สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง โรคถุงลมโป่งพองระยะสุดท้าย โรคถุงลมโป่งพอง ภาษาอังกฤษ MUSLIMTHAIPOST

 

สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง โรคถุงลมโป่งพองระยะสุดท้าย โรคถุงลมโป่งพอง ภาษาอังกฤษ


1,259 ผู้ชม


สาเหตุของโรคถุงลมโป่งพอง โรคถุงลมโป่งพองระยะสุดท้าย โรคถุงลมโป่งพอง ภาษาอังกฤษ

 

 

คุณคือกลุ่มเสี่ยงต่อ....โรคถุงลมโป่งพอง

          โรคถุงลมโป่งพอง (COPD=Chronic Obstructive Pulmonary Disease) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น องค์การอนามัยโลก ได้ประมาณการว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ประมาณปีละ 3 ล้านคน โดยจะเลื่อนขึ้นมาเป็นสาเหตุการตายของประชากรโลกเป็นอันดับที่ 4 ในปีพุทธศักราช 2573

          ดังนั้น องค์การอนามัยโลก (World Health Organization) และองค์การโรคถุงลมโป่งพองแห่งโลก (Global Initiative Obstructive Lung Disease) จึงกำหนดให้วันพุธสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายนของทุกปีเป็น "วันรณรงค์โรคถุงลมโป่งพองโลก" หรือ World COPD Day มาตั้งแต่ปี 2545

          นายแพทย์สุชัย เจริญรัตนกุล ประธานการจัดงาน และประธานมูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทย ได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับสถานการณ์โรคถุงลมโป่งพอในประเทศไทยว่า โรคนี้นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในลำดับต้นของคนไทย ประมาณการว่าผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยโรคถุงลมโป่งพอง ประมาณปีละ 15,000 คน โดยประมาณการว่า ในจำนวนผู้สูบบุหรี่ 10 ล้านคน มีผู้ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง 1 ล้านคน ในจำนวนนี้ 3 แสนคน มีอาการชัดเจนที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

          สำหรับสาเหตุการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง ร้อยละ 90 มาจากการสูบบุหรี่มีเพียงส่วนน้อยที่เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดจากการขาดเอนไซน์ โรคนี้ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้ทุกคน ต่างกันตรงช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสูบบุหรี่ และปริมาณการตอบสนองของร่างกายต่อควันบุหรี่และพันธุกรรม เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หรือบิดามารดาเป็นโรคนี้อยู่แล้ว ฯลฯ

          โรคถุงลมโป่งพอง เป็นหนึ่งในอาการของ "โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง" ซึ่งรวมเอา "โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง" (Chronic Bronchitis) และ "โรคถุงลมปอดโป่งพอง" (Pulmonary Emphysema) เข้าด้วยกัน เนื่องจากโรคทั้งสองเกิดจากการหายใจเอามลภาวะที่เป็นพิษในรูปของก๊าซหรือฝุ่นอย่างเช่นควันบุหรี่ และควันจากการเผาไหม้เข้าไปก่อให้เกิดอาการอักเสบและการทำลายระบบทางเดินหายใจ ซึ่งได้แก่ หลอดลม และปอดเหมือนกันอีกทั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการของโรคทั้งสองร่วมกัน ต่างกันตรงที่อาจมีอาการของโรคหนึ่งมากกว่ามีผู้ป่วยน้อยรายที่มีเพียงอาการเดียว

          ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ในขั้นต้นจะไม่ค่อยปรากฏอาการมากนัก นอกจากอาการทั่วไป เช่น ไอเรื้อรัง และอาจมีเสมหะ เป็นหวัดง่าย เจ็บคอ คออักเสบ หลอดลมอักเสบบ่อยๆ และหายยาก อาการขั้นต่อมาหอบเหนื่อยเพราะได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ หายใจมีเสียง หายใจลำบาก เพราะหลอดลมตีบขึ้น อาการจะมากขึ้นตามการเสื่อมของถุงลมในปอด ในรายที่เป็นมากจะมีอาการหอบเหนื่อยมากจนไม่สามารถทำงาน เดิน หรือใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ ต้องนอนพักให้ออกซิเจนตลอดเวลา สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง รวมทั้งญาติพี่น้องและผู้พบเห็นต้องทุกข์ใจเช่นกัน อาการหอบเหนื่อยที่มีอยู่ตลอดเวลาสร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยจนกว่าจะเสียชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยด้วยโรคนี้ จึงควรได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีเพื่อให้ผู้ป่วยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีในช่วงสุดท้ายของชีวิต

          การป้องกันโรคนี้สามารถทำได้โดยการงดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการทำงานและการเข้าไปอยู่หรืออาศัยในบริเวณที่มีควันพิษ หรือในที่ที่มีผู้สูบบุหรี่ แม้โรคนี้จะทำให้เกิดโรคเมื่อมีอายุมากก็ตาม ดังนั้นผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจึงควรรับการตรวจสมรรถภาพปอด หากตรวจพบโรคในระยะเริ่มแรกก็อาจหลีกเลี่ยง หรือป้องกันการต้องมีชีวิตอยู่อย่างทนทุกข์ทรมานดังกล่าวได้ จึงขอเตือนสิงห์อมควันทั้งหลาย หากไม่ต้องการเผชิญกับการตายที่เป็นที่ทรมาน ควรหาทางลด ละ เลิกบุหรี่เสียแต่วันนี้ หรือจะถือเอาฤกษ์ดีปีใหม่มอบของขวัญให้ตัวเองด้วยการเลิกบุหรี่ เพื่อสุขภาพที่ดีต่อไป

          อย่างไรก็ตาม หากประชาชนสนใจต้องการความรู้ และความเข้าใจในโรคถุงลมโป่งพองมากยิ่งขึ้น สามารถติดต่อ มูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทยและชมรมถุงลมโป่งพอง เลขที่ 1281 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 โทร. 0 2617 0649 มือถือ 08 5063 7645


แหล่งที่มา : thaihealth.or.th

อัพเดทล่าสุด