https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สาเหตุโรคหอบหืด โรคหอบหืด สาเหตุ การปฏิบัติตัวโรคหอบหืด MUSLIMTHAIPOST

 

สาเหตุโรคหอบหืด โรคหอบหืด สาเหตุ การปฏิบัติตัวโรคหอบหืด


630 ผู้ชม


สาเหตุโรคหอบหืด โรคหอบหืด สาเหตุ การปฏิบัติตัวโรคหอบหืด

 

 

 

Bronchail Asthma (โรคหอบหืด)
สาเหตุโรคหอบหืด โรคหอบหืด สาเหตุ การปฏิบัติตัวโรคหอบหืด
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

ชื่อโรค : โรคหอบหืด (Bronchail Asthma)

        โรคหอบหืด (Bronchail Asthma) หรือเรียกสั้นๆว่า โรคหืด เป็นโรคของหลอดลมหายใจ ผู้ป่วยจะหอบ เหนื่อย ไอและมีเสียงหายใจ ดัง เป็นอาการของหายใจติดขัด เป็นโรคเรื้อรัง หายขาดได้ยาก ปรากฏอาการเพียงชั่วครั้งชั่งคราว คือเป็นบ้างหายบ้าง บางครั้งหอบเหนื่อยไป สักครู่ อาการก็อาจดีขึ้นเอง หรือเมื่อได้รับการรักษา อาการหอบอาจหายไปได้ จึงเป็นโรคที่ตรวจร่างกายไม่พบในภาวะปกติ

สาเหตุของการเกิดโรค :

       โรคหืดเป็นโรคที่มีต้นเหตุหลายๆ อย่างด้วยกัน สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้


       1. สาเหตุจากภายใน (Intrinsic Asthma) ได้แก่ การติดเชื้อโรคของจมูก ลำคอ โพรงจมูก ต่อมทอนซิล หลอดลม หรือปอด เช่น โพรงจมูกอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น


       2. สาเหตุจากภายนอก (Extrinsic Asthma) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า โรคหืดจากภูมิแพ้ ซึ่งพบบ่อยกว่าประเภทแรก ผู้ป่วยมักมีญาติ พี่น้องที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ร่วมอยู่ด้วย จึงถือได้ว่าเป็นโรคที่อาจจะเกิดจากพันธุกรรมได้ หรือผู้ป่วยอาจแพ้ฝุ่น ตัวไรในฝุ่น ละอองเกสร ขนของสัตว์เลี้ยงในบ้าน เชื้อรา ยาฆ่าแมลง อาหารหรือยาบางประเภท เมื่อสารก่อภูมิแพ้ที่เป็นตัวการเข้าสู่ร่างกายทางใด ก็จะไปกระตุ้นให้ หลอดลมตีบตัว มีอาการหอบเหนื่อยเกิดขึ้น


      3. สาเหตุจากการออกกำลังกายและการรับประทานยา การออกกำลังกาย อาการหอบหืดจะมีอาการเมื่อร่างกายใช้พลังงานมากกว่าปกติ เช่น วิ่งแข่ง หรือปั่นจักรยาน เป็นต้น การรับประทานยา บางคนอาจมีอาการหอบหืด เมื่อรับประทานยาแก้ปวดลดไข้จำพวกแอสไพริน หรือยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก ยาลดความดันสูงและยารักษาโรคหัวใจ โดยไม่เกี่ยวกับโรคภูมิแพ้ เพียงแต่ว่ายาเหล่านี้ทำให้การสร้าง โปรสตาเกลนดิน (Prostaglanddins) ในร่างกายลดลง หลอดลมก็พลอยหดเกร็งขึ้นมาได้


      4. สาเหตุที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรง เป็นสาเหตุที่ช่วย เสริม ให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น ได้แก่ ความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่น โกรธ เสียใจ ดีใจ หงุดหงิด หรือตื่นเต้น เป็นต้น ความเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย อาจทำให้หอบหืดบ่อยขึ้น เช่น สตรีมีรอบประจำ- เดือน หรือเมื่อถึงวัยประจำเดือนจะหมด นอกจากนี้ ความชื้น อากาศหนาวจัด ร้อนจัด ความระคายเคืองจากสารพิษที่เจือปนในบรรยากาศ เช่น ควันของท่อไอเสียจากเครื่องยนต์ ควันหมอกในเมืองอุตสาหกรรม ล้วนมีส่วนปรุงแต่งทำให้อาการหอบหืดรุนแรงและเรื้อรังยิ่งขึ้น

อาการของโรค :

       เมื่อเกิดอาการที่เรียกว่า จับหืด ผู้ป่วยจะรู้สืกว่าแน่นหน้าอก หายใจถี่ๆ และหายใจขัด บางคนมี อาการคัน ของหลอดลมในทรวงอกนำ มาก่อนเล็กน้อย ต่อมาเมื่อหลอดลมตีบตันมากขึ้น เสียงหายใจจะดังเป็น เสียงหวีด หรือ เสียงหืด ผู้ป่วยไอติดต่อกันเป็นระยะๆ นอนราบไม่ได้ เมื่อเป็นมากขึ้น ใบหน้าของผู้ป่วยจะเขียวคล้ำเพราะขาดออกซิเจน อาการเช่นนี้อาจเป็นหลายชั่วโมง ถ้าได้รับการรักษาหรือผู้ป่วยสามารถไอ ขับเอาเสมหะออกมาได้ และมีการคลายตัวของหลอดลม ผู้ป่วยจะสบายขึ้น อาการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วจะค่อยๆ หายไป

วิธีรักษา :

       โรคหอบหืดอาจมีอาการคล้ายโรคหัวใจ หรือโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ต้องอาศัยแพทย์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยขณะมีอาการ การรักษา ประกอบด้วย วิธีทำลายเชื้อโรคในกรณีที่มีหลอดลมอักเสบร่วมด้วย โดยใช้ยาแก้อักเสบจำพวกยาปฏิชีวนะ ใช้ ยาขยายหลอดลม ทั้งฉีด สูด หายใจ หรือรับประทานตามแต่สภาพความรุนแรงของโรคหืด ใช้ยาขับเสมหะ ให้น้ำเข้าสู่ร่างกายให้เพียงพอเพื่อละลายเสมหะ ให้ออกซิเจน ในกรณีที่มีความจำเป็น                                                                                                           

       เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้น แพทย์อาจให้มาตรวจสมรรถภาพของปอด ให้มา ทดสอบทางผิวหนัง ว่าผู้ป่วยแพ้สารอะไรบ้าง รวมถึงสอบถาม ประวัติการเจ็บไข้ได้ป่วยที่ผ่านมา สิ่งแวดล้อมและอาชีพ ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำผู้ป่วยว่าควรหลีกเลี่ยง สารก่อภูมิแพ้ อะไรบ้าง อะไรควรทำ อะไรควรหลีกเลี่ยงห่าง นอกจากนี้ ในกรณีที่หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ เพราะอยู่ในบรรยากาศ อยู่รอบๆ ตัวของ ผู้ป่วย แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวัคซีนสร้างเสริมภูมิต้านทานในร่างกายที่เรียกว่า อิมมูโนบำบัด (Immunotherapy) โดยแพทย์โรคภูมิแพ้เป็น ผู้ให้การรักษาแล้วแต่กรณีของแต่ละคน

       บางครั้งผู้ป่วยอาจจะต้องไปคุยกับจิตแพทย์ หรือผู้ที่ให้คำสอนทางศาสนาที่ตนนับถือ ในการแก้ไขปัญหาทางอารมณ์ และจิตใจ ธรรมะ ของแต่ละศาสนาอาจมีส่วนในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ในตัวผู้ป่วยโรคหอบหืดได้

 

แหล่งที่มา : suriyothai.ac.th

อัพเดทล่าสุด