังนั้นการใช้ยานี้ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ และผู้ป่วยต้องตรวจเลือดก่อนการรักษา และหลังการรักษาทุก ๆ 3-4 เดือน นอกจากนี้ ยาประเภทนี้ยังใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยบางประเภท เช่น หญิงตั้งครรภ์ , ผู้ป่วยโรคตับหรือไต, ผู้ป่วยที่มีเม็ดเลือดขาวและเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติ,ผู้ที่ดื่มเหล้ามาก, ผู้ที่ติดเชื้อระยะรุนแรง เป็นต้น Oral Retinoids เป็นยาในกลุ่มวิตามินเอ ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินรุนแรง โดยต้องใช้ร่วมกับ UVB และ PUVA ผลข้างเคียงของการใช้ยาคือ ผิวจะแห้ง ลอกเป็นขุย ผมร่วง ทำให้ไขมันในเลือดสูง และตับอักเสบ หากหยุดการรักษาในระยะต้น ๆ จะกลับเป็นปกติได้ หากใช้ยาเกิน 1 ปี อาจทำให้เกิดกระดูกงอกได้ ข้อควรระวังคือ ยานี้ไม่ควรใช้กับสตรีมีครรภ์ เพราะอาจทำให้ทารกพิการ และผู้ใช้ยาห้ามตั้งครรภ์อย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากยาสามารถอยู่ในเลือดได้นานถึง 2 ปี และไม่ควรได้รับวิตามินเสริม โดยเฉพาะวิตามินเออีก ไซโคสปอริน (Cyclosporine) เป็นยากดภูมิคุ้มกัน ที่ใช้กับผู้ป่วย โรคสะเก็ดเงิน รุนแรง ผลข้างเคียงคือ อาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง เป็นพิษต่อไตได้ ถ้าหยุดยาในระยะต้น ๆ อาจจะสามารถกลับมาเป็นปกติได้ ไม่ควรใช้กับผู้ที่ไตพิการ มีโรคความดันโลหิตสูง เคยเป็นมะเร็งมาก่อน หญิงตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ผู้ที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด