https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภาษาอังกฤษ สอน การสอนภาษาอังกฤษด้วยการคิดวิเคราะห์ ตอนที่ 2 MUSLIMTHAIPOST

 

ภาษาอังกฤษ สอน การสอนภาษาอังกฤษด้วยการคิดวิเคราะห์ ตอนที่ 2


802 ผู้ชม


Tree Diagram ตอนที่ 2 นะคะ   

การสอนภาษาอังกฤษด้วยวิธีการคิดวิเคราะห์  (ตอนที่ 2)

ความเมื่อตอนที่ 1 ได้แสดงวิธีการสอนด้วยตารางการคิดวิเคราะห์คำนาม เพื่อให้นักเรียนรู้จักชนิดต่างๆของคำนามพอสมควรและเพศของคำนาม โดยพิจารณาจากความหมายของคำ เช่น


  sister      แปลว่า   พี่สาว หรือ น้องสาว  คำนาม ก็ต้องเป็น เพศหญิง

                               (Feminine gender)

  uncle      แปลว่า   ลุง หรือ น้าผู้ชาย อาผู้ชาย ก็ต้องเป็น เพศชาย

                               (Masculine gender)

  students  แปลว่า   นักเรียน ซึ่งมีทั้งสองเพศ คือ ชายและหญิง 
                                 (Common gender)  

 knife       แปลว่า   มีด เป็นสิ่งของ ก็ต้องไม่มีเพศ (Neuter gender)

สำหรับตอนนี้ ครูจะเริ่มนำคำนามมาขยายความให้ชัดเจนโดยการเพิ่มคำคุณศัพท์ (Adjective) และ บุพบทวลี (Prepositional phrase) เข้าไป เช่น 
 a car      a white car     a new white car   a new white car in the garage   เช่นนี้เป็นต้น

ครูต้องอธิบายว่า  NP ย่อมาจาก Noun Phrase หรือ นามวลี และส่วนประกอบของ  NP  แต่ละตัว  อธิบายให้ชัดเจนว่า ตัวที่อยู่นอกวงเล็บเป็นคำนามหลัก และเป็นคำสำคัญที่ละไม่ได้  แต่ คำที่อยู่ในวงเล็บสามารถละได้  แม้ไม่มีก็ยังเข้าใจความหมายชัดเจน  ครูยกตัวอย่าง  NP  ทีละตัวตามลำดับ ดังนี้

NP                                              :   shirt (สามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง แปลว่า เสื้อ)


NP                  (det)                   :   a shirt  
( a เป็นคำ article หรือ เป็นหนึ่งใน

                                                         determiner ที่วางอยู่หน้าคำนาม a จะแสดง

                                                         จำนวนว่ามีเสื้อหนึ่งตัว)


NP            (det) (AP)  N                :   a white shirt  (คำคุณศัพท์ white จะ

                                                          วางอยู่หน้าคำนามเพื่อแสดงให้เห็นอย่าง

                                                          ชัดเจนว่า เสื้อที่พูดถึงเป็นสีขาว)


NP             (det) (AP) N (-pl)        :   the white shirts (คำอธิบายเช่นเดียวกับ

                                                          the white shirt แต่เปลี่ยน article a ให้เป็น

                                                          the และ shirt เติม s เพื่อแสดงความ

                                                          เป็นพหูพจน์)


NP  (det) (AP) N (-pl) (PrepP)     :   the white shirts in the box (เติมคำ

                                                         บุพบทวลี (Prepositional phrase) เพื่อระบุ

                                                         สถานที่ให้ชัดเจนว่าเป็นเสื้อสีขาวตัวที่อยู่ใน

                                                         กล่อง)

     การฝึกให้นักเรียนหาคำนามและคำขยายนามเพื่อเพิ่มความชัดเจน รวมถึงตำแหน่งของคำนามตัวนั้นๆว่าอยู่ที่ไหน โดยใช้บุพบทวลีมาช่วยเสริมความชัดเจน จะทำให้นักเรียนเข้าใจได้ว่า ประธานของประโยคที่เป็นคำนาม ไม่จำเป็นต้องเป็นคำนามเพียง 1 ตัวอาจจะมีคำคุณศัพท์ หรือ คำบุพบทวลีมาช่วยเสริม เพื่อเพิ่มความชัดเจนของคำนามนั้นๆก็ได้  แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น คุณครูต้องย้ำให้นักเรียนเข้าใจว่า  คำที่มีหลายๆคำเหล่านี้ไม่ใช้ประโยค เพราะไม่มีคำกริยา (Verb) อยู่เลย
     ลองนำไปใช้สอนดูนะคะ  ตอนที่ 3 จะตามมาในเร็วๆนี้คะ  สำหรับสื่อการเรียนการสอน คือ ใบงาน เชิญ Download จาก สื่อการเรียนการสอนนะคะ

ครูต้อม
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=441

อัพเดทล่าสุด