https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เลี้ยงลูกให้ฉลาด เด็กกับเบาะรถยนต์นิรภัย เลี้ยงลูกคนเดียว MUSLIMTHAIPOST

 

เลี้ยงลูกให้ฉลาด เด็กกับเบาะรถยนต์นิรภัย เลี้ยงลูกคนเดียว


551 ผู้ชม


เลี้ยงลูกให้ฉลาด เด็กกับเบาะรถยนต์นิรภัย เลี้ยงลูกคนเดียว
ด็กกับเบาะรถยนต์นิรภัย 
เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องปกป้องลูกรักให้มีความปลอดภัยใน ขณะที่เดินทางโดยรถยนต์ แต่ผลการศึกษาของ Partners for Child Passenger Safety Study ในสหรัฐกลับพบว่า เด็กๆ ยังคงมีความ เสี่ยงที่จะเป็นอันตรายในขณะเดินทางในรถยนต์ เพราะพ่อแม่มัก จะให้ลูกเล็กๆนั่ง Booster (ที่รองนั่งเสริมสำหรับเด็กอายุ 4 ขวบใน รถยนต์) และให้คาดเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่เร็วเกินไปแทนที่จะ ให้นั่ง Car Seat สำหรับเด็กเล็ก
โดยมีรายงานจากอุบัติเหตุรถชน 30,000 ราย มีเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก Dr. Flaura Koplin Winston หัวหน้าหน่วย การศึกษานี้ระบุว่า มีเด็กอายุ 3 ขวบจำนวนมากที่ถูกพ่อแม่เปลี่ยน ให้มานั่ง Booster แทนที่จะนั่ง Car Seat ทั้งนี้เด็กอายุ 3ขวบควร นั่ง Car Seat ซึ่งหันหน้าออกจนกว่าจะมีน้ำหนัก 40 ปอนด์ และ มีอายุ 4 ขวบเต็ม เมื่อเด็กมีน้ำหนักถึงจำนวนที่กำหนดจึงจะเปลี่ยนมานั่ง Booster ได้ และควรนั่งที่ Booster จนกว่าจะสูง 4 ฟุต 9 นิ้ว (142.5 ซม.)เป็นอย่างน้อยและหนัก 80 ปอนด์ และยังปรากฏว่ามีเด็ก อายุ 4-8 ขวบถึง 83% และ เด็ก 3 ขวบ 16% ที่นั่งเบาะรถยนต์และคาด เข็มขัดนิรภัยโดยไม่นั่งในCar Seat หรือBooster นับว่าเป็นการ เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง
สาเหตุคือ ขาของเด็กเหล่านี้ยังสั้นอยู่ เมื่อนั่งเบาะรถยนต์โดยไม่มี Booster ที่รองนั่ง เด็กจะพยายามดันตัวให้ติดกับที่พิงหลังเพื่อนั่งให้สบาย ซึ่งเป็นการทำให้สายคาดของเข็มขัดนิรภัยมาคาด อยู่เหนือหน้าท้อง เป็นการเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของตับ, ม้าม และไขสันหลัง หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์
นอกจากนั้น อุบัติเหตุทางรถยนต์สามารถทำให้เด็กได้รับ บาดเจ็บอย่างมาก โดยก่อให้เกิดอาการบาดแผลฉีกขาด อย่างรุนแรง,การกระทบกระเทือนอย่างแรง และอวัยวะ ภายในเสียหาย โดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นที่ศีรษะของเด็ก ซึ่งบาดแผลที่ศีรษะและการกระทบกระเทือนทางสมองนั้น ในเด็กจะใช้เวลานานกว่าจะหายได้ ไม่เหมือนอวัยวะส่วน อื่นของร่างกายที่หายง่ายกว่า ดังนั้น เด็กๆ ควรนั่งเบาะ รถยนต์นิรภัยในแต่ละระดับตามความเหมาะสมของอายุ เด็กแต่ละคน จึงจะเป็นการช่วยให้เด็กมีความปลอดภัย ในการเดินทาง และหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บดังกล่าว
 
 


 


แหล่งที่มา : karn.tv

อัพเดทล่าสุด