https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โปรเจคฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ ความสําคัญของฮาร์ดแวร์ MUSLIMTHAIPOST

 

โปรเจคฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ ความสําคัญของฮาร์ดแวร์


3,127 ผู้ชม


โปรเจคฮาร์ดแวร์ อุปกรณ์ของฮาร์ดแวร์ ความสําคัญของฮาร์ดแวร์

 

โปรเจคฮาร์ดแวร์ High Speed Photography

วิชานี้ว่ากันด้วยเรื่้อง ฮาร์ดแวร์ทั้งหลาย ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย
โดยตอนแรกๆ ก็จะเรียนแลบไปเรื่อย ๆ เรียนไปเรียนมา อ้าวเอ้ยยย โปรเจค !! ทึ่งง
เอาละสิ จะทำอะไร และๆแล้วก็ปล่อยมันไปเด่วค่อยคิด
และแล้วก็คิดกันหลายเรื่องเลย ทำรีเสิชข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆ
มาลงตัวด้วยอุปกรณ์

HIGH Speed Photography
(
อุปกรณ์ถ่ายภาพความเร็วสูง)

จัดทำโดย

นายณฐฤทธ์   หนุนพระเดช  รหัสนักศึกษา 51214513

นายนริศร  หิรัญอ่อน  รหัสนักศึกษา  51214530

ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันการถ่ายภาพดิจิตัลเป็นที่แพร่หลายเนื่องจากกล้องถ่ายภาพมีราคาถูกลง ทางผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องเทคนิคการถ่ายภาพที่ต้องอาศัยความเร็วสูง เช่น ภาพ จังหวะที่แก้วกำลังแตก ลูกโป่งกำลังแตก หยดน้ำกำลังกระทบพื้น ซึ่งการถ่ายภาพโดยทั่วไปที่ไม่ใช้อุปกรณ์เสริมนั้น ทำได้ ค่อนข้างยากเนื่องจากต้องอาศัยจังหวะที่กำลังดี แต่จากการค้นคว้าแล้ว ทางเทคนิคสามารถทำได้โดย สร้างระบบถ่ายภาพอัตโนมัติขึ้นมาโดย หลักๆมี 2ประเภท คือ การถ่ายภาพด้วยความเร็วสูงโดยอาศัยเซ็นเซอร์ตรวจจับเสียง ทันทีที่ แก้ว,ลูกโป่ง แตก กล้องจะทำการถ่ายภาพ เสี้ยววินาทีนั้นทันที และการถ่ายภาพด้วยความเร็วสูงโดยอาศัยเซ็นเซอร์ตรวจจับการตัดผ่าน โดยใช้เลเซอร์ไดโอดมาเป็นตัวกลางในการตรวจจับ ทันทีที่ วัตถุผ่านเซ็นเซอร์ กล้องจะทำงานทันที ทางผู้จัดทำจึงได้ประยุกต์นำชุด ไมโครคอนโทรเลอร์ Arduino มาประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อช่วยถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง

อาจารย์ที่ปรึกษาโปรเจค ผศ.สุริยงค์ เลิศกุลวาณิชย์

อุปกรณ์ตัวนี้ถูกพัฒนาด้วยโปรแกรม Arduino  และ ฮาร์ดแวร์ Board Arduino รุ่น ATmega168

ตอนเริ่มทำนำอุปกรณ์ใส่เข้าลงไปในบอร์ดแล้วก็ลองเทส (รูปด้านบนนี้เป็นรูปแทนตอนที่ทำใกล้เสร็จแล้ว)

เบื้องหลัง

เพื่อนร่วมโปรเจคครับ TOP CMM#11

อันนี้คือจอ LCD สำหรับแสดงผลข้อความ  โดยโครงงานครั้งนี้เราเลือกแบบ 16×2 Charactor
และใช้ Library Liquid Crystal Display  ของเว็บ arduino.cc ในการติดต่อแสดงข้อมูล

อุปกรณ์กู้ชีพทั้งหลายครับ  ขอบอกเลยครับ เหนื่อยจริงๆกว่าจะทำสำเร็จได้  ทำๆไป ปุ่มไม่ติด เปิดไม่ได้ ติดไม่ดับ
ทริกเกอร์ไม่ทำงาน  อัปโหลดไม่ได้  ล้านแปดปัญหาจริงๆ แต่เราก็ผ่านมันมาได้ด้วยดีครับ

หลักการทำงานของมันคือ  ใช้ตัว LDR เป็นตัว Detect แสง  ถ้าเกิดแสงยังสว่างอยู่ ทริกเกอร์(ตัวสั่งกล้องทำงาน) จะยังไม่ทำงาน

ถ้าไฟดับเมื่อไร  หรือสมมุติว่ามีวัตถุอะไรผ่านตัว LDR  ทริกเกอร์จะทำงาน

มีปุ่มสำหรับควบคุมการทำงาน 4 ปุ่ม  เลือกเข้าเมนู  เลือกโหมดการทำงาน

โหมดแรกจะถ่ายภาพที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมาก

ถ้าเกิดมีวัตถุหรือคนมาตัดผ่านตัว LDR  ตัวอุปกรณ์ Trigger จะสั่งให้กล้องถ่ายภาพ

เราได้ตั้งค่าการทำงานโปรแกรมไว้อีกด้วยว่าถ้าตัว LDR Detect ค่าแสงว่าเป็นห้องมืด จะสั่งให้กล้องและแฟลชยิงพร้อมกัน

และอีกโหมดนึงจะเป็นการเปิดหน้ากล้องค้างไว้เพื่อให้ถ่ายภาพความเร็วสูงมากๆ (ดังรูปสุดท้าย)

และแล้ววันพรีเซนต์โปรเจคฮาร์ดแวร์ก็มาถึงครับ



แหล่งที่มา : ibomber.net

อัพเดทล่าสุด