https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แก้ไมเกรน โรคไมเกรน วิธีรักษา รักษา ไมเกรน MUSLIMTHAIPOST

 

แก้ไมเกรน โรคไมเกรน วิธีรักษา รักษา ไมเกรน


601 ผู้ชม


แก้ไมเกรน โรคไมเกรน วิธีรักษา รักษา ไมเกรน


การรักษาโรคไมเกรน

แก้ไมเกรน โรคไมเกรน วิธีรักษา	รักษา ไมเกรน

 

ป้าหมายของการรักษาไมเกรน คือ การระงับอาการที่เกิดจากโรคกำเริบเฉียบพลัน 
และป้องกันการเกิดครั้งต่อไปโดยวิธีการต่างๆ 
การรักษาแบบไม่ใช้ยา 
ฟังดูไม่น่าเชื่อว่า มาตรการต่างๆ บางอย่างทำให้อาการปวดศีรษะจากไมเกรนของคนบางคน หายไปได้ราวกับปลิดทิ้ง เช่น การปรับเปลี่ยนอาหาร อย่างไรก็ตาม ในคนไข้จำนวนมากยังคงมีอาการอยู่ แต่น้อยลงหลังการเปลี่ยนอาหารแล้ว 
อาหารที่อาจกระตุ้นอาการมีอาทิเช่น 
โยเกิร์ต 
กล้วย 
ผลไม้แห้ง 
ถั่วต่างๆ 
เนยแข็งที่เก็บไว้นาน 
ผักดอง 
ผงชูรส และน้ำตาลเทียมแอสพาร์เทม 
เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์บางอย่าง เช่น ไวน์แดง และเบียร์ 
นอกจากอาหารแล้ว มาตรการที่เรียกว่า ไบโอฟีดแบ็ค (biofeedback) การนั่งทำสมาธิ และเทคนิคการผ่อนคลายต่างๆ รวมทั้งการออกกำลังกายแอโรบิก ล้วนมีประสิทธิภาพในการป้องกัน การกำเริบของไมเกรนได้ การแทรกแซงทางจิตวิทยาและจิตเวชอาจมีความจำเป็นในบางราย 
แมกนีเซียม (magnesium) 
แมกนีเซียมเป็นธาตุสำคัญของร่างกายและเป็นธาตุที่มีบทบาทในการเกิดโรคไมเกรน ดังจะเห็นจากหลายงานวิจัยที่พบว่าคนที่เป็นไมเกรนมีระดับธาตุแมกนีเซียมในร่างกายต่ำกว่าปกติ ครั้นเมื่อลองฉีดแมกนีเซียมซัลเฟต 1 กรัมเข้าเส้นเลือดให้แก่คนไข้ที่เป็นไมเกรนชนิดเฉียบพลัน 40 ราย ก็พบว่า 21 ราย หายปวดศีรษะโดยส่วนใหญ่ (80%) ของคนที่หายปวดมีระดับแมกนีเซียมในเลือดต่ำ 
การรักษาแบบใช้ยา 
แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้ออกได้ เป็น 2 แนวคือ
แนวทางที่ 1 ยาที่ระงับหรือบรรเทาอาการปวดศีรษะจากไมเกรนเฉียบพลัน
ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่สุดเพราะคนซึ่งกำลังปวดแทบระเบิดอยู่นั้น สิ่งที่เขาต้องการคือ ทำอะไรก็ได้ที่ทำให้อาการปวดศีรษะหายไป 
ยาที่เลือกใช้ได้แก่ 
แอสไพริน ซึ่งถ้าจะให้ออกฤทธิ์เร็วๆ ต้องใช้แอสไพรินชนิดใส่น้ำแล้วเป็นฟองฟู่ (effervescent tablet) เช่น อัลกาเซลเซอร์ 
พาราเซทตามอล หรือ อะเซทตามิโนเฟน 
dextropropoxyphene 
โคเดอีน (codgine) 
เออร์กอท (ergot) เฉยๆ หรือ ergotc ผสมคาเฟอีน แต่ยานี้อาจทำให้คลื่นไส้ได้จึงอาจหลีกเลี่ยง โดยเปลี่ยนไปใช้ยาแบบเหน็บทวารหนัก ยานี้มีข้อห้ามใช้ในกรณีหญิงตั้งครรภ์ คนที่เป็นโรคเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจหรือแขนขาตีบตัน 
dihydroergotamine (DHE-45) เป็นสารที่มีต้นแบบจากเออร์กอท แต่ใช้ฉีดหรือพ่นจมูก ในกรณีที่มีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วยจากไมเกรนเองหรือจากยาก็ให้ใช้ยาแก้คลื่นไส้ เช่น ยากลุ่ม prochlorperazine ได้แก่ compazine หรือ metoclopraminde ยากลุ่ม perphenazine หรือยากลุ่ม chlorpromazine ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้วิธีฉีดเข้ากล้าม 
ยาแก้ปวด ที่แรงขึ้นหน่อยคือ meperidine ซึ่งมักใช้ในการรักษาแบบฉุกเฉิน เวลาเกิดไมเกรนรุนแรงเฉียบพลันแต่ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ 
ยากลุ่มลดอักเสบ ที่ไม่มีสารสเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAID) นอกจากแอสไพรินแล้ว ยังมียากลุ่มที่เรียกย่อๆ โดยรวมว่ายาเอ็นเสด (NSAID) ซึ่งใช้แพร่หลายในกรณีโรคข้ออักเสบแต่นำมาบำบัดไมเกรนรุนแรงระดับปานกลาง ถึงรุนแรงมากได้ เช่น 
1.ยาแนปโปรเซน โซเดียม (naproxen sodium) 
2.แอสไพรินชนิดรับประทานขนาดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม หรือชนิดฉีดเข้าเส้น 
ยาแก้ปวดเหล่านี้ควรรับประทานหรือฉีดทันทีที่มีอาการเตือน (aura) หรือทันทีที่เริ่มปวดศีรษะ จึงจะทำให้ได้ผลดี
ยาใหม่ๆ สำหรับไมเกรน 
จากการที่นักวิจัยทำการศึกษาไมเกรนมาอย่างต่อเนื่องทำให้ทราบว่าขณะเกิดอาการเฉียบพลันขึ้น นั้นมีการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีชนิดในสมองโดยเฉพาะจุดซึ่งเรียกว่า 5HT1B/1D serotonin receptor ดังนั้นถ้าใช้ยาที่ไปเกาะกับจุดนี้แล้วอาการปวดจะหายไปหรือบรรเทาลง ยานี้คือ 
1. sumatriptan (imitrex) ซึ่งมีทั้งแบบฉีด แบบรับประทานและแบบพ่นจมูก แบบฉีดก็สะดวก คนไข้ฉีดให้ตัวเองได้ 
ยานี้ห้ามใช้ในคนที่มีความดันโลหิตสูงแล้วควบคุมไม่ได้ โรคหัวใจขาดเลือด และไมเกรนชนิดมีโรคแทรกต่อระบบประสาท 
2. zolmitriptan (zomig) และ rizatriptan (maxalt) ซึ่งเป็นยากลุ่ม triptan รุ่นใหม่ออกฤทธิ์เร็วกว่า sumatriptan 
แนวทางที่ 2 ยาป้องกันการกำเริบของไมเกรน 
สำหรับคนที่มีอาการไมเกรนกำเริบเดือนละ 2 ครั้งขึ้นไปหรือไม่บ่อยเท่านั้นแต่ว่าทุกครั้งที่กำเริบ จะมีอาการรุนแรงและกินเวลานานจนมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมาก ยาที่ใช้ป้องกันมีอาทิเช่น 
ยาปิดกั้นเบต้า เช่น propanolol, timolol ขนาด 40-240 มก./วัน 
ยาปิดกั้นช่องแคลเซียม 
ยาเอ็นเสด 
ยากล่อมประสาทกลุ่ม tricyclig antidepressants (TCA)  

 

 

แหล่งที่มา : kruthai.info

อัพเดทล่าสุด