https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ยารักษาโรคหอบหืด แพทย์แผนไทย มหิดล สุตรยาดโรคหอบหืด สถานการณ์โรคหอบหืด MUSLIMTHAIPOST

 

ยารักษาโรคหอบหืด แพทย์แผนไทย มหิดล สุตรยาดโรคหอบหืด สถานการณ์โรคหอบหืด


903 ผู้ชม


ยารักษาโรคหอบหืด แพทย์แผนไทย มหิดล สุตรยาดโรคหอบหืด สถานการณ์โรคหอบหืด

หอบหืด โรคที่ไม่หายแต่อาจตายเพราะยาได้

“เฮ้อ เกิดมาเป็นคนกับเขาทั้งทีก็มาเป็นโรคหอบหืดเสียได้ จะตายก็ไม่ตายให้มันรู้แล้วรู้รอดไป” อาจจะมีใครหลายๆ คนที่มีโรคหอบหืดเป็นสมบัติส่วนตัว (ทีอยากจะบริจาคแต่มันไม่ยอมไป) ก็ต้องขอปลอบใจไว้ก่อนว่า อย่าเพิ่งน้อยอกน้อยใจตายหนีไปเสียก่อนเลย โลกนี้ยังมีอะไรต่ออะไรที่ต้องช่วยกันทำอีกมากมายนัก และที่สำคัญคือ กว่าจะได้เกิดมาเป็นคนทั้งทีมันไม่ใช่ของง่าย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะทำประโยชน์ให้กับโลกไว้บ้าง จะได้ไม่ขึ้นชื่อว่าเกิดมาสูญเปล่า เรายังมีเพื่อนอีกมากมายที่มีโรคอันไม่พึงปรารถนานี้ แต่เขาก็ไม่ได้ท้อถอยหรือน้อยอกน้อยใจในชีวิต สามารถทำงานทำการที่เป็นประโยชน์ได้ และมากกว่าคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ทางกาย (แต่พิการทางจิตใจ) เสียอีก

ปัจจุบันนี้เรายังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า มีวิธีหรือยาใดๆ ที่สามารถรักษาโรคหอบหืดได้อย่างหายขาดแน่นอน ส่วนมากจะเป็นรายการต้มตุ๋นแหกตา หรือโฆษณาชวนเชื่อหรือรายการขี้คุยเสียมากกว่า มีอยู่มากมายที่อ้างว่า สมุนไพรตำรับต่างๆ ของตนสามารถจะรักษาให้หายขาดได้ แต่มักจะเป็นประเภทรักษาคนไข้มาเป็นร้อยรายหายเพียงรายเดียว แล้วเอารายเดียวที่หายมาคุย อีก 99 ราย ทำเป็นจำไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หมอชาวบ้านจะไม่สนับสนุนให้ใช้ยาแผนโบราณ ตรงกันข้ามถ้าใครมีตำรับตำรารักษาโรคหอบหืดอะไรดีๆ ก็กรุณาส่งมาให้เรา เรายินดีอย่างยิ่งที่จะช่วยเผยแพร่ให้ เรามีเวทีรอท่านในหนังสือเล่มนี้อยู่แล้ว แต่ขอร้องว่าอย่าเป็นรายการขี้คุยอย่างที่ว่าเลย เพราะจะทำให้เสียชื่อเสียงสถาบันยาสมุนไพรหรือการแพทย์แผนโบราณ ทำให้คนเสื่อมศรัทธาไปเปล่าๆ นอกจากนี้หมอชาวบ้านยังมีแพทย์เภสัชกรซึ่งมีความสัมพันธ์กับคนไข้โดยตรง ก็ยินดีที่จะช่วยเผยแพร่ความรู้ของท่านให้กับคนไข้ และจะมีการบันทึกผลการรักษาอย่างเป็นหลักฐานอันเป็นการสนับสนุนให้มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที บางทีประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่รักษาโรคหอบหืดหายก็ได้ ใครจะรู้

ในเมื่อไม่มีวิธีรักษาหรือยาอะไรรักษา แล้วเดี๋ยวนี้ คนไข้เขาทำอย่างไรกันอยู่

“ซื้อยาแก้หอบสีชมพูสัก 100 เม็ดสิ” หรือ “เอายาแก้หอบเบอร์ 5 สัก 200 เม็ดซิ” หรือ “ซื้อยาแก้หอบสัก 10 ชุดซิ” หรือ “ขอยาแก้หอบสัก 10 แผงซิ” เหล่านี้เป็นทางออกของคนไข้โรคหอบหืดเป็นจำนวนมาก ซึ่งกำลังฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่งโดยไม่รู้ตัว

ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะเจ้ายาแก้หอบหืดสีชมพู หรือ เบอร์ 5 หรือยาแก้หอบเป็นชุด (บางชนิด) หรือเป็นแผง (บางชนิด) มีตัวยาชื่อว่า เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) ซึ่งเป็นตัวยาที่บรรเทาอาการหอบได้ก็จริงอยู่ แต่พิษของมันมักมากมายนัก เช่น ทำให้กระดูกผุ ทำให้บวมน้ำ ความดันสูง เกิดแผลในกระเพาะ ความต้านทานเชื้อโรคลดลงเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ร่างกายลดการสร้างฮอร์โมนบางชนิด ทำให้มีความผิดปกติของระบบต่างๆ และเกิดติดยานี้ได้

เท่านี้ก็คงพอจะยืนยันคำว่า “ฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่ง” ได้แล้วกระมัง

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ผู้ที่เริ่มใช้ยา “เพร็ดนิโซโลน” เป็นยาระงับอาการหอบจนดื้อยา ถ้าไม่ชิงตายเพราะเพร็ดนิโซโลนเสียก่อน ต่อไปก็จะใช้ยาขยายหลอดลมตัวอื่นๆ ไม่ได้ผล อาจจะต้องโดนฉีดยา (หรือฉีดตัวเอง) ทุกวัน หรือไม่ก็ต้องยอมนั่งหอบ นอนหอบ เดินหอบกันทั้งวัน ก็เลือกเอาแล้วกันนะครับ

ที่เรียกว่า ยาแก้หอบสีชมพู นั้น เพราะเพร็ดนิโซโลน ที่นิยมใช้แก้หอบกันนั้นเป็นชนิด เม็ดสีชมพู (คนละชนิดกับยาแก้ปวดเม็ดสีชมพู) เป็นเม็ดกลมแบนเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.8 ซ.ม. และที่เรียกว่า ยาแก้หอบเบอร์ 5 ก็เพราะ เพร็ดนิโซโลนที่นิยมใช้อีกแบบหนึ่งเหมือนยาแก้หอบเม็ดสีชมพู แต่สีขาวและมีเลข 5 อยู่ตรงกลางเม็ดด้านหนึ่ง นอกจาก 2 ชนิดนี้แล้วยังมีเพร็ดนิโซโลน อีกหลายสิบหลายสิบรูป มีทั้งเม็ดกลม เม็ดสี เม็ดยาว เม็ดเหลี่ยม สีสรรหลากหลายเหลือที่จะจดจำได้ ทางที่ดีที่สุดคือ จำชื่อ เพร็ดนิโซโลน ให้ได้ และเมื่อไปซื้อยาแก้หอบ ก็ถามชื่อหรือขออ่านฉลากที่ขวดหรือกล่องยาว่า มีตัวยานี้หรือเปล่า ถ้ามีก็อย่าเอาชีวิตของท่านไปเสี่ยงดีกว่า และก็ไม่ควรซื้อยาเป็นชุดโดยไม่แน่ใจว่าผู้ขายจะจัดยาเพร็ดนิโซโลนให้หรือเปล่าโดยเฉพาะในปัจจุบันร้านขายยาก็มีหมอตี๋หมอหมวยคอยให้บริการถูกบ้างผิดบ้าง มีความรู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่พอกระทรวงจะจัดการอบรมคนพวกนี้ให้มีความรู้ กลับถูกคัดค้านจากบุคคลบางกลุ่ม ก็ไม่รู้ว่าคนไทยจะต้องรอไปอีกสักกี่ร้อยปีถึงจะมีโอกาสซื้อยาจากผู้มีความรู้จริงๆ กันเสียที หวังว่าคงจะไม่ปล่อยให้รอจนน้ำท่วมหลังเป็ดเสียก่อนนะครับ

ทางหมอตี๋หมอหมวยเองก็ไม่ควรที่จะอยู่นิ่งเฉย เมื่อเขาไม่อบรมเราก็จำเป็นต้องอบรมตัวเองกันเสียแต่เดี๋ยวนี้ เพราะท่านเป็นผู้ที่ร่วมชะตากรรมเดียวกับเรา คือ ร่วมรับผิดชอบต่อชีวิตคนไทยซึ่งเป็นพี่น้องของเราเหมือนกัน จะอบรมตัวเองอย่างไร ก็อ่าน “หมอชาวบ้าน” ซิครับ (ถือโอกาสโฆษณาหนังสือซะเลย)

ออกไปนอกทางเสียไกล ขอกลับมาเข้าเรื่องเก่าดีกว่า

ก็มาถึงตรงที่ว่าควรจะทำอย่างไรกันดี เมื่อเป็นโรคหอบหืด ก็คงจะได้อ่านจากคอลัมน์อื่นๆ มามากพอสมควรแล้วว่า โรคหอบหืดนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบส่วนมากเหตุอันสำคัญก็คือ การแพ้ อาจจะแพ้ฝุ่น แพ้ขนสัตว์ (ที่ผู้ใหญ่บอกลูกหลานมาแต่เล็กแต่น้อยว่าเล่นแมวแล้วเป็นโรคหืด ก็เพราะแพ้ขนแมวนั่นเอง แต่ถ้าไม่แพ้ก็ไม่เป็นไรหรอกนะ) แพ้อากาศ แพ้อาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล และอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ให้ได้ พูดอย่างนี้ก็คงจะมีคนกำลังสวดสรรเสริญผู้เขียนกันอ่วมไปแล้วว่า “พูดพล่อยๆ มันทำได้ง่ายๆ เสียเมื่อไหร่ล่ะ” อาจจะว่าอาชีพบังคับบ้าง ที่อยู่อาศัยบังคับบ้าง ทำให้สัมผัสต่อสิ่งเหล่านั้นก็จริงอยู่แต่ของที่หลีกเลี่ยงได้ก็มีอยู่ เช่น แพ้อาหารทะเล ก็อย่าไปกินมัน แพ้ขนแมวก็อย่าไปอุ้มแมวเล่น แพ้ฝุ่นจากนุ่นที่นอน (มักหอบเวลาเข้านอน) ก็ไม่ควรใช้ที่นอนนุ่นหัดนอนเสื่อ นอนกระดานเสียบ้าง ถ้านอนไม่ได้จริงๆ ก็เปลี่ยนมาใช้ที่นอนฟองน้ำเสีย และก็ต้องทำความสะอาดห้องนอนบ่อยๆ ปัดไล่ฝุ่นออกอยู่เป็นประจำเหล่านี้เป็นต้น

นอกจากการแพ้สิ่งต่างๆ แล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆที่เป็นเหตุ ปัจจัยทำให้อาการหอบมากขึ้นหรือน้อยลง เช่น

สภาวะทางจิตใจ พบได้ว่าเวลาที่มีอารมณ์เครียดหงุดหงิด โกรธง่ายจะมีอาการหอบมากขึ้น เพราะฉะนั้นใครที่เป็นโรคหอบหืดก็อย่าหัดเป็นคนขี้โกรธ พระท่านสอนไว้ว่า “ความโกรธเป็นอารมณ์ของผู้มีปัญญาทราม”ยิ่งถ้าโกรธแล้วหอบด้วยยิ่งโง่สองชั้นเลย คือ โง่ทำโกรธให้ตัวเองนอกจากจะทุกข์แล้วยังต้องมานั่งหอบอยู่คนเดียว สงสารตัวเองบ้างเถิดครับ

สภาพร่างกาย พบว่าเมื่อสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงจะมีอาการหอบมากขึ้น การออกกำลังกายที่พอสมควรจะช่วยลดอาการหอบได้ แต่ถ้าเหนื่อยเกินไปก็จะหอบมากขึ้นได้ต้องรู้จักประมาณตนเองให้ดีนะครับ

อาหารและยาบางชนิดทำให้หอบมากขึ้น นอกจากอาหารที่ผู้นั้นแพ้แล้ว สุรา ยาเมาเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ต่างๆ ทำให้ร่างกายทรุดโทรมจะมีอาการหอบมากยิ่งขึ้นได้ ยาแอสไพรินทำให้มีอาการหอบมากขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นเวลามีไข้หรือปวด ควรใช้ยาพาราเซตามอลแทน ยิ่งผู้ที่ติดยาแก้ปวดชนิดซองชนิดแผง ยาเม็ดสีชมพู ยาเอ.พี.ซี. พวกนี้ด้วยแล้ว จะต้องเลิกให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะยิ่งทำให้เป็นโรคหอบหืดมากขึ้นๆ ทุกวัน เมื่อระมัดระวังในเรื่องต่างๆ เหล่านี้แล้วยังมีอาการหอบอยู่ ก็คงจะต้องพึ่งยากันบ้างล่ะแล้วจะเลือกใช้ยาอะไรกันดี

ในตลาดเมืองไทยมียาแก้หอบเป็นร้อยเป็นพันชนิด ถ้าเลือกไม่ดีอาจจะเดินทางไปสู่หลุมฝังศพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นก็ได้นะครับ ยาที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดลม ให้เลือกใช้เพียงชนิดหนึ่งชนิดใด เช่น

เอฟฟีดรีน (Ephedrine) ชนิดเม็ดมีขนาด 30 ม.ก. และ 60 ม.ก. เป็นยาราคาถูกร้อยละ 6-10 บาท (30 ม.ก.) และร้อยละ 10-15 บาท (60 ม.ก.) เท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ ใจสั่น อ่อนเพลีย มือสั่นได้ในบางคน ผู้ใหญ่กินครั้งละ 30-60 ม.ก. กินซ้ำได้ทุก 6-8 ช.ม.

อะมิโนฟิลดิน (Aminophylline) มีชนิดเม็ดขนาด 100 ม.ก. ราคาถูกเหมือนกัน คือ ร้อยละ 8-12 บาทเท่านั้น แต่ก็มีอาการข้างเคียงได้เหมือนเอฟฟีดรีน และอาจทำให้ปัสสาวะบ่อยด้วย ผู้ใหญ่กินครั้งละ 100-300 ม.ก. กินซ้ำได้ทุก 6 ช.ม.

ซัลบิวตาม่อน (Salbutamol) มีชนิดเม็ดขนาด 2 ม.ก. ยาชนิดนี้มีข้อดี คือ อาการข้างเคียงเรื่องใจสั่นน้อยมากหรือไม่มีเลย แต่มีอาการข้างเคียงในเรื่องทรัพย์จางมาก เพราะยาตัวนี้ราคาแพง เม็ดละประมาณ 1 บาท แต่ถ้าใช้ชื่อการค้าว่า “เวนโตลิน” (Ventolin) จะขายราคาเม็ดละ 1.50 บาท ยานี้อาจจะหาซื้อยากสักหน่อย ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2 ม.ก. กินซ้ำได้ทุก 6 ช.ม.

เทดราล (Tedral) หรือฟรานอล (Franol) เป็นชื่อการค้าของยา 2 ชนิด มีตัวยาเหมือนกัน (แต่น้ำหนักต่างกันเล็กน้อย) คือ มีเอฟฟีดรีนและทีโอฟิลลิน (Theophylline) (ยาพวกเดียวกับอะมิโนฟิลลินเป็นยาขยายหลอดลม) และมีฟีโนบาบ(Phenobarb) เป็นยาระงับประสาท ช่วยลดอาการข้างเคียงเรื่องใจสั่นลงได้บ้าง แต่บางคนอาจยังมีอาการข้างเคียงอยู่ และถ้าใช้นานๆ อาจจะติดตัวยาฟีโนบาบได้ด้วย ยาทั้งสองนี้หาซื้อได้ทั่วไป ราคาแพงพอสมควร (เพราะขายชื่อการค้าด้วย) ฟรานอลแผง (แผงละ 4 เม็ด) ราคาเม็ดละ 1.50 บาท เทดราแผง (แผงละ 10 เม็ด) ราคาเม็ดละ 3-3.50 บาท ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1-2 เม็ด กินซ้ำได้ทุก 6 ช.ม.

ยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ส่วนมากมียาขยายหลอดลม (ที๊ดอฟิลลิน หรือเอฟฟีดรีน) ร่วมกับยาขับเสมหะ (กลีเซอรีล กัวแอคโคเลค= Glycrryl Guiacolate) ใช้ชื่อการค้าต่างๆ กัน เช่น ควิบบร้อน (Quibron) บริแทสมา (Britasma) บรอนดี้ (Brondy) ไมลา-แอสม่า (Milaasthma) แอสม่าโซโลน (Asmasolane) เฉพาะชนิดน้ำชนิดเม็ดอันตรายมาก

ต้องระวังขนาดใช้ให้มาก เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อหัวใจเหมือนกัน เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจไม่ควรใช้เอง ควรใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์

ขนาดที่ใช้

  • ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3 ช้อนชา
  • เด็ก 8-14 ปี ครั้งละ 2 ช้อนชา
  • เด็ก 4-8 ปี ครั้งละ 1 ช้อนชา
  • เด็ก 2-4 ปี ครั้งละ 1/2 ช้อนชา(ครึ่งช้อนชา)
  • ต่ำกว่า 2 ปี ครั้งละ 1/4 ช้อนชา (ครึ่งของครึ่งช้อนชา)

ใช้ยาขยายหลอดลมอย่างไร

1. ควรกินยาเฉพาะเวลามีอาการ โดยกินห่างกันทุก 4-6 ชม. แต่ระยะที่มีอาการหอบเป็นประจำเวลาแน่นอน เช่น ตอนนอน หรือคนที่มีอาการเตือนก่อนหอบ เช่น ไอ หรือจามก่อนแล้วหอบตามมา ก็อาจกินป้องกันไว้ได้ โดยกินก่อนมีอาการหอบประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง

2. ควรเริ่มใช้ยาจากขนาดต่ำๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดเมื่อใช้ไม่ได้ผล และเปลี่ยนยาเฉพาะเมื่อเพิ่มขนาดสูงจนเกิดอาการข้างเคียงมากจนทนไม่ได้เท่านั้น ถ้าเริ่มใช้ยาขนาดสูงหรือเปลี่ยนยาบ่อยๆ โดยไม่จำเป็นจะทำให้ดื้อยาเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

3. ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง ควรใช้ยาขนาดต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือใช้ยาภายใต้ความดูแลของแพทย์

ยาสมุนไพรรักษาโรคหืด

1. เอาเขาควายเผือกขูด ผสมกับการบูร ตามควร มวนเป็นบุหรี่สูบ

2. เอาใบลำโพงแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบ

3. เอาใบเสนียดแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบ

4. เอาสารส้ม 3.2 กรัม น้ำดอกไม้เทศ 450 ซี.ซี. กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง

5. กินน้ำมากๆ ป้องกันหืดหอบได้

6. ยาแก้หืดของพระเทพสุธี เจ้าอาวาสวัดอนงค์ ธนบุรี

สูตร

  • เถาวัลย์เปรียง หนัก 2 บาท 2 สลึง
  • แก่นแสมสาร หนัก 6 บาท 2 สลึง
  • ฝางเสน หนัก 2 บาท 2 สลึง
  • ใบมะคำไก้ หนัก 2 บาท 2 สลึง
  • หัวแห้วหมู หนัก 2 บาท

วิธีต้ม ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที ยาชุดหนึ่งต้มใช้ได้ 5 วัน

ขนาดใช้กิน กินครั้งละ 1 ถ้วย เช้า เย็น และก่อนนอน ถ้าถ่ายมากให้ลดขนาดยาลง กินประมาณ 1 เดือนจะรู้สึกดีขึ้นอ

“เฮ้อ เกิดมาเป็นคนกับเขาทั้งทีก็มาเป็นโรคหอบหืดเสียได้ จะตายก็ไม่ตายให้มันรู้แล้วรู้รอดไป” อาจจะมีใครหลายๆ คนที่มีโรคหอบหืดเป็นสมบัติส่วนตัว (ทีอยากจะบริจาคแต่มันไม่ยอมไป) ก็ต้องขอปลอบใจไว้ก่อนว่า อย่าเพิ่งน้อยอกน้อยใจตายหนีไปเสียก่อนเลย โลกนี้ยังมีอะไรต่ออะไรที่ต้องช่วยกันทำอีกมากมายนัก และที่สำคัญคือ กว่าจะได้เกิดมาเป็นคนทั้งทีมันไม่ใช่ของง่าย เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็ควรจะทำประโยชน์ให้กับโลกไว้บ้าง จะได้ไม่ขึ้นชื่อว่าเกิดมาสูญเปล่า เรายังมีเพื่อนอีกมากมายที่มีโรคอันไม่พึงปรารถนานี้ แต่เขาก็ไม่ได้ท้อถอยหรือน้อยอกน้อยใจในชีวิต สามารถทำงานทำการที่เป็นประโยชน์ได้ และมากกว่าคนที่มีสุขภาพสมบูรณ์ทางกาย (แต่พิการทางจิตใจ) เสียอีก

ปัจจุบันนี้เรายังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า มีวิธีหรือยาใดๆ ที่สามารถรักษาโรคหอบหืดได้อย่างหายขาดแน่นอน ส่วนมากจะเป็นรายการต้มตุ๋นแหกตา หรือโฆษณาชวนเชื่อหรือรายการขี้คุยเสียมากกว่า มีอยู่มากมายที่อ้างว่า สมุนไพรตำรับต่างๆ ของตนสามารถจะรักษาให้หายขาดได้ แต่มักจะเป็นประเภทรักษาคนไข้มาเป็นร้อยรายหายเพียงรายเดียว แล้วเอารายเดียวที่หายมาคุย อีก 99 ราย ทำเป็นจำไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้น

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หมอชาวบ้านจะไม่สนับสนุนให้ใช้ยาแผนโบราณ ตรงกันข้ามถ้าใครมีตำรับตำรารักษาโรคหอบหืดอะไรดีๆ ก็กรุณาส่งมาให้เรา เรายินดีอย่างยิ่งที่จะช่วยเผยแพร่ให้ เรามีเวทีรอท่านในหนังสือเล่มนี้อยู่แล้ว แต่ขอร้องว่าอย่าเป็นรายการขี้คุยอย่างที่ว่าเลย เพราะจะทำให้เสียชื่อเสียงสถาบันยาสมุนไพรหรือการแพทย์แผนโบราณ ทำให้คนเสื่อมศรัทธาไปเปล่าๆ นอกจากนี้หมอชาวบ้านยังมีแพทย์เภสัชกรซึ่งมีความสัมพันธ์กับคนไข้โดยตรง ก็ยินดีที่จะช่วยเผยแพร่ความรู้ของท่านให้กับคนไข้ และจะมีการบันทึกผลการรักษาอย่างเป็นหลักฐานอันเป็นการสนับสนุนให้มีการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังเสียที บางทีประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศแรกในโลกที่รักษาโรคหอบหืดหายก็ได้ ใครจะรู้

ในเมื่อไม่มีวิธีรักษาหรือยาอะไรรักษา แล้วเดี๋ยวนี้ คนไข้เขาทำอย่างไรกันอยู่

“ซื้อยาแก้หอบสีชมพูสัก 100 เม็ดสิ” หรือ “เอายาแก้หอบเบอร์ 5 สัก 200 เม็ดซิ” หรือ “ซื้อยาแก้หอบสัก 10 ชุดซิ” หรือ “ขอยาแก้หอบสัก 10 แผงซิ” เหล่านี้เป็นทางออกของคนไข้โรคหอบหืดเป็นจำนวนมาก ซึ่งกำลังฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่งโดยไม่รู้ตัว

ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะเจ้ายาแก้หอบหืดสีชมพู หรือ เบอร์ 5 หรือยาแก้หอบเป็นชุด (บางชนิด) หรือเป็นแผง (บางชนิด) มีตัวยาชื่อว่า เพร็ดนิโซโลน (Prednisolone) ซึ่งเป็นตัวยาที่บรรเทาอาการหอบได้ก็จริงอยู่ แต่พิษของมันมักมากมายนัก เช่น ทำให้กระดูกผุ ทำให้บวมน้ำ ความดันสูง เกิดแผลในกระเพาะ ความต้านทานเชื้อโรคลดลงเป็นโรคติดเชื้อได้ง่าย ทำให้ร่างกายลดการสร้างฮอร์โมนบางชนิด ทำให้มีความผิดปกติของระบบต่างๆ และเกิดติดยานี้ได้

เท่านี้ก็คงพอจะยืนยันคำว่า “ฆ่าตัวตายแบบผ่อนส่ง” ได้แล้วกระมัง

ไม่เพียงแต่เท่านั้น ผู้ที่เริ่มใช้ยา “เพร็ดนิโซโลน” เป็นยาระงับอาการหอบจนดื้อยา ถ้าไม่ชิงตายเพราะเพร็ดนิโซโลนเสียก่อน ต่อไปก็จะใช้ยาขยายหลอดลมตัวอื่นๆ ไม่ได้ผล อาจจะต้องโดนฉีดยา (หรือฉีดตัวเอง) ทุกวัน หรือไม่ก็ต้องยอมนั่งหอบ นอนหอบ เดินหอบกันทั้งวัน ก็เลือกเอาแล้วกันนะครับ

ที่เรียกว่า ยาแก้หอบสีชมพู นั้น เพราะเพร็ดนิโซโลน ที่นิยมใช้แก้หอบกันนั้นเป็นชนิด เม็ดสีชมพู (คนละชนิดกับยาแก้ปวดเม็ดสีชมพู) เป็นเม็ดกลมแบนเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5-0.8 ซ.ม. และที่เรียกว่า ยาแก้หอบเบอร์ 5 ก็เพราะ เพร็ดนิโซโลนที่นิยมใช้อีกแบบหนึ่งเหมือนยาแก้หอบเม็ดสีชมพู แต่สีขาวและมีเลข 5 อยู่ตรงกลางเม็ดด้านหนึ่ง นอกจาก 2 ชนิดนี้แล้วยังมีเพร็ดนิโซโลน อีกหลายสิบหลายสิบรูป มีทั้งเม็ดกลม เม็ดสี เม็ดยาว เม็ดเหลี่ยม สีสรรหลากหลายเหลือที่จะจดจำได้ ทางที่ดีที่สุดคือ จำชื่อ เพร็ดนิโซโลน ให้ได้ และเมื่อไปซื้อยาแก้หอบ ก็ถามชื่อหรือขออ่านฉลากที่ขวดหรือกล่องยาว่า มีตัวยานี้หรือเปล่า ถ้ามีก็อย่าเอาชีวิตของท่านไปเสี่ยงดีกว่า และก็ไม่ควรซื้อยาเป็นชุดโดยไม่แน่ใจว่าผู้ขายจะจัดยาเพร็ดนิโซโลนให้หรือเปล่าโดยเฉพาะในปัจจุบันร้านขายยาก็มีหมอตี๋หมอหมวยคอยให้บริการถูกบ้างผิดบ้าง มีความรู้จริงบ้างไม่จริงบ้าง แต่ก็เป็นเรื่องแปลกที่พอกระทรวงจะจัดการอบรมคนพวกนี้ให้มีความรู้ กลับถูกคัดค้านจากบุคคลบางกลุ่ม ก็ไม่รู้ว่าคนไทยจะต้องรอไปอีกสักกี่ร้อยปีถึงจะมีโอกาสซื้อยาจากผู้มีความรู้จริงๆ กันเสียที หวังว่าคงจะไม่ปล่อยให้รอจนน้ำท่วมหลังเป็ดเสียก่อนนะครับ

ทางหมอตี๋หมอหมวยเองก็ไม่ควรที่จะอยู่นิ่งเฉย เมื่อเขาไม่อบรมเราก็จำเป็นต้องอบรมตัวเองกันเสียแต่เดี๋ยวนี้ เพราะท่านเป็นผู้ที่ร่วมชะตากรรมเดียวกับเรา คือ ร่วมรับผิดชอบต่อชีวิตคนไทยซึ่งเป็นพี่น้องของเราเหมือนกัน จะอบรมตัวเองอย่างไร ก็อ่าน “หมอชาวบ้าน” ซิครับ (ถือโอกาสโฆษณาหนังสือซะเลย)

ออกไปนอกทางเสียไกล ขอกลับมาเข้าเรื่องเก่าดีกว่า

ก็มาถึงตรงที่ว่าควรจะทำอย่างไรกันดี เมื่อเป็นโรคหอบหืด ก็คงจะได้อ่านจากคอลัมน์อื่นๆ มามากพอสมควรแล้วว่า โรคหอบหืดนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบส่วนมากเหตุอันสำคัญก็คือ การแพ้ อาจจะแพ้ฝุ่น แพ้ขนสัตว์ (ที่ผู้ใหญ่บอกลูกหลานมาแต่เล็กแต่น้อยว่าเล่นแมวแล้วเป็นโรคหืด ก็เพราะแพ้ขนแมวนั่นเอง แต่ถ้าไม่แพ้ก็ไม่เป็นไรหรอกนะ) แพ้อากาศ แพ้อาหารบางชนิด เช่น อาหารทะเล และอื่นๆ อีกมาก ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือ พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ให้ได้ พูดอย่างนี้ก็คงจะมีคนกำลังสวดสรรเสริญผู้เขียนกันอ่วมไปแล้วว่า “พูดพล่อยๆ มันทำได้ง่ายๆ เสียเมื่อไหร่ล่ะ” อาจจะว่าอาชีพบังคับบ้าง ที่อยู่อาศัยบังคับบ้าง ทำให้สัมผัสต่อสิ่งเหล่านั้นก็จริงอยู่แต่ของที่หลีกเลี่ยงได้ก็มีอยู่ เช่น แพ้อาหารทะเล ก็อย่าไปกินมัน แพ้ขนแมวก็อย่าไปอุ้มแมวเล่น แพ้ฝุ่นจากนุ่นที่นอน (มักหอบเวลาเข้านอน) ก็ไม่ควรใช้ที่นอนนุ่นหัดนอนเสื่อ นอนกระดานเสียบ้าง ถ้านอนไม่ได้จริงๆ ก็เปลี่ยนมาใช้ที่นอนฟองน้ำเสีย และก็ต้องทำความสะอาดห้องนอนบ่อยๆ ปัดไล่ฝุ่นออกอยู่เป็นประจำเหล่านี้เป็นต้น

นอกจากการแพ้สิ่งต่างๆ แล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆที่เป็นเหตุ ปัจจัยทำให้อาการหอบมากขึ้นหรือน้อยลง เช่น

สภาวะทางจิตใจ พบได้ว่าเวลาที่มีอารมณ์เครียดหงุดหงิด โกรธง่ายจะมีอาการหอบมากขึ้น เพราะฉะนั้นใครที่เป็นโรคหอบหืดก็อย่าหัดเป็นคนขี้โกรธ พระท่านสอนไว้ว่า “ความโกรธเป็นอารมณ์ของผู้มีปัญญาทราม”ยิ่งถ้าโกรธแล้วหอบด้วยยิ่งโง่สองชั้นเลย คือ โง่ทำโกรธให้ตัวเองนอกจากจะทุกข์แล้วยังต้องมานั่งหอบอยู่คนเดียว สงสารตัวเองบ้างเถิดครับ

สภาพร่างกาย พบว่าเมื่อสุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงจะมีอาการหอบมากขึ้น การออกกำลังกายที่พอสมควรจะช่วยลดอาการหอบได้ แต่ถ้าเหนื่อยเกินไปก็จะหอบมากขึ้นได้ต้องรู้จักประมาณตนเองให้ดีนะครับ

อาหารและยาบางชนิดทำให้หอบมากขึ้น นอกจากอาหารที่ผู้นั้นแพ้แล้ว สุรา ยาเมาเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ต่างๆ ทำให้ร่างกายทรุดโทรมจะมีอาการหอบมากยิ่งขึ้นได้ ยาแอสไพรินทำให้มีอาการหอบมากขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นเวลามีไข้หรือปวด ควรใช้ยาพาราเซตามอลแทน ยิ่งผู้ที่ติดยาแก้ปวดชนิดซองชนิดแผง ยาเม็ดสีชมพู ยาเอ.พี.ซี. พวกนี้ด้วยแล้ว จะต้องเลิกให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะยิ่งทำให้เป็นโรคหอบหืดมากขึ้นๆ ทุกวัน เมื่อระมัดระวังในเรื่องต่างๆ เหล่านี้แล้วยังมีอาการหอบอยู่ ก็คงจะต้องพึ่งยากันบ้างล่ะแล้วจะเลือกใช้ยาอะไรกันดี

ในตลาดเมืองไทยมียาแก้หอบเป็นร้อยเป็นพันชนิด ถ้าเลือกไม่ดีอาจจะเดินทางไปสู่หลุมฝังศพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นก็ได้นะครับ ยาที่ควรเลือกใช้ควรจะเป็นยาที่ออกฤทธิ์ขยายหลอดลม ให้เลือกใช้เพียงชนิดหนึ่งชนิดใด เช่น

เอฟฟีดรีน (Ephedrine) ชนิดเม็ดมีขนาด 30 ม.ก. และ 60 ม.ก. เป็นยาราคาถูกร้อยละ 6-10 บาท (30 ม.ก.) และร้อยละ 10-15 บาท (60 ม.ก.) เท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง คือ ใจสั่น อ่อนเพลีย มือสั่นได้ในบางคน ผู้ใหญ่กินครั้งละ 30-60 ม.ก. กินซ้ำได้ทุก 6-8 ช.ม.

อะมิโนฟิลดิน (Aminophylline) มีชนิดเม็ดขนาด 100 ม.ก. ราคาถูกเหมือนกัน คือ ร้อยละ 8-12 บาทเท่านั้น แต่ก็มีอาการข้างเคียงได้เหมือนเอฟฟีดรีน และอาจทำให้ปัสสาวะบ่อยด้วย ผู้ใหญ่กินครั้งละ 100-300 ม.ก. กินซ้ำได้ทุก 6 ช.ม.

ซัลบิวตาม่อน (Salbutamol) มีชนิดเม็ดขนาด 2 ม.ก. ยาชนิดนี้มีข้อดี คือ อาการข้างเคียงเรื่องใจสั่นน้อยมากหรือไม่มีเลย แต่มีอาการข้างเคียงในเรื่องทรัพย์จางมาก เพราะยาตัวนี้ราคาแพง เม็ดละประมาณ 1 บาท แต่ถ้าใช้ชื่อการค้าว่า “เวนโตลิน” (Ventolin) จะขายราคาเม็ดละ 1.50 บาท ยานี้อาจจะหาซื้อยากสักหน่อย ผู้ใหญ่กินครั้งละ 2 ม.ก. กินซ้ำได้ทุก 6 ช.ม.

เทดราล (Tedral) หรือฟรานอล (Franol) เป็นชื่อการค้าของยา 2 ชนิด มีตัวยาเหมือนกัน (แต่น้ำหนักต่างกันเล็กน้อย) คือ มีเอฟฟีดรีนและทีโอฟิลลิน (Theophylline) (ยาพวกเดียวกับอะมิโนฟิลลินเป็นยาขยายหลอดลม) และมีฟีโนบาบ(Phenobarb) เป็นยาระงับประสาท ช่วยลดอาการข้างเคียงเรื่องใจสั่นลงได้บ้าง แต่บางคนอาจยังมีอาการข้างเคียงอยู่ และถ้าใช้นานๆ อาจจะติดตัวยาฟีโนบาบได้ด้วย ยาทั้งสองนี้หาซื้อได้ทั่วไป ราคาแพงพอสมควร (เพราะขายชื่อการค้าด้วย) ฟรานอลแผง (แผงละ 4 เม็ด) ราคาเม็ดละ 1.50 บาท เทดราแผง (แผงละ 10 เม็ด) ราคาเม็ดละ 3-3.50 บาท ผู้ใหญ่กินครั้งละ 1-2 เม็ด กินซ้ำได้ทุก 6 ช.ม.

ยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ส่วนมากมียาขยายหลอดลม (ที๊ดอฟิลลิน หรือเอฟฟีดรีน) ร่วมกับยาขับเสมหะ (กลีเซอรีล กัวแอคโคเลค= Glycrryl Guiacolate) ใช้ชื่อการค้าต่างๆ กัน เช่น ควิบบร้อน (Quibron) บริแทสมา (Britasma) บรอนดี้ (Brondy) ไมลา-แอสม่า (Milaasthma) แอสม่าโซโลน (Asmasolane) เฉพาะชนิดน้ำชนิดเม็ดอันตรายมาก

ต้องระวังขนาดใช้ให้มาก เพราะมีฤทธิ์ข้างเคียงต่อหัวใจเหมือนกัน เด็กที่มีโรคเกี่ยวกับหัวใจไม่ควรใช้เอง ควรใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์

ขนาดที่ใช้

  • ผู้ใหญ่ ครั้งละ 3 ช้อนชา
  • เด็ก 8-14 ปี ครั้งละ 2 ช้อนชา
  • เด็ก 4-8 ปี ครั้งละ 1 ช้อนชา
  • เด็ก 2-4 ปี ครั้งละ 1/2 ช้อนชา(ครึ่งช้อนชา)
  • ต่ำกว่า 2 ปี ครั้งละ 1/4 ช้อนชา (ครึ่งของครึ่งช้อนชา)

ใช้ยาขยายหลอดลมอย่างไร

1. ควรกินยาเฉพาะเวลามีอาการ โดยกินห่างกันทุก 4-6 ชม. แต่ระยะที่มีอาการหอบเป็นประจำเวลาแน่นอน เช่น ตอนนอน หรือคนที่มีอาการเตือนก่อนหอบ เช่น ไอ หรือจามก่อนแล้วหอบตามมา ก็อาจกินป้องกันไว้ได้ โดยกินก่อนมีอาการหอบประมาณ 1/2-1 ชั่วโมง

2. ควรเริ่มใช้ยาจากขนาดต่ำๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มขนาดเมื่อใช้ไม่ได้ผล และเปลี่ยนยาเฉพาะเมื่อเพิ่มขนาดสูงจนเกิดอาการข้างเคียงมากจนทนไม่ได้เท่านั้น ถ้าเริ่มใช้ยาขนาดสูงหรือเปลี่ยนยาบ่อยๆ โดยไม่จำเป็นจะทำให้ดื้อยาเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

3. ผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจ ควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง ควรใช้ยาขนาดต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือใช้ยาภายใต้ความดูแลของแพทย์

ยาสมุนไพรรักษาโรคหืด

1. เอาเขาควายเผือกขูด ผสมกับการบูร ตามควร มวนเป็นบุหรี่สูบ

2. เอาใบลำโพงแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบ

3. เอาใบเสนียดแห้งมวนเป็นบุหรี่สูบ

4. เอาสารส้ม 3.2 กรัม น้ำดอกไม้เทศ 450 ซี.ซี. กินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง

5. กินน้ำมากๆ ป้องกันหืดหอบได้

6. ยาแก้หืดของพระเทพสุธี เจ้าอาวาสวัดอนงค์ ธนบุรี

สูตร

  • เถาวัลย์เปรียง หนัก 2 บาท 2 สลึง
  • แก่นแสมสาร หนัก 6 บาท 2 สลึง
  • ฝางเสน หนัก 2 บาท 2 สลึง
  • ใบมะคำไก้ หนัก 2 บาท 2 สลึง
  • หัวแห้วหมู หนัก 2 บาท

วิธีต้ม ใส่น้ำให้ท่วมยา ต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที ยาชุดหนึ่งต้มใช้ได้ 5 วัน

ขนาดใช้กิน กินครั้งละ 1 ถ้วย เช้า เย็น และก่อนนอน ถ้าถ่ายมากให้ลดขนาดยาลง กินประมาณ 1 เดือนจะรู้สึกดีขึ้น

แหล่งที่มา : doctor.or.th

อัพเดทล่าสุด