https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ข่าวโรคไข้เลือดออก ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก MUSLIMTHAIPOST

 

ข่าวโรคไข้เลือดออก ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก


768 ผู้ชม


ข่าวโรคไข้เลือดออก ประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออก โครงการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก

 

 

 

การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

การป้องกันโรคล่วงหน้าก่อนเกิดโรค
1. ให้สุขศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับสาเหตุ และปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วยเพื่อจะได้ป้องกันบุตรหลานของตนมิให้ป่วย อันประกอบด้วยช่องทาง ดังนี้
- ทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เสียงตามสาย และหอกระจายข่าว
- ทางโรงเรียน โดยให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน หรือครูอาจารย์ที่สอนเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้นักเรียนในลำดับต่อไป
- แจกเอกสารสุขศึกษา ตามสถานที่ซึ่งประชาชนมักจะมาชุมนุมกันมากๆ
- ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนที่มารับบริการ และเวลาออกพื้นที่
- ขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในท้องที่ ให้ช่วยเผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก
- ขอความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่น หรือจากพระหรือผู้นำทางด้านศาสนาในท้องถิ่น
การให้สุขศึกษาจะได้ผลดี จะต้องให้ข้อมูลความรู้ สม่ำเสมอ จนประชาชนคุ้นเคย และสามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จนเป็นปกติ
2. การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และเคมี
2.1 ด้านกายภาพ เช่น การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น กะลา กระป๋อง ขวดน้ำ ยางรถยนต์ ฯลฯ
2.2 ด้านชีวภาพ เช่น การปล่อยปลากินลูกน้ำ
2.3 ด้านเคมี เช่น การใส่ทรายทีมีฟอส แต่การใส่ควรใ้ช้เมื่อจำเป็นจริงๆ (หรือกรณีใช้มาตรการข้างต้นไม่ได้) ทรายจะสามารถฆ่าลูกน้ำภายใน 2-3 ชั่วโมง ยกเว้นตัวโม่ง และคงฤทธิ์ได้นาน 3 เดือน
การควบคุมเมื่อเกิดโรคระบาด
1. ประกาศเตือนประชาชนในพื้นที่นั้น พร้อมให้สุขศึกษาแก่ประชาชนให้รู้จักการป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ยุงลายกัด ให้ความรู้วิธีปฏิบัติเมื่อเด็กป่วยหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก และวิธีการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านและขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่อาจมีหลงเหลืออยู่ในชุมชนให้หมดไป
การกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วย และบริเวณรอบบ้านผู้ป่วยควรดำเนินการในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร และประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เกิดโรคหลังการควบคุม ควรมีค่า HI <= 10
2. ใช้มาตรการเร่งด่วนสำหรับการควบคุมการระบาด คือ การพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย วิธีการนี้จะลดจำนวนยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกในชุมชน หากพ่นเคมีต้องครอบคลุมพื้นที่ จะช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคลงได้ ทั้งนี้ทีมควบคุมโรคต้องมีความพร้อมในการควบคุมพาหะอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วย ภายใน 24 ชั่วโมง
2.1 หากเิำกิดมีผู้ป่วย ควรดำเนินการควบคุมแหล่งแพร่โรค (หมู่บ้าน หรือ ชุมชน) โดยพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วย และพื้นที่รอบบ้านผู้่ป่วยในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร ควรพ่นอย่างน้อย 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน
2.2 หากเิำกิดมีผู้ป่วยกระจายทั่วไปในชุมชนหรือหมู่บ้าน ควรพ่นทุกหลังคาเรือนในชุมชน และควรพ่นเคมีให้มีบริเวณกั้นกลาง ที่ปลอดยุงรอบชุมชนนั้นด้วย หากมีหมู่บ้านอื่นอยู่ข้างเคียง ก็ควรพิจารณาพ่นเคมีเพิ่มเติมให้แก่หมู่บ้้านที่อยู่ใกล้เคียงนั้นด้วย

 

แหล่งที่มา : หมออนามัย.com

อัพเดทล่าสุด