https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาหารสําหรับโรคกรดไหลย้อน รักษาโรคกรดไหลย้อนที่ไหนดี สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารสําหรับโรคกรดไหลย้อน รักษาโรคกรดไหลย้อนที่ไหนดี สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน


607 ผู้ชม


อาหารสําหรับโรคกรดไหลย้อน รักษาโรคกรดไหลย้อนที่ไหนดี สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน

 

 

กรดไหลย้อนลงกล่องเสียง

แม่ : ลูกจ๋า ทานข้าวแล้วอย่าขึ้นไปนอนเลยล่ะ เดี๋ยวเป็น “โรคกรดไหลย้อน” นะลูก

ลูกจ๋า :  ทำไมล่ะคะ? แล้วโรคกรดไหลย้อนคืออะไรคะแม่

แม่ : กรด ไหลย้อนก็คือ น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหาร ทำให้เกิดความผิดปกติของอวัยวะที่อยู่ใกล้กัน เช่น หลอดลม กล่องเสียง ยังไงล่ะลูกจ๋าลูกจ๋า :  แล้วหนูจะรู้ได้ยังไงว่าเป็น “โรคกรดไหลย้อน” ล่ะคะ

แม่ :  คุณหมอจากโรงพยาบาลรามาธิบดี มีคำตอบมาฝากจ้ะลูกจ๋า!!

สิ่งที่คุณแม่พูดกับลูกจ๋านั้น ถูกต้องแล้ว โรคกรดไหลย้อน คือภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารได้ไหลย้อนกลับมา ซึ่งจะผ่านทั้ง   หลอดลม กล่องเสียง ซึ่งน้ำย่อยที่ไหลย้อนขึ้นมานี้ มักจะเรียกแทนด้วยคำว่า “กรด”

อาการของผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อนนั้น ที่พบได้บ่อยได้แก่ แสบยอดอก รู้สึกจุก มีการขย้อนของอาหารออกมา และเรออยู่บ่อยครั้ง ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาการกรดไหลย้อนที่เกี่ยวข้องกับระบบหู คอ จมูก ซึ่งสามารถเกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน โดยเฉพาะที่กล่องเสียง เนื่องด้วยกล่องเสียงมีเยื่อบุที่อ่อนกว่าหลอดอาหาร จึงทำให้ทนต่อกรดได้ไม่ดีเท่ากับหลอดอาหาร ดังนั้นถ้ามีกรดหรือน้ำย่อยเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้เกิดอาการกล่องเสียงได้ มาก อีกทั้งอาการก็จะแตกต่างจากกรดไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร อาการที่แสดงให้เห็นได้ชัดก็คือ คนไข้อาจมีเสียงแหบโดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า คนไข้ที่เสียงแหบจะเป็นโรคนี้ทั้งหมด บางคนก็รู้สึกจุก แน่นในคอ เหมือนกับมีก้อนอะไรอยู่ในคอ เมื่อทำการตรวจก็ไม่พบสาเหตุ หรือบางรายมาด้วยอาการไอเรื้อรังหาสาเหตุไม่ได้ ก็อาจมีสาเหตุมาจากโรคนี้ก็เป็นไปได้

ในทางการแพทย์ โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่กล่องเสียง มีคำเรียกเฉพาะว่า “แอลพีอาร์” โดยมีอาการหลัก ๆ ที่พบ ดังนี้ เสียงแหบ มีของเหลวไหลลงคอ บางครั้งเหมือนมีเสมหะในคอตลอดเวลา และไอกระแอมหรือขากเสมหะบ่อย ๆ

อาชีพบางอาชีพที่ต้องใช้เสียงมากเช่น ครู นักร้อง นักแสดง พนักงานขาย อาจมีปัญหาด้านเสียงผิดปกติ โทนเสียงไม่เหมือนเดิม และถ้ากรดขึ้นมาถึงช่องปากอาจทำให้เกิดฟันผุ หรือมีกลิ่นปากได้

ดังนั้นจึงควรหมั่นสังเกตตนเองและคนรอบข้างว่า มีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่

- เสียงแหบแห้ง ความสามารถในการใช้เสียงลดลง

- รู้สึกต้องการไอหรืออยากขากเสมหะบ่อย ๆ

- รู้สึกมีเสมหะมาก หรือเสมหะไหลลงคอตลอดเวลา

- มีปัญหาการกลืนอาหาร กลืนน้ำ หรือเม็ดยาลำบากกว่าปกติ

- ไอมาก ไอเรื้อรัง โดยเฉพาะช่วงหลังรับประทานอาหารหรือเวลาเอนหลังนอน

- รู้สึกมีอะไรจุกในลำคอตลอดเวลา

- แสบร้อนยอดอก เจ็บหน้าอก เรอเปรี้ยวบ่อย ๆ

- หายใจลำบากหรือสำลักบ่อย

- ฟันผุ มีกลิ่นปาก

ส่วนสาเหตุการเกิดของโรคนั้น แท้จริงแล้วยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เชื่อว่าโรคนี้อาจเกิดจากลักษณะโครงสร้างของร่างกายที่ผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนกลับได้ เช่น หูรูด       ที่หลอดอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งโดยปกติหูรูดที่หลอดอาหารจะมีสองตำแหน่งคือ หูรูดที่ติดกับกระเพาะอาหาร และหูรูดที่อยู่ส่วนต้นทางเดินอาหาร ซึ่งถ้าหูรูดทั้งสองทำงานไม่ดี ก็มีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนได้มาก และในบางภาวะ เช่น การที่กระเพาะอาหารบาง   ส่วนเคลื่อนเข้าไปอยู่ในทรวงอก ก็จะมีโอกาสพบโรคกรดไหลย้อน   ได้มากขึ้น

ผู้ที่สงสัยว่าตนเองเข้าข่ายการเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ให้รีบมาพบแพทย์ ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยอาการที่น่าสงสัยต่าง ๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว

นอกจากนี้เมื่อวินิจฉัยว่ามีอาการของโรคกรดไหลย้อนลงกล่องเสียง จะพบว่ามีการอักเสบบวมของกล่องเสียงได้หลายบริเวณ เช่น สายเสียง เยื่อบุในกล่องเสียง มีเนื้องอกในกล่องเสียง หรือมีเสมหะเหนียวติดในกล่องเสียง โดยอาศัยการตรวจร่างกายทางหู คอ จมูก หรือในบางรายอาจต้องการตรวจเพิ่มเติมด้วยการส่องกล้องด้วยสายอ่อน ซึ่งสามารถทำได้โดยไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล และสำหรับรายที่มีปัญหาในการวินิจฉัยหรือได้รับการรักษาแล้วไม่ดีขึ้น อาจต้องทำการตรวจวัดความเป็นกรดในหลอดอาหารและคอหอย ซึ่งแพทย์จะทำการพิจารณาเป็นกรณีไป

เรื่องราวของกรดไหลย้อนลงกล่องเสียง ยังมีอีกทั้งในเรื่องการรักษาทางการแพทย์ด้วยยา ด้วยการผ่าตัด และวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อรู้ว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน ติดตามต่อในฉบับหน้า.


แหล่งที่มา : deedeejang.com , หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

อัพเดทล่าสุด