https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาการโรคหัวใจในเด็ก อาการโรคหัวใจเด็ก อาการโรคหัวใจรั่วในเด็ก MUSLIMTHAIPOST

 

อาการโรคหัวใจในเด็ก อาการโรคหัวใจเด็ก อาการโรคหัวใจรั่วในเด็ก


804 ผู้ชม


อาการโรคหัวใจในเด็ก อาการโรคหัวใจเด็ก อาการโรคหัวใจรั่วในเด็ก

 

 

 โรคหัวใจ..ในเด็ก            

โรคหัวใจที่พบในเด็กแตกต่างจากโรคหัวใจในผู้หใญ่ที่มักเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจจากโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือดหรือโรคหัวใจจากโรคความดันโลหิตสูงโรคหัวใจที่พบในเด็กมักเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และบางชนิดอาจเกิดขึ้นในวัยเด็ก

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
โรคหัวใจชนิดนี้พบได้บ่อยที่สุดในเด็ก โดยพบประมาณ 8-10 คน ต่อทารกแรกเกิดมีชีวิต 1,000 คน อาการของโรคหัวใจอาจพบได้ตั้งแต่หลังคลอด แต่บางรายอาจพบเมื่ออายุ 3-4 ปี หรือเมื่อเป็นผู้ใหญ่ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรคหัวใจ ประมาณร้อยละ 90 ของโรคหัวใจชนิดนี้ไม่ทราบสาเหตุ บางรายมีสาเหตุเนื่องจากมารดาติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมันรับประทานยาบางชนิด ดื่มเหล้า หรือได้รับรังสีในขณะตั้งครรภ์ มารดาสูงอายุ เป็นโรคเบาหวาน หรือโรคทางพันธุกรรม
อาการของโรคหัวใจพิการ แต่กำเนิด มิได้แตกต่างกันอาจมีอาการรุนแรงตั้งแต่แรกเกิดหรืออายุยังน้อยแต่บางรายอาจไม่มีอาการแสดงของโรคหัวใจเลยอาการที่พบบ่อยได้แก่หายใจหอบแรงและเร็วเหนื่อยในขณะดูดนมและต้องหยุดเป็นพักๆ ตัวเล็กกว่าเด็กวัยเดียวกัน และน้ำหนักชึ้นช้า เป็นปอดบวมบ่อยๆ และมีอาการรุนแรงหรือหายช้ากว่าปกติ มีอาการเขียวขณะออกแรง หรือร้อง เหนื่อยง่ายขณะออกแรง เป็นลมหมดสติ เป็นอัมพาต ตรวจได้ เสียงฟู่หัวใจจากการตรวจร่างการหรือหัวใจเต้นเร็วหรือช้าผิดปกติ

โรคหัวใจรูห์มาติค
โรคหัวใจชนิดนี้เกิดขึ้นตามหลังไข้รูห์มาติค ที่เกิดจากการติด เชื้อสเตรปคอคคัส ที่เป็นสาเหตุของคออักเสบและต่อมทอนซิลอักเสบ มักเกิดในเด็กโตที่มีอายุระหว่าง 5-15 ปี อาการของโรคได้แก่ ไข้ ปวดบวมตามข้อใหญ่ๆ มีผื่นแดงที่ผิวหนัง  มีตุ่มแข็งที่ชั้นใต้ผิดหนัง อาจมีอาการทางสมองและหัวใจอักเสบร่วมด้วย โรคนี้เมื่อเป็นแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีกและในรายที่มีหัวใจอักเสบร่วมด้วยจะมีความรุนแรงมากขึ้น มีโอกาสเกิดความพิการของลิ้นหัวใจแบบถาวรได้ จึงควรป้องกันการเกิดซ้ำโดยการรับยาฎิชีวนะ อย่างสม่ำเสมอ

การดูแล
 เด็กที่มีแสดงอาการหรือมีอาการน้อย  ไม่จำเป็นต้องให้การักษาใดๆ บิดามารดาควรให้การเลี้ยงดูเหมือนเด็กปกติทั่วไป ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การเรียน เมื่อพาเด็กไปทำฟันหรือผ่าตัดจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่าเด็กเป็นโรคหัวใจเพื่อให้ยาฎิชีวนะ ป้องกันการเกิดการอักเสบของลิ้นและผนังหัวใจก่อนทำการหัตถการ ควรพาเด็กมาพบแพทย์โรคหัวใจอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดอาจมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นหรืออาจมีภาวะแทรกซ้อนบางชนิดเกิดขึ้น
เด็กที่มีอาการแสดงโรคหัวใจหรือ อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว  เด็กเหล่านี้จะมีอาการเหนื่อย หายใจเร็ว และมักได้รับยาที่ทำให้หัวใจบีบตัวดีขึ้น ยาขับปัสสาวะหรือยายหลอดเลือดรับประทานอย่างต่อเนื่อง เด็กสามารถรับประทานอาหารเช่นเดียวกันกับที่ผู้ปกครองรับประทานตามปกติได้ ควรหลีกเลี่ยงการใส่น้ำปลาหรือเกลือลงในอาหาร หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปในที่แออัดให้เด็กได้รับยาอย่างสม่ำเสมอและในขนาดที่ถูกต้อง เด็กที่สามารถควบคุมอาการได้ดี จะมีการเจริญเติบโตและไปโรงเรียนได้เหมือนเด็กปกติแต่มีบางรายที่อาจต้องทำการผ่าตัดรักษาความผิดปกติ
เด็กที่อาการตัวเขียว
เด็กที่มีอาการเขียวบางคนอาจมีการเขียวกะทันหัน โดยมีอาการเขียวคล้ำมากกว่าปกติร่วมกับมีอาการหายใจหอบลึก ในกรณีที่เป็นรุนแรงอาจมีอการตัวเกร็ง เป็นลมหมดสติได้ อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นตอนเช้า มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก มีไข้ ร้องนานๆ หรือออกกำลังกายจนเหนื่อยมาก จึงควรระวังอย่าให้เด็กขาดน้ำ ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมากๆ เมื่อเด็กมีอาการนี้ ให้จับเด็กนั่งยองๆ หรืออุ้มพาดบ่าเอาเข่าชิดหน้าอก ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์และให้ยาลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ

           
                          

แหล่งที่มา : oknation.net

อัพเดทล่าสุด