https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ สาเหตุโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ+การป้องกัน MUSLIMTHAIPOST

 

การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ สาเหตุโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ+การป้องกัน


486 ผู้ชม


การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบ สาเหตุโรคหลอดลมอักเสบ โรคหลอดลมอักเสบ+การป้องกัน

 

 

โรคหลอดลมอักเสบติดต่อ

โรคหลอดลมอักเสบมักพบได้ในไก่ทุกช่วงอายุถือเป็นโรคทางเดินระบบหายใจที่แพร่หลายมากที่สุด  
จนแทบจะพูดได้ว่ามีการเลี้ยงไก่ที่ไหนจะมีโรคหลอดลมอักเสบตามที่ไปนั่น  โรคนี้มักจะเกิดในช่วงหน้าหนาวมากกว่าหน้าร้อน
           สาเหตุของโรค
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัส  โรคนี้ตามปกติจะไม่ทำให้ไก่ตายมากนัก  นอกจากในไก่
เล็กๆ   ซึ่งอาจมีอัตราการตายสูง  ไก่ที่เป็นโรคนี้มักจะมีลักษณะแคระแกรน  และหากเป็นโรคนี้จะไปกระทบกระเทือนต่อการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ของไก่รุ่น  หรืออาจทำให้ไข่ลดลงทันที  เมื่อเกิดโรคและจะหยุดไข่ไปอีกนานหลังจากหายจากโรคนี้แล้ว
           การติดต่อ
โรคหลอดลมอักเสบติดต่อกันเร็วมาก  เพราะเชื้อมีระยะฟักตัวสั้น  คือ  ภายใน 18-36  ชั่วโมง  หลัง
จากได้รับเชื้อแล้ว  เชื้อโรคจะติดต่อกันได้ง่าย  โดยทางอากาศ  และวิธีอื่นๆ ในบางครั้งไก่อาจเป็นโรคนี้หมดทั้งฝูงเกือบพร้อมกันก็ได้  และจะมีอาการทางระบบหายใจใน  10-14  วันหลังจากได้รับเชื้อ
           อาการที่แสดงว่าได้รับเชื้อแล้ว
อาการทั่วๆ ไป  จะเกิดกับระบบหายใจ  ไก่จะอ้าปากหายใจมีเสียง  ครืดคราดในลำคอเวลาหายใจ  
สาเหตุเกิดจากมีเมือกอยู่ในหลอดลม  รวมทั้งมีอาการไอ  อาการในไก่เล็กอาจมีน้ำมูก  และน้ำตาคล้ายร้องไห้  บางครั้งอาจพบมีโพรงจมูกบวม  ไก่ที่ได้รับเชื้อโรคนี้จะไม่ค่อยเคลื่อนไหว  เชื่องช้า  และจะสุมรวมตัวกันอยู่รอบๆ เบื่ออาหาร และกินน้อยลง  บางครั้งอัตราการตายอาจสูงถึง  60%  โดยเฉพาะในไก่เล็ก
การสังเกตอาการทางระบบหายใจอย่างเดียวยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างโรคหลอดลมอักเสบ
กับโรคนิวคาสเซิลได้  แต่ก็มีอาการบางอย่างที่พอจะสังเกตได้ถึงความแตกต่างระหว่างทั้งสองโรคคือ  ในโรคหลอดลมอักเสบจะไม่มีอาการทางประสาท  และอัตราการตายจะไม่สูงนัก  ทั้ง  2  โรคจะทำให้ ไก่ไข่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วเหมือนกัน  แต่ในหลอดลมอักเสบไก่จะ ไม่ถึงกับหยุดไข่เลย เหมือนกับโรคนิวคาสเซิล  แม่ไก่ที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะให้ไข่มีคุณภาพต่ำเป็นเวลานาน  และไก่แจ้อาจจะค่อยๆ ไข่มากขึ้น  จนกลับเป็นปกติ
        ลักษณะวิการ
เมื่อผ่าซากไก่เล็กจะพบรอยช้ำเลือด   ตั้งแต่ช่องจมูก   และไซนัสลงไปตลอดหลอดลม   ไก่เล็กที่ตายด้วยโรคนี้จะพบก้อนสีเขียวเหลือง คล้ายเนยแข็งจุกตันอยู่บริเวณตอนล่างของหลอดลม และขั้วปอด   ที่หลอดลมบางครั้งอาจพบวัตถุคล้ายเนยแข็งเกาะอยู่   หรือถุงลมอาจเป็นฝ้า   ลักษณะวิการที่ถุงลมไม่ใช่ ลักษณะของโรคนี้เพียงอย่างเดียวอาจพบในโรคที่เกิดกับระบบทางเดินหายใจอย่างอื่นด้วย
    
        การป้องกันและรักษา
วิธีที่ดีที่สุด   คือ   การฉีดวัคซีนป้องกันหลอดลมอักเสบ   เพราะโรคนี้กับโรคนิวคาสเซิลมักจะขึ้นพร้อม ๆ กันจึงควรให้ฉีดวัคซีนรวม   (นิวคาสเซิลและหลอดลมอักเสบ)   ตามโปรแกรมที่ผู้ผลิตแนะนำ   และตามความเหมาะสมของแต่ละท้องที่   วัคซีนรวมทั้ง   2   ชนิด   สามารถใช้ได้กับไก่ตั้งแต่อายุ   1   วัน   และควรให้ฉีดวัคซีนในไก่ตัวที่สมบูรณ์เท่านั้น เมื่อไก่เป็นโรคนี้แล้วยากที่จะรักษา   โดยเฉพาะนอกจากจะทำให้ ไก่อาการทุเลาขึ้นเท่านั้น   โดยการที่ทำให้ไก่ได้รับความอบอุ่นมากขึ้น   ลักษณะของเล้าไก่ลมไม่โกรก   และควรให้อาหารเสริมจำพวกวิตามิน   แร่ธาตุปลีกย่อย   และยาปฎิชีวะนะ   หรือฟิวราซิลิโคน เพื่อช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน   (Secondary   infection)   ในอัตรา   100   กรัมต่ออาหาร   1   ตัน


แหล่งที่มา : mybantams.com

อัพเดทล่าสุด