https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม MUSLIMTHAIPOST

 

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม


981 ผู้ชม


โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม

 


โรคงูสวัดกับดวงตา

โดย แพทย์หญิง อรทัย ชาญสันติ จักษุแพทย์ประจำศูนย์แว่นตาไอซอพติก

โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Varicella Zoster เป็นไวรัสตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสซึ่งเป็นการติดเชื้อครั้งแรก ไวรัสตัวนี้เมื่อถูกกระตุ้นจากภาวะที่ร่างกายอ่อนแอก็จะแสดงอาการออกมาเป็นงูสวัด

โรคงูสวัดที่เกิดอาการแสดงที่ดวงตาเราเรียกว่า Herpes zoster ophthalmicus เกิดจากเมื่อติดเชื้อครั้งแรกแล้วร่างกายไม่สามารถกำจัดตัวไวรัสได้หมด ตัวเชื้อจึงไปซ่อนที่ปมประสาทคู่ที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่บริเวณดวงตา พบภาวะนี้ได้ประมาณ 10-25% ของโรคงูสวัดทั้งหมด เมื่อมีอาการงูสวัดที่ดวงตาจะทำให้เกิดภาวะอักเสบเรื้อรังในลูกตา อาจสูญเสียการมองเห็น และมีอาการปวดตามเส้นประสาทรอบดวงตาได้

ความชุกของโรคงูสวัดในอเมริกาพบได้ประมาณ 1 ล้านคนต่อปี ซึ่งประมาณ 250,000 คนจะมีภาวะนี้ที่บริเวณดวงตา และความชุกของโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยพบมากที่สุดที่อายุประมาณ 70 ปี

ปัจจัยเสี่ยง

ผู้ที่เป็นโรคงูสวัดมักเกี่ยวพันกับการมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งได้แก่

  • อายุมาก มักทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอจึงพบงูสวัดได้บ่อยกว่าหนุ่มสาว
  • โรคเอดส์
  • การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน

อาการ

ผู้ที่เป็นงูสวัดมักมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ในบางรายอาจพบภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องร่วมด้วย
อาการเริ่มแรกมักมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดศีรษะ ปวดแสบร้อนตามเส้นประสาทที่จะเกิดงูสวัด ซึ่งมักจะเกิดอาการเหล่านี้ประมาณ 1-4 วันก่อนที่จะมีตุ่มผื่นขึ้น ลักษณะตุ่มจะเริ่มจากเป็นตุ่มน้ำใส ต่อมากลายเป็นตุ่มหนอง และตกสะเก็ดในเวลา 7-10 วัน เมื่อหายแล้วมักมีแผลเป็นกระดำกระด่างตามรอยเส้นประสาทได้ ถ้ามีการติดเชื้อซ้ำซ้อนจากแบคทีเรียร่วมด้วยมักทำให้เกิดแผลเป็นชัดเจน

สำหรับงูสวัดที่ดวงตาทำให้เกิดอาการปวดตาและรอบๆดวงตา ตาแดง ตามัว มีผื่นขึ้นที่รอบตาและเปลือกตา น้ำตาไหล อาจมีไข้และปวดเมื่อยตัวร่วมด้วย

ผื่นและตุ่มน้ำจะพบได้ตามเส้นประสาทรอบดวงตาดังรูปด้านล่าง และจะกลายเป็นสะเก็ดในวันที่ 5-6 หากพบตุ่มน้ำลามมาถึงบริเวณปลายจมูกให้ระวังไว้ว่าจะมีภาวะอักเสบในลูกตาร่วมด้วย

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม

การอักเสบในดวงตาจากงูสวัด

พบการอักเสบได้หลายตำแหน่งตั้งแต่เปลือกตา เยื่อบุตาขาว ตาขาว กระจกตาดำ ช่องหน้าลูกตา เส้นเลือดที่เลี้ยงประสาทตา ในน้ำวุ้นตา จอประสาทตา รวมถึงขั้วประสาทตา และเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตา

ภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบจะทำให้เกิดแผลเรื้อรังที่กระจกตา อักเสบเรื้อรังที่ช่องหน้าลูกตา อัมพาตของเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อตา ปวดตามเส้นประสาทที่เลี้ยงลูกตา แผลเป็นที่เปลือกตาทำให้เปลือกตาผิดรูป

เปลือกตาและเยื่อบุตาขาว :

การอักเสบที่เปลือกตาพบได้บ่อย และอาจทำให้เกิดหนังตาตกจากที่บวมและอักเสบ ตุ่มน้ำที่ขึ้นรอบๆ เปลือกตาเมื่อหายอาจมีแผลเป็นได้บ้าง เยื่อบุตาอาจมีอาการแดงบวมได้ ดังรูปด้านล่าง

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม

กระจกตา :

การอักเสบที่กระจกตาจะเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญเสียการมองเห็นได้ จะมีอาการตามัว ปวด และสู้แสงไม่ได้ การอักเสบเป็นได้ในทุกชั้นของกระจกตา

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม
ภาพแสดงการอักเสบที่ชั้นนอกสุดของกระจกตา เห็นเป็นรอยแผลที่กระจกตาดำเป็นเส้นแขนงคล้ายกิ่งไม้ ซึ่งเกิดจากเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนใหญ่พบได้หลังจากเกิดตุ่มที่รอบดวงตาประมาณ 1-2 วัน มักเป็นแผลชนิดนี้นาน 4-6 วันและอาจหายไปโดยมีรอยแผลเป็นที่กระจกตาดำหรือไม่มีก็ได้

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม
ภาพแสดงการอักเสบที่เนื้อกระจกตา เห็นเป็นจุดขาวๆ เกิดจากการตอบสนองของภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อการติดเชื้อ การอักเสบแบบนี้อาจเกิดเป็นๆ หายๆ ได้

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม
ภาพแสดงการอักเสบเป็นแผลเรื้อรังจากการที่เส้นประสาทที่เลี้ยงกระจกตาเสื่อม ทำให้การรับความรู้สึกที่กระจกตาเสียไป น้ำตาลดลง แผลหายยากกว่าปรกติ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องแผลเรื้อรังนี้อาจทำให้เกิดการติดเชื้ออื่นๆ หรือกระจกตาบางลงจนทะลุได้

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม
ภาพแสดงภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้องูสวัดที่กระจกตา เกิดแผลเป็นที่กระจกตา กระจกตาบางจนทะลุ

ช่องหน้าลูกตาและม่านตา :

พบมีม่านตาและช่องหน้าลูกตาอักเสบ ซึ่งทำให้ตามัวได้ ส่วนใหญ่มักเป็นไม่รุนแรง แต่อาจทำให้เกิดความดันตาสูงในช่วงที่มีการอักเสบ

จอประสาทตาและขั้วประสาทตา :

เชื้อไวรัสงูสวัดอาจทำให้เกิดการอักเสบที่จอประสาทตาได้เห็นเป็นรอยขาวดังรูปด้านล่างขวา ซึ่งอาจรุนแรงมากในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องมาก เช่นโรคเอดส์ รวมถึงทำให้เกิดจอประสาทตาลอก สูญเสียการมองเห็นถาวรได้ ส่วนภาพล่างซ้ายแสดงภาวะขั้วประสาทตาบวม

โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม โรคงูสวัดที่ตา โรคงูสวัดที่ตา มีครรภ์ โรคงูสวัด กับ โรคเริม

การรักษา

ผู้ที่เป็นงูสวัดรอบดวงตาควรได้รับการตรวจตาด้วยจักษุแพทย์ ส่วนการรักษาได้แก่ การให้ยาต้านไวรัส ที่นิยมคือ acyclovir เป็นยากินประมาณ 7-10 วัน ยาตัวอื่นๆ ได้แก่ Valacyclovir หรือ Famciclovir

สำหรับการอักเสบในลูกตาหากพบร่วมด้วยจักษุแพทย์จะพิจารณาว่าเป็นการอักเสบที่ส่วนใดของลูกตา และให้การรักษาตามตำแหน่งที่ตรวจพบการอักเสบ

 

แหล่งที่มา : isoptik.com

อัพเดทล่าสุด