https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาการโรคความดันโลหิตสูง วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง อาหาร MUSLIMTHAIPOST

 

อาการโรคความดันโลหิตสูง วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง อาหาร


678 ผู้ชม


อาการโรคความดันโลหิตสูง วิธีรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคความดันโลหิตสูง อาหาร

 

 

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

ประโยชน์จากการรักษาโรคความดันโลหิต

พบว่าการลดความดันโลหิต จะสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมองได้ร้อยละ 30-35% และสามารถลดโรคแทรกซ้อนโรคเส้นเลือดหัวใจตีบได้ 20-25% และลดโรคหัวใจวายได้ 50 %

เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการ ผู้ป่วยบางรายมาพบแพทย์เมื่อมีโรคแทรกซ้อนแล้วเช่น ไตวาย หัวใจวายเป็นต้น การตรวจวัดความดันประจำปีจะช่วยให้เรารักษาผู้ป่วยได้เร็วขึ้น การพิจารณาให้การรักษาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างเช่น ระดับความดันโลหิต โรคต่างๆที่พบร่วม ปัจจัยเสี่ยงต่างที่เป็นดังแสดงในตารางข้างล่าง

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(1)

โรคร่วมต่างๆที่เป็นอยู่(2)

การสูบบุหรี่

กล้ามเนื้อหัวใจหนา

ไขมันในเลือดสูง

เคยเป็นหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคเบาหวาน

เคยผ่าตัดเปลี่ยนหลอดเลือดหัวใจ

หญิงอายุมากกว่า 65 ปี ชายมากกว่า 55 ปี

หัวใจวาย

อ้วนดัชนีมวลกายมากกว่า 30

เคยเป็นอัมพาต

ประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ(หญิงก่อน 65 ชายก่อน 55)

โรคไต

ความดันโลหิตสูง

หลอดเลือดขาตีบ

ผู้ที่ไม่ออกกำลังกาย

มีการเปลี่ยนแปลงทางตา

พบไข่ขาวในปัสสาวะ  

เมื่อพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงและโรคที่พบร่วมก็จะจัดผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงออกเป็น 3 กลุ่มดังนี้

  • กลุ่ม A ผู้ป่วยไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ(ตารางช่อง 1) และไม่มีโรคร่วม (ตารางช่อง 2)
  • กลุ่ม B ผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 ข้อแต่ไม่มีโรคร่วม
  • กลุ่ม C ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน หรือมีโรคต่างๆตามตาราง

หลังจากท่านได้จัดว่าท่านอยู่ในกลุ่มไหนแล้วก็จะมาพิจารณาว่าจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูงเมื่อใด

ความรุนแรงของความดันโลหิต (systolic/diastolic mm Hg)

Prehypertension คือผู้ที่มีความดันโลหิต (120-139/85-89)

Stage 1 (140-159/90-99)

Stage 2 ความดัน >160/100
ผู้ป่วยกลุ่ม A ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจาก ปรับพฤติกรรมแล้ว เป็นเวลา 1 ปีความดันไม่ลด) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา2ชนิด
ผู้ป่วยกลุ่ม B ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (จะให้ยาหลังจาก ปรับพฤติกรรมแล้ว เป็นเวลา 6 เดือนแล้วความดันไม่ลด หากมีหลายปัจจัยเสี่ยงต้องรีบให้ยา) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา
ผู้ป่วยกลุ่ม C การให้ยา  +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การให้ยา +ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม +การให้ยา

  • จากตารางจะเห็นว่าผู้ป่วยกลุ่ม C จะเริ่มให้ยาเมื่อความดันโลหิตสูงไม่มากเพราะกลุ่ม c มีโรคอยู่หากรักษาช้าจะทำให้โรคที่เป็นอยู่มีอาการแย่ลง
  • กลุ่ม B และ C หากความดันอยู่ในช่วง 140-160 ยังมีเวลาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 6เดือน-1 ปี แต่ถ้าความดันมากกว่า 160 จะให้ยาเลย

แต่ต้องเน้นว่าจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วยเสมอ


แหล่งที่มา : siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด