https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ผลไม้แก้โรคกระเพาะ วิธีการรักษาโรคกระเพาะ แก้โรคกระเพาะ MUSLIMTHAIPOST

 

ผลไม้แก้โรคกระเพาะ วิธีการรักษาโรคกระเพาะ แก้โรคกระเพาะ


907 ผู้ชม


ผลไม้แก้โรคกระเพาะ วิธีการรักษาโรคกระเพาะ แก้โรคกระเพาะ

 

 

สาระน่ารู้........โรคกระเพาะอาหารกับอินทผาลัม                 

                                                                              By…Rx.HiLaL                                     

                                                                   ผลไม้แก้โรคกระเพาะ วิธีการรักษาโรคกระเพาะ แก้โรคกระเพาะ

                โดยทั่วไปแล้ว....... คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า อาการปวดท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่โดยเฉพาะอาการที่ปวดเรื้อรังมานานเป็นโรคกระเพาะอาหาร แต่แท้ที่จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆภายในช่องท้อง เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ กรดไหลย้อน แผลเพ็บติก โรคของตับ ถุงน้ำดี โรคมะเร็งกะเพาะอาหาร เป็นต้น

                 บรรดากลุ่มโรคกระเพาะอาหารนั้น ที่พบบ่อยและสำคัญ คือ โรคแผลเพ็บติก  (Peptic ulcer) หรือที่คนทั่วไปมักจะเรียกว่า “โรคกระเพาะอาหาร” หมายถึงโรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร

                    คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรังหรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รีบรักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆหายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมากจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต แผลในกระเพาะอาหารนี้พบได้ทั้งชายและหญิง ทุกเพศและทุกวัย

                    บรรดากลุ่มโรคกระเพาะอาหารนั้น ที่พบบ่อยและสำคัญ คือ โรคแผลเพ็บติก  (Peptic ulcer) หรือที่คนทั่วไปมักจะเรียกว่า “โรคกระเพาะอาหาร” หมายถึงโรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรังหรือเป็นนานๆ ถ้าไม่รีบรักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆหายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมากจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต แผลในกระเพาะอาหารนี้พบได้ทั้งชายและหญิง ทุกเพศและทุกวัย

                สาเหตุของโรคแผลเพ็บติกเกิดขึ้นเนื่องจากปริมาณกรดที่หลั่งในกระเพาะอาหารกับความต้านทานต่อกรดของเยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่สมดุลกัน หากกรดหลั่งมากเกินไปหรือความต้านทานต่อกรดลดลงก็จะทำให้เกิดแผลเพ็บติกขึ้นได้ ปัจจุบันพบว่าสาเหตุสำคัญของแผลเพ็บติก ได้แก่ การติดเชื้อเอชไพโลไร ( Helicobactor pylori ) 
การใช้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่เสตียรอยด์ และปัจจัยอื่นๆ ซึ่งอาจไม่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคโดยตรง เช่น การสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด ผู้ที่มีหมู่โลหิตโอ และความเครียดทางอารมณ์

                อาการของโรคที่สำคัญ ได้แก่ ปวดหรือจุกแน่นบริเวณลิ้นปี่ พบบ่อยที่สุดเวลาหิวหรือท้องว่าง จึงมีอาการเฉพาะบางช่วงของวัน ปวดท้อง แน่นท้อง อาการปวดมักจะเป็นๆหายๆ เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดใหม่อีก แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี แต่สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม

                การรักษาโรคแผลเพ็บติกนอกจากจะให้ยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการแล้ว ยังต้องรักษาที่สาเหตุของโรคด้วย ทั้งนี้คนไข้ควรทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย ทานตรงกันทุกมื้อ เลี่ยงอาหารรสจัด งดชา กาแฟ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ ผ่อนคลายความเครียด และลดความวิตกกังวล แต่หากมีอาการแทรกซ้อนก็ควรรีบพบแพทย์

                จากรายงานการวิจัยของ King Saud University ซาอุดิอาระเบีย ตีพิมพ์ใน Journal of Ethnopharmacology ปี 2005 ทำการทดลองโดยให้สารสกัดจากอินทผาลัมและเมล็ดให้กับหนูRat ในขนาด 4 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ต่อเนื่องกันนาน 14 วัน โดยใช้Ethanol เหนี่ยวนำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารของหนู เปรียบเทียบกับยา Lansoprazole ขนาด 30 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักหนู 1 กิโลกรัม พบว่า สารสกัดจากน้ำและEthanol ที่ได้จากผลอินทผาลัมและเมล็ดนั้น ทำให้ความรุนแรงของแผลในกระเพาะอาหารลดลงและยังช่วยบรรเทาการหลั่งฮิสตามีน และ gastrin จากการเหนี่ยวนำด้วย Ethanol และยังลดระดับมิวซิน (mucin) ในกระเพาะอาหารได้อีกด้วย จากการทดลองครั้งนี้ทำให้สันนิษฐานได้ว่าความสามารถป้องกันเยื่อบุกระเพาะอาหารของสารสกัดจากอินทผาลัม อาจเกิดจากหลายๆปัจจัย รวมทั้งอาจเกิดจากฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย

                ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.)  กล่าวว่า 


                                   “ ผู้ใดที่รับประทานอินทผาลัมที่มาจากอัจวะฮฺ 7 เม็ดในตอนเช้าแล้ว ในวันนั้น
                                      พิษร้ายหรือเวทมนตร์จะไม่ทำอะไรเขาเลยตลอดวัน ”
          
                                                                                                                                      (ซอเฮียะฮฺบุคอรี, 664)

                ...รู้อย่างนี้แล้ว... ใครที่มีปัญหาปวดท้องหรือสงสัยว่าจะเป็นโรคกระเพาะอาหาร 
ก็ลองหันมาใส่ใจตัวเองด้วยการทานอินทผาลัมวันละ 7 เม็ด อินชาอัลลอฮฺอาการน่าจะดีขึ้นและเราก็ยังได้ปฏิบัติตามคำสอนของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) อีกด้วย

บรรณานุกรม

-           พญ.เพ็ญแข แดงสุวรรณ, 2548, โรคกระเพาะอาหาร, สำนักพิมพ์ใกล้หมอ

-          A.A.Al-Qarawi, H.Abdel-Rahman et all, 2005, “The ameliorative effect of dates (Phoenix  dactylifera L.) on ethanol-induced gastric ulcer in rats”.Journal of Ethonopharmacology 98, 313-317.

-           2007, Hadith, [online], Access : https://www.searchtruth.com

แหล่งที่มา : annisaa.com

อัพเดทล่าสุด