https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ชมห้อง dna คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ dna การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna MUSLIMTHAIPOST

 

ชมห้อง dna คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ dna การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna


600 ผู้ชม


ชมห้อง dna คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ dna การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna

 

เยี่ยมห้องแล็ป และ ทำความรู้จักกับ DNA


วิชาการดอทคอมได้ไปเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการชีววิทยาด้าน Molecular Biology ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อชมการสาธิตกระบวนการแยกสารพันธุกรรม DNA จากใบพืช โดยมี อาจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ และ นางสาวปองทิพย์ ใจดี นิสิตปริญญาโทสาขาชีววิทยาเป็นผู้พาชมห้องแล็ปและสาธิต ห้องปฏิบัติการนี้ทำหน้าที่แยกสารพันธุกรรมทั้งของพืชและสัตว์ เพื่อใช้ในการวิจัยของภาควิชาชีววิทยา 
ชมห้อง dna คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ dna การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna
DNA คืออะไร
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สุนัข คน ล้วนประกอบขึ้นมาจากเซลล์ โดยที่แต่ละเซลล์มีลักษณะพื้นฐานคล้ายๆกัน ก็คือมีเยื่อหุ้มเซลล์ล้อมรอบและมีนิวเคลียสอยู่ตรงกลางคล้ายไข่แดงอยู่กลางไข่ขาว ภายในนิวเคลียสก็จะมีสารพันธุกรรมอยู่ สารพันธุกรรมนี้มีชื่อเรียกว่า โครโมโซม ซึ่งในกรณีของมนุษย์มีอยู่ด้วยกัน 23 คู่ โดยโครโมโซมแต่ละคู่ครึ่งหนึ่งได้รับมาจากแม่ และอีกครึ่งหนึ่งได้รับมาจากพ่อ แต่ละโครโมโซมนั้นประกอบขึ้นสารพันธุกรรมที่เรียกว่า DNA ซึ่งย่อมาจาก Deoxyribonucleic acid มีโครงสร้างเป็นเส้นคู่บิดเข้าหากันเป็นเกรียว สารพันธุกรรมใน DNA ประกอบด้วยการจับตัวกันของสารเคมี 4 ชนิด ที่เรียกว่า เบส คือ A G C T สารเคมี 4 ชนิดนี้จะเรียงตัวกันเป็นลักษณะของการเข้ารหัสโดยเรียงลำดับสลับไปสลับมามีความยาวกว่า 3,000 ล้านต่อเส้น เราเรียกว่ารหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของสิ่งมีชีวิต
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดก็จะมีรหัสพันธุกรรมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในการแพทย์ การสืบสวนสอบสวน เช่น ใช้แทนลายนิ้วมือที่เรียกว่า DNA Fingerprint นอกจากนี้ยังช่วยให้การศึกษาด้านชีววิทยาทำได้ง่ายขึ้นด้วย ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นกับเรื่องนี้ว่า
DNA จะช่วยเสริมข้อมูลให้กับนักชีววิทยาในการหาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด วิวัฒนาการของมัน หรือแม้กระทั่งถิ่นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตที่สนใจ 

 การวิเคราะห์ DNA

DNA ที่นำมาให้วิชาการดอมคอมทดลองวิเคราะห์ดูเป็น DNA ที่ได้จากพืชไม้ประดับชนิดหนึ่งที่ชื่อ ต้นลิปสติก ซึ่งตัวอย่างใบพืชเก็บรักษาอยู่ในเจลเพื่อป้องกันความชื้นและแช่ในตู้เย็นที่ความเย็น -20 องศาเซลเซียส การแยก DNA นั้นในขั้นแรกจะต้องทำการบดใบไม้ตัวอย่างในโกร่งให้ละเอียด ใช้ไนโตรเจนเหลวช่วยในการบด จากนั้นก็จะใส่สารเคมีบางชนิดที่สามารถทำลายผนังเซลของพืช เพื่อให้ของเหลวภายในเซลของต้นไม้ หลุดออกมาข้างนอกเซลได้ ของเหลวในเซลที่หลุดออกมามีหลายชนิดทั้งโปรตีน DNA RNA ฯลฯ เราจึงต้องใช้กระบวนการทางเคมีเข้ามาช่วยสกัดสารที่ไม่ต้องการออกไปและให้เหลือไว้เฉพาะแต่ DNA รายละเอียดในขั้นตอนนี้ค่อนข้างซับซ้อนและใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง
ปองทิพย์ ใจดี บอกกับวิชาการว่า ถ้าเราสกัด DNA ได้คุณภาพดีจะได้เป็นสายยาว แต่ถ้ากระบวนการสกัดไม่ดีพอ DNA ที่ได้ก็จะขาดเป็นสายเล็ก ๆ ก่อนที่เราจะนำ DNA ที่สกัดได้ไปใช้เราจะต้องทำการวิเคราะห์ ดีเอ็นเอ ด้วยวิธี อากาโรส เจล อิเลคโตรโฟรีซิส (Agarose Gel Electrophoresis)
วิชาการดอทคอมได้มีโอกาสทดลองทำกระบวนการวิเคราะห์ DNA และเก็บภาพมาฝากกันค่ะ 


ขั้นแรกต้องทำการเตรียม Agarose Gel ก่อน ก็คล้าย ๆ กับการทำวุ้นที่เรารับประทานนั่นแหละค่ะโดยผสมกับTBE บัฟเฟอร์ แทนน้ำเพื่อการนำไฟฟ้าที่ดี และวุ้นก็เป็นแบบพิเศษและอุ่นด้วยความร้อนเพื่อให้เจลละลาย (ร้อนมากค่ะต้องใส่ถุงมือ)

จากนั้นก็รอให้เย็นประมาณ 10 นาที แล้วจึงค่อย ๆ เทเจลที่เราผสมไว้ลงในเครื่องอิเลคโตรโฟรีซิส เพื่อวิเคราะห์ DNA ซึ่งเครื่องนี้มีหลักการคือ ทำให้ DNA ซึ่งมีประจุบลบ เคลื่อนที่ด้วยไฟฟ้ากระแสตรงจากขั้วบวกและลบ ซึ่งขนาดของ DNA ที่ต่างกัน จะทำให้ ความเร็วในการเคลื่อนที่ต่างกัน ดังนั้นระยะทางที่เคลื่อนที่ได้ ก็สามารถแยกชนิดของ DNA ได้

ใช้ ไมโครปิเปต ดูด DNA ที่เราสกัดได้มาหยดกับสีที่เตรียมไว้ (1 หยดต่อ 1 ตัวอย่าง จะไม่มีการปนเปื้อน) เราผสมสีกับ DNA เพื่อติดตามการเคลื่อนที่ของ DNA ค่ะ



โหลดลงบน แผ่นเจล ที่เตรียมไว้แล้วในเครื่องอิเลคโตรโฟรีซิส (ที่เห็นเป็นจุดน้ำเงิน)



ชมห้อง dna คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ dna การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna
เสร็จแล้วค่ะ DNA เคลื่อนที่แล้ว หลังจากที่รอเครื่องทำงานเป็นเวลา 30 นาที (สังเกตจาก DNA เคลื่อนที่ออกจากจุดที่เราโหลดไว้เปรียบเทียบจากภาพข้างบน)



ชมห้อง dna คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ dna การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna
ตอนนี้ก็ต้องนำเจลออกจากเครื่องอิเลคโตรโฟรีซิส แช่ใน Gel Star ขั้นตอนนี้คือการย้อมสี DNA จะทำให้เห็น แถบ หรือ Band ได้ชัด วางแผ่นเจลบนเครื่อง ยูวี แล้วอ่านผลด้วยแสง ยูวี (เราไม่สามารถเก็บภาพในขั้นตอนนี้มาฝากได้เพราะแสงยูวีเข้มอันตรายมาก ต้องมีกล่องดำป้องกันอีกชั้นค่ะ)



ชมห้อง dna คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ dna การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna
แถบ (Band) ที่มองเห็นใต้แสงยูวี (ภาพนี้ถ่ายไม่ชัด) เราก็มีตัวอย่างที่ถ่ายโดยภาพ Polaroid มาให้ดูกันค่ะ เท่านี้ก็เสร็จสิ้นกระบวนการวิเคราะห์ DNA จากนั้นนักชีววิทยาก็จะเอา DNA นั้นไปใช้ในการวิจัยต่อ
สำหรับน้อง ๆ ที่สนุกกับการศึกษา DNA อาจจะลอง ENTRANCE เข้าเรียนในคณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาชีววิทยา ซึ่งเปิดสอนในมหาวิทยาลัยทั่วไป


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด