https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การเสด็จประพาสต้น คือ การเสด็จประพาสต้น หมายถึง การเสด็จประพาสต้นต่างประเทศของรัชกาลที่5 MUSLIMTHAIPOST

 

การเสด็จประพาสต้น คือ การเสด็จประพาสต้น หมายถึง การเสด็จประพาสต้นต่างประเทศของรัชกาลที่5


8,395 ผู้ชม


การเสด็จประพาสต้น คือ การเสด็จประพาสต้น หมายถึง การเสด็จประพาสต้นต่างประเทศของรัชกาลที่5

 
เพื่อนต้น-ประพาสต้น

 "ประพาสต้น"หมายถึงการเสด็จเยือนราษฎรเป็นการส่วนพระองค์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำอย่างเงียบๆ ไม่กระโตกกระตากให้รู้ว่าพวกเขากำลังเข้าเฝ้าเจ้าชีวิต เพื่อจะได้ทรงสนทนาปราศรัยทำความคุ้นเคย และล่วงรู้ทุกข์สุขของราษฎรได้โดยตรง ไม่ผ่านข้าราชการปกครอง บางครั้งเมื่อทรงทราบถึงความเดือดร้อนของชาวบ้านก็มีพระบรมราชโองการให้เจ้าเมืองรับไปจัดการ หรือแม้แต่ทรงเปลี่ยนตัวข้าราชการปกครองเสียเองก็มี ส่วนชาวบ้านเหล่านั้นก็มิได้ทรงละเลยในภายหลัง ทรงขนามนามพวกเขาว่า "เพื่อนต้น" และพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณอย่างสม่ำเสมอจนตลอดรัชกาล
"ประพาสต้น" เริ่มต้นเมื่อ ร.ศ. ๑๒๓ (พ.ศ. ๒๔๔๘) เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรด้วยทรงคร่ำเคร่งเหน็ดเหนื่อยกับพระราชภารกิจมากไป แพทย์ทูลให้ทรงพักผ่อนเปลี่ยนอากาศบ้างก็ทรงเห็นด้วย แต่มิได้เสด็จแปรพระราชฐานไปที่บางปะอินเฉยๆ หากทรงใช้เวลานี้ลงเรือเสด็จตามแม่น้ำลำคลองเข้าไปตามหมู่บ้านไม่ให้ชาวบ้านรู้ว่าเป็นใคร ปล่อยให้เข้าใจว่าเป็นเรือขุนนางมหาดเล็กตามเสด็จ ต่อจากนั้นก็ทรงใช้วิธีนี้เสด็จไปตามหัวเมืองต่างๆ แวะเยี่ยมเยียนราษฎรจนถึงที่อยู่เป็นประจำ
ธรรมเนียมนี้กลายมาเป็นชื่อว่า" ประพาสต้น" แต่คำนี้มาจากอะไรไม่สามารถชี้ชัดได้ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าถึงที่มาว่า "...ไปจนถึงวัดเพลงจึงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจวได้ลำ ๑ พระราชทานชื่อเรือว่า เรือต้น ได้ยินรับสั่งถามให้แปลกันว่า เรือต้น แปลว่าอะไร บางท่านแปลว่าเรือเครื่องต้น บางท่านแปลว่าเรือทรง อย่างในเห่เรือว่า ' ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย' ดังนี้ แต่บางท่านที่แปลเอาตื้นๆว่าหลวงนายศักดิ์เป็นคนคุมเครื่องมหาดเล็กตามเสด็จ หลวงนายศักดิ์ชื่ออ้น รับสั่งเรียกว่าตาอ้น ตาอ้น เสมอ คำว่า เรือต้นนี้ก็จะแปลว่าเรือตาอ้นนั้นเอง แปลชื่อเรือต้นเป็นหลายอย่างดังนี้ อย่างไรจะถูกฉันก็ไม่ทราบแน่ แต่วันนี้กว่าจะเสด็จกลับมาถึงเมืองราชบุรีเกือบยาม๑ ด้วยต้องทวนน้ำเชี่ยวมาก เหนื่อยบอบมาตามกัน เริ่มเรียกการประพาสวันนี้ว่าประพาสต้น เลยเป็นมูลเหตุที่เรียกการประพาสไปรเวตในวันหลังๆว่าประพาสต้นต่อมา" จดหมายเหตุของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ เล่าเรื่องเหล่านี้ไว้น่าสนุก ทรงเล่าถึงหลายบ้านที่เสด็จไปเยี่ยมโดยเจ้าของบ้านก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร ประทับเสวยร่วมวงกับเจ้าของบ้านอย่างกันเอง เจ้านายที่ตามเสด็จอย่างกรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เคยถูกเมียเจ้าของบ้านเอ็ดเพราะทรงใช้จวักตักแกงขึ้นมาชิมโดยไม่ทรงทราบธรรมเนียมว่าเขาถือกัน สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเสด็จพลาดตกท้องร่องสวนวัดบางสามฟกช้ำดำเขียว เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ถูกหมาเฝ้าสวนริมคลองสองพี่น้องกัดเอา
ระหว่างเสด็จประพาส เจ้านายและขุนนางตามเสด็จก็ช่วยกันทำครัวเองไปตามมีตามเกิด หากมื้อไหนไม่ได้แวะบ้านใคร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกรมพระสมมติอมรพันธุ์ทรงทำหน้าที่คนล้างถ้วยชาม เช่นเดียวกับกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)และกรมหลวงนครราชสีมา ทุกพระองค์ทรงใช้ชีวิตกันอย่างสามัญชนทั่วไปเวลาเสด็จประพาสต้น
เจ้าของบ้านที่เสด็จไปเยือนนี้บางบ้านก็ไม่รู้จักพระเจ้าแผ่นดิน บางบ้านก็จำได้ อย่างบ้านยายผึ้งที่หลักหกใกล้คลองดำเนินสะดวก ตัวยายผึ้งไม่รู้ว่าใคร เห็นเรือก็เข้าใจว่าเป็นเรือขุนนางจึงร้องเชิญให้แวะพัก แล้วเลยมีน้ำใจหาข้าวปลามาเลี้ยง แต่นายฮวดลูกชายวัยหนุ่มของยายผึ้งจำได้จากพระบรมฉายาลักษณ์ที่ตั้งไว้บูชาก็เลยลงกราบ เป็นอันว่าความแตก จึงพระราชทานเงินเป็นค่าตอบแทนให้หลายเท่าของราคากับข้าว ส่วนนายฮวดภายหลังเรียกกันว่า "นายฮวดมหาดเล็ก" ได้ชื่อว่าเป็นคนหนุ่มเฉลียวฉลาดได้เข้าเฝ้าในพระนครอีกหลายครั้ง และได้เป็นผู้ใหญ่บ้านในละแวกนั้นต่อมา
ไม่ใช่ว่าทุกบ้านจำพระเจ้าอยู่หัวได้ อย่างบ้านของนายช้างและอำแดงพลับ เป็นคหบดีมีหน้ามีตาอยู่ที่บางหลวงอ้ายเอียง เจ้าของบ้านต้อนรับแข็งขันแสดงอัธยาศัยดี มานั่งเคียงพระเจ้าอยู่หัวด้วยเข้าใจว่าเป็นข้าราชการคนหนึ่งจากเมืองหลวง จนเสด็จกลับไปแล้วถึงมารู้ในภายหลัง รีบหอบลูกเมียเครือญาติทั้งหมดมาตามหาถึงในพระนคร เพื่อขอขมาเจ้านายทั้งหมดที่เคยล่วงเกินโดยไม่รู้ความจริง หนึ่งร้อยกว่าปีให้หลัง บ้านของนายช้างและอำแดงพลับก็ยังตั้งอยู่ที่เดิม ลูกหลานยังจดจำเรื่องราวในอดีตได้จนทุกวันนี้
บรรดา "เพื่อนต้น" ที่ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้าเฝ้าได้อีกหลายครั้ง ณ เรือนต้นใกล้พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นเรือนไทยบรรยากาศสบายๆ ไร้พิธีรีตอง แบบเดียวกับชีวิตที่พวกเขาคุ้นเคย เมื่อเสด็จกลับจากยุโรปใน ร.ศ. ๑๒๖ ก็ทรงมีไม้เท้าของนอกเป็นของฝากพระราชทานให้ทั่วทุกคน พวก " เพื่อนต้น" จึงมีไม้เท้าพระราชทานเป็นดังเครื่องยศสำหรับถือเมื่อเข้าเฝ้าในกรุงเทพฯ และเฝ้าตามหัวเมืองเวลาเสด็จประพาสไม่ว่าที่ใด
เมื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๕๓ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวกเพื่อนต้นเข้ามาทำบุญให้ทานในงานพระบรมศพ และเข้าถวายพระเพลิงเช่นเดียวกับข้าราชการอื่นๆ นอกจากนี้ พระราชทานเครื่องประดับไม้เท้าสลักพระนาม จ.ป.ร. ให้ติดไว้เป็นที่ระลึก ทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้าเฝ้าได้ต่อไป เช่นเดียวกับเมื่อครั้งแผ่นดินก่อนทุกประการ 

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด