https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เรือนไทยสวนหลวง(เรือนพระยา) เรือนพระนนทิการ MUSLIMTHAIPOST

 

เรือนไทยสวนหลวง(เรือนพระยา) เรือนพระนนทิการ


1,004 ผู้ชม


เรือนไทยสวนหลวง(เรือนพระยา) เรือนพระนนทิการ

 

เรือนพระนนทิการ


เรือนไทยสวนหลวง(เรือนพระยา) เรือนพระนนทิการ
บ้านหลังงามที่นำรูปมาแสดงในบทความนี้ ใครเป็นแฟนละครหลังข่าวช่อง ๓ กับช่อง ๗ คงจะคุ้นๆตาอยู่บ้าง จำได้ไหมคะ เคยเป็นฉากหลังในละครมาแล้วหลายเรื่อง 
ของจริงอยู่ในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐมค่ะ เป็นบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ถ้าย้อนยุคไปสมัยเริ่มสร้างในรัชกาลที่ ๖ บ้านหลังนี้ชื่อ เรือนพระนนทิการ เป็นเรือนพักของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี(ม.ล. ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง เมื่อตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมาพระราชวังสนามจันทร์
ชื่อ "นนทิการ" มาจากวรรณคดีอินเดีย พระนนทิ หรือ พระนนที หรือ โคอุสุภราช เป็นเทพซึ่งมีร่างเป็นวัว เป็นพาหนะของพระอิศวรยามเสด็จไปไหนมาไหน บางครั้งก็จะมีพระอุมาตามเสด็จไปด้วย เวลาเป็นพาหนะมีรูปร่างเป็นวัว แต่เวลาอยู่บนสวรรค์ก็กลับร่างเป็นเทวดา
ในหนังสือ สามัคคีเสวก มีภาพวาดพระนนที เป็นคนแต่มีศีรษะเป็นวัว ยกพระอิศวรและพระอุมาไว้บนมือแต่ละข้าง
พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามของเรือนข้าราชบริพารแต่ละหลังในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ สอดคล้องกับตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าของเรือน อย่างเรือนพระนนทิการ ปรากฏที่มาอยู่ในพระราชนิพนธ์ สามัคคีเสวก ซึ่งเป็นบทเสภาและแสดงระบำในคืนที่เจ้าพระยาธรรมาฯ เป็นเวรจัดการแสดง

จะจำเดิมเรื่องพระนนที ผู้เสวีพระอิศวรนาถา 
แสดงซึ่งกิจการนานา อันเป็นหน้าที่ประจำพระนนที 
หนึ่งเป็นพาหนะพระตรีเนตร แสนวิเศษสุดกระชับทั้งขับขี่ 
เขจรร่อนไปในเมฆี เร็วประหนึ่งสกุณีชำนาญบิน 
ครั้นกลับถึงไกลาสอาสน์เทเวศร์ ก็กลับเพศได้พลันทันถวิล 
เป็นมหาเสวกได้สมจินต์ ปฏิบัติเทวินทร์ในกิจวัง 

............................................................................................

ยามอิศวรประศาสน์ราชกิจ นนทีสถิตฟังความอยู่ตามที่ 
เผื่อทรงใช้จะไปด้วยทันที บ่ให้มีบกพร่องทำนองการ 
ยามเสร็จราชกิจบพิตรว่าง ประสงค์ทางผ่อนฤทัยให้สุขศานต์ 
พระนนทีเต็มจิตและช่วยงาน เพื่อสำราญเทวาเวลาควร 

และทรงลงท้ายด้วยคำชมเชยพระนนที

กิจของเจ้าล้วนเอาเป็นกิจตัว มิได้มัวเกี่ยงกันปันเป็นส่วน 
เป็นเสวีที่สนิทชิดทั้งมวล ซึ่งจะควรนับได้เป็นคนดี 
ในระบำสำแดงซึ่งกิจการ เพื่อเป็นฐานแบบอย่างทางวิถี 
ผู้ประสงค์จำนงเป็นเสวกดี ควรดูเยี่ยงนนทีที่พึงปอง 

จะเห็นได้ว่าหน้าที่และคุณสมบัติของพระนนทีในพระราชนิพนธ์ก็คือหน้าที่ของกรมวัง หรือเสนาบดีวังนั่นเอง รับเสด็จส่งเสด็จ และคอยรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทด้วยความขยันขันแข็ง รับผิดชอบดูแลทุกสิ่งทุกอย่างในวังให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย 
เรือนพักของเจ้าพระยาธรรมาฯ เสนาบดีวัง จึงชื่อว่า "เรือนพระนนทิการ" ด้วยความเหมาะสมดังที่ว่ามานี้ละค่ะ 
 


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด