อาหารต้องห้ามโรคกรดไหลย้อน การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยสมุนไพร อาหาร เครื่องดื่ม ที่ห้ามสำหรับโรคกรดไหลย้อน
อาหารต้องห้ามโรคกรดไหลย้อน การรักษาโรคกรดไหลย้อนด้วยสมุนไพร อาหาร เครื่องดื่ม ที่ห้ามสำหรับโรคกรดไหลย้อน
ป้องกันโรคกรดไหลย้อน
เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาเคยเขียนเรื่องกรดไหลย้อน เพราะเป็นโรคที่หลายคนไม่รู้จัก ปัจจุบันพบว่ามีคนเป็นโรคนี้เป็นกันมากขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงวัย และมักถูกถามถึงชนิดของอาหารที่จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคอยู่เสมอ ที่จริงแล้วอาหารไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค แต่พฤติกรรมการกินต่างหากที่ทำให้เกิดโรค ซึ่งเมื่อเกิดโรคแล้วจึงทำให้ต้องระวังเรื่องอาหาร โรคกรดไหลย้อนเป็นอย่างไร? ในทางการแพทย์เรียกโรคนี้ว่า Gastro esophageal Reflux Disease (GERD) ถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาถึงกล่องเสียง ก็เรียกเฉพาะว่าLaryngopharyngeal Reflux Disease หรือ LPR สาเหตุของการเกิด GERD อาการของ GERD • อาการทางคอหอยและหลอดอาหาร จะมีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณหน้าอกและลิ้นปี่ บางครั้งอาจมีอาการปวดร่วมด้วย เป็นอาการของคนที่มีกรดเกลือ ซึ่งเป็นน้ำย่อยที่หลั่งออกมาจากกระเพาะอาหารแล้วย้อนกลับขึ้นสู่ลำคอ เรียกอาการนี้ว่า “Heart Burn” หรือ “Hyperacidity” บางครั้งอาจรู้สึกคล้ายมีก้อนในคอ กลืนลำบาก เจ็บคอ แสบปาก มีรสขมหรือเปรี้ยวในคอและปาก มีเสมหะและระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ มีกลิ่นปาก เสียวฟันหรือฟันผุได้ อาการเช่นนี้พบได้ในคนที่กินอาหารไม่เป็นเวลา และความเครียดก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ อาการดังกล่าวถ้าไม่ได้รับการรักษา เยื่อบุกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นอาจเกิดการอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหารตามมาได้ • อาการทางกล่องเสียงและปอด มีเสียงแหบเรื้อรังหรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติ หรือตอนเช้ามีเสียงใส แต่บ่ายๆ เสียงจะแหบหายไป ทำให้เข้าใจว่าเป็นหวัดลงคอ ไอเรื้อรัง มีเสมหะ สำลักน้ำลาย กระแอมกระไอบ่อยเหมือนมีอะไรติดคอ ถ้าเป็นโรคหอบหืดอยู่ก่อนจะทำให้อาการทรุดลง เจ็บหน้าอก ปอดอักเสบ และเป็นๆ หายๆ ข้อสังเกตสุขภาพ ถ้าสังเกตว่ามีอาการมากกว่า 3 อาการ แสดงว่าอยู่ในช่วงของโรคคุกคามเข้าแล้ว ต้องเร่งปรับพฤติกรรมการกินอาหารของตน การรักษา ด้านอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะกระตุ้นการหลั่งของน้ำย่อยและทำให้เกิดอาการมากขึ้น เช่น อาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด หรือเค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง ใส่กะทิ และชุบแป้งทอด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ เป็นต้น อาหารที่จะบริโภคควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย นุ่ม เปื่อย และมีรสอ่อนๆ พยายามกินอาหารให้ตรงเวลา รวมทั้งออกกำลังกายและลดความเครียดด้วย ป้องกันการเกิดโรค 1. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่กินอย่างรีบเร่ง และเคี้ยวให้ละเอียด แม้การเป็น GERD จะไม่รุนแรงและทำอันตรายถึงชีวิต แต่ก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ที่เป็นโรคนี้ รวมทั้งการรักษาต้องใช้เวลานาน การป้องกันการเกิดโรคน่าจะดีกว่า โดยใส่ใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของตน หรือเมื่อเป็นแล้วควรให้ความสนใจเลือกอาหารที่กิน เพื่อช่วยลดอาการและความผิดปกติของร่างกายที่จะนำไปสู่การเป็นโรคเรื้อรังต่างๆ ในอนาคต |
แหล่งที่มา : gourmetthai.com