https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ.2551 MUSLIMTHAIPOST

 

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ.2551


2,167 ผู้ชม


ระเบียบกระทรวงมหาดไทย

ว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน

พ.ศ. ๒๕๕๑

                       

โดยที่ข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. ๒๕๓๕ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน สมควรปรับปรุงข้อบังคับดังกล่าวให้สอดคล้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๑ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๔ และมาตรา ๓๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. ๒๕๕๑”

ข้อ ๒[๑]  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓  ให้ยกเลิกข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน พ.ศ. ๒๕๓๕

บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้ว ซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ ๔  ในระเบียบนี้

“หน่วยเลือกผู้ใหญ่บ้าน” หมายความว่า ท้องที่ที่กำหนดให้ทำการเลือกผู้ใหญ่บ้าน

“ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการลงคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้านและให้หมายความรวมถึงบริเวณที่กำหนดขึ้นโดยรอบที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

“ผู้มีสิทธิเลือก” หมายความว่า ผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่กำหนดไว้

“ผู้สมัคร” หมายความว่า ผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน

“คณะกรรมการเลือก” หมายความว่า คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามคำสั่งแต่งตั้งของนายอำเภอ

“คณะกรรมการตรวจสอบ” หมายความว่า คณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามคำสั่งแต่งตั้งของนายอำเภอ

ข้อ ๕  การปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ นายอำเภออาจมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติหน้าที่แทนได้

ข้อ ๖  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหากำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้

แบบพิมพ์ รูปแบบและลักษณะของบัตรเลือก ให้เป็นไปตามแบบท้ายระเบียบนี้

หมวด ๑

บททั่วไป

                       

ข้อ ๗  เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ หรือตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลงไม่ว่าด้วยเหตุใดให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านโดยวิธีลับ ภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่มีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่หรือตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลง

ข้อ ๘  การเลือกผู้ใหญ่บ้าน ต้องเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

(๑) นับแต่วันที่นายอำเภอประกาศให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านจนถึงวันเลือก ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อจูงใจให้ผู้มีสิทธิเลือกลงคะแนน หรืองดเว้นการลงคะแนนให้แก่ผู้สมัคร ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

ก. จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด

ข. ให้ เสนอให้ หรือสัญญาว่าจะให้ เงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมแก่ชุมชน สมาคม มูลนิธิ วัด มัสยิด สุเหร่า ศาลเจ้า โรงเจ โบสถ์คริสต์ โบสถ์พราหมณ์ สำนักปฏิบัติธรรม สถาบันการศึกษา สถานสงเคราะห์ สหกรณ์ กองทุนสงเคราะห์ ชุมนุม ชมรม สโมสร กลุ่ม องค์กรหรือสถาบันอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐ ธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิก วุฒิสภากำหนด

ค. จัดให้มีมหรสพ หรือการรื่นเริงต่างๆ รวมทั้งการแสดง และการละเล่นอื่นๆ

ง. เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยงผู้ใด รวมถึงการจัดเลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง การประชุม อบรม สัมมนา ทัศนศึกษา หรือดูงาน เป็นต้น

จ. หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้ายด้วยความเท็จ หรือจูงใจผู้ใดให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครรายอื่น

(๒) ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ห้ามมิให้ผู้ใดทำการโฆษณาหาเสียงโดยวิธีการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครคนใดจนสิ้นสุดการลงคะแนน

(๓) นับแต่วันที่นายอำเภอประกาศให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านจนสิ้นสุดการลงคะแนนให้ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการเลือกวางตัวเป็นกลางโดยเคร่งครัด ห้ามมิให้กระทำการใดๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือสนับสนุนผู้สมัครคนหนึ่งคนใด

(๔) นับแต่วันที่นายอำเภอประกาศให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านจนสิ้นสุดการลงคะแนน ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายกระทำ การใดๆ เพื่อให้เกิดการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่ผู้สมัครคนใด

ข้อ ๙  ให้นายอำเภอกำหนดสถานที่ปิดประกาศสำหรับติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการเลือกผู้ใหญ่บ้าน และใช้เป็นที่โฆษณาหาเสียงของผู้สมัครได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่น ที่ศาลากลางบ้านหรือสถานที่อื่นที่นายอำเภอเห็นสมควร ภายในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านซึ่งสามารถเห็นได้โดยง่าย

ห้ามมิให้ผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเลือกซื้อหรือเช่าเวลา หรือรายการของสถานีวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ หรือทำให้ได้มาซึ่งเวลาออกอากาศทางสถานีดังกล่าว เพื่อโฆษณาหาเสียง

การโฆษณาหาเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียง หรือหอกระจายข่าว ซึ่งทางราชการอาจจัดให้มีขึ้นให้จัดให้มีการหาเสียงการเลือกผู้ใหญ่บ้านของผู้สมัครทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน

ข้อ ๑๐  การกระทำที่ฝ่าฝืนตามข้อ ๘ หรือข้อ ๙ เป็นการเลือกที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม

ข้อ ๑๑  กรณีที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านใดว่างลง ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง

เพื่อประโยชน์ในการจัดการเลือกผู้ใหญ่บ้าน วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างให้เป็นไป ดังนี้

(๑) ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔ (๑) ให้ถือว่าวันที่ผู้ใหญ่บ้านมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ เป็นวันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง

(๒) ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔ (๒) (๖) (๗) (๘) (๙) (๑๐) หรือ (๑๑) ให้ถือว่าวันที่มีคำสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งเป็นวันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง

(๓) ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔ (๓) ให้ถือว่าวันที่ผู้ใหญ่บ้านนั้นตาย หรือวันที่นายอำเภอรับทราบการตายของผู้ใหญ่บ้านนั้นเป็นวันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง แล้วแต่กรณี

(๔) ในกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา ๑๔ (๔) ให้ถือว่าวันที่คำสั่งอนุญาตให้ลาออกได้ระบุไว้เป็นวันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง

ถ้านายอำเภอเห็นว่าไม่อาจจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้ภายใน กำหนดเวลาสามสิบวันให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดขยายเวลาออกไปได้เท่าที่จำ เป็น

หมวด ๒

การดำเนินการเบื้องต้น

                       

ส่วนที่ ๑

การดำเนินการของอำเภอ

                       

ข้อ ๑๒  การเลือกผู้ใหญ่บ้านให้นายอำเภอดำเนินการดังนี้

(๑) ประกาศกำหนดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. ๑ และปิดประกาศภายในสามวันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง หรือวันที่จัดตั้งหมู่บ้านใหม่ ในประกาศตามแบบ ผญ. ๑ อย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังนี้

ก. กำหนดหน่วยเลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยระบุชื่อหมู่บ้าน หมู่ที่ ตำบล อำเภอ จังหวัดว่าเป็นท้องที่ที่กำหนดให้ทำการเลือกผู้ใหญ่บ้าน

ข. กำหนดที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยกำหนดสถานที่ให้เป็นที่ทำการลงคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้าน

ค. กำหนดระยะเวลาการรับสมัคร ต้องกำหนดวันรับสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านภายหลังการประชุมราษฎรแล้ว และต้องอยู่ภายในระยะเวลาสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง ระยะเวลาการรับสมัครต้องไม่น้อยกว่าสามวันไม่เว้นวันหยุดราชการ

ง. กำหนดวันเลือกต้องไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง

จ. กำหนดระยะเวลาการลงคะแนน ให้เริ่มตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา และสิ้นสุดการลงคะแนนเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา

ฉ. กำหนดให้มีการเพิ่มชื่อ ถอนชื่อ ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านได้วันสุดท้ายก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสามวัน

ช. กำหนดวันประชุมราษฎรในหมู่บ้าน ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านนั้นว่างลง เพื่อแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเลือก การทำความเข้าใจในเรื่องรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และการรู้รักสามัคคี ตลอดจนการดำรงรักษาความเป็นมิตร เป็นเพื่อนบ้าน และความเป็นญาติพี่น้องในพื้นที่ทั้งก่อนและหลังการเลือก และให้ราษฎรเสนอชื่อผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบโดยให้ทำบันทึกรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐานตามแบบ ผญ. ๑๐

(๒) จัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. ๒

(๓) รับสมัครผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. ๓

(๔) ประกาศรายชื่อผู้ยื่นใบสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. ๔

(๕) ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. ๖

(๖) ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยตามแบบ ผญ. ๘

(๗) ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบตามแบบ ผญ. ๙

แบบตาม (๑) (๒) (๔) (๕) (๖) และ (๗) ให้ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน สถานที่ที่นายอำเภอกำหนดตามข้อ ๙ และสำรองแบบดังกล่าวอย่างละหนึ่งชุดไว้ให้คณะกรรมการเลือกนำไปใช้หรือปิด ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ยกเว้นแบบตาม (๒) ให้สำรองไว้สองชุดสำหรับนำไปใช้หรือปิด ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน

ส่วนที่ ๒

ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

                       

ข้อ ๑๓  ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอกำหนดจากสถานที่สาธารณะ เช่น สถานศึกษาหรือศาสนสถาน ถ้าไม่สามารถหาสถานที่ดังกล่าวได้ จะกำหนดบ้าน หรือสถานที่อื่น ที่ราษฎรเข้าออกได้ง่าย มีความสะดวกเหมาะสม และไม่เป็นการได้เปรียบหรือเสียเปรียบแก่ผู้สมัครคนหนึ่งคนใดเป็นที่เลือกผู้ใหญ่บ้านก็ได้ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านจะต้องเป็นสถานที่ที่อยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านนั้น หากไม่สามารถหาสถานที่เป็นที่เลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านได้ ให้เป็นดุลพินิจของนายอำเภอที่จะกำหนดสถานที่อื่นที่เหมาะสม

กรณีที่หน่วยเลือกผู้ใหญ่บ้านใดมีราษฎรผู้มีสิทธิเลือกจำนวนมากจน คาดหมายได้ว่าไม่สามารถจัดให้ราษฎรลงคะแนนได้หมดทุกคนภายในกำหนดเวลาตามข้อ ๑๒ (๑) จ. นายอำเภอจะกำหนดที่เลือกผู้ใหญ่บ้านเพิ่มขึ้นอีกก็ได้ตามความเหมาะสม

ข้อ ๑๔  ให้คณะกรรมการเลือก

(๑) จัดภายในบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้มีป้าย หรือเครื่องหมาย เพื่อแสดงขอบเขตบริเวณโดยรอบที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

(๒) จัดให้มีป้ายบอกที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน โดยอย่างน้อยต้องมีข้อความ ดังนี้

ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ชื่อหมู่บ้าน..................หมู่ที่ ........ ตำบล.................................อำเภอ.............................. จังหวัด.............................สถานที่...................................

(๓) จัดทำป้ายบอกทางชี้ไปยังที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ราษฎร

ข้อ ๑๕  คูหาลงคะแนนสำหรับที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้มีจำนวนสามคูหาเป็นอย่างน้อย

ข้อ ๑๖  การเปลี่ยนแปลงที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้กระทำก่อนวันเลือกไม่น้อยกว่าสิบวัน เว้นแต่กรณีเกิดสาธารณภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น มีเหตุความจำเป็นเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ หรือมีเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้น อันจะเป็นเหตุที่ทำให้ไม่สามารถใช้สถานที่ดังกล่าวเป็นที่เลือกผู้ใหญ่บ้านได้ จะประกาศเปลี่ยนแปลงก่อนวันเลือกน้อยกว่าสิบวันก็ได้ การเปลี่ยนแปลงที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้ประกาศตามแบบ ผญ. ๑๒

หมวด ๓

คณะกรรมการ เจ้าหน้าที่ และผู้สังเกตการณ์

                       

ส่วนที่ ๑

คณะกรรมการตรวจสอบ

                       

ข้อ ๑๗  คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวนไม่เกินสามคน และตัวแทนราษฎรผู้มีสิทธิเลือก ซึ่งเป็นที่ยอมรับนับถือของราษฎรในหมู่บ้านนั้น จำนวนไม่น้อยกว่าสี่คนแต่ไม่เกินเจ็ดคน

เจ้าหน้าที่ของรัฐตามวรรคหนึ่ง ให้นายอำเภอแต่งตั้งจากปลัดอำเภอหนึ่งคน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในเขตอำเภอนั้น อีกไม่เกินสองคน

ให้คณะกรรมการตรวจสอบประชุม เพื่อเลือกกันเองเป็นประธานกรรมการคนหนึ่ง โดยให้ปลัดอำเภอเป็นกรรมการและทำหน้าที่เลขานุการ

คณะกรรมการตรวจสอบพ้นจากหน้าที่ เมื่อนายอำเภอประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ. ๖

ข้อ ๑๘  ในวันประชุมราษฎรตามข้อ ๑๒ (๑) ช. ให้ผู้มีสิทธิเลือกของหมู่บ้านนั้นซึ่งอยู่ในที่ประชุมเสนอชื่อผู้มีสิทธิเลือกจำนวนไม่น้อยกว่าสี่คน แต่ไม่เกินเจ็ดคนเป็นกรรมการตรวจสอบโดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อต้องมีผู้มีสิทธิเลือกในหมู่บ้านนั้นรับรองรายละไม่น้อยกว่าสองคน

กรณีมีผู้ได้รับการเสนอชื่อไม่เกินเจ็ดคน ให้นายอำเภอแต่งตั้งผู้ได้รับการเสนอชื่อนั้นเป็นกรรมการตรวจสอบ หากมีผู้ได้รับการเสนอชื่อเกินกว่าเจ็ดคน ให้ประธานที่ประชุมจัดให้มีการออกเสียง โดยเปิดเผยด้วยวิธีการเรียกชื่อผู้มีสิทธิเลือกที่อยู่ในที่ประชุมออกเสียงได้คนละหนึ่งเสียงว่าประสงค์จะให้ผู้ใดเป็นกรรมการตรวจสอบ ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดลำดับหนึ่งถึงเจ็ด ให้นายอำเภอแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ถ้ามีผู้ได้รับคะแนนต่อจากผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดตามลำดับมีคะแนนเท่ากันหลายคนรวมแล้วเกินกว่าเจ็ดคน ให้นำบุคคลที่ได้คะแนนเท่ากันมาจับสลากให้เหลือจำนวนรวมทั้งหมดแล้วไม่เกินเจ็ดคน เพื่อให้นายอำเภอแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ

กรณีที่ไม่มีผู้ประสงค์จะเป็นกรรมการตรวจสอบหรือมีแต่ไม่ถึงสี่คน ให้นายอำเภอพิจารณาแต่งตั้งราษฎรผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านนั้นเป็นกรรมการตรวจสอบให้ครบสี่คน

ข้อ ๑๙  คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑) ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

(๒) เรียกเอกสาร หรือบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง เพื่อประกอบการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม โดยให้คณะกรรมการตรวจสอบบันทึกการรับเอกสาร และบันทึกถ้อยคำบุคคลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

(๓) แจ้งหน่วยงานที่ออกหลักฐาน เพื่อยืนยันความถูกต้องเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยในความถูกต้องแท้จริงของหลักฐานการสมัครของผู้สมัคร

(๔) ประชุมพิจารณาลงมติว่าผู้สมัครใดเป็นผู้มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือไม่

(๕) ทำบันทึกรายงานผลการตรวจสอบเสนอนายอำเภอพิจารณาเพื่อดำเนินการต่อไป

ข้อ ๒๐  การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการที่มีอยู่ แต่ต้องไม่น้อยกว่าสามคนจึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่มาปฏิบัติหน้าที่หรือมาแต่ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่เหลืออยู่เลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม

การวินิจฉัยของคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นไปตามเสียงข้างมากของ กรรมการผู้มาประชุมถ้าจำนวนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่ม ขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด

ส่วนที่ ๒

คณะกรรมการเลือก

                       

ข้อ ๒๑  คณะกรรมการเลือกประกอบด้วย ประธานกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากนายอำเภอทำหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกกรรมการซึ่งแต่งตั้งจากข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นในอำเภอนั้นจำนวนไม่เกินเก้าคน และกำนันหรือผู้ใหญ่บ้านในตำบลนั้นอีกหนึ่งคน

เมื่อนายอำเภอได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเลือกแล้ว ให้แจ้งผู้ได้รับการแต่งตั้งทราบพร้อมกับปิดคำสั่ง ณ สถานที่ตามข้อ ๑๒ วรรคสอง

คณะกรรมการเลือกมีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ หรือตามที่นายอำเภอมอบหมาย และต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อได้รายงานผลการนับคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. ๑๕ ซึ่งได้ส่งมอบหีบบัตร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกให้แก่นายอำเภอเรียบร้อยแล้ว

ข้อ ๒๒  ก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้านถ้าคณะกรรมการเลือกคนหนึ่งคนใด ซึ่งนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งไว้แล้ว ต่อมาผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติตามข้อ ๒๑ เป็นกรรมการเลือกแทน

ข้อ ๒๓  ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน เมื่อถึงเวลาเปิดการลงคะแนนแล้ว มีกรรมการเลือกมาปฏิบัติหน้าที่ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่นายอำเภอ แต่งตั้ง ให้คณะกรรมการเลือกที่อยู่ในขณะนั้นแต่งตั้งผู้มีสิทธิเลือกเป็นกรรมการ เลือกแทนให้มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการที่นายอำเภอแต่งตั้ง ไว้ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านแล้วบันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ใน แบบ ผญ. ๑๑

ข้อ ๒๔  การประชุมและการวินิจฉัยของคณะกรรมการเลือก ให้นำข้อ ๒๐ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ส่วนที่ ๓

เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย

                       

ข้อ ๒๕  ให้นายอำเภอแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยจากพนักงานฝ่ายปกครองตำรวจ หรือสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เพื่อทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน จำนวนไม่น้อยกว่าสองคน และให้มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

(๑) ช่วยเหลือคณะกรรมการเลือกในการดูแลรักษาหีบบัตร บัตรเลือก บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก

(๒) รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

(๓) สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของนายอำเภอ หรือประธานกรรมการเลือก และคณะกรรมการเลือก

ให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยพ้นจากหน้าที่เมื่อคณะกรรมการเลือกได้ส่งมอบหีบบัตรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกแก่นายอำเภอเรียบร้อยแล้ว

ส่วนที่ ๔

ผู้สังเกตการณ์

                       

ข้อ ๒๖  เมื่อนายอำเภอได้ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ. ๖ แล้ว ผู้สมัครที่ประสงค์จะส่งตัวแทนไปประจำ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านเพื่อสังเกตการณ์การลงคะแนนและการนับคะแนน ให้ยื่นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนของตนได้แห่งละหนึ่งคนต่อนายอำเภอก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้านและให้นายอำเภอ แจ้งคณะกรรมการเลือกทราบ

ข้อ ๒๗  ตัวแทนผู้สมัครต้องอยู่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานได้โดยห้ามมิให้กระทำการอันเป็นอุปสรรคแก่การเลือกผู้ใหญ่บ้าน

ตัวแทนผู้สมัครอาจทักท้วงในเมื่อเห็นว่ากรรมการเลือกปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ในกรณีนี้ให้กรรมการเลือกบันทึกคำทักท้วงไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

กรณีตัวแทนผู้สมัครกระทำการอันจะเป็นอุปสรรคแก่การเลือกผู้ใหญ่บ้าน ถ้ากรรมการเลือกได้ตักเตือนแล้วยังขัดขืนให้กรรมการเลือกสั่งให้ตัวแทนผู้สมัครออกไปจากที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน และให้เจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่ง

หมวด ๔

ผู้มีสิทธิเลือก และบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก

                       

ข้อ ๒๘  ผู้มีสิทธิเลือกต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก

ข้อ ๒๙  ให้นายอำเภอจัดทำประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ. ๒ และปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกอย่างช้าในวันประชุมราษฎรตามข้อ ๑๒ (๑) ช.

ข้อ ๓๐  กรณีผู้มีสิทธิเลือก หรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกในแบบ ผญ. ๒ ให้นำสำเนาทะเบียนบ้าน และบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่มีรูปถ่าย และมีหมายเลขประจำตัวประชาชนที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้มายื่นคำร้องต่อนายอำเภอตามระยะเวลากำหนดไว้ในข้อ ๑๒ (๑) ฉ.

เมื่อนายอำเภอได้รับคำร้อง และหลักฐานแล้วหากพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียน บ้านเป็นผู้มีสิทธิเลือก ให้เพิ่มชื่อผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านลงในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกเพิ่มเติมต่อใบสุดท้ายของบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกในแบบ ผญ. ๒ พร้อมบันทึกสาเหตุของการเพิ่มชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้

กรณีนายอำเภอพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำร้อง หรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือก ให้สั่งยกคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งแสดงเหตุผลให้ผู้ยื่นคำร้องทราบก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน

ข้อ ๓๑  กรณีที่พบว่าในบัญชีรายชื่อผู้มี สิทธิเลือกตามแบบ ผญ. ๒ มีชื่อของผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือมีชื่อของบุคคลเดียวกันมากกว่าหนึ่งแห่ง ปรากฏอยู่ ให้นายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร มีอำนาจถอนชื่อของผู้ไม่มีสิทธิหรือบุคคลที่มีชื่อมากกว่าหนึ่งแห่งคงเหลือ ไว้เพียงแห่งเดียวให้ถูกต้อง โดยให้ขีดฆ่าชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกพร้อมทั้งบันทึกสาเหตุ ของการถอนชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้ ทั้งนี้ให้ดำเนินการได้จนถึงวันเลือก

ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกหรือเจ้าบ้านเห็นว่าในบัญชีรายชื่อผู้มี สิทธิเลือกตามแบบ ผญ. ๒ มีชื่อของผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือมีชื่อของบุคคลคนเดียวกันมากกว่าหนึ่งแห่ง ปรากฏอยู่ ให้ผู้มีสิทธิเลือกหรือเจ้าบ้านนั้นยื่นคำร้องต่อนายอำเภอเพื่อขอให้ถอนชื่อ ของผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือบุคคลที่มีชื่อมากกว่าหนึ่งแห่งคงเหลือไว้เพียง แห่งเดียวให้ถูกต้องได้ ทั้งนี้ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่นายอำเภอประกาศกำหนดไว้ในแบบ ผญ. ๑

เมื่อนายอำเภอได้พิจารณาคำร้องตามวรรคสองแล้ว เห็นว่ามีหลักฐานเชื่อได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือมีชื่อมากกว่าหนึ่งแห่ง ให้สั่งถอนชื่อผู้ไม่มีสิทธินั้นหรือชื่อผู้มีสิทธิที่มากกว่าหนึ่งคงเหลือไว้เพียงแห่งเดียวให้ถูกต้อง โดยให้ขีดฆ่าชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกพร้อมทั้งบันทึกสาเหตุของการถอนชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี กำกับไว้แล้วแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องและเจ้าบ้านทราบ

กรณีที่นายอำเภอพิจารณาคำร้องตามวรรคสองแล้ว เห็นว่าผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อ ผู้มีสิทธิเลือกที่ถูกขอถอนชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือก ให้สั่งยกคำร้องพร้อมทั้งแสดงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษร และแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน

หมวด ๕

การสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน

                       

ส่วนที่ ๑

วิธีการสมัคร

                       

ข้อ ๓๒  ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่กำหนดไว้

ข้อ ๓๓  ให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครตามแบบ ผญ. ๓ ด้วยตนเองต่อนายอำเภอ ณ ที่ว่าการอำเภอภายในระยะเวลาที่นายอำเภอประกาศกำหนดไว้ในแบบ ผญ. ๑ พร้อมหลักฐานและเอกสารซึ่งรับรองความถูกต้องดังต่อไปนี้

(๑) บัตรประจำตัวประชาชน

(๒) สำเนาทะเบียนบ้าน

(๓) ใบรับรองแพทย์ ว่าไม่เป็นโรคตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งออกตามความในกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ และต้องออกให้ไม่เกินสามสิบวันจนถึงวันสมัคร

(๔) หลักฐานการศึกษา

(๕) รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด ๓.๕ เซนติเมตร จำนวน ๖ รูป ซึ่งถ่ายมาแล้วไม่เกินหกเดือนจนถึงวันสมัคร

ข้อ ๓๔  เมื่อนายอำเภอได้รับใบสมัครของผู้สมัครใดแล้ว ให้ตรวจสอบเบื้องต้นว่า ได้ลงรายการในใบสมัคร และมีหลักฐานการสมัครครบถ้วนหรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ครบถ้วนให้เรียกเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้ครบถ้วน เมื่อผู้สมัครยื่นใบสมัครและมีหลักฐานการสมัครครบถ้วนแล้ว ให้ออกใบรับใบสมัครให้แก่ผู้สมัครโดยเรียงตามลำดับการยื่นใบสมัคร

เมื่อนายอำเภอได้ออกใบรับใบสมัครแก่ผู้สมัครแล้ว ห้ามมิให้ผู้สมัครนั้นถอนการสมัคร

ข้อ ๓๕  เมื่อเสร็จสิ้นการรับสมัครให้นายอำเภอปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้ยื่นใบสมัครตามแบบ ผญ. ๔ และส่งมอบใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของผู้สมัครทุกรายในวันถัดจากวันสุดท้ายของการรับสมัคร ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตามระเบียบนี้

ผู้ใดเห็นว่าผู้ยื่นใบสมัครรายใดเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม อาจร้องคัดค้านต่อคณะกรรมการตรวจสอบได้ภายในห้าวันนับแต่วันปิดประกาศ ผญ. ๔

ส่วนที่ ๒

การให้หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร

                       

ข้อ ๓๖  การให้หมายเลขประจำตัวผู้สมัครให้ เป็นไปตามลำดับก่อนหลังการยื่นใบสมัครหากผู้สมัครมาถึงที่ว่าการอำเภอและได้ ลงชื่อแสดงตนต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเวลา ๐๘.๓๐ นาฬิกา ให้ถือว่ามาพร้อมกัน

ข้อ ๓๗  กรณีผู้สมัครมาพร้อมกัน ให้นายอำเภอจัดประชุมผู้สมัคร เพื่อตกลงกำหนดลำดับการยื่นใบสมัคร หากไม่สามารถตกลงกันได้ให้ดำเนินการจับสลากสองครั้ง ดังนี้

(๑) การจับสลากครั้งที่หนึ่ง ให้นายอำเภอเขียนชื่อผู้สมัครที่ต้องจับสลากบนสลากที่เหมือนกันแล้วใส่ในภาชนะให้สลากคละกัน แล้วให้นายอำเภอเป็นผู้จับสลากจากในภาชนะดังกล่าวขึ้นมาทีละหนึ่งใบ ชื่อผู้ใดที่ถูกจับมาเป็นลำดับแรกให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิจับสลากในครั้งที่สองก่อนชื่อผู้ใดที่ถูกจับมาเป็นลำดับต่อไป ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิจับสลากในครั้งที่สองเป็นลำดับถัดไปจนครบทุกคน

(๒) การจับสลากครั้งที่สอง ให้นายอำเภอเขียนหมายเลขหนึ่งจนถึงหมายเลขที่เท่ากับจำนวนผู้สมัครที่มายื่น ใบสมัครพร้อมกันบนสลากที่เหมือนกันแล้วใส่ในภาชนะให้สลากคละกัน แล้วให้ผู้สมัครตามลำดับของผลการจับสลากในครั้งที่หนึ่ง ทำการจับสลากจากในภาชนะดังกล่าว ผู้สมัครใดจับสลากได้หมายเลขใด ให้ถือเป็นหมายเลขลำดับในการยื่นใบสมัครนั้น

เมื่อให้หมายเลขประจำตัวผู้สมัครแล้ว หากมีเหตุให้ผู้สมัครรายใดเป็นผู้ไม่มีสิทธิสมัคร ให้คงลำดับหมายเลขประจำตัวผู้สมัครทุกรายไว้ โดยไม่ต้องเลื่อนลำดับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร

ส่วนที่ ๓

ผู้สมัครคนเดียว

                       

ข้อ ๓๘  เมื่อนายอำเภอได้ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามแบบ ผญ. ๖ กรณีมีผู้สมัครคนเดียวหรือมีผู้สมัครหลายคนแต่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามเพียงคนเดียว ให้ถือว่าผู้นั้นได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน และให้นายอำเภอประกาศผลการเลือกตามแบบ ผญ. ๗

หมวด ๖

วิธีการตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม

                       

ข้อ ๓๙  เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบได้รับมอบใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้วให้ทำการตรวจสอบและพิจารณาจากเอกสาร พยานบุคคล พยานแวดล้อมกรณี ให้เสร็จสิ้น และส่งถึงนายอำเภอภายในกำหนดระยะเวลาห้าวันนับแต่วันที่ได้รับใบสมัครพร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้องตามข้อ ๓๕ วรรคหนึ่ง ว่าผู้สมัครเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่หรือไม่

ข้อ ๔๐  กรณีมีผู้กล่าวหาว่าผู้สมัครคนใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ ให้คณะกรรมการตรวจสอบทำหน้าที่แสวงหาความจริงในเรื่องที่กล่าวหาและดูแลให้บังเกิดความยุติธรรม โดยเรียกผู้ถูกกล่าวหามาแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ โดยให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจง หรือนำพยานหลักฐานมาสืบแก้ข้อกล่าวหา

ในการดำเนินการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจสอบตามวรรคหนึ่งอาจมอบหมายให้ประธานกรรมการ เลขานุการ และกรรมการอื่นอีกอย่างน้อยหนึ่งคนทำหน้าที่ตรวจสอบแทนก็ได้

ข้อ ๔๑  ในการตรวจสอบตามข้อ ๓๙ และข้อ ๔๐ หากจำเป็นต้องบันทึกถ้อยคำของบุคคลที่ให้ถ้อยคำไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ให้ประธานกรรมการ เลขานุการ กรรมการผู้ทำหน้าที่สอบสวนและผู้ให้ถ้อยคำลงลายมือชื่อในบันทึกถ้อยคำนั้น

การนำเอกสารหรือวัตถุใดมาใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการตรวจสอบ ให้คณะกรรมการตรวจสอบบันทึกไว้ด้วยว่าได้มาอย่างไร จากผู้ใด และเมื่อใด

เอกสารที่ใช้เป็นพยานหลักฐานในสำนวนการตรวจสอบให้ใช้ต้นฉบับ แต่ถ้าไม่อาจนำต้นฉบับมาได้ จะใช้สำเนาที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบรับรองความถูกต้องของเอกสารก็ได้

ถ้าหาต้นฉบับเอกสารไม่ได้เพราะสูญหาย หรือถูกทำลาย หรือโดยเหตุประการอื่น จะให้นำสำเนาหรือบุคคลมาสืบก็ได้

ข้อ ๔๒  เมื่อทำการตรวจสอบ หรือสอบสวนตามข้อ ๓๙ หรือข้อ ๔๐ เสร็จแล้วให้เลขานุการนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบประชุมลงมติว่า ผู้สมัครรายนั้นเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านหรือไม่ แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบตามแบบ ผญ. ๕ โดยมีความเห็นและเหตุผลพร้อมลงลายมือชื่อกรรมการตรวจสอบทุกคนที่มาประชุม ถ้ากรรมการตรวจสอบผู้ใดมีความเห็นแย้งให้ทำความเห็นแย้งแนบไว้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานดังกล่าวเสนอต่อนายอำเภอ ดังนี้

(๑) กรณีตรวจสอบแล้วเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ให้เสนอความเห็นว่าผู้สมัครรายนั้นเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน

(๒) กรณีตรวจสอบแล้วมีพยานหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้อง ห้ามให้เสนอความเห็นว่าผู้สมัครรายนั้นเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้อง ห้ามแล้วแต่กรณี

ข้อ ๔๓  เมื่อนายอำเภอได้รับรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครจากคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว ให้นายอำเภอพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับรายงาน กรณีนายอำเภอเห็นด้วยกับรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติหรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้นายอำเภอประกาศรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ. ๖ ไปตามนั้น

ในกรณีนายอำเภอไม่เห็นด้วยกับรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติให้ส่ง รายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบทบทวนความเห็นใหม่ให้แล้วเสร็จภายในสามวันนับแต่ วันที่ได้รับ กรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติยืนยันด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสองในสามของ จำนวนคณะกรรมการตรวจสอบเท่าที่มีอยู่ ให้ส่งรายงานการตรวจสอบคุณสมบัติให้นายอำเภอ และให้นายอำเภอประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ. ๖ ไปตามนั้น

ในกรณีที่คณะกรรมการตรวจสอบมีมติไม่ยืนยันความเห็นเดิมหรือพิจารณาไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าผู้สมัครรายนั้นมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม หรือขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามความเห็นของนายอำเภอแล้วแต่กรณี และให้นายอำเภอดำเนินการประกาศรายชื่อผู้สมัครตามแบบ ผญ. ๖ ไปตามนั้น

หมวด ๗

บัตรเลือก และหีบบัตร

                       

ข้อ ๔๔  บัตรเลือกผู้ใหญ่บ้านให้ใช้กระดาษที่มีขนาดกว้างยาวตามความจำเป็น และมีหมายเลขของผู้สมัครโดยมีลักษณะดังนี้

(๑) บัตรเลือกเมื่อพับแล้วด้านหน้ามีแถบสีอยู่บริเวณขอบขวา ถัดไปทางซ้ายมีตราครุฑ และถัดลงไปมีข้อความว่า “บัตรเลือกผู้ใหญ่บ้าน” และมีตราประจำตำแหน่งนายอำเภอท้องที่ประทับที่ข้อความคำว่าบัตรเลือกผู้ใหญ่บ้าน

(๒) ด้านในของบัตรเลือกอย่างน้อยให้มีช่องทำเครื่องหมายหมายเลขผู้สมัคร ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน และคำอธิบายเกี่ยวกับการทำเครื่องหมาย

ข้อ ๔๕  บัตรเลือกและต้นขั้วบัตรเลือกให้เย็บเป็นเล่มๆ ละไม่เกินห้าสิบบัตร มีรอยปรุเพื่อให้ฉีกบัตรเลือกออกจากต้นขั้วบัตรเลือกได้ และให้มีปกหน้าและปกหลัง

ข้อ ๔๖  ต้นขั้วบัตรเลือกอย่างน้อยให้มีข้อความว่า “เล่มที่ ............ เลขที่ .......................ลำดับที่...... (ลำดับที่ของผู้มีสิทธิเลือกที่ปรากฎในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ. ๒)...” อยู่ด้านบนของต้นขั้วบัตรเลือก มีที่ลงลายมือชื่อกรรมการเลือกผู้ที่จ่ายบัตรเลือก และมีที่สำหรับให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อเป็นหลักฐานการรับบัตรเลือก

ข้อ ๔๗  หีบบัตรให้ทำด้วยโลหะหรือวัสดุอื่น ที่ฝาด้านบนมีช่องหย่อนบัตร ด้านหน้าเป็นวัสดุโปร่งใสมองเห็นภายในหีบบัตรได้ ฝาด้านบนเมื่อปิดลงมาแล้ว ให้มีที่สำหรับใส่กุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจ ติดอยู่กับด้านหน้าของหีบบัตร

หมวด ๘

วิธีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน

                       

ส่วนที่ ๑

การดำเนินการก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน

                       

ข้อ ๔๘  ก่อนวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอดำเนินการ ดังนี้

(๑) จัดเตรียมหีบบัตร บัตรเลือก บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก เพื่อมอบให้คณะกรรมการเลือกนำไปใช้ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน

(๒) จัดประชุมคณะกรรมการเลือก และเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานและอำนาจหน้าที่

(๓) มอบหีบบัตร บัตรเลือก บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกให้แก่คณะกรรมการเลือกให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเปิดการลงคะแนน โดยให้มีเวลาเพียงพอที่จะตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก

ข้อ ๔๙  เมื่อคณะกรรมการเลือกได้ตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกให้ถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้นำบัตรเลือกทั้งหมดและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกแยกบรรจุลงในหีบบัตร ปิดหีบบัตรใส่กุญแจประจำครั่งทับรูกุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจและนำไปเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย

ส่วนที่ ๒

การดำเนินการก่อนเปิดการลงคะแนน

                       

ข้อ ๕๐  ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้คณะกรรมการเลือกพร้อมหีบบัตร บัตรเลือก แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือก และผู้ที่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านต้องไปถึงที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน เวลาประมาณ ๐๗.๐๐ นาฬิกา เพื่อดำเนินการตามข้อ ๑๔ พร้อมทั้งตรวจสอบว่ามีแบบ ผญ. ๑ แบบ ผญ. ๒ แบบ ผญ. ๔ แบบ ผญ. ๖ แบบ ผญ. ๘ และแบบ ผญ. ๙ ครบถ้วนหรือไม่ หากแบบดังกล่าวไม่มีหรือชำรุดสูญหายให้นำไปปิดให้ครบถ้วน และจัดให้มีที่สำหรับผู้สังเกตการณ์ซึ่งสามารถมองเห็นการปฏิบัติงานได้

ข้อ ๕๑  เมื่อถึงเวลาประมาณ ๐๗.๓๐ นาฬิกา ให้คณะกรรมการเลือกเปิดหีบบัตรเพื่อตรวจสอบและนับจำนวนบัตรเลือกทั้งหมด

ข้อ ๕๒  ก่อนการลงคะแนนให้คณะกรรมการเลือกประชุมและแบ่งหน้าที่กัน ดังนี้

(๑) หน้าที่รักษาความเรียบร้อยในที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ได้แก่ การจัดระเบียบ และควบคุมดูแลให้ความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกที่มาแสดงตนใช้สิทธิลงคะแนน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

(๒) หน้าที่ตรวจบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ได้แก่ การตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกอ่านชื่อตัวและชื่อสกุล จดหมายเลขบัตรและชื่อหน่วยงานของรัฐที่ออกบัตร แล้วให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก

(๓) หน้าที่มอบบัตรเลือก ได้แก่ การบันทึกหมายเลขลำดับที่ของผู้มีสิทธิเลือกที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ. ๒ และจัดให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อหรือ พิมพ์ลายนิ้วมือไว้ที่ต้นขั้วบัตรเลือกเสร็จแล้วจึงฉีกบัตรเลือกตามรอยปรุออกจากต้นขั้วบัตรเลือก และพับบัตรเลือกก่อนส่งมอบให้ผู้มีสิทธิเลือกนั้นไปลงคะแนน

(๔) หน้าที่ควบคุมคูหาลงคะแนน ได้แก่ การจัดระเบียบในการเข้าไปลงคะแนนในคูหาลงคะแนนให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สุจริตและเที่ยงธรรม

(๕) หน้าที่ควบคุมหีบบัตร ได้แก่ การควบคุมดูแลหีบบัตร และอำนวยความสะดวกในการหย่อนบัตรเลือกของผู้มีสิทธิเลือก

กรรมการเลือกที่เหลือให้คอยสับเปลี่ยนช่วยเหลือกรรมการเลือกที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่

ข้อ ๕๓  เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ มาใช้สิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการเลือกอาจแบ่งบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกชุดที่ใช้ตรวจสอบการใช้ สิทธิเลือกและใช้หมายเหตุการลงคะแนนสำหรับใช้ในการตรวจสอบรายชื่อและส่งบัตร เลือกให้รวดเร็วขึ้นได้ เมื่อปิดการลงคะแนนแล้วให้รวมบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกดังกล่าวให้เป็น ชุดเดียวดังเดิม

ส่วนที่ ๓

การลงคะแนน

                       

ข้อ ๕๔  ให้เปิดการลงคะแนนตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกาถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา

เมื่อถึงเวลา ๐๘.๐๐ นาฬิกา ให้คณะกรรมการเลือกนำหีบบัตรมาแสดงให้ผู้มีสิทธิเลือกซึ่งอยู่ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านเห็นว่าเป็นหีบเปล่า เสร็จแล้วให้ปิดหีบบัตร ในกรณีหีบบัตรเป็นหีบกระดาษให้ปิดเทปกาวผนึกรอยต่อภายนอกหีบบัตร และใส่กุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจ เสร็จแล้วเปิดช่องหย่อนบัตรเลือกและบันทึกการดำเนินการดังกล่าวไว้ในแบบ ผญ. ๑๑ โดยให้กรรมการเลือกและผู้มีสิทธิเลือกหรือผู้สังเกตการณ์ไม่น้อยกว่าสองคนลงลายมือชื่อไว้ด้วย เว้นแต่ไม่มีผู้มีสิทธิเลือกหรือผู้สังเกตการณ์อยู่ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านนั้น เมื่อได้ดำเนินการแล้ว ให้ประธานกรรมการเลือกกล่าวเปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ถึงเวลาลงคะแนนแล้วขอเปิดการลงคะแนน” แล้วจึงเริ่มดำเนินการลงคะแนนต่อไป

ข้อ ๕๕  การใช้สิทธิลงคะแนน ให้ผู้มีสิทธิเลือกที่ประสงค์จะลงคะแนนแสดงตนต่อกรรมการเลือก โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุหรือบัตรหรือ หลักฐานอื่นใดของทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่ายและมีหมายเลขประจำ ตัวประชาชนของผู้ถือบัตร

ข้อ ๕๖  การตรวจสอบการขอใช้สิทธิเลือก ให้กรรมการเลือกซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีรายชื่อตรวจสอบหลักฐานตามข้อ ๕๕ ของผู้มาแสดงตนเพื่อขอใช้สิทธิเลือกกับบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกในแบบ ผญ. ๒ เมื่อพบชื่อและตรวจสอบถูกต้องแล้ว ให้อ่านชื่อตัวและชื่อสกุลของผู้นั้นดังๆ ถ้าไม่มีผู้ใดทักท้วงให้จดหมายเลขบัตรหรือหลักฐาน และสถานที่ออกบัตร โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาในแบบ ผญ. ๒ ไว้เป็นหลักฐาน โดยถือว่าเป็นการหมายเหตุการใช้สิทธิเลือกแล้ว

กรณีผู้มีสิทธิเลือกไม่มีนิ้วหัวแม่มือขวา ให้พิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือซ้าย ถ้าไม่มีนิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างให้พิมพ์ลายนิ้วมือใดนิ้วมือหนึ่งแทน หากไม่มีนิ้วมืออยู่เลยให้ได้รับการยกเว้นและให้กรรมการเลือกหมายเหตุว่าไม่มีนิ้วมือ

ให้กรรมการเลือกผู้ทำหน้าที่มอบบัตรเลือกบันทึกหมายเลขลำดับที่ของ ผู้มีสิทธิเลือกที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกไว้ที่ต้นขั้วบัตร เลือกเสร็จแล้ว ฉีกบัตรเลือกตามรอยปรุออกจากต้นขั้วบัตรเลือก และพับบัตรเลือกแล้วส่งมอบบัตรเลือกให้แก่ผู้นั้น เพื่อไปลงคะแนน

ข้อ ๕๗  กรณีมีผู้ทักท้วงหรือกรรมการเลือกสงสัยว่าผู้มาแสดงตนไม่ใช่ผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกในแบบ ผญ. ๒ ให้คณะกรรมการเลือกสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ถูกทักท้วง หรือผู้ถูกสงสัยเป็นผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกหรือไม่

ถ้าคณะกรรมการเลือกสอบสวนและวินิจฉัยชี้ขาดว่าผู้ถูกทักท้วง หรือผู้ถูกสงสัยเป็นผู้มีชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ให้มอบบัตรเลือกให้ผู้นั้นเพื่อไปลงคะแนน และให้บันทึกเหตุการณ์พร้อมคำวินิจฉัยไว้ในแบบ ผญ. ๑๑ ด้วย

ถ้าคณะกรรมการเลือกวินิจฉัยว่าผู้ถูกทักท้วง หรือผู้ถูกสงสัยไม่ใช่ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ให้คณะกรรมการเลือกบันทึกเหตุการณ์พร้อมคำวินิจฉัยไว้ในแบบ ผญ. ๑๑ ด้วย

ถ้าผู้ใดรู้อยู่แล้วว่าตนเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกหรือไม่มีสิทธิลงคะแนน พยายามลงคะแนน หรือได้ลงคะแนนไปแล้ว โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือหลักฐานอื่นที่มิได้มีไว้สำหรับตน หรือปลอมแปลงขึ้นต่อกรรมการเลือก หากเห็นว่าเป็นความผิดอาญา ให้ประธานกรรมการเลือกแจ้งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจดำเนินการตามกฎหมาย

ข้อ ๕๘  การลงคะแนนให้ทำเครื่องหมายกากบาท เช่น x ลงในช่องหมายเลขผู้สมัคร หรือในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนในบัตรเลือก

ข้อ ๕๙  ให้คณะกรรมการเลือกช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ หรือผู้สูงอายุได้ลงคะแนนด้วยตนเองและลับ

ข้อ ๖๐  เมื่อผู้มีสิทธิเลือกได้รับบัตรเลือกแล้วให้ไปยังคูหาลงคะแนน เพื่อทำเครื่องหมายกากบาท เช่น x ลงในบัตรเลือกและพับบัตรเลือกเพื่อไม่ให้ผู้อื่นทราบได้ว่าลงคะแนนให้ผู้ สมัครรายใดแล้วให้นำบัตรเลือกนั้นหย่อนลงในหีบบัตรด้วยตนเองต่อหน้ากรรมการ เลือก

ก่อนการลงคะแนนถ้าผู้มีสิทธิเลือกพบว่าบัตรเลือกที่ได้รับมาบกพร่องหรือชำรุด ให้ส่งบัตรเลือกนั้นคืนแก่กรรมการเลือก แล้วให้คณะกรรมการเลือกจัดบัตรเลือกให้แก่ผู้นั้นใหม่และให้บันทึกเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

ข้อ ๖๑  ในวันเลือกผู้ใหญ่บ้าน ถ้ายังไม่ได้เปิดให้มีการลงคะแนน หรือเปิดให้มีการลงคะแนนแล้ว การลงคะแนนไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากเกิดสาธารณภัย เหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น มีเหตุความจำเป็นเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติหรือมีเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้น อันอาจจะเป็นเหตุให้การเลือกผู้ใหญ่บ้านไม่สามารถกระทำได้ หรือมีการซื้อสิทธิขายเสียงเป็นจำนวนมาก อันจะเป็นผลให้การเลือกเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม เป็นต้นให้คณะกรรมการเลือกดำเนินการ ดังนี้

(๑) ประกาศงดลงคะแนนในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านนั้นตามแบบ ผญ. ๑๖

(๒) จัดเก็บรักษาบัตรเลือก หีบบัตร และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกไว้ในสถานที่ปลอดภัย

(๓) รายงานนายอำเภอ เพื่อรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบโดยด่วน

(๔) บันทึกเหตุการณ์ไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

ข้อ ๖๒  ผู้ใดแสดงตนว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือก แต่กรรมการเลือกไม่พบชื่อผู้นั้นในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกให้แจ้งแก่ผู้นั้นว่า “ไม่มีสิทธิลงคะแนน” และห้ามมิให้กรรมการเลือกเพิ่มชื่อผู้นั้นลงไปโดยพลการ แม้จะทราบว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกก็ตาม แต่ถ้าผู้นั้นยืนยันว่าตนมีสิทธิที่จะลงคะแนนได้ กรณีอ้างว่าได้ยื่นคำร้องต่อนายอำเภอ และนายอำเภอได้สั่งเพิ่มชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกแล้วแต่ยังมิได้เพิ่มชื่อ ให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบหลักฐานและวินิจฉัยชี้ขาดว่าจะให้ผู้นั้นลงคะแนนหรือไม่ แล้วบันทึกเหตุการณ์และคำวินิจฉัยไว้ในแบบ ผญ. ๑๑ พร้อมแนบบันทึกถ้อยคำของผู้แสดงตนนั้นไว้ด้วย

ข้อ ๖๓  ผู้ใดแสดงตนว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกและมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก แต่ปรากฏว่าในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือก ระบุคำนำหน้าชื่อ หรือรายการแสดงเพศผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือการสะกดชื่อตัวชื่อสกุลผิดในเรื่องตัวอักษร สระ หรือวรรณยุกต์ หรือกรณีเปลี่ยนชื่อตัวชื่อสกุลให้คณะกรรมการเลือกทำการสอบสวน และวินิจฉัยชี้ขาดว่าสมควรจะมอบบัตรเลือกให้แก่ผู้นั้นไปลงคะแนนหรือไม่ แล้วให้บันทึกเหตุการณ์และคำวินิจฉัยไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

ข้อ ๖๔  ในระหว่างเวลาเปิดการลงคะแนน

(๑) ถ้ากรรมการเลือกจำเป็นจะต้องออกไปจากที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้ประธานกรรมการเลือกอนุญาตได้เป็นกรณีๆ ไป คราวละไม่เกินหนึ่งคน

(๒) ผู้ใดจะเข้าไปในที่เลือกผู้ใหญ่บ้านไม่ได้ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่ในการเลือกและผู้ที่เข้าไป เพื่อใช้สิทธิเลือก โดยเฉพาะที่คูหาลงคะแนนนอกจากผู้มีสิทธิเลือกซึ่งเข้าไปลงคะแนน ผู้ใดจะเข้าไปไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็น และให้บันทึกเหตุผลความจำเป็นไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

(๓) ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และผู้ที่ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอมีสิทธิเข้าไปในที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน เพื่อทำการสอดส่องดูแลหรือแนะนำการปฏิบัติให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

ข้อ ๖๕  ในระหว่างการลงคะแนนถ้าผู้สังเกตการณ์ หรือผู้มีสิทธิเลือกเห็นว่าการลงคะแนนไม่ถูกต้อง ให้ทำการทักท้วงโดยสุภาพ ไม่เป็นการกล่าวโต้ตอบกับกรรมการเลือกหรือระหว่างผู้สังเกตการณ์ หรือผู้มีสิทธิเลือกด้วยกันเองในลักษณะที่จะเป็นอุปสรรคแก่การลงคะแนน

ถ้าผู้สังเกตการณ์ หรือผู้มีสิทธิเลือกที่ทักท้วงได้ฝ่าฝืนให้กรรมการเลือกตักเตือน และหากยังขัดขืนอีกให้คณะกรรมการเลือกสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกไปจากที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

ให้คณะกรรมการเลือกบันทึกเหตุการณ์และคำวินิจฉัยการทักท้วงตามวรรคหนึ่งและวรรคสองไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

ข้อ ๖๖  ห้ามมิให้ผู้ใดซึ่งไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายเปิด ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพหรือทำให้ไร้ประโยชน์ หรือนำไปซึ่งหีบบัตรหรือบัตรเลือกหรือเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง

ข้อ ๖๗  เมื่อถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกา ให้ประธานกรรมการเลือกประกาศปิดการลงคะแนน เช่น กล่าวว่า “บัดนี้ถึงเวลา ๑๕.๐๐ นาฬิกาแล้ว ให้ปิดการลงคะแนน” แต่ถ้ามีผู้มีสิทธิเลือกซึ่งประสงค์จะลงคะแนนได้มาอยู่ในบริเวณที่เลือก ผู้ใหญ่บ้านแล้วก่อนเวลาปิดการลงคะแนน ผู้มีสิทธิเลือกที่เหลืออยู่นั้นหากผู้ใดยังไม่ได้รับบัตรเลือกให้คณะ กรรมการเลือกมอบบัตรเลือกให้แก่ผู้มาแสดงตนนั้นเพื่อดำเนินการเลือกให้แล้ว เสร็จ จากนั้นให้ประธานกรรมการเลือกปิดช่องหย่อนบัตรเลือก

ส่วนที่ ๔

การดำเนินการหลังปิดการลงคะแนน

                       

ข้อ ๖๘  เมื่อปิดการลงคะแนนแล้ว ให้คณะกรรมการเลือกนำบัตรเลือกที่เหลือมานับให้ทราบจำนวนและทำเครื่องหมาย โดยใช้โลหะหรือวัตถุอื่นเจาะทะลุบัตรเลือกทั้งปกหน้าและปกหลังเฉพาะเล่มที่ ใช้ เพื่อป้องกันมิให้สามารถนำบัตรที่เหลืออยู่มาใช้ในการลงคะแนนได้ ส่วนบัตรเลือกเล่มที่เหลือและยังไม่ได้ใช้ให้นำส่งคืน เพื่อนำไปใช้ในการเลือกผู้ใหญ่บ้านครั้งต่อไปได้

ข้อ ๖๙  ให้คณะกรรมการเลือกแบ่งหน้าที่ในการนับคะแนน ดังนี้

(๑) กรรมการเลือกคนที่หนึ่ง มีหน้าที่หยิบบัตรเลือกทีละฉบับและคลี่บัตรส่งให้กรรมการเลือกคนที่สอง

(๒) กรรมการเลือกคนที่สอง มีหน้าที่วินิจฉัยบัตรเลือกและขานหมายเลขที่มีการเลือก

(๓) กรรมการเลือกคนที่สาม มีหน้าที่เจาะบัตรเลือกที่ได้วินิจฉัยและขานหมายเลขที่มีการเลือกจากกรรมการเลือกคนที่สอง แล้วใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้

(๔) กรรมการเลือกคนที่สี่ มีหน้าที่ขีดคะแนนในแบบกรอกคะแนน ผญ. ๑๓

(๕) กรรมการเลือกคนที่ห้า มีหน้าที่ขีดคะแนนบนกระดานหรือวัสดุอื่นทำนองเดียวกันให้ราษฎรเห็นได้ง่าย

กรรมการเลือกที่เหลือ มีหน้าที่ช่วยเหลืออำนวยความสะดวกและคอยสับเปลี่ยนในการปฏิบัติหน้าที่กับกรรมการเลือกที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่

ส่วนที่ ๕

การนับคะแนน

                       

ข้อ ๗๐  การนับคะแนน ให้กระทำ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน เมื่อปิดการลงคะแนนแล้วให้เปิดหีบบัตร และให้นับคะแนนโดยเปิดเผยต่อเนื่องจนแล้วเสร็จ ห้ามมิให้เลื่อนหรือประวิงเวลาเว้นแต่มีเหตุตามข้อ ๘๐

ข้อ ๗๑  กรรมการเลือกคนที่หนึ่ง หยิบบัตรเลือกทีละฉบับและคลี่บัตรส่งให้กรรมการเลือกคนที่สองเพื่อดำเนินการ ดังนี้

(๑) วินิจฉัยบัตรเลือก ขาน และอ่าน ดังนี้

ก. ถ้าเป็นบัตรดีที่ทำเครื่องหมายในช่องหมายเลขของผู้สมัครให้ขานว่า “ดี” แล้วอ่านหมายเลขของผู้สมัครที่ได้คะแนนพร้อมทั้งชูบัตรเลือกโดยเปิดเผยให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้านได้มองเห็น

ข. ถ้าเป็นบัตรที่ทำเครื่องหมายในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนให้ขานว่า “ดี” แล้วอ่านว่า “ไม่ประสงค์ลงคะแนน” พร้อมทั้งชูบัตรเลือกโดยเปิดเผยให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้านได้มองเห็น

ค. ถ้าเป็นบัตรเสียให้ขานว่า “เสีย” พร้อมทั้งชูบัตรเลือกโดยเปิดเผย ให้ผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้านได้มองเห็น และให้กรรมการเลือกสลักหลังบัตรว่า “เสีย” โดยมีกรรมการเลือกอย่างน้อยสองคนลงลายมือชื่อกำกับไว้

(๒) เมื่อวินิจฉัยตาม (๑) แล้ว ให้ส่งบัตรเลือกแก่กรรมการเลือกคนที่สามเพื่อทำการเจาะบัตรเลือกดังกล่าว

ข้อ ๗๒  กรรมการเลือกคนที่สาม มีหน้าที่รับบัตรเลือกเพื่อเจาะบัตรที่วินิจฉัยและอ่านแล้วใส่ลงในภาชนะที่ เตรียมไว้โดยแยกเป็นภาชนะสำหรับใส่บัตรดีที่มีหมายเลขผู้สมัครหนึ่งใบ บัตรดีที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนหนึ่งใบ และบัตรเสียหนึ่งใบ

ข้อ ๗๓  กรรมการเลือกคนที่สี่ มีหน้าที่ขีดคะแนนในแบบกรอกคะแนน ผญ. ๑๓ ช่องละห้าคะแนน เมื่อกรรมการเลือกคนที่สองได้วินิจฉัยบัตรเลือกและได้ขานว่า “ดี และอ่านหมายเลขผู้สมัครที่ได้คะแนน” หรือ “ดี และไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือ “เสีย” แล้ว

ข้อ ๗๔  กรรมการเลือกคนที่ห้า มีหน้าที่ขีดคะแนนตามแบบกรอกคะแนน ผญ. ๑๓ ช่องละห้าคะแนน บนกระดานหรือวัสดุอื่นทำนองเดียวกัน เมื่อกรรมการเลือกคนที่สองได้วินิจฉัยบัตรเลือก และได้ขานว่า “ดี และหมายเลขผู้สมัครที่ได้คะแนน” หรือ “ดี และไม่ประสงค์ลงคะแนน” หรือ “เสีย” ให้กรรมการเลือกคนที่ห้าขานทวนคะแนน แล้วจึงขีดคะแนนบนกระดานหรือวัสดุอื่นทำนองเดียวกัน โดยให้บุคคลทั่วไปที่อยู่ในบริเวณที่เลือกผู้ใหญ่บ้านมองเห็นการขีดคะแนนได้อย่างชัดเจน

ข้อ ๗๕  การขีดคะแนน ให้ใช้วิธีขีดหนึ่งต่อหนึ่งคะแนน แต่เมื่อถึงขีดที่ห้าให้ขีดขวางทับเส้นสี่ขีดแรก เช่น ดังรูป IIII หรือ IIII หรือ IIII เป็นต้น เพื่อสะดวกแก่การนับคะแนนและให้ทำเช่นนี้เรื่อยไปทุกห้าขีด

ข้อ ๗๖  บัตรเลือกที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นบัตรเสีย

(๑) บัตรปลอม

(๒) บัตรที่มิได้ทำเครื่องหมายลงคะแนน

(๓) บัตรที่ไม่อาจทราบได้ว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครผู้ใดเลย

(๔) บัตรที่ได้ทำเครื่องหมายลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครแล้วทำเครื่องหมายในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนด้วย

(๕) บัตรที่ทำเครื่องหมายในช่องทำเครื่องหมายเกินกว่าหนึ่งเครื่องหมาย

(๖) บัตรที่ทำเครื่องหมายอื่นนอกจากเครื่องหมายกากบาท

(๗) บัตรที่ทำเครื่องหมายลงคะแนนนอก “ช่องทำเครื่องหมาย” หรือนอก “ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน”

(๘) บัตรที่มีเครื่องหมายสังเกต หรือข้อความอื่นใดนอกจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้

ข้อ ๗๗  ในระหว่างการนับคะแนนถ้าผู้สังเกตการณ์หรือผู้มีสิทธิเลือกเห็นว่าการนับคะแนนไม่ถูกต้อง ให้ทำการทักท้วงโดยสุภาพ ไม่เป็นการกล่าวโต้ตอบกับกรรมการเลือก หรือระหว่างผู้สังเกตการณ์ หรือผู้มีสิทธิเลือกด้วยกันเองในลักษณะที่จะเป็นอุปสรรคแก่การนับคะแนน

ถ้าผู้สังเกตการณ์หรือผู้มีสิทธิเลือกที่ทักท้วงได้ฝ่าฝืน ให้กรรมการเลือกตักเตือน และหากยังขัดขืนอีก ให้คณะกรรมการเลือกสั่งให้บุคคลดังกล่าวออกไปจากที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

ให้คณะกรรมการเลือกตรวจสอบคำทักท้วง และวินิจฉัยชี้ขาดโดยให้บันทึกเหตุการณ์ และคำวินิจฉัยไว้ในแบบ ผญ. ๑๑ พร้อมแนบบันทึกถ้อยคำของผู้ทักท้วงนั้นไว้ด้วย

ข้อ ๗๘  เมื่อเสร็จสิ้นการนับคะแนนให้กรรมการเลือก ตรวจสอบความถูกต้องของการนับคะแนน โดยให้นับจำนวนบัตรดีกับจำนวนบัตรดีที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน และจำนวนบัตรเสียว่าตรงกับจำนวนผู้มาแสดงตนใช้สิทธิเลือกหรือไม่

(๑) หากถูกต้องให้คณะกรรมการเลือกลงลายมือชื่อในแบบกรอกคะแนน ผญ. ๑๓ และประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ผญ. ๑๔ ปิดไว้ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านแล้วรายงานผลการนับคะแนนตามแบบ ผญ. ๑๕ ต่อนายอำเภอ

(๒) ถ้าจำนวนผู้มาใช้สิทธิไม่ตรงกับจำนวนบัตรที่ใช้ลงคะแนน ให้กรรมการเลือกนับคะแนนใหม่โดยพลัน ถ้าผลการนับคะแนนยังไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิอีกให้คณะกรรมการเลือกรายงานนายอำเภอเพื่อจัดให้มีการลงคะแนนใหม่

(๓) ถ้าผลการนับคะแนนที่ไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนตาม (๒) แต่ไม่ทำให้ผลการเลือกนั้นเปลี่ยนแปลงไปไม่ต้องจัดให้มีการลงคะแนนใหม่

ข้อ ๗๙  เมื่อกรรมการเลือกนับคะแนนเสร็จแล้ว ให้จัดเก็บเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกไว้ในหีบบัตร ดังนี้

(๑) บัตรดี บัตรดีที่ไม่ประสงค์ลงคะแนน และบัตรเสีย ให้แยกใส่ลงในถุงวัสดุใสพร้อมเขียนจำนวนบัตรที่บรรจุอยู่ในถุงวัสดุใส

(๒) บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ. ๒ ชุดที่ใช้หมายเหตุการลงคะแนน

(๓) แบบกรอกคะแนนตามแบบ ผญ. ๑๓ ที่ได้ใช้ในการกรอกคะแนนทั้งหมด

(๔) แบบประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ผญ. ๑๔ จำนวน ๑ ชุด

(๕) บันทึกเหตุการณ์การเลือกผู้ใหญ่บ้านตามแบบ ผญ. ๑๑

ให้กรรมการเลือกปิดหีบบัตรพร้อมใส่กุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจและให้ประจำครั่งทับรูกุญแจเสร็จแล้วนำแบบ ผญ. ๒๐ ปิดที่ช่องหย่อนบัตร แล้วปิดเทปกาวระหว่างหีบบัตรและฝาหีบแล้วให้คณะกรรมการเลือกและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยนำหีบบัตร บัตรเลือกที่เหลือทั้งหมดบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตามแบบ ผญ. ๒ ที่เหลือทั้งหมด ประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ผญ. ๑๔ จำนวน ๒ ชุด คูหาลงคะแนนทั้งหมด และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกส่งให้แก่นายอำเภอทันที

ข้อ ๘๐  ในกรณีการนับคะแนนไม่สามารถกระทำได้ อันเนื่องมาจากเกิดสาธารณภัยเหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เช่น มีเหตุความจำเป็นเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ หรือมีเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อยเกิดขึ้น

(๑) กรณียังไม่ได้นับคะแนน ซึ่งได้ทำการเปิดหีบบัตรแล้วหรือยังมิได้ทำการเปิดหีบบัตรให้คณะกรรมการเลือกดำเนินการ ดังนี้

ก. ประกาศงดการนับคะแนน ตามแบบ ผญ. ๑๘

ข. จัดเก็บรักษาหีบบัตรที่มีบัตรเลือกบรรจุอยู่ เอกสาร แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกไว้ในที่ปลอดภัย แต่ถ้าได้ทำการเปิดหีบบัตรแล้ว ให้ปิดหีบบัตรพร้อมใส่กุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจและให้ประจำครั่งทับรูกุญแจ

ค. รายงานนายอำเภอ เพื่อรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบโดยด่วน

(๒) กรณีนับคะแนนไปแล้วบางส่วนให้คณะกรรมการเลือกดำเนินการ ดังนี้

ก. ประกาศงดการนับคะแนน ตามแบบ ผญ. ๑๘

ข. จัดเก็บบัตรเลือกที่ผ่านการวินิจฉัย แยกบัตรดี บัตรดีที่ไม่ประสงค์ลงคะแนนบัตรเสีย และบัตรเลือกที่ยังไม่ได้ผ่านการวินิจฉัย แยกใส่ลงในถุงวัสดุใสพร้อมเขียนจำนวนบัตรที่บรรจุอยู่ในถุงวัสดุใส แล้วนำไปจัดเก็บไว้ในหีบบัตร

ค. ปิดหีบบัตรพร้อมใส่กุญแจหรืออุปกรณ์อื่นแทนกุญแจและให้ประจำครั่งทับรูกุญแจ

ง. จัดเก็บรักษาหีบบัตรที่มีบัตรเลือกบรรจุอยู่ เอกสาร แบบพิมพ์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเลือกไว้ในที่ปลอดภัย

จ. รายงานนายอำเภอเพื่อรายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบโดยด่วน

กรณีที่ปรากฏว่ามีบัตรเลือกที่ได้มีการลงคะแนนแล้ว ชำรุดหรือสูญหายจนไม่สามารถนับคะแนนได้ ให้นายอำเภอจัดให้มีการลงคะแนนใหม่

หมวด ๙

การลงคะแนนใหม่และการนับคะแนนใหม่

                       

ข้อ ๘๑  กรณีการลงคะแนนไม่สามารถกระทำได้ตามข้อ ๖๑ หรือผลของการนับคะแนนไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิตามข้อ ๗๘ (๒) หรือการนับคะแนนไม่สามารถกระทำได้ตามข้อ ๘๐ แล้วทำให้บัตรชำรุดหรือสูญหายจนไม่อาจนับคะแนนได้ ให้นายอำเภอรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอขยายเวลาจัดให้มีการลงคะแนนใหม่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เหตุการณ์นั้นสงบลง โดยจัดทำประกาศกำหนดวันลงคะแนนใหม่ตามแบบ ผญ. ๑๗ แล้วนำแบบ ผญ. ๒ แบบ ผญ. ๖ แบบ ผญ. ๘ และแบบ ผญ. ๑๗ ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน สถานที่ที่นายอำเภอกำหนดตามข้อ ๘ และสำรองแบบดังกล่าวอย่างละหนึ่งชุดไว้ให้คณะกรรมการเลือกนำไปใช้หรือปิด ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ ยกเว้นแบบ ผญ. ๒ ให้สำรองไว้สองชุดสำหรับนำ ไปใช้หรือปิดในวันลงคะแนนใหม่ แล้วให้คณะกรรมการเลือกจัดให้มีการลงคะแนนใหม่ตามระเบียบนี้

ข้อ ๘๒  เมื่อนายอำเภอได้รับรายงานตามข้อ ๘๐ ให้นายอำเภอรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอขยายเวลาจัดให้มีการนับคะแนนใหม่ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่เหตุการณ์นั้นสงบลง โดยจัดทำประกาศกำหนดวัน เวลา และสถานที่นับคะแนนใหม่ ซึ่งอาจเป็นสถานที่ในหมู่บ้านที่มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านนั้น หรือที่ว่าการอำเภอ ตามแบบ ผญ. ๑๙ แล้วนำแบบ ผญ. ๘ และแบบ ผญ. ๑๙ ปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ สถานที่นับคะแนนใหม่ และสถานที่ที่นายอำเภอกำหนดตามข้อ ๘ แล้วให้คณะกรรมการเลือกจัดให้มีการนับคะแนนใหม่ตามระเบียบนี้ โดยแจ้งให้ผู้สมัครหรือผู้สังเกตการณ์ที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้สมัครได้ร่วมในการนับคะแนนใหม่ครั้งนี้ด้วย

หมวด ๑๐

การจับสลาก

                       

ข้อ ๘๓  ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน เมื่อการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้ว มีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคนได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากัน ให้คณะกรรมการเลือกจัดให้ผู้สมัครที่ได้คะแนนเท่ากันนั้น ทำการจับสลาก ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน

ข้อ ๘๔  การจับสลากให้ดำเนินการดังนี้

(๑) การจับสลากครั้งที่หนึ่ง ให้ประธานกรรมการเลือกเขียนชื่อผู้สมัครที่ต้องจับสลากบนสลากที่เหมือนกันแล้วใส่ในภาชนะให้สลากคละกัน แล้วให้ประธานกรรมการเลือกเป็นผู้จับสลากจากในภาชนะดังกล่าวขึ้นมาทีละหนึ่งใบ ชื่อผู้ใดที่ถูกจับมาเป็นลำดับแรกให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิจับสลากในครั้งที่สองก่อน ชื่อผู้ใดที่ถูกจับมาเป็นลำดับต่อไป ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้มีสิทธิจับสลากในครั้งที่สองตามลำดับต่อไปจนครบทุกคน

(๒) การจับสลากครั้งที่สอง ให้ประธานกรรมการเลือกจัดทำสลากเท่ากับจำนวนผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดเท่ากันเป็นสลากซึ่งมีข้อความว่า “ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน” จำนวนหนึ่งใบนอกนั้นเป็นสลากซึ่งมีข้อความว่า “ไม่ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน” แล้วใส่ในภาชนะให้สลากคละกัน แล้วให้ผู้สมัครตามลำดับของผลการจับสลากในครั้งที่หนึ่งทำการจับสลากจากในภาชนะดังกล่าว ผู้สมัครใดจับได้สลาก ซึ่งมีข้อความว่า “ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน” ให้ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านและให้บันทึกแสดงผลการจับสลากไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

ข้อ ๘๕  หากผู้สมัครที่ได้รับคะแนนสูงสุดเท่ากันไม่อยู่ ณ สถานที่จับสลาก หรืออยู่แต่ไม่ยินยอมจับสลาก ให้ประธานกรรมการเลือกเป็นผู้จับสลากแทนผู้ที่ไม่อยู่หรือไม่ยินยอมจับสลากนั้นและบันทึกเหตุการณ์ไว้ในแบบ ผญ. ๑๑

หมวด ๑๑

การดำเนินการหลังการเลือกผู้ใหญ่บ้าน

                       

ส่วนที่ ๑

การออกคำสั่งแต่งตั้ง

                       

ข้อ ๘๖  เมื่อการเลือกผู้ใหญ่บ้านได้มีการนับคะแนนเสร็จสิ้นแล้วให้คณะกรรมการเลือกปิดประกาศผลการนับคะแนนตามแบบ ผญ. ๑๔ ไว้ ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ที่ว่าการอำเภอ และสถานที่ ที่นายอำเภอกำหนดตามข้อ ๘

ข้อ ๘๗  เมื่อนายอำเภอได้รับรายงานผลการนับคะแนนตามแบบ ผญ. ๑๕ แล้ว ให้ออกคำสั่งแต่งตั้งผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดหรือผู้ที่จับสลากได้ข้อความว่า “ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน” หรือผู้สมัครคนเดียวตามข้อ ๓๘ เป็นผู้ใหญ่บ้านนับแต่วันที่นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งแล้วรายงานผู้ว่า ราชการจังหวัดเพื่อออกหนังสือสำคัญให้แก่ผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน

ส่วนที่ ๒

การคัดค้านการเลือก

                       

ข้อ ๘๘  เมื่อนายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านแล้ว ผู้ใดเห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ทำคำร้องคัดค้านเป็นหนังสือยื่นต่อนายอำเภอได้ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง

เมื่อนายอำเภอได้รับหนังสือร้องคัดค้านแล้ว ให้ดำเนินการสอบสวน แล้วรายงานผลการสอบสวนพร้อมความเห็นและหลักฐานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดวินิจฉัยชี้ขาด หากเห็นว่าการเลือกผู้ใหญ่บ้านนั้นเป็นไปตามที่ได้มีการร้องคัดค้าน หรือได้มีการกระทำไปโดยไม่สุจริต และเที่ยงธรรม ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านนั้นพ้นจากตำแหน่ง ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง

กรณีนายอำเภอได้ดำเนินการตามวรรคสองแล้ว เห็นว่ามีความจำเป็นต้องเปิดหีบบัตรเพื่อทำการตรวจสอบผลการนับคะแนน ให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการตรวจสอบ เพื่อประกอบการวินิจฉัยสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อไป

ข้อ ๘๙  กรณีมีผู้ทักท้วงการวินิจฉัยบัตรเลือกในระหว่างการนับคะแนนเนื่องจากการวินิจฉัยบัตรดี บัตรไม่ประสงค์ลงคะแนน หรือบัตรเสีย ว่าเป็นไปโดยไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ไว้แล้ว และได้ร้องคัดค้านเรื่องดังกล่าวต่อนายอำเภอก่อนที่นายอำเภอจะมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอทำการตรวจสอบให้เสร็จสิ้นภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับการร้องคัดค้าน หากผลการตรวจสอบปรากฏว่ามีมูลให้นายอำเภอเปิดหีบบัตร เพื่อทำการนับคะแนนใหม่โดยมีนายอำเภอเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการที่นายอำเภอเห็นสมควร ปลัดอำเภอ กรรมการเลือกที่ทำหน้าที่นับคะแนน และผู้สมัครทุกคนร่วมในการนับคะแนนใหม่ด้วยและรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ

ถ้าการนับคะแนนใหม่ปรากฏว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิกับจำนวนบัตรที่ใช้ในการลงคะแนนมีจำนวนเท่ากัน ผลการนับคะแนนใหม่เป็นเช่นไรให้เป็นไปตามนั้น และให้นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ที่ได้รับคะแนนสูงสุดในการนับคะแนนใหม่เป็นผู้ใหญ่บ้านนับแต่วันที่นายอำเภอมีคำสั่งแต่งตั้ง

ถ้าจำนวนผู้มาใช้สิทธิกับจำนวนบัตรที่ใช้ในการลงคะแนนมีจำนวนไม่เท่ากัน ให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดจัดให้มีการลงคะแนนใหม่ตามระเบียบนี้ เว้นแต่ผลการนับคะแนนที่ไม่ตรงกับจำนวนผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนไม่ทำให้ผลการเลือกนั้นเปลี่ยนแปลงไปไม่ต้องจัดให้มีการลงคะแนนใหม่

ข้อ ๙๐  เมื่อนายอำเภอได้รับคำร้องคัดค้านการเลือกผู้ใหญ่บ้านว่าเป็นไปโดยไม่สุจริต และเที่ยงธรรม ถ้านายอำเภอพิจารณาข้อมูลคำร้องคัดค้านแล้วเห็นว่าผู้ร้องคัดค้านสำคัญผิดในข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง เพื่อประโยชน์แห่งการรู้รักสามัคคี ด้วยความพอใจของคู่กรณีให้นายอำเภอเรียกผู้ร้องคัดค้านและผู้ถูกคัดค้านเสนอข้อเท็จจริงหรือข้อมูลเพิ่มเติม และชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้ว หากผู้ร้องคัดค้านได้เข้าใจข้อกฎหมาย หรือเข้าใจในข้อเท็จจริงที่ถูกต้องแล้วผู้ร้องคัดค้านได้ขอถอนคำร้องคัดค้าน หรือไม่ประสงค์ให้พิจารณาเรื่องคำร้องคัดค้านต่อไปให้บันทึกถ้อยคำผู้ร้องคัดค้านไว้และสั่งยุติเรื่อง หากผู้ร้องคัดค้านยังไม่พอใจให้นายอำเภอทำการสอบสวน และจัดทำความเห็นประกอบข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงคำร้องคัดค้านเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณา

ข้อ ๙๑  กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมีคำสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตำแหน่งตามข้อ ๘๘ ไม่กระทบกระเทือนต่อกิจการที่ผู้ใหญ่บ้านนั้นได้กระทำลงไปในขณะดำรงตำแหน่ง

ข้อ ๙๒  นายอำเภอจะทำลายบัตรเลือกและเอกสารที่เก็บอยู่ในหีบบัตรนั้นได้ เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาคัดค้านการเลือกตามข้อ ๘๘ แล้ว ไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่มีการคัดค้านการเลือกให้นายอำเภอเก็บรักษาหีบบัตรจนกว่าจะถึงที่สุด

ประกาศ ณ วันที่ ๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑

ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย


[เอกสารแนบท้าย]

๑.  ด้านหน้าของบัตรเลือกผู้ใหญ่บ้าน

๒.  ด้านในของบัตรเลือกผู้ใหญ่บ้าน

๓.  ประกาศอำเภอ..............................เรื่อง การเลือกผู้ใหญ่บ้าน (ผญ. ๑)

๔.  ประกาศอำเภอ....................................... เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน (ผญ. ๒)

๕.  ใบสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้าน...................หมู่ที่...... ตำบล ...........อำเภอ.................จังหวัด..............  (ผญ. ๓)

๖.  ประกาศอำเภอ.................................. เรื่อง ประกาศรายชื่อผู้ยื่นใบสมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน (ผญ. ๔)

๗.  รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัคร (ผญ. ๕)

๘.  ประกาศอำเภอ............................. เรื่อง บัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้าน............หมู่ที่............ ตำบล....................  (ผญ. ๖)

๙.  ประกาศอำเภอ................................ เรื่อง ผลการเลือกผู้ใหญ่บ้านกรณีไม่ต้องทำการเลือก (ผญ. ๗)

๑๐.  คำสั่งอำเภอ........................ ที่ ……/………… เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเลือกและเจ้าหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย (ผญ. ๘)

๑๑.  คำสั่งอำเภอ.......................... ที่………../………….. เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ (ผญ. ๙)

๑๒.  บันทึกรายงานการประชุมราษฎร บ้าน………หมู่ที่ ………..ตำบล…………….อำเภอ.................จังหวัด...............วันที่...............เดือน.....................  พ.ศ. .................... ณ .............................................  (ผญ. ๑๐)

๑๓.  บันทึกเหตุการณ์การเลือกผู้ใหญ่บ้าน (ผญ. ๑๑)

๑๔.  ประกาศอำเภอ..................................   เรื่อง เปลี่ยนแปลงที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน (ผญ. ๑๒)

๑๕.  แบบกรอกคะแนน ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันที่ .........เดือน........................พ.ศ. ..... ณ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน บ้าน………..หมู่ที่………ตำบล……………….อำเภอ………………จังหวัด…………… (ผญ. ๑๓)

๑๖.  ประกาศอำเภอ................... เรื่อง ผลการนับคะแนน (ผญ. ๑๔)

๑๗.  รายงานผลการนับคะแนน (ผญ. ๑๕)

๑๘.  ประกาศคณะกรรมการเลือก เรื่อง งดลงคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้าน (ผญ. ๑๖)

๑๙.  ประกาศอำเภอ.......................................... เรื่อง วันลงคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ (ผญ. ๑๗)

๒๐.  ประกาศคณะกรรมการเลือก เรื่อง งดนับคะแนน (ผญ. ๑๘)

๒๑.  ประกาศอำเภอ.......................... เรื่อง กำหนดวัน เวลา และสถานที่นับคะแนนเลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ (ผญ. ๑๙)

๒๒.  ป้ายสำหรับปิดช่องหย่อนบัตรเลือกผู้ใหญ่บ้านแบบหีบบัตรเลือก (ผญ.๒๐)

(ดูข้อมูลจากภาพกฎหมาย)

ปริยานุช/ผู้จัดทำ

๑๑ เมษายน ๒๕๕๑

Source: https://law.longdo.com/law/506/sub36977

อัพเดทล่าสุด