https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง หมายถึง โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง MUSLIMTHAIPOST

 

โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง หมายถึง โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง


755 ผู้ชม


โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง หมายถึง โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง

 

 

โรคเรื้อรัง ... เป็นแล้ว ... มักไม่หายขาด

 ขอบคุณข้อมูลภายใต้ความร่วมมือของนิตยสารหมอชาวบ้าน กับ  วิชาการ.คอม และ 
นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 29 ฉบับที่ 342 เดือน ตุลาคม 2550 
คอลัมภ์ : โรคน่ารู้


          โรคเรื้อรังเป็นโรคที่เมื่อเริ่มเป็นแล้วมักไม่หายขาดจะต้องให้การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องตลอดไป  เพื่อควบคุมอาการของโรคไม่ให้ลุกลามจนเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายรุนแรงได้ ตัวอย่างของโรคเรื้อรัง  เช่น โรคหืด โรคความดันเลือด โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง  โรคข้อเข่าเสื่อม  โรคไทรอยด์  โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  เป็นต้น
          ผู้ป่วยโรคหือถ้าไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและทันท่วงทีก็อาจเกิดอาการจับหืด หายใจไม่ออกและตายได้ ผู้ป่วยโรคความดันเลือดสูงถ้าไม่ควบคุมระดับความดันเลือดให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมก็จะมีโอกาสทำให้หลอดเลือดไปเลี้ยงที่สมองเกิดอันตรายจนแตก ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง เป็นอัมพาต พิการ ทรมาน และเสียชีวิตได้เช่นกัน

โรคเรื้อรัง ....โรคแห่งการสะสม
          เมื่อเป็นโรคเรื้อรังแล้วจึงต้องควบคุมอาการไม่ให้ลุกลามรุนแรงด้วยการปฎิบัติตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ  แต่ถ้าไม่สนใจเอาใจใส่ดูแลรักษาตนเองให้ดี โรคเรื้อรังที่ตนเองประสบอยู่ชนิดใดชนิดหนึ่งก็จะลุกลามและรุนแรงมากขึ้น และอาจก่อให้เป็นโรคชนิดอื่นๆเพิ่มขึ้นอีกได้    ตัวอย่างของโรคเรื้อรังที่แสดงอาการให้สังเกตได้  เมื่อเป็นโรคเบาหวานแล้วไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ก็จะส่งผลต่อหลอดเลือดทั่วร่างกายที่จะมีผลต่อระบบประสาทส่วนปลาย ไต สายตา ทำให้เกิดอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ไตวาย หรือสายตาฝ้าฟางได้ เป็นต้น เป็นเหมือนการเพิ่มเติมโรคหรือสั่งสมอันตรายให้แก่ตนเองมากขึ้นๆ จึงเกิดคำว่าโรคแห่งการสะสมทำให้เป็นหลายๆโรคโดยไม่จำเป็น และ สามารถทุเลาหรือป้องกันได้  ถ้ามีการรักษาดูแล ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง

กินได้ นอนหลัง... สุขีกับโรคเรื้อรัง
          โรคเรื้อรังส่วนใหญ่เกิดจาการทำงานผิดปกติของร่างกาย  ความเสื่อมของอวัยวะและเนื้อเยื่อ  ทำให้เกิดพยาธิสภาพ และแสดงอาการผิดปกติของโรคออกมาได้โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ โรคเรื้อรัง หมายถึง โรคเรื้อรังมีอะไรบ้าง  แนวทางการดูแลรักษาโรคเรื้อรังเหล่านี้จะ     
ต้องเริ่มด้วยการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ลักษณะการดำเนินชีวิตและพฤติกรรม ซึ่งครอบคลุมถึงอาหาร  การออกกำลังและ อารมณ์ (ความเครียด) ตลอดจนการพักผ่อนที่เหมาะสมและพอเพียง  เหมือนคำโบราณที่ได้กล่าวไว้ว่า “กินได้นอนหลับ” ก็นับว่า “สุขี” ซึ่งอาจจะไม่ได้กล่าวถึงการออกกำลังกายไว้ที่นี้ โดยอาจจะละไว้  เพราะอดีตการทำมาหารกินของคนไทยไม่ว่าจะทำไร่ ทำนา หรือทำสวน เรียกว่าได้ออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวันอยู่แล้ว  บ้านเมืองเราจึงมีแต่ผู้คนที่เอื้ออาทร ยิ้มแย้มแจ่มใส จนช่วตะวันตกได้มาพบเห็น จึงขนานนามว่า “สยามเมืองยิ้ม”ถ้ามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและ/หรือสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มักจะส่งผลช่วยบรรเทา  อาการและความรุนแรงของโรคเรื้อรังไดอย่างดี เช่น กินได้    ด้วยการกินอาหารในปริมาณและชนิดของอาหารอย่างเหมาะสม

นอนหลับ   หมายถึง   การรักษาสภาพวะจิตใจให้สดชื่น แจ่มใส่  ไม่ขุ่นมัว  หรือไม่เคร่งเครียด  จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพกาย และสภาวะจิตใจ ตลอดจนการทำงาน และ การดำเนินชีวิตประจำวันได้สุขี ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและอย่างสม่ำเสมอ  ส่งผลต่อร่างกาย  ลดความเครียด และช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของโรคเรื้อรังได้เป็นอย่างดี  
          นอกจากเรื่องอาหาร  อารมณ์  และการออกกำลังกาย  ยาเป็น 1 ในปัจจัย 4  ก็มีส่วนสำคัญในการช่วยควบคุมอาการของโรคเรื้อรังไม่ให้ลุกลาม รุนแรง มากขึ้นๆ ซึ่งจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้การใช้ยารักษาโรคเรื้อรัง ควรใช้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและถูกต้อง ยาที่ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง  มีจุดมุ่งหมายเพื่อบรรเทาอาการหรือควบคุมความรุนแรงของโรคไม่ให้มีอาการมากขึ้นและ/หรือ ลุกลามจนเกิดอันตรายได้
          ดังนั้น เพื่อให้การใช้ยารักษาโรคเรื้อรังมีประสิทธิภาพ อย่างดีที่สุด พร้อมๆกับเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยานั้นๆ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและถูกต้องตามคำสั่งของแพทย์


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด