https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
วิชาอาเซียนศึกษา คํานําอาเซียนศึกษา อาเซียนศึกษา ม.ต้น MUSLIMTHAIPOST

 

วิชาอาเซียนศึกษา คํานําอาเซียนศึกษา อาเซียนศึกษา ม.ต้น


1,498 ผู้ชม


วิชาอาเซียนศึกษา คํานําอาเซียนศึกษา อาเซียนศึกษา ม.ต้น

 

ดันมหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรอาเซียนศึกษา


UploadImage
นายกฯสสอท. เตรียมผลักดันสถาบันอุดมศึกษาเอกชนบรรจุหลักสูตรอาเซียนศึกษาในการเรียนการสอน พร้อมขอความร่วมมือสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนานาชาติร่วมด้วยช่วยกันเป็นพี่เลี้ยงให้สถาบันที่ยังไม่มีความพร้อม หวังก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
UploadImage
                ศาสนาจารย์ ผศ.ดร.ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษดิ์ นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.)  ได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวการศึกษาไทย ENN ในประเด็นการเตรียมความพร้อมของสถาบันอุดมศึกษาไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในพ.ศ.2558 นี้ว่า การที่ไทยเราจะเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้นั้น มันต้องมองใน 3 มิติ คือ มิติของภาษา ซึ่งภาษากลางก็คือภาษาอังกฤษ สถาบันการศึกษาต้องฝึกให้นักเรียน นักศึกษาพูดภาษาอังกฤษทุกวัน ไม่ใช่ 1 สัปดาห์ให้พูดแค่วันเดียว และจะต้องเริ่มตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน เนื่องจากทุกวันนี้การเรียนภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานเรายังแย่มาก ต้องทำการปรับปรุงการเรียนการสอนอย่างจริงจัง มิติที่สองคือ ต้องเปิดโลกทัศน์  ที่มหาวิทยาลัยพายัพจะมีสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษาเพื่อให้นักศึกษาต่างชาติมาแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เช่นจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ยุโรป ส่วนนักศึกษาเราก็จะไปประเทศเขา หรืออยู่ในประเทศอาเซียนเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศเพื่อนบ้านให้มากที่สุด ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราจะสามารถแข่งขันกับชาติเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ มิติที่สามคือบรรยากาศ สถาบันการศึกษาต้องสร้างบรรยากาศการเรียนแบบนานาชาติให้มากที่สุด เช่นมีศูนย์จีน ศูนย์อาเซียน ศูนย์เกาหลี เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษาซึมซับบรรยากาศและเรียนรู้วัฒนธรรมจากต่างชาติให้มากที่สุด
                นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวอีกว่า ปัญหาในบ้านเราก็คือ มักจะพูดกันเฉย ๆ แต่การปฏิบัติยังมีปัญหา เพราะฉะนั้น สสอท.จึงมีแนวคิดว่า อยากจะให้สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรนานาชาติเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือสถาบันที่ยังไม่มีการเรียนการสอนนานาชาติ หรือยังไม่มีความเชี่ยวชาญพอ ซึ่งถ้าทำได้ ประเทศไทยเราจะได้ประโยชน์มาก และต่อไป สสอท.จะร่วมกันผลักดันให้มีการบรรจุหลักสูตรอาเซียนศึกษาเข้าไปในทุกสถาบัน เพราะเราจำเป็นต้องรู้ข้อมูลของแต่ละประเทศว่าเป็นมาอย่างไร มีจุดอ่อนจุดแข็งอย่างไร มีความแตกต่างจากเราหรือชาติอื่น ๆ กันอย่างไร
                “ในขณะนี้ประเทศไทยเรายังเริ่มก้าวเข้าไปสู่ประชาคมอาเซียนเพียงแค่ผิวเผินเท่านั้น คือรู้จักแค่ว่าประชาคมอาเซียนคืออะไร แต่ยังไม่รู้ลึกเข้าไปให้เป็นรูปธรรมว่า เราจะต้องมีทักษะอย่างไร ต้องมีความรู้อะไรถึงจะเข้าไปแข่งขันกับชาติอื่นได้  ตรงนี้มันต้องเป็นนโยบายระดับรัฐบาล คือต้องบอกให้ชัดเจนว่า เรื่องของการเตรียมความพร้อมด้านภาษาจะต้องทำอย่างไร  โลกทัศน์ในความเป็นอาเซียนจะเอายังไง แล้วบรรยากาศให้เป็นอาเซียนจะเอาอย่างไร นโยบายต้องออกมาให้ชัดเจน ให้คนปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่แค่พูดอย่างเดียวแล้วก็ต่างคนต่างทำซึ่งมันไม่ได้ผลแน่ ๆ “นายกฯสสอท.กล่าว


แหล่งที่มา : blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด