https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคริดสีดวงเกิดจาก วิธีรักษาโรคริดสีดวงจมูก รูปภาพผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร MUSLIMTHAIPOST

 

โรคริดสีดวงเกิดจาก วิธีรักษาโรคริดสีดวงจมูก รูปภาพผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร


838 ผู้ชม


โรคริดสีดวงเกิดจาก วิธีรักษาโรคริดสีดวงจมูก รูปภาพผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร

 

 


ริดสีดวงทวาร

การรักษาด้วยฮอร์โมน (Hormone therapy)
           ผู้หญิงในวัยใกล้หมดประจำเดือนและหลังหมดประจำเดือนจะมีภาวะที่มีฮอร์โมนบกพร่องและไม่สมดุล ทำให้เกิดกลุ่มอาการหมดประจำเดือน การให้ฮอร์โมนทดแทนสามารถลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อยออกในเวลากลางคืน อารมณ์แปรปรวน และช่วยลดอาการทางระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะทำให้ผู้หญิงในวัยนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีผลป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ แต่การให้ฮอร์โมนทดแทนในปัจจุบันยังมีข้อขัดแย้งถึงผลดีผลเสียที่เกิดจากการให้ฮอร์โมน เช่น จากการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา พบว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจและหลอดเลือด 
           ดังนั้น  การให้ฮอร์โมนทดแทน แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อผู้หญิงแต่ละคน รวมทั้งต้องมีการติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นประจำ ด้วยความกลัวต่อโรคมะเร็งทำให้ผู้หญิงจำนวนมากยอมทนอาการไม่สุขสบายต่างๆ โดยไม่ยอมรับการใช้ฮอร์โมนทดแทน และมองหาการรักษาแบบแพทย์ทางเลือก โดยใช้สารประกอบจากธรรมชาติ เช่น ไฟโตเอสโตรเจน(Phytoestrogen)

ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจน
           การศึกษาทางระบาดวิทยาซึ่งเป็นการศึกษาในกลุ่มคนจำนวนมาก พบว่าคนตะวันตกเป็นเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนเอเชีย โดยมีสมมุติฐานว่า อาหารของคนเอเชีย เช่น คนญี่ปุ่น คนจีน น่าจะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนหรือกระบวนการชีวเคมีในเซลล์ของคน โดยมีหลักฐานแสดงว่าสารประกอบที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เรียกว่า “ไฟโตเอสโตรเจน” ซึ่งพบมากในถั่วเหลือง เมล็ดธัญพืชหลายชนิด และผลเบอร์รี่มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้ โดยมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ กระบวนการเมตาบอลิซึม (การเผาผลาญ) การทำงานของเอนไซม์ การสร้างโปรตีน การเพิ่มจำนวนและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง การเจริญเติบโตของหลอดเลือด เป็นต้น
           ดังนั้น  การกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธ์ และโรคกระด๔กพรุน (Osteoporosis)
                                            โรคริดสีดวงเกิดจาก วิธีรักษาโรคริดสีดวงจมูก รูปภาพผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร
                                 
ไฟโตเอสโตรเจน คืออะไร

           ไฟโตเอสโตรเจนเป็นสารประกอบที่พบได้ในพืชมากกว่า ๓๐๐ ชนิด แต่มีมากที่สุดในถั่วเหลือง โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมีย แต่ออกฤทธิ์ได้ต่ำกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนของคน
           ไฟโตเอสโตรเจนมีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน สามารถแย่งที่กับเอสโตรเจนในการจับกับตัวรับเอสโตรเจนที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และชักนำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะต่อเอสโตรเจนโดยทั่วไปเนื้อเยื่อระบบสืบพันธ์มีตัวรับเอสโตรเจนมากกว่าเป็นร้อยถึงพันเท่าของเซลล์กระดูกและเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย
           มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า ระดับไฟโตเอสโตรเจนในเลือดของคนหลังกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณปกติสามารถป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนได้ ดังนั้นไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจจะลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้ เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น การบริโภคไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้
                                 โรคริดสีดวงเกิดจาก วิธีรักษาโรคริดสีดวงจมูก รูปภาพผู้ป่วยโรคริดสีดวงทวาร
           เราสามารถแบ่งไฟโตเอสโตรเจนออกได้เป็น ๓ ชนิด ได้แก่ ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) คูเมศแตน (coumestans) และลิกแนน (lignan) ไฟโตเอสโตรเจนที่พบมากในอาหารที่กินเป็นประจำวันคือ ไอโซฟลาโวน ซึ่งมีในถั่วหลายชนิด แหล่งอาหารสำคัญของไฟโตเอสโตรเจนที่ร่างกายของคนได้รับคือ ถั่วเหลือง ในถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวนที่สำคัญคือ ไดซีน (daidzein) และจีนีสทีน (genistein)

ถั่วเหลืองกับสุขภาพ
ถั่วเหลืองกับภาวะหมดประจำเดือน

           ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมักมีอาการร้นวูบวาบ หงุดหงิด มีอาการทางผิวหนังและเยื่อบุบริเวณช่องคลอด (อักเสบ แห้ง) รวมทั้งมีอัตราการเป็นโรคกระดูกพรุน และอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือดสูง การใช้ฮอร์โมนทดแทนแม้จะช่วยลดการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้นแต่ก็มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านม การกินอาหารที่ทำจากถั่งเหลืองซึ่งมีไอโซฟลาโวนเป็นส่วนประกอบและมีสูตรโครงสร้างคล้ายเอสโตรเจนอย่างสม่ำเสมอ จึงอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้หญิงที่ไม่ต้องการใช้ฮอร์โมนทดแทน เพื่อช่วยลดอาการร้อนวูบวาบแล้วยังอาจช่วยป้องกันโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนรวมทั้งลดระดับไขมันในเลือดได้ มีการศึกษาจำนวนมากที่บ่งชี้ว่าการกินโปรตีนถั่วเหลืองที่มีไอโซฟลาโวนหรือการเสริมไอโซฟลาโวนสามารถเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดอาการร้อนวูบวาบที่เกิดจากภวชาวะหมดประจำเดือน
           การศึกษาในประเทศญี่ปุ่นพบว่าผู้หญิงญี่ปุ่นที่กินผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมากทั้งในแง่ปริมาณรวมของถั่วเหลือง และไอโซฟลาโวนจะมีความถี่ของอาการร้อนวูบวาบน้อยกว่า
           จากการวิเคราะห์ผลงานวิจัย ๑๐ เรื่อง เพื่อศึกษาประโยชน์ของการกินถั่วเหลืองและไอโซฟลาโวน พบว่าผลการศึกษายังมีความขัดแย้งกันคือ
           มี ๔ การศึกษาที่แสดงถึงประโยชน์ของการกินไอโซฟลาโวน ตั้งแต่ ๓๔-๑๓๔ มิลลิกรัมต่อวัน ทั้งในรูปแป้งถั่วเหลือง โปรตีนถั่วเหลืองหรือสกัดใส่แคปซูลในการช่วยลดกลุ่มอาการที่เกิดจากภาวะหมดประจำเดือน ขณะเดียวกันอีก ๖ งานวิจัยไม่แสดงความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

ถั่วเหลืองกับโรคกระดูกพรุน
           โรคกระดูกพรุน เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของกระดูกทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดกระดูกหักได้ง่ายแม้ได้รับการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย สาเหตุที่พบได้บ่อยและสำคัญมากที่สุดคือ การขาดเอสโตรเจนจากการหมดประจำเดือน
           ทั้งนี้ ผู้หญิงหมดประจำเดือนจะมีการสูญเสียเนื้อกระดูกประมาณร้อยละ ๓-๕ ต่อปี ในเวลา ๓-๕ ปีแรกของการหมดประจำเดือน ทำให้มวลกระดูกลดลงประมาณร้อยละ ๑๕ หลังจากนั้นอัตราการสูญเสียเนื้อกระดูกลดลงสู่ระดับเดิมคือ ร้อยละ ๐.๕-๑ ต่อปี จนเข้าสู่วัยสูงอายุ
           แม้ว่าการเสริมแคลเซียมในช่วงวัยทองไม่สามารถจัดผลของการขาดเอสโตรเจนได้ แต่จะช่วยลดผลที่เกิดจากการขาดแคลเซียมได้ ทั้งนี้ ผู้หญิงควรได้รับแคลเซียมจากอาหารวันละ ๘๐๐-๑,๒๐๐ มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูงได้แก่ นม ปลาทอดกรอบกินได้ทั้งกระดูก กุ้งแห้ง เต้าหู้ เป็นต้น
           จากการศึกษาการได้รับแคลเซียมในผู้ใหญ่ชาวไทย พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓๖๑ มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าที่ควรได้รับประจำวันมาก
           การศึกษาทางระบาดวิทยาได้แสดงให้เห็นว่าการได้รับแคลเซียมน้อยกว่า ๕๐๐ มิลลิกรัมต่อวัน มีความสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเกิดสะโพกหักในชาวยุโรป และการเสริมแคลเซียมมีผลป้องกันการเกิดกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชากรที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารไม่เพียงพอ
           การทดลองในหนูพบว่า จีนีสทีน (ไอโซฟลาโวนชนิดหนึ่ง) ให้ผลคล้ายยาประเภทเอสโตรเจนที่ว่า พรีมาริน (Premarin®) โดยสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกได้ โปรตีนถั่วเหลืองสามารถป้องกันการสูญเสียเนื้อกระดูกที่เกิดจากขาดฮอร์โมนจากรังไข่ของหนูที่ถูกตัดรังไข่ทิ้ง (เกิดการสร้างมวลกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก)
           สำหรับการศึกษาในคนนั้น ขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปผลว่า ไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลืองป้องกันภาวะกระดูกพรุนได้ เนื่องจากแม้ว่าจะมีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า มีการสูญเสียของมวลกระดูกน้อยกว่าหรือมวลกระดูกมากกว่าในกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับไอโซฟลาโวนเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม แต่ก็มีการศึกษาที่ไม่เห็นความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับและไม่ได้รับไอโซฟลาโวนจากถั่วเหลือง ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงแนะนำให้กินผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากถั่งเหลือง เพื่อให้ร่างกายได้รับไอโซฟลาโวนมากกว่าจะกินเป็นเม็ดยา
ถั่วเหลืองกับโรคหัวใจขาดเลือด
           โดยทั่วไปหญิงวัยหมดระดูจะมีเอชดีแอลโคเลสเตอรอล (HDL-cholesterol ซึ่งเป็นไขมันชนิดดี) ลดลงและแอลดีแอลโคเลสเตอรอล (LDL-cholesterol ซึ่งเป็นไขมันชนิดเลว) เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการลดลงของระดับเอสโตรเจน ปัจจัยต่อไปนี้ได้แก่ภางะไขมันในเลือดสูง ความดันเลือดสูง การสูบบุหรี่ เบาหวาน อ้วน การขาดการออกกำลังกาย และดื่มเหล้า เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า ประชากรที่กินอาหารที่มีโปรตีนจากพืชสูงจะมีอุบัติการณ์ของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและความชุกของภาวะของโคเลสเตอรอลในเลือดสูงต่ำกว่าประชากรที่กินอาหารที่มีโปรตีนจากสัตว์สูง
           รายงานการวิเคราะห์ผลงานวิจัยจำนวน ๓๘ เรื่องโดยแอนดอร์สันและคณะเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ บ่งชี้ว่า การกินโปรตีนถั่วเหลืองเฉลี่ย ๔๗ กรัมต่อวันทำให้ระดับโคเลสเตอรอลทั้งหมด (Total cholesterol) แอลดีแอลโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงร้อยละ ๙, ๑๓ และ ๑๐ ตามลำดับ
           ในเวลาต่อมา (พ.ศ.๒๕๔๒) องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา และสมาคมแพทย์โรคหัวใจในสหรัฐอเมริกาได้ให้คำแนะนำว่า การกินโปรตีนจากถั่วเหลือง ๒๕ กรัมต่อวัน และให้โปรตีนจากถั่วเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลต่ำ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
ถั่วเหลืองกับโรคมะเร็ง
           มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งมดลูก และมะเร็งรังไข่ ซึ่งเป็นมะเร็งชนิดที่สัมพันธ์กับฮอร์โมนในร่างกาย และโรคหัวใจขาดเลือด มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าในเอเชียและยุโรปตะวันออกเมื่อเทียบกับประเทศตะวันตก มีรายงานว่าประเทศญี่ปุ่นมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งที่พึ่งฮอร์โมนต่ำสุด
           ผู้อพยพชาวเอเชียที่อยู่ในประเทศตะวันตกที่ยังกินอาหารตามประเพณีดั้งเดิมของตนมีอัตราเสี่ยงต่อโรคไม่สูงขึ้น แต่กลุ่มที่หันไปบริโภคแบบตะวันตกมีอัตราเสี่ยงต่อโรคสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับไฟโตเอสโตรเจน โดยขึ้นกับปริมาณถั่วเหลืองที่แต่ละท้องถิ่นบริโภค เช่น
           - คนญี่ปุ่นกินผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองวันละ ๒๐๐ มิลลิกรัม
           - คนเอเชียจะได้รับไอโซฟลาโวนจากอาหารวันละ ๒๕-๔๕ มิลลิกรัมจากอาหารจำพวกถั่วเหลืองเมล็ดแห้งสูงกว่าคนในประเทศตะวันตก ซึ่งได้รับน้อยกว่า ๕ มิลลิกรัมต่อวัน
           - ผู้หญิงญี่ปุ่นที่กินซุปเต้าเจี้ยวมากจะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่ำกว่า 
           - ผู้ชายญี่ปุ่นที่กินเต้าหู้มากกว่า ๕ ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ชายที่กินเต้าหู้น้อยกว่า ๑ ครั้งต่อสัปดาห์
           - คนญี่ปุ่นกินเต้าหู้มากมีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารต่ำ 
           - คนจีนที่กินถั่วเหลืองมากกว่า ๕ กิโลกรัมต่อปี มีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะอาหารลดลงร้อยละ ๔๐
           - หญิงจีนที่กินอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองน้อยกว่า ๑ ครั้งต่อสัปดาห์ มีอัตราเสี่ยงต่อมะเร็งปอดเป็น ๓.๕ เท่า และมะเร็งเต้านมเป็น ๒ เท่า ของหญิงจีนที่กินอาหารที่ประกอบด้วยถั่วเหลืองทุกวัน
การศึกษาเรื่อง “ผลของการกินอาหารที่มีปริมาณของถั่วเหลืองมากต่อระดับไขมันและอาการจากภาวะหมดระดูของหญิงวัยกลาง
  
           จากการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวมาข้าวต้น ศรีวัฒนา ทางจิตสมบูรณ์ และคณะ ได้ทำการวิจัยผลของการกินอาหารที่มีประมาณของถั่วเหลืองมาก (กินโปรตีนจากถั่วเหลือง ๒๕ กรัมต่อวัน ซึ่งจะได้รับไอโซฟลาโวน ๕๐ มิลลิกรัมต่อวัน) ต่อระดับไขมันและไลปิดเพอร์ออกซิเดชันในเลือดและอาการจากดภาวะหมดระดูของหญิงไทยวัยทอง โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ประจำปี พ.ศ.๒๕๔๕ โดยอาสาสมัครเป็นผู้หญิงวัยทองทั้งหมด ๓๗ คน (อายุ ๔๐-๕๙ ปี) วิธีวิจัยเป็นแบบวิธีสุ่มและสลับชนิดของการกินอาหาร (Randomized, controlled cross-over design)
           ผลการศึกษาพบว่า หลังจากกินอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลือง ๒๕ กรัมต่อวัน เป็นเวลา ๑๒ สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยของระดับแอลโคเลสเตอรอลในเลือด (ไขมันชนิดเลว) ลดลงร้อยละ ๑๘ แต่เอชดีแอลโคเลสเตอรอล (ไขมันชนิดดี) เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๐ ทั้งนี้ แต่พบว่าหลักกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการแต่ไม่มีถั่วเหลือง กลุ่มตัวอย่างมีระดับแอลโคเลสเตอรอลลดลงน้อยกว่าคือ ลดลงร้อยละ ๘ เอชดีแอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นร้อยละ ๒๑ นอกจากนี้อาการจากภาวะหมดระดู (ค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมจากแบบประเมินผล) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหลังจากกินอาหารที่มีโปรตีนจากถั่วเหลืองได้ ๔.๔ และ ๑๒ สัปดาห์ โดยในช่วงควบคุม (กินอาหารที่ไม่มีโปรตีนจากถั่งเหลือง) ไม่พบความเปลี่ยนแปลง
           การกินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการโดยมีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ รวมทั้งมีปริมาณของถั่วเหลืองมาก (ทดแทนโปรตีนเนื้อสัตว์ด้วยโปรตีนจากถั่วเหลือง) จึงอาจช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด และลดอาการจากภาวะหมดระดูในผู้หญิงวัยทองได้ดีกว่าการบริโภคอาหารปกติที่ไม่มีโปรตีนถั่วเหลือง
           ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารที่ทำจากถั่วเหลืองหลายชนิด ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น เช่น เต้าหู้หลอด เต้าหู้แผ่น นมถั่วเหลืองทั้งที่ไม่ได้เสริมแคลเซียมและเสริมแคลเซียม ไส้กรอกเจที่ทำจากถั่วเหลือง และไอศกรีมที่มีส่วนผสมจากถั่วเหลือง เป็นต้น
ไลปิดเพอร์ออกซิเดชันในเลือด
ผลข้างเคียงที่พบรายงานในคนที่บริโภคถั่วเหลือง
           จากการศึกษาพบว่า การบริโภคโปรตีนจากถั่วเหลืองก่อให้เกิดผลข้างเคียงน้อยและไม่รุนแรง โดยมากมักเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด แน่นท้อง ท้องผูก เนื่องจากถั่วเหลือง เป็นพืชชนิดหนึ่งในตระกูลถั่ว จึงอาจมีโปรตีนบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ แต่มักจะเกิดในเด็กที่มีประวัติโรคหอบหืดหรือในรายที่แพ้ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วอย่างรุนแรง นอกจากนี้ ยังมีรายงานที่พบว่า ทารกที่ดื่มนมถั่วเหลืองเพียงอย่างเดียวมีโอกาสที่ต่อมไทรอยด์จะทำงานต่ำกว่าปกติได้ ดังนั้น ในปัจจุบันนมถั่วเหลืองในทารกจะมีการเติมไอโอดีน เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว

ข้อปฏิบัติการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของคนวัยกลาง
ผู้เขียนขอแนะนำให้ผู้อ่านใช้ข้อปฏิบัติการกินอาหารดังต่อไปนี้ เพื่อสุขภาพที่ดีของคนวัยทอง
๑. กินผัก ผลไม้ ถั่ว โดยเฉพาะถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ทอด เต้าหู้แผ่น และธัญพืช เป็นประจำ
๒. ลดการกินไขมัน อย่าให้เกินร้อยละ ๓๐ ของพลังงานที่ได้รับต่อวันโดยลดไขมันจากสัตว์หลีกเลี่ยงอาหารที่แปรรูปที่มีไขมันพวกกรดไขมัน (trans fatty acid) เช่น มาร์การีน เนยขาว โดนัต มันฝรั่งทอด เลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fatty acid) สูง เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว น้ำมันงา
๓. กินอาหารให้หลากหลาย กินปลา ถั่วเมล็ดแห้ง เต้าหู้ ลดปริมาณเนื้อแดงที่บริโภคลง
๔. ลดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ไม่ควรเกินวันละ ๓๐๐ มิลลิกรัม
๕. เพิ่มการกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว ธัญพืช
๖. ลดอาหารเค็ม ดื่มน้ำสะอาดวันละ ๑-๒ ลิตร
๗. ดื่มนมพร่องไขมัน
๘. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
๙. ไม่ควรงดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง
๑๐. งดสูบบุหรี่และลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุรา เบียร์ ไวน์
อย่างลืมออกกำลังกาย
           ก่อนจบบทความนี้ผู้เขียนขอแนะนำเมนูง่ายๆ สำหรับทำอาหารจากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ เพื่อท่านผู้อ่านจะได้นำไปประกอบอาหารเพื่อสุขภาพของตนเองและสมาชิกในครอบครัวด้วย

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด