https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ท่อไต หน้าที่ของท่อไต ท่อไตทําหน้าที่อะไร ท่อไต ทําหน้าที่อะไร ท่อไตอักเสบ MUSLIMTHAIPOST

 

ท่อไต หน้าที่ของท่อไต ท่อไตทําหน้าที่อะไร ท่อไต ทําหน้าที่อะไร ท่อไตอักเสบ


5,794 ผู้ชม


ท่อไต หน้าที่ของท่อไต ท่อไตทําหน้าที่อะไร ท่อไต ทําหน้าที่อะไร ท่อไตอักเสบ

 

หน้าที่ของท่อไต

 

ท่อไตเหล่านี้ จะมารวมกันเปิดออกที่กรวยไตซึ่งเป็นที่รองรับปัสสาวะที่กลั่นกรองมาจากกรวยไตปัสสาวะจากกรวยไต จะไหลเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ ที่อยู่บริเวณท้องน้อยเหนือหัวเหน่า ไตทั้ง 2 ข้าง มีโลหิตไหลเวียนผ่านมากกว่าอวัยวะอื่น ๆ ทั้งหมดในร่างกายเมื่อเทียบตามน้ำหนักโดยประมาณ ร้อยละ 25 ของเลือดที่ไหลออกจากการสูบฉีดโลหิตของหัวใจแต่ละครั้ง จะผ่านมาที่ไตเลือดที่ผ่านมาที่ไตนี้ จะถูกหน่วยไขเล็กๆทำการกลั่นกรอง จนในที่สุด ก็จะแยกของเสียขับออกเป็นปัสสาวะ

ท่อไต หน้าที่ของท่อไต ท่อไตทําหน้าที่อะไร ท่อไต ทําหน้าที่อะไร ท่อไตอักเสบ


ปัสสาวะ ประกอบด้วย สารเกลือแร่, กรด, สารอินทรีย์ และของเสียที่เป็นพิษต่อร่างกาย ชนิดต่างๆ หลายชนิดสารที่ไตขับออกมาทางปัสสาวะบางชนิด เป็นสารที่ร่างกายเราเหลือใช้ จึงต้องการการขับทิ้ง เช่นเกลือแร่บางอย่างของเสียเหล่านี้ หากถูกสะสมอยู่ในร่างกายก็จะเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายได้ เช่น ที่ สมอง ที่ ระบบประสาท ที่กล้ามเนื้อหัวใจ ที่ปอด ที่ระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ ที่กระดูกที่ผิวหนัง ที่เม็ดเลือด
ถ้าไตพิการ พิษสะสมมากขึ้น ทำให้อวัยวะทุกส่วนในร่างกาย เสื่อมโทรมและไม่สามารถทำงานได้ซึ่งจะอันตรายต่อชีวิต เป็นภาวะไตวายจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวาย จะมีอาการผิดปกติในทุกระบบของร่างกายไตจึงเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง
เราสามารถจำแนกหน้าที่การทำงานของไตออกมาเป็นข้อๆ ได้ดังนี้ คือ
1. ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

ของเสียที่ขับถ่ายออกจากไตทางปัสสาวะนี้ มาจากภายนอก หรือเกิดขึ้นภายในร่างกาย ซึ่งในที่สุดก็เข้าสู่กระแสโลหิตและจะต้องขับออกมาจากร่างกายผ่านทางไต เช่น
- สารที่ปนกับอาหาร ที่เรากินเข้าไป ซึ่งจะถูกดูดซึมผ่านทางกระเพาะอาหารและลำไส้
- ยา และสารแปลกปลอมต่างๆ ที่ได้รับจากการฉีด, กิน, สูด, ดม, หรือสัมผัส
- สารอินทรีย์และของเสียที่เกิดจากการกระทำงานของอวัยวะต่างๆ หรือจาก ปฏิกิริยาเคมีและการสันดาปของเซลล์ต่างๆ ทุกเซลล์ในร่างกาย
- น้ำ เกลือแร่ วิตามิน และฮอร์โมนหลายๆ ชนิดที่เหลือใช้ และที่ใช้แล้ว

2. เก็บและดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
สารและเกลือแร่หลาย ๆ ชนิดที่อยู่ในกระแสโลหิตนั้น เมื่อผ่านมากรองที่ไต นอกจากสารที่ไม่ต้องการจะถูกขจัดทิ้งไปแล้ว สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายก็จะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายตามเดิมทางท่อไตและส้นเลือดดำ
เช่น น้ำตาลในเลือด เมื่อผ่านมาที่ไตก็ถูกดูดซึมกลับสู่ร่างกาย แยกจากของเสียที่ไม่ถูกดูดซึมกลับจะถูกขจัดทั้งออกทางปัสสาวะ

ท่อไต หน้าที่ของท่อไต ท่อไตทําหน้าที่อะไร ท่อไต ทําหน้าที่อะไร ท่อไตอักเสบ


3. รักษาความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
ไต ทำหน้าที่คุมปริมาณน้ำและระดับความเข้มข้นของเกลือแร่หลาย ๆชนิดในร่างกาย เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ , โปแตสเซียม , แคลเซียม , ฟอสฟอรัส , แมกนีเซียม ฯลฯ
ถ้าไตวาย ปริมาณของน้ำและเกลือแร่ต่าง ๆ ในกระแสโลหิต จะผิดปกติไป ทำให้อวัยวะและระบบการทำงานในร่างกายผิดปกติไปด้วย เพราะขาดความสมดุลกัน
โดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคไตวาย จะมีระดับความเข้มข้นของเกลือโปแตสเซียมสูงมาก ถ้าระดับโปแตสเซียมสูงมากเกินไป จะทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้
และถ้าเกลือโปแตสเซียมสูงเกินกว่าปกติมาก ๆ จะทำให้หัวใจหยุดเต้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต
เช่นเดียวกัน หากผู้ป่วยเป็นไตวาย ไม่สามารถขับเกลือโซเดียมได้ ก็จะทำให้มีปริมาณเกลือโซเดียมสูงเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการบวม 
ยิ่งบวบมากเท่าใด ความดันโลหิตก็จะสูงขึ้นและหัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้นเท่านั้น ในที่สุด ก็เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวและอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

4. รักษาความสมดุลและสภาพความเป็นกรดและด่าง (pH) 
โดยปกติร่างกายของคนเรา จะมีการสร้างกรดขึ้น จากการสันดาปและปฏิกิริยาเคมีในร่างกาย ถ้าไตวาย การขับกรดจากร่างกายจะทำไม่ได้และทำให้สภาวะความเป็นกรดในร่างกายมีมากจนเป็นอันตรายต่ออวัยวะและการทำงานของระบบต่าง ๆ 
ผู้ป่วยโรคไตวาย มักจะมีสภาพร่างกายที่เป็นกรดอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้ ไตยังทำหน้าที่ป้องกันการสูญเสียของด่างในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่เป็นกลาง คือ ไม่เป็นกรด และไม่เป็นด่าง

5. ควบคุมความดันโลหิตภายในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ 
ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ที่ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย ผู้ที่ความดันโลหิตสูง ชนิดที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ (Primany) ซึ่งเป็นโรคความดันโลหิตสูงที่พบ
บ่อยที่สุดนั้น สาเหตุของโรคก็เกิดจากความบกพร่องของไต ที่ไม่สามารถควบคุมความสมดุลของเกลือโซเดียมในร่างกายให้อยู่ในสภาพปกตินั่นเอง
โดยผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ถ้าไม่ได้รับการรักษา ความดันโลหิตที่สูงนาน ๆ จะทำลายเนื้อไตจนเกิดเป็นโรคไตเสื่อมและไตวายได้
ในทางตรงกันข้าม หากผู้ป่วยโรคไตที่แต่เดิมมีระดับความดันโลหิตที่ปกติ เมื่อเป็นโรคไตนาน ๆ เข้า ก็จะมีความดันโลหิตสูงในระยะต่อมาได้
จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคไตวาย , ไตอักเสบ มักจะมีความดันโลหิตสูงอยู่เสมอ ๆ

6. ไตทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน
ในปัจจุบัน มีฮอร์โมนอยู่หลายชนิด ที่ได้ถูกค้นพบว่า สร้างมาจากไต เช่น เรนนินและอื่น ๆ 


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด