https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การรักษา สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ MUSLIMTHAIPOST

 

สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การรักษา สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ


852 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การรักษา สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

 

 
สารานุกรมทันโรค (กระเพาะปัสสาวะอักเสบ)
สาเหตุ :
      เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักจะเป็นเชื้อโรคที่มีอยู่ในอุจจาระของคนเรา เช่น เชื้อ อีโคไล  เคล็บซิลลา สูโดโมแนส เอนเทอโรแบกเตอร์ เป็นต้น เชื้อเหล่านี้มักจะแปดเปื้อนอยู่ตรง บริเวณรอบๆ ทวารหนัก เนื่องจากการชำระหลังถ่ายอุจจาระไม่ถูกต้องสมบูรณ์ เชื้อโรคก็จะแปดเปื้อนต่อผ่านท่อปัสสาวะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีท่อปัสสาวะสั้นและอยู่ใกล้ทวารหนักจึงง่ายที่จะติดเชื้อเข้าไปในท่อปัสสาวะ ส่วนผู้ชายมีโอกาสติดเชื้อน้อยมาก  เนื่องจากท่อปัสสาวะยาวและอยู่ห่างจากทวารหนักมาก

           เมื่อเชื้อโรคเข้าไปอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ถ้ามีการถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ก็สามารถขับเอาเชื้อโรคนั้นออกมาได้ ไม่เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ แต่ถ้าอั้นปัสสาวะอยู่นาน เช่น เวลารถติด หรือเดินทางไปต่างจังหวัด (ไม่สามารถเข้าห้องน้ำ หรือ กลัวห้องน้ำสาธารณะไม่สะอาด) หรือนอนกลางคืนแล้วขี้เกียจลุกเข้าห้องน้ำ  หรือหน้าน้ำท่วมไม่กล้าเข้าห้องน้ำตอนกลางคืนกลัวมีงูเขี้ยว หรือทำอะไรเพลินจนลืมเข้าห้องน้ำ เป็นต้น เชื้อโรคที่เข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ จึงมีเวลานานพอที่จะแบ่งตัวเจริญแพร่พันธุ์ จนทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ  เกิดอาการขัดเบาขึ้นมาได้  
 
         ด้วยเหตุนี้ โรคนี้จึงมักพบได้ในผู้หญิงทั่วไปที่ไม่ระมัดระวังในการชำระล้างทวารหนัก และชอบอั้นปัสสาวะ
 
           นอกจากนี้ ในคนบางคนยังอาจมีเหตุชักนำให้เกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป (เรียกว่ากลุ่มเสี่ยง) เช่น
           - คนที่เป็นเบาหวาน ซึ่งร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำ มีโอกาสติดเชื้อง่าย ก็อาจเป็นโรคนี้ได้บ่อย ถ้าหากพบว่ามีอาการของโรคนี้เกิดขึ้นซ้ำซาก ก็ควรจะตรวจดูว่ามีโรคเบาหวานซ่อนเร้น (ไม่แสดงอาการ) อยู่หรือไม่
           - หญิงตั้งครรภ์ อาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากขึ้น เนื่องจากศีรษะเด็กในท้องกดดันให้เกิดการคั่งของปัสสาวะในกระเพาะปัสสาวะ
           - ผู้มีภาวะอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ เช่น ต่อมลูกหมากโต (ในคนสูงอายุ) ท่อปัสสาวะตีบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ผู้ป่วยที่ถ่ายปัสสาวะไม่ได้เนื่องจากเป็นอัมพาต เป็นต้น
           - ผู้ป่วยที่มีการสวนปัสสาวะ หรือมีการคาสายสวนปัสสาวะ หรือใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ
อาการ :    
  
           จะมีอาการขัดเบา คือถ่ายปัสสาวะกะปริดกะปรอยออกทีละน้อย รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ มักจะต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง มีอาการคล้ายถ่ายไม่สุดอยู่ตลอดเวลา
 
            บางคนอาจมีอาการปวดตรงบริเวณท้องน้อย (หัวหน่าว) ร่วมด้วย
 
            ปัสสาวะมักจะออกใสๆ แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน  
 
            มักไม่มีไข้ ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย จะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะขุ่น ปวดเอวร่วมด้วย
 
            ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน และอาจมีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
 
            อาการมักเกิดหลังอั้นปัสสาวะนานๆ หรือมีการสวนปัสสาวะ

การรักษา :

            แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะพื้นฐาน เช่น อะม็อกซีซิลลิน (amoxycillin) โคไตรม็อกซาโซล  (cotrimoxazole) กิน 3 วัน แต่ถ้าสงสัยมีอาการแพ้ยา หรือดื้อยาเหล่านี้ ก็อาจให้ยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่ง ได้แก่  นอร์ฟล็อกซาซิน (norfloxacin)
  
            ในรายที่เป็นๆ หายๆ บ่อย อาจต้องทำการตรวจพิเศษ เช่น การนำปัสสาวะไปเพาะเชื้อ แล้วให้ยาปฏิชีวนะที่ไวต่อเชื้อที่พบ การใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะแล้วแก้ไขตามสาเหตุที่พบ ตรวจเลือดดูว่าเป็นเบาหวานร่วมด้วยหรือไม่ ถ้าพบก็ให้ยารักษาเบาหวานไปพร้อมกัน เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อน :

            ส่วนมากมักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางรายอาจเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาเชื้อโรคอาจลุกลามขึ้นไปที่ไต ทำให้กลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบ และถ้าปล่อยจนเป็นเรื้อรัง ก็อาจมีภาวะไตวายเรื้อรังแทรกซ้อนได้
 
            ในผู้ชาย เชื้อโรคอาจลุกลามทำให้เป็นต่อมลูกหมากอักเสบได้
การดำเนินโรค :
 

            ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง โรคมักจะหายขาดแต่ถ้าปล่อยปละละเลย หรือ เป็นๆ หายๆ บ่อย ก็อาจเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ตามมาได้
การป้องกัน :

            1. พยายามดื่มน้ำให้เพียงพอ และอย่าอั้นปัสสาวะควรฝึกถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวดจนเป็นนิสัย เวลาเดินทางไกล ต้องฝึกให้เคยชินที่จะเข้าห้องน้ำนอกบ้าน ถ้ากลัวไม่สะอาด ก็ชำระล้างโถส้วมให้สะอาดเสียก่อน เวลาเข้านอน ถ้าไม่สะดวก จะลุกเข้าห้องน้ำควรเตรียมกระโถนไว้ข้างเตียง
            2. หลังถ่ายอุจจาระ ควรชำระทวารหนักให้สะอาด การใช้กระดาษชำระควรเช็ดจากข้างหน้าไปข้างหลังจนสะอาด เพื่อป้องกันมิให้นำเชื้อโรคจากบริเวณทวารหนักแปดเปื้อนเข้าท่อปัสสาวะ


สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การรักษา สาเหตุของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ


แหล่งที่มา : doctor.or.th

อัพเดทล่าสุด