https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แบบฝึกหัดอาเซียนศึกษา อาเซียนศึกษา คือ โครงสร้างหลักสูตรอาเซียนศึกษา MUSLIMTHAIPOST

 

แบบฝึกหัดอาเซียนศึกษา อาเซียนศึกษา คือ โครงสร้างหลักสูตรอาเซียนศึกษา


1,291 ผู้ชม


แบบฝึกหัดอาเซียนศึกษา อาเซียนศึกษา คือ โครงสร้างหลักสูตรอาเซียนศึกษา

 

อาเซียนศึกษา
1.ASEAN ย่อมาจากอะไร
Association of Southeast Asian Nations
หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2.อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรกประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดกี่ประเทศ ประเทศใดบ้าง
มี 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
3.ปัจจุบันอาเซียน ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม
4.คำขวัญอาเซียน มีว่าอย่างไร
หนึ่งวิสัยทัศน์, หนึ่งอัตลักษณ์, หนึ่งประชาคม
(One Vision, One Identity, One Community)
5.ใครคือเลขาธิการอาเซียนคนปัจจุบัน (2555)
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
6.สัญลักษณ์อาเซียนสื่อความหมายใดบ้าง
รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมวีขาวและสีน้ำเงินรวงข้าว 10 ต้น มัดรวมกันไว้ หมายถึง ประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกัน
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญ และความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

7.ประชาคมอาเซียน 3 เสาหลัก ประกอบด้วยความร่วมมือด้านใดบ้าง
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community : APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)

8.สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ตั้งอยู่ที่ใด
กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
9.อาเซียนตั้งเป้าหมายที่บรรลุประชาคมอาเซียนโดยสมบูรณ์ในปีใด
ปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015)
10.กฎบัตรอาเซียน เริ่มใช้เมื่อวันที่เท่าใด
16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
11.ปฏิญญากรุงเทพ เกิดขึ้นเมื่อวันที่เท่าไร
8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
12.ภาษาราชการของอาเซียน คือ ภาษาใด
ภาษาอังกฤษ
13.เพลงอาเซียน มีชื่อว่าอะไร
เพลง The ASEAN Way
14.อาเซียน+3 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ รวมประเทศ จีน เกาหลีใต้ และ ญี่ปุ่น
15.อาเซียน+6 ประกอบด้วยประเทศใดบ้าง
กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ+3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์
16.กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558) เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพมีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกาการทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น
17.ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง (ASEAN Political Security Community)
อาเซียนมุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี

18.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
อาเซียนจะรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2553 โดยมีเป้าหมายให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี
19.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community)
อาเซียนมุ่งหวังประโยชน์จากการรวมตัวกันเพื่อทำให้ประชาชนมีการอยู่ดีกินดี ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional cooperation)ภายใต้สังคมและวัฒนธรรม ที่ครอบคลุมในหลายด้าน ได้แก่ เยาวชน การศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สิทธิมนุษยชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม สตรี แรงงาน การขจัดความยากจน สวัสดิการสังคมและการพัฒนา วัฒนธรรมและสารนิเทศ กิจการพลเรือน การตรวจคนเข้าเมืองและกงสุล ยาเสพติด การจัดการภัยพิบัติ โดยมีคณะทำงานอาเซียนรับผิดชอบการดำเนินความร่วมมือในแต่ละด้าน

แหล่งที่มา : gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด