https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาหารสำหรับโรคเบาหวาน ยาแก้โรคเบาหวาน ผลไม้สําหรับคนเป็นโรคเบาหวาน MUSLIMTHAIPOST

 

อาหารสำหรับโรคเบาหวาน ยาแก้โรคเบาหวาน ผลไม้สําหรับคนเป็นโรคเบาหวาน


658 ผู้ชม


อาหารสำหรับโรคเบาหวาน ยาแก้โรคเบาหวาน ผลไม้สําหรับคนเป็นโรคเบาหวาน

 
อาหารชนิดใดที่ผู้ป่วยควรรับประทานและไม่ควรรับประทาน 
1. นมสด เป็นอาหารที่ประโยชน์แก่ร่างกายมาก ผู้ป่วยโรคเบาหวานดื่มได้ แต่น้ำนมที่ขายอยู่ในท้องตลาด 
ปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ควรเลือกซื่อดื่มได้ เช่น นมสดหนองโพ นมสดฟาร์มโคนมไทยเดนมาร์ค ควรเลือกดื่มชนิดนมจืดไม่เติมน้ำตาลหรือชนิดไม่ปรุงแต่ง 
น้ำนมผสมคืนรูป เป็นนมผงที่นำมาผสมกับน้ำ มีลักษณะคืนรูปน้ำนม ได้แก่ นมสดตราหมี นมบลูซิลของ โฟร์โมสต์ นมสดคืนรูปเนสเล่ย์ 
ผู้ป่วยควรเลือกชนิดจืด 
นมสดระเหย หรือนมข้นจืด มีลักษณะข้นเท่านมสดธรรมดา แต่การผลิตในประเทศไทยให้นมผงที่ไม่มีไขมันผสมกับเนยหรือน้ำมันพืช และเติมน้ำครึ่งหนึ่งของนมธรรมดา ทำให้มีลักษณะข้นใช้ใส่เครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น 
ชา กาแฟโอวัลติน โกโก้ เช่น นมข้นจืดตราดอกมะลิ ตราดอกคาร์เนชั่น ตราดับ 
เบบี้ โรคเบาหวานใช้ได้ 
นมธรรมดา เช่น นมผงดุสิต เนสเปรย์ คลิม มอลลี่ 
นมเปรี้ยว ที่ขายทั่วไป ได้แก่ โยเกริต มีทั้งชนิดที่ปรุงแต่งด้วย น้ำเชื่อม ผลไม้เช่น สัปปะรด สตอเบอรีฯ และ 
ชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควรเลือก ชนิดที่ไม่ปรุงแต่งรส 
นมข้นหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรใช้นมชนิดนี้ เพราะจะให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง 
น้ำนมถั่วเหลือง ที่ขายอยู่ในปัจจุบันนี้มี นมถั่วเหลืองเกษตร โบมัน แล็คตาซอย ไวตามิลค์ นมถั่วเหลืองเหล่า นี้ได้มีการเติมน้ำตาลลงไปด้วยทำให้มีรสหวาน ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานดื่มได้ แต่ต้องไม่เติมน้ำตาล 
2. ผัก ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานผักมาก ๆ ทั้งผักสดและสุก เพราะใยอาหารในผักจะช่วยให้น้ำตาล ถูกดูดซึมได้น้อยลง จึงช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงทั้งยังไม่ให้ท้องผูกอีกด้วย ผักรับประทานเท่าใดก็ได้เพราะให้พลังงานน้อยมากได้แก่ หน่อไม้ ผักกวางตุ้ง มะเขือเทศ ผักกาดขาว ถั่วงอก ผักคะน้า พริก ตำลึง กะหล่ำดอก ถั่วพลู คื่นไช่ มะเขือต่าง ๆ กะหล่ำปลี ชะอม น้ำเต้า มะระ บวบ ผักโขม ยอดฟักทอง ใบกุ่ยใช่ แตงกวา ผักบุ้ง ต้นหอม ฯลฯ 
[b]ผักที่มีคาร์โบไฮเดรทมาก เช่น ฟักทอง แครอท สะเดา สะตอ มะรุม ลูกเนียง ถั่วลันเตา ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกิน
 
3. ผลไม้ จะมีน้ำตาลอยู่โดยธรรมชาติจะแตกต่างกันตามชนิดของผลไม้บางชนิด จะมีรสหวานมาก จึงไม่ เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน 
4. ธัญญพืช และเผือกมันต่าง ๆ เป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรทมาก ไม่ควรรับประทานมากเกินไป อาหาร จำพวกนี้ได้แก่ ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ขนมจีน วุ้นเส้น ขนมปัง เผือกมันต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้ทุกวัน รับประทานได้มากน้อยเพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับกิจกรรม และแรงงานที่ใช้ในแต่ละวัน ควรรับประทานข้าวหรืออาหารแป้งอื่น ๆ ให้น้อยลง 
แพทย์หรือนักโภชนาการจะเป็นผู้กำหนดให้ ถ้ากินอาหารประเภทนี้มากเกิน จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้ ถ้าสามารถ รับประทานข้าวซ้อมมือได้ทุกวันก็จะดีมาก ในข้าวซ้อมมือมีใยอาหารมาก วุ้นเส้น เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานคิดว่ารับประทานได้โดยไม่จำกัด เพราะเป็นโปรตีนจากถั่ว แต่ที่จริง 
วุ้นเส้นเป็นอาหารจำพวกแป้งเช่นเดียวกับข้าวหรือก๋วยเตี๋ยว เพราะกรรมวิธีในการทำวุ้นเส้นถูกแยกส่วนที่เป็นโปรตีนออกไป ดังนั้นผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงจำเป็นต้องจำกัดการรับประทานวุ้นเส้นเช่นเดียวกับข้าวและแป้งชนิดอื่น ๆ 
5. เนื้อสัตว์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานเนื้อเพียงพอกับร่างกายประมาณ 3-4 ช้อนกินข้าวพูนเล็กน้อย หรือ 
ประมาณครึ่งขีดต่อมื้อเนื้อสัตว์เหล่านี้จะเป็น ปลา กุ้ง เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เต้าหู้หรือเมล็ดถั่วแห้ง หากรับประทานมากเกินไปจะเปลี่ยนแปลงเป็นรูปของไขมัน ทำให้อ้วนได้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรกินเนื้อสัตว์ไม่ติดมันและไม่ทานเครื่องในบ่อยเกินไป 
6. ไข่ เป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก ผู้ป่วยไม่ควรงด ควรรับประทานไข่เป็ดหรือไข่ไก่ ประมาณสัปดาห์ละ 3-4 ฟอง สำหรับผู้ป่วยที่โคเลสเตอรอลในเลือดสูงอาจกินสัปดาห์ละ 2 ฟอง แต่ถ้ารับประทาน เพียงไข่ขาวก็รับประทานได้ทุกวัน 
7. น้ำตาลเทียมหรือขัณทศกร ไม่ห้ามในผู้ป่วยโรคเบาหวานแต่ควรรับประทานพอควร 
8. อาหารที่มีใยมาก ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับอาหารที่มีใยมากขึ้น ส่วนลดไขมันในเลือด และน้ำตาล 
ได้ เช่น ถั่วฝักยาว ถั่วแขก ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ ขี้เหล็ก ยอดมะกอก ใบแค เม็ดแมงลัก ฝรั่ง ข้าวซ้อมมือ และผักต่าง ๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารเหล่านี้ให้มากขึ้น 
อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้โดยไม่จำกัด 
อาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้โดยไม่จำกัด ได้แก่ น้ำส้มสายชู น้ำปลา เกลือ มัสตาด มะนาว พริกไทย เครื่อง เทศต่าง ๆ 
เครื่องดื่มประเภทกาแฟ ชา ที่ไม่ได้ใส่น้ำตาล 
อาหารจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์ เช่น เบียร์ เหล้า ไวน์ ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรดื่มเพราะมีปริมาณน้ำตาลสูง 
ตัวอย่างอาหารโรคเบาหวาน 
อาหารเช้า ข้าวต้มไก่ ไข่ลวก มะละกอสุก (หรือน้ำส้มคั้น 1 แก้ว) 
อาหารกลางวัน ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าผักคะน้าหมู (ไม่ติดมัน)สับปะรด 1 จาน (9 ชิ้นขนาดคำ) 
อาหารว่าง นมสดจืดเดนมาร์ค 1 แก้ว 
อาหารเย็น 
ข้าวสวย 
แกงส้มผักรวมมิตร - กุ้ง 
ปลาสลิดเค็ม 
ผักบุ้งไฟแดง 
แตงโม 
7. ไขมันหรือน้ำมัน เป็นอาหารที่มีพลังงานสูงมาก ถ้ารับประทานมากทำให้อ้วน ดังนั้น เพื่อควบคุมน้ำหนัก 
ไม่ให้เพิ่มมาก โรคเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมาก 
7.1 ไขมันสัตว์มีสารทำให้ไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดโรคหลอดเลือดแข็ง และหัวใจขาดเลือด พบมากในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ มันหมูมันวัว หนังไก่ มันกุ้ง ครีม เนย เนื้อติดมัน หอยนางรม ไข่ปลา กุ้งใหญ่ 
7.2 น้ำมันพืช เป็นกรดไขมันที่ช่วยลดไขมันในเลือดได้ ได้แก่ มันมัน ข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันฝ้าย 
น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรให้น้ำมันเหล่านี้เพื่อให้ได้น้ำมันไปตามต้องการควรใช้น้ำมันจากบริษัทที่เชื่อถืได้ที่มีเครื่องหมายรับรองคุณภาพ 
ของกระทรวงอุตสาหกรรม 
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรหลีกเลี่ยงการกินน้ำมะพร้าว น้ำมันปาล์ม กะทิ เพราะทำให้ไขมันในเลือดสูงเช่นเดียว กับการกินไขมันสัตว์ ทำให้หลอดเลือดแห้งและหัวใจขาดเลือด 
7.3 ครีมเทียมหรือไขมันผง ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนอกจากจะทำให้อ้วน แล้วทำให้ไขมันในเลือดสูงได้ ซึ่งเสี่ยงต่อการทำให้เป็นโรคหลอดเลือดแข็ง ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรกินไขมันประเภทนี้ 
8. น้ำตาล เป็นอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องงดเว้นเด็ดขาด เข่น น้ำหวาน น้ำผึ้ง เครื่องดื่ม ขนมหวาน ทำให้ น้ำตาลในเลือดสูงรวดเร็ว ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแข็งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจขาดเลือด 
ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือดมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวาน 2-3 เท่า และควรงดน้ำตาลทุกชนิด 

แหล่งที่มา : bbznet.pukpik.com

อัพเดทล่าสุด