https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคโลหิตจางรักษาอย่างไร โรคโลหิตจางวิธีรักษา แมวเป็นโรคโลหิตจาง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคโลหิตจางรักษาอย่างไร โรคโลหิตจางวิธีรักษา แมวเป็นโรคโลหิตจาง


885 ผู้ชม


โรคโลหิตจางรักษาอย่างไร โรคโลหิตจางวิธีรักษา แมวเป็นโรคโลหิตจาง

โรคโลหิตจางจากการติดเชื้อในแมว


โรคโลหิตจางจากการติดเชื้อในแมว (FELINE INFECTIOUS ANEMIA) (Cat Magazine)

เรื่อง : น.สพ.พัฒนา ร้อนชินกร 
            โรคโลหิตจางจากการติดเชื้อในแมวโรคนี้อาจเรียกว่า Feline Hemotropic Mycoplasmosis หรือ Infection by Hemobartonella felis หรือ Infection by mycoplasma haemofelis เชื้อนี้จะอาศัยอาศัยอยู่ในร่างกายของแมวและใช้กลไกของร่างกายแมวในการเพิ่มจำนวนเชื้อ พยาธิชนิดนี้เป็นเชื้อที่สูงกว่าแบคทีเรีย และชอบเกาะติดกับเม็ดเลือดแดงของแมวล่องลอยไปตามกระแสเลือดจนกว่าภูมิต้านทานของร่างกาย แมวจะพบและทำลายเม็ดเลือดแดงเพื่อกำจัดเชื้อ
 Hemobartonella felis (มีชื่อใหม่ว่า Mycoplasma haemofelis)
            เชื้อที่ก่อให้เกิดโรคโลหิตจางในแมวเดิมมีชื่อว่า Hemobartonella felis เชื้อเป็นตระกูล bacterium แต่เป็นกลุ่มพิเศษของแบคทีเรียที่เรียกว่า Mycoplasma ซึ่งแตกต่างจากแบคทีเรียอื่นเนื่องจากไม่มีผนังเซลล์ (cell wall) ที่จะปกป้องสิ่งที่อยู่ภายในเซลล์ของมันอย่างแบคทีเรียตัวอื่น จึงไม่สามารถเพาะเชื้อบนจานเพาะเชื้อได้ เนื่องจากต้องอาศัยเซลล์ที่มีชีวิตในการดำรงอยู่
            Hemobartonella felis พบครั้งแรกในแอฟริกาเมื่อ ค.ศ. 1942 แต่ไม่ทราบว่าเป็นตระกูล mycoplasma จนกระทั่งทราบการเรียงตัวของยืนเมื่อเร็วๆ นี้ จึงมีการเปลี่ยนชื่อใหม่เพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป็น Mycoplasma haemofelis และคงเห็นชื่อใหม่นี้แทนชื่อเก่าการเรียงตัวของยืนของเชื้อสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งเชื้อมีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า Candidatus M haemominutum เชื้อที่เล็กกว่าก่อให้เกิดโรคในแมวมากกว่าโดยเฉพาะในรายที่ติดเชื้อ feline leukemia virus
            ชื่อโรค feline infectious anemia ความจริงไม่ตรงกับโรคนัก เนื่องจากมีโรคอื่นที่สามารถทำลายเม็ดเลือดแดงได้ก่อให้เกิดอาการโลหิตจาง จึงเปลี่ยนชื่อโรคใหม่ว่า Feline Hemotropic Mycoplasmosis ซึ่งเหมายถึงการติดเชื้อ Mycoplasma ในเลือดของแมว
 แมวที่ติดเชื้อเกิดอาการอย่างไร
            แมวที่ติดเชื้อภูมิต้านทานจะทำงานหนักเพื่อจับกับเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อ เม็ดเลือดแดงที่ภูมิต้านทานไปจับจะถูกขับออกจากร่างกายโดยทางม้าม เชื้อจะถูกทำลาย แต่ธาตุเหล็กจะถูกนำกลับมาใช้สร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ เมื่อเม็ดเลือดแดงถูกทำลายมากๆ แมวจะเกิดภาวะโลหิตจาง
            แมวที่ติดเชื้อจะมีเหงือกซีด (บางตัวอาจพบอาการดีซ่าน) และอ่อนเพลีย แมวที่โลหิตจางบ่อยครั้งทีเดียวพบว่าจะกินฝุ่น และทราบสำหรับให้ขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะเพื่อเสริมธาตุเหล็กส่วนมากมีไข้ การตรวจนับเม็ดเลือดจะพบว่าเม็ดเลือดแดงลดลง และไขกระดูกมีการสร้างเม็ดเลือดออกมามากโดยปล่อยเม็ดเลือดแดงที่ยังไม่สมบูรณ์ออกมาด้วย เนื่องจากร่างกายรู้ว่ากำลังขาดเม็ดเลือด จึงเร่งสร้างออกมาทดแทน ในรายที่ติดเชื้อ feline leukemia ร่วมด้วยจะยิ่งทำให้อาการโลหิตจางรุนแรงขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสจะไปกดไขกระดูกทำให้สร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อย
            เมื่อแมวติดเชื้อใหม่ ๆ จะกินเวลาประมาณ 1 เดือน ที่จำนวนเชื้อจะเพิ่มปริมาณจนทำให้แมวแสดงอาการป่วยได้ อัตราการตายจะสูงที่สุดในช่วงระยะเวลา 1 เดือนหลังแสดงอาการ ถ้าแมวสามารถฟื้นตัวได้จะเป็นตัวแพร่โรค และถ้าเกิดความเครียดจะกระตุ้นให้เชื้อมีการเพิ่มจำนวนและแสดงอาการป่วยได้
 การวินิจฉัยโรค
            เนื่องจากไม่มีผนังเซลล์จึงไม่สามารถเพาะเชื้อบนจานเพาะเชื้ออย่างแบคทีเรียอื่น ๆ ได้ จึงต้องเพาะโดยวิธีพิเศษ และมักเก็บตัวอย่างมาเพาะเชื้อจากปัสสาวะ ส่วนมากแล้วมักตรวจหาเชื้อจากเลือดโดยตรงจะพบเชื้ออยู่ในเม็ดเลือดแดงดังรูปที่แสดงข้างบน โอกาสที่จะพบเชื้อมีค่อนข้างน้อยเนื่องจากเชื้อจะอยู่ในกระแสเลือดเพียงไม่กี่ชั่วโมง ทำให้ปริมาณเชื้อที่ตรวจได้อาจต่างกัน 90-1% ถ้าตรวจห่างกันเพียง 3 ชั่วโมง จึงมีโอกาสตรวจไม่พบเชื้อได้ค่อนข้างสูงแม้ว่าแมวจะแสดงอาการของโรคก็ตาม ในปัจจุบันการตรวจด้วยวิธี PCR technology สามารถทำให้พบเชื้อได้ง่ายขึ้นแม้แต่ในแมวที่เป็นพาหะของโรคที่มีเชื้อแฝงอยู่

 แมวที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค
            แมวที่ชอบออกไปเที่ยวนอกบ้านมีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อสูง เนื่องจากมีโอกาสติดหมัดมากกว่าแมวที่อยู่ในบ้านแมวตัวผู้อายุน้อยกว่า 4-6 ปี ติดเชื้อได้ง่ายที่สุดเพราะมีการต่อสู้กัน และมักมีประวัติฉีดวัคซีนไม่ครบ การติดเชื้อ feline leukemia virus เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากภูมิต้านทานลดและมีภาวะโลหิตจางทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า และแมวมักแสดงอาการป่วยหนักกว่าแมวปกตินอกจากนี้ กรณีที่ติดเชื้อร่วมเช่นนี้ยังทำให้โอกาสเป็นมะเร็งของไขกระดูกสูงขึ้น แมวที่เป็น feline immunodeficiency virus ไม่ทำให้อาการของโรค hemotropic mycoplasma infection รุนแรงขึ้น
            แมลงดูดเลือด เช่น หมัด, เหา, เห็บ, และยุง สามารถแพร่กระจายโรคได้ จึงควรป้องกันและกำจัดแมลงเหล่านี้ การให้เลือดแมวอาจเป็นสาเหตุของการติดโรคได้ เนื่องจากในสัตว์มักไม่มีการตรวจหาโรคเหล่านี้ก่อนการให้เลือด
 การรักษา
            ค่อนข้างง่ายเนื่องจากมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษา แต่ท่านเจ้าของต้องให้ยาตามที่สัตวแพทย์สั่ง อย่างน้อย 3 สัปดาห์ จึงจะสามารถควบคุมอาการของโรคได้
การให้ยาฆ่าเชื้อเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการรักษา กล่าวคือ ต้องมีการยับยั้งการทำลายเม็ดเลือดแดง โดยต้องให้ยากดภูมิ ซึ่งยาที่นิยมที่สุดเป็นยาในกลุ่มสเตียรอยด์ ยาจะทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลายน้อยลง ส่วนมากแล้วแมวมักตอบสนองกับการรักษาได้ดี แมวที่เป็นพาหะส่วนมากจะไม่รักษา เนื่องจากเชื้อมีปริมาณน้อยและยามักเข้าไม่ถึงเชื้อ
 สุนัขสามารถเป็นโรคนี้ได้หรือไม่
            เดิมทีในสุนัขมีเชื้อที่เรียกว่า Hemobartonella canis ตอนนี้ก็เปลี่ยนชื่อเป็น Mycoplasma haemocanis ซึ่งมักไม่ก่อปัญหาให้กับสุนัข ยกเว้นในรายที่ถูกตัดม้ามออก ร่างกายจึงไม่สามารถกำจัดเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้ออกไปได้ (ม้ามเป็นอวัยวะสำคัญที่คอยกำจัดเม็ดเลือดที่เสีย) ถ้าดูจากการเรียงตัวของยืนแล้วเชื่อว่าเชื้อของแมวน่าจะอาศัยอยู่ในสุนัขได้ แต่ความจริงที่พบก็คือว่า เลือดของสุนัขที่เป็นโรคไม่สามารถติดต่อถึงแมวได้ ในขณะเดียวกันเลือดของแมวที่เป็นโรคก็ไม่สามารถทำให้สุนัขติดโรคได้เช่นกัน

 

แหล่งที่มา : pet.kapook.com

อัพเดทล่าสุด