https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อมีอะไรบ้าง สาเหตุโรคเกี่ยวกับกระดูก MUSLIMTHAIPOST

 

โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อมีอะไรบ้าง สาเหตุโรคเกี่ยวกับกระดูก


722 ผู้ชม


โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อมีอะไรบ้าง สาเหตุโรคเกี่ยวกับกระดูก

 

 

   
โรคข้อ” เกิดได้ในทุกวัย เสียสุขภาพ เสียจิต
   

     วันนี้เราอยากแนะนำให้ทุกท่านที่รักสุขภาพ สนใจใจใส่ดูแลสุขภาพร่างกายมากขึ้น เพราะปัจจุบัน "โรคข้อ" เกิดได้ในทุกวัยไม่เกี่ยงอายุเป็นแล้วทรมาน นอกจากเสียสุขภาพร่างกายแล้ว ยังเสียสุขภาพจิต 
โรคข้อ” เกิดได้ในทุกวัยไม่เกี่ยงอายุ 
เป็นแล้วทรมาน เสียสุขภาพจิต
     มูลนิธิโรคข้อฯ จัดงานวันโรคข้อสากลปี 2554 ภายใต้หัวข้อ “โรคข้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ” นำทีมผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ ปรึกษาฟรีแก่ประชาชนในวันอาทิตย์ที่ 2 ต.ค.2554 เวลา 07.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมอาคาร  เฉลิมพระเกียรติ ชั้น 11-12 โรงพยาบาลราชวิถี หวังกระตุ้นคนไทยใส่ใจสุขภาพข้อ โรคที่เป็นแล้วทรมาน เสียสุขภาพจิต  คาดผู้ร่วมงานคับคั่งเช่นทุกปี
     นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วัฒนา ประธานมูลนิธิโรคข้อ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า “ปัจจุบันในประชากรไทย 60 ล้านคน พบผู้ป่วยโรคข้อสูงถึง 3 ล้าน โดยโรคข้อนั้นคนที่ยังไม่เป็น มักจะคิดว่าเป็นโรคของคนสูงอายุ เนื่องจาก 50% โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หลายคนจึงไม่ทันได้ระวังรักษาข้อและกระดูก แต่อย่าลืมว่าพฤติกรรมบางอย่างที่มีใช้งานข้อมากเกินไป เช่น พฤติกรรมท่านั่ง นั่งยองๆ นั่งคุกเข่า   หรือการมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกินไป ทำให้ข้อรับน้ำหนักมากเวลาเดินหรือวิ่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งทำให้เป็นสาเหตุของโรคข้อเสื่อมได้เช่นกัน และด้วยกระแสการรักสุขภาพที่กำลังมาแรง  หลายคนหันมาใส่ใจออกกำลังกายกันมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “วันโรคข้อสากลปี 2554” ในหัวข้อ ”โรคข้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ” ขึ้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกายดูแลสุขภาพข้อ  และกระดูก  ช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อเสื่อมที่เป็นแล้วทรมาน และเสียสุขภาพจิต”
“ผู้ป่วยโรคข้อไม่ว่าจะเกิดจากการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เมื่อเป็นแล้วจะสามารถดำรงชีวิตได้      แต่คุณภาพชีวิตจะเสียไป  เช่น คนที่เคยวิ่งได้ ก็ไม่สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง ต้องเปลี่ยนเป็นว่ายน้ำแทน หรือคนที่เคยตีกอล์ฟได้เมื่อปวดหลังก็ต้องเปลี่ยนเป็นกีฬาอย่างอื่นแทน ทางที่ดีควรดูแลถนอมข้อก่อนที่จะเกิดโรคข้อเสื่อมจะเป็นการดีที่สุด เพราะโรคข้อเกิดได้กับคนทุกวัย” นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วัฒนากล่าวทิ้งท้าย
       สาเหตุการเกิดโรคข้อมีหลายสาหตุด้วยกัน ในโรคข้อที่มีอยู่กว่า 100 ชนิด  ที่พบบ่อย  เช่น โรคเก๊าท์ 90 % พบในผู้ชาย อายุ 30 ปีขึ้นไป เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกสูงกว่าปกติ ปกติในร่างกายคนเรา ผู้หญิงจะมีกรดยูริกในร่างกาย ไม่เกิน 6 มก. ในผู้ชายจะมีกรดยูริกในร่างกาย ไม่เกิน 7 มก.  โรคข้อเสื่อม พบได้ทั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ 50 % พบในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป  ส่วนข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้อที่มีความรุนแรงมากที่สุด เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วย ทำให้มีอาการปวดข้อหลายๆ ข้อพร้อมกัน ทำให้เกิดความพิการได้  พบบ่อยในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป  ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบัน  การรักษาสามารถทำโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมบริเวณเข่า และตะโพก ทำให้การปวดข้อหายไปได้ ส่วนการรักษาโรคข้อเอักเสบรูมาตอยด์ ปัจจุบันมีวิธีชีวภาพ ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นมาก  แต่ในประเทศไทยยังเลือกใช้วิธีนี้น้อยเพราะค่าใช้จ่ายสูง   
     โรคข้อสามารถป้องกันได้ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม  ถ้าอิริยาบถใดก็ตามทำให้ข้อเข่าปวด ควรหลีกเลี่ยง และพักใช้งาน อาการปวดก็จะทุเลาลงได้ ส่วนโรคเก๊าท์ สามารถรับประทานยาลดกรดยูริกเพื่อช่วยลดอาการกำเริบ  และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรักษาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ข้อต่อจะเสีย ส่วนโรคข้อจากการออกกำลังกาย คือการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะกับสภาพร่างกาย เช่น  คนที่อาการข้อเสื่อมต้องหลีกเลี่ยงการวิ่ง การเดิน คนที่มีข้อเข่าเสื่อมนั้น วิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือ การว่ายน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงไม่ไห้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนัก ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายแล้วกระดูกข้อต่อแตก หรือหัก ต้องรีบทำการรักษาจัดกระดูกให้เข้าที่ ถ้ากระดูกที่แตกไม่ได้รับการจัดให้เข้าที่ ข้อต่อนั้นจะเสื่อม ทำให้ข้อต่อนั้นเคลื่อนไหวน้อยลง
สำหรับงานวันโรคข้อสากลปี 2554 ทางมูลนิธิโรคข้อฯ ได้จัดกิจกรรมขึ้นภายใต้หัวข้อ ”โรคข้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ” เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความตื่นตัวในการดูแลตนเอง ด้วยการตรวจเช็คร่างกาย รับประทานอาหารที่ถูกต้อง และส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาให้มากขึ้น เพราะการเล่นกีฬาหากปฎิบัติได้ถูกต้องจะมีประโยชน์มาก แต่หากไม่ถูกต้องจะส่งผลเสีย โดยงานในครั้งนี้ จะเป็นการรวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อจากโรงพยาบาลต่างๆ มากที่สุดเพื่อมาให้คำปรึกษาปัญหาโรคข้อ เช่น โรคข้อเสี่อมและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โรคเก๊าท์และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคปวดหลังและปวดคอแก่ประชาชน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคมนี้ เวลา 07.30-15.30 น.  ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้นที่ 11-12 โรงพยาบาลราชวิถี  หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ มูลนิธโรคข้อ หมายเลข 0 2716-5436 0-2716-5437 สำรองที่นั่งได้ที่ 02-665-4620-1 โทรสาร 0-2635-5458 หรือเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.thaiarthritis.org”  

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด