https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เด็กโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เด็กโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง


942 ผู้ชม


โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เด็กโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

 

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง มัยแอสทีเนีย กราวิส (myasthenia gravis)

          ดาราสาว โอ๋ ภัคจีรา ออกมาเปิดเผยว่า เธอกำลังทนทุกข์กับ โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี ซึ่งเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงประเภทหนึ่งก็ทำให้คนทั่วไปสงสัยกันมากขึ้นว่า โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส หรือ โรคเอ็มจี นี้คือโรคอะไรกันแน่ แล้วมีอาการเป็นอย่างไรบ้าง รักษาได้หรือไม่ healthytipstodayมีคำตอบมาบอกกันค่ะ

   โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส

           โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส (myasthenia gravis) หรือเรียกว่า 'โรคเอ็มจี'เป็น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะกล้ามเนื้อเล็กๆ บริเวณใบหน้า ผู้ป่วยมีอาการหนังตาตก ถ้าเป็นมากอาจจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั้วตัว รวมทั้งกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการหายใจ ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงทั่วๆ ไป กลืนลำบาก สำลักอาหาร ถ้าเป็นมากอาจถึงกับหายใจไม่ได้ ลักษณะสำคัญของโรคนี้คือ เป็นโรคเรื้อรัง อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเป็นๆ หายๆ

           ชนิดที่พบบ่อยที่สุดเกิดในผู้ใหญ่ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่ถ้าอาการเริ่มเป็นหลังอายุ 40 ปี จะพบในเพศชายมากกว่าหญิง โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด Dr.Thomas Willis บรรยายลักษณะอาการของผู้ป่วยโรคนี้ไว้ตั้งแต่ 300 กว่าปีที่แล้ว ชื่อโรค myasthenia gravis มาจากคำภาษากรีก และลาติน มีความหมายว่า 'grave muscular weakness'

           โรคนี้พบร่วมกับโรคลูปัส (โรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง)ได้บ่อย เช่น เดียวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เดิมทีเดียวโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ถือเป็นโรคที่มีอัตราการตายสูงมากตั้งแต่ร้อยละ 30-70 แต่หลังจากการค้นพบยาซึ่งสามารถรักษาอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ รวมทั้งพบว่าผลการรักษาโดยการผ่าตัดต่อมไธมัสได้ผลดี จึงทำให้อัตราตายของผู้ป่วยโรคนี้ลดลงเรื่อยๆ

 

 

สาเหตุโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส

     มีสาเหตุ 4 ประการที่ทำให้เกิดโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ได้ คือ

     1. ร่างกายผู้ป่วยสร้างแอนติบอดี้ต่อโปรตีนชนิดหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวรับสารอะซิติลโคลีน ทั้งนี้พบว่าโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีนในผู้ป่วย โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส น้อยกว่าคนปกติถึงหนึ่งในสาม
     2. เกิดจากสารอะซิติลโคลีนไม่สามารถทำงานได้ สารอะซิติลโคลีนเป็นสารเคมีที่มีบทบาทสำคัญในการหดตัวของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย  กราวิส ร่างกายหลั่งสารอะซิติลโคลีนออกมาในปริมาณปกติ แต่สารอะซิติลโคลีนไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากโปรตีนตัวรับถูกทำลายโดยแอนติบอดี้ที่ร่างกายสร้างขึ้น
     3. ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยปกติโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส เกิดขึ้นในภายหลัง โดยเกิดจากความปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่ในบางรายอาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมได้ บางครั้งพบว่าพี่น้องของผู้ป่วยก็เป็นโรคนี้เช่นกัน
     4. ความผิดปกติของต่อมไธมัสเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส โดยพบว่าเกิดจากเนื้องอก ร้อย ละ 10 และเกิดจากต่อมไธมัสโตผิดปกติมากถึงร้อยละ 70 ทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดีต่อโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีน ผู้ป่วยที่พบเนื้องอกของต่อมไธมัส จะมีอาการที่รุนแรง ตรวจพบแอนติบอดี้ต่อโปรตีนตัวรับสารอะซิติลโคลีนในปริมาณสูง และตรวจพบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่รุนแรง พบว่าร้อยละ 20 ของผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ที่ปรากฏอาการระหว่างอายุ 30-60 ปี จะมีเนื้องอกของต่อมไธมัสร่วมด้วย

 


 

อาการโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส

          โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จัดเป็นโรคเรื้อรัง อาการต่าง ๆ มักเป็น ๆ หาย ๆ อยู่ตลอดเวลา และอาการจะดีขึ้นเองหลังจากหยุดพักใช้งาน  แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้อาการโรคนี้รุนแรงขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ เป็นไข้ ร้อนหรือเย็นเกินไป เครียด ออกแรงมากเกินไป มีประจำเดือน ตั้งครรภ์ โรคเกี่ยวกับไทรอยด์ และการทานยาบางชนิด

          โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะ มีอาการชนิดค่อยเป็นค่อยไปใช้เวลาเป็นสัปดาห์ถึงเดือน ในบางรายอาจมาด้วยอาการรุนแรงแบบฉับพลัน โดยเฉพาะกรณีที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้มากในช่วง 4 ปีแรก ถ้าได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น โดยที่ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงที่สุดภายในระยะเวลา 3 ปี หลังจากเริ่มมีอาการจากนั้นโรคจะเข้าสู่ระยะคงที่ และอาจค่อยๆดีขึ้นใช้เวลาเป็นปี
          ผู้ป่วยบางรายที่อาการดีขึ้นเองมักจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีแรก ในผู้ป่วยสูงอายุโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีก้อนที่ต่อมไธมัสร่วมด้วย ผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส บางรายซึ่งอาการไม่มากอาจไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคมัยแอสทีเนีย กราวิส มาก่อนแต่มีปัญหาภายหลังการผ่าตัด โดยไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้เต็มที่หลัง การผ่าตัดและต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน
          ในบางครั้งผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและอ่อนเพลียหรืออาจมีอาการที่เปลี่ยนแปลงระหว่างวันโดยที่การตรวจร่างกายไม่พบความผิดปกติมากนักร่วมกับการที่ผู้ป่วยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่ายคล้ายอาการที่เกิดจากโรคทางจิตใจ และไม่ได้รับการวินิจฉัยในเบื้องต้น เป็นผลทำให้มีอาการมากขึ้นได้ และยาบางชนิดมีผลทำให้เกิดอาการของโรคหรือทำให้โรคเลวลงได้เช่นกัน
          เด็กบางคนมีอาการของโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ตั้งแต่ แรกเกิด มารดามักจะสังเกตว่าเด็กมีอาการแขนขาอ่อนแรงและขยับได้น้อย ส่วนเด็กที่เกิดจากมารดาที่เป็นโรคโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส ร้อยละสิบ จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงทั่วไปตั้งแต่แรกคลอด และเป็นอยู่นานสองสัปดาห์ก็จะหายได้เอง

การวินิจฉัยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
          โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จากการซักถามประวัติอาการโดยละเอียด การตรวจร่างกายระบบต่างๆการตรวจทางระบบประสาท แพทย์จะพิจารณาทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ได้แก่
   1. การตรวจแอนติบอดี้ต่อตัวรับของอะซิติลโคลีน เรียกว่า acetylcholine receptor antibody เป็นการตรวจเลือดเพื่อหาแอนติบอดี้ที่ผิดปกติ ร้อยละ 85 ของผู้ป่วยโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส จะตรวจพบแอนติบอดี้ดังกล่าวในเลือดจึงเป็นการทดสอบที่ช่วยในการวินิจฉัยอย่างมาก
   2. การตรวจแอนติบอดี้ชนิด anti-MuSK เป็นการตรวจเลือดเช่นกัน พบว่าผู้ป่วยร้อยละ 15 ที่ตรวจไม่พบแอนติบอดี้ต่อตัวรับของอะซิติลโคลีนจะตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด anti-MuSK มากถึงร้อยละ 40-70
   3. การทดสอบเทนซิลอน Tensilon test โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วย
   4. การตรวจคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG) อาจพิจารณาตรวจเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยบางราย
   5. ทำการตัดชิ้นกล้ามเนื้อมาตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์

การรักษาโรคมัยแอสทีเนีย กราวิส
   1. ยาต้านฤทธิ์ของเอนไซม์โคลีนเอสเทอเรส ทำให้สารอะซิทิลโคลีนไม่ถูกทำลาย และการที่มีสารนี้อยู่นานขึ้นก็สามารถจับกับตัวรับได้มากขึ้นช่วยให้ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น
   2. ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยให้อาการดีขึ้นหรืออาการหายขาดได้มากถึงร้อยละ 75 ของผู้ป่วยทั้งหมด
   3. ยากดภูมิคุ้มกัน
   4. ยาอิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีดเข้าเส้นเลือด
   5. การผ่าตัดต่อมไทมัส
   6. การเปลี่ยนถ่ายพลาสมา
   7. การรักษาทางกายภาพบำบัดในการป้องกันปัญหาข้อติดและช่วยฝึกการหายใจ

แหล่งที่มา : healthytipstoday.exteen.com

อัพเดทล่าสุด