https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หลุดอีกแล้ว นศ.ธรรมศาสตร์ โพสต์ท่ายกขาเกาะรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ ว่อนเน็ต! MUSLIMTHAIPOST

 

หลุดอีกแล้ว นศ.ธรรมศาสตร์ โพสต์ท่ายกขาเกาะรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ ว่อนเน็ต!


1,143 ผู้ชม


หลุดอีกแล้ว นศ.ธรรมศาสตร์ โพสต์ท่ายกขาเกาะรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ ว่อนเน็ต!

ลูกแม่โดมจวกเละ! สาวยกขา-เกาะรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Instagram prypansang, เฟซบุ๊ก สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
              ชาวเน็ตวิจารณ์กระหน่ำ สาวเทียมโพสต์ท่ายกขา-เกาะรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์ ชี้มีสิทธิและเสรีภาพได้แต่ต้องอยู่ในกรอบของความเหมาะสม
              ช่วงเย็นวานนี้ (15 พฤษภาคม) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คกันอย่างกว้างขวางและ รุนแรง กรณีหญิงสาวรายหนึ่งโพสต์รูปถ่าย ลงบนเฟซบุ๊ก ผ่านทางโทรศัพท์มือถือในลักษณะท่าทางไม่เหมาะสม โดยใส่กางเกงขาสั้น นั่งยกขาชันเข่าข้างหนึ่ง แล้วนำมือไปแตะบนบ่า รูปปั้นของ ดร.ปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษ และผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง พร้อมเขียนคำบรรยายใต้รูปภาพไว้ว่า "♥ ความรัก ความคลั่งคืออะไร แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายห​มิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน"
              ทั้งนี้ หลังจากที่มีการโพสต์รูปดังกล่าว บรรดาเพื่อนที่เป็นสมาชิกในเฟซบุ๊กได้มาแสดงความคิดเห็นเชิงชื่นชมและหยอก ล้อ ต่อมา ก็มีสมาชิกผู้ใช้เฟซบุ๊กรายอื่นเข้าไปแสดงความเห็นเชิงต่อว่าในความไม่เหมาะ สมไม่รู้จักกาละเทศะ โดยระบุว่า แม้จะมีสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออก แต่ต้องอยู่บนความเหมาะสม
              และที่เป็นที่ฮือฮามากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เข้ามาแสดงความคิดเห็นต่อรูปภาพดังกล่าว ตามข้อความดังนี้...

              "หุหุ เท่ห์ดี เดี๋ยวเอาไปโปสเตอร์ โฆษณา 24 มิถุนา หรือวันสถาปนา (27 มิถุนา) ที่กำลังจะมาถึงดีกว่า" และ "ว่าแต่ว่า ไอ้รูปปั้นนี่ มันอยู่ตรงไหนนะ ผมไม่รู้จริง ๆ เห็นไปถ่ายกันมา 2 คนแล้ว"
              โดยเจ้าของเฟซบุ๊กรายนี้ ก็ได้เข้ามาตอบว่า... "อยู่ชั้นสองบนตึกโดมค่ะอาจา​รย์ ข้างบนมีพิพิธภัณฑ์แจ่มมากค่​ะ ปล.หนูซิ่วไปอยู่ศิลปศาสตร์​ มธ. แล้วนะอาจารย์ แต่เอกเยอรมันคะ :))"

              อย่างไรก็ตาม สำหรับรูปภาพดังกล่าวขณะนี้มีการส่งต่ออย่างแพร่หลายไปยังสังคมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจต่อการกระทำของบุคคลดังกล่าว โดยเฉพาะศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยหลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้มีการจัดการกับตัวผู้โพสต์ เนื่องจากประพฤติตัวไม่เหมาะสมกับการเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมพงค์ เป็นสัญลักษณ์บุคคลที่ชาวธรรมศาสตร์ให้ความเคารพและยึดมั่นในอุดมการณ์เป็น อย่างยิ่ง

              และล่าสุด เมื่อช่วงคืนที่ผ่านมา (15 พฤษภาคม) ที่เฟซบุ๊กของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ได้โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า...

             "จริง ๆ ผมเซอร์ไพรส์มาก ๆ นะที่รูปคุณ ..... (ไม่ระบุชื่อ ตามเหตุผลทีบอกในกระทู้ข้างล่าง แต่เขามีตัวตนจริงๆ วันก่อนยังเจอหน้าในงาน ดร.หยุด อยู่) "ถ่ายคู่" กับ รูปปันปรีดี กลาย "เป็นเรื่อง" ขึนมาได้ ...ปรีดี กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ขนาดนี้ไปได้ไง  แล้ว พูดก็พูดเถอะ บรรดาคนทีมา "เซนซิทีฟ" มาก ๆ โดยเฉพาะใครที่เรียน มธ. น่ะ โทษที เคยศึกษาประวัติศาสตร์บ้างไหมว่า กว่าปรีดีจะกลายมาเป็นอะไรที "เว่อร์ ๆ " ขนาดนี้ มันมีความเป็นมายังไง
             มหาลัยที่ปรีดีตั้งเอง ไม่กล้าแม้แต่เอ่ยถึงชื่อ ปรีดีเป็นเวลาหลายสิบปี ยังไง? แม้แต่ชื่อ ห้องสมุดที่ตอนนี้ ตั้งเป็นชื่อปรีดีน่ะ ตอนที่เริ่มมีประเพณีตั้งชื่อแบบนี้ ปรีดีไมใช่ ชื่อแรกด้วยซ้ำทีมีการตั้งกัน มีการตั้งชื่อ สัญญา ธรรมศักดิ์ ก่อนด้วยซ้ำ เพราะไม่กล้าขนาดนั้น ชื่อปรีดี ตั้งตามหลัง "ห้องสมุดสัญญา" ถึง 8 ปี ตามหลัง "ห้องสมุดป๋วย" ถึง 5 ปี  บอกตรง ๆ อย่าดัดจริตมากไปครับ"
              ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 และเป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์ และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทยในปัจจุบัน)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

อัพเดทล่าสุด