https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ส่วนประกอบและหน้าที่ของไต หน้าที่ของไตเทียม โครงสร้างและหน้าที่ของไต MUSLIMTHAIPOST

 

ส่วนประกอบและหน้าที่ของไต หน้าที่ของไตเทียม โครงสร้างและหน้าที่ของไต


882 ผู้ชม


ส่วนประกอบและหน้าที่ของไต หน้าที่ของไตเทียม โครงสร้างและหน้าที่ของไต

 

 

เครื่องไตเทียม 

          ในปัจจุบันนี้ได้มีอุปกรณ์การแพทย์ที่สร้างนมาเป็นอวัยวะเทียม (artificial organ) เพื่อ ทำหน้าที่แทนอวัยวะต่าง  ๆ ในร่างกายเพิ่มมากขึ้น  เมื่ออวัยวะเหล่านั้นสูญเสียหน้าที่ไปจากโรคหรือ จากอุบัติเหตุ อวัยวะเทียมมีมากมายหลายอย่าง แต่ในที่นี้จะยกตัวอย่างเครื่องไตเทียม (artificial    kidney)
          

ส่วนประกอบและหน้าที่ของไต หน้าที่ของไตเทียม โครงสร้างและหน้าที่ของไต
เครื่องไตเทียมช่วยฟอกเลือดเพื่อขับของเสียทิ้งในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ส่วนประกอบและหน้าที่ของไต หน้าที่ของไตเทียม โครงสร้างและหน้าที่ของไต

หลักการของเครื่องไตเทียม
          เครื่องไตเทียมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้อาศัย การแลกเปลี่ยนสารระหว่างเลือดกับไดอะลัยเซต โดยอาศัยการแพร่กระจาย การกรองหรือโดย ออสโมซิส ทำให้ของเสียในร่างกายจะถูกส่งจาก เลือดผ่านไดอะลัยเซอร์เข้าไปยังไดอะลัยเซต จึง ทำให้ของเสียในร่างกายที่คั่งอยู่ซึ่งไม่สามารถขับ ออกได้โดยไตธรรมชาติก็จะสามารถขับออกได้โดยไตเทียม เครื่องไตเทียมที่ใช้กันนั้น ใช้หลักการของการไดอะลัยซิสของเลือด ดังนั้น จึง เรียกว่าเครื่องเฮโมไดอะลัยซิส (hemodialysis)

 
ระบบและการทำงานของเครื่องไต เทียม

          เครื่องไตเทียมประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓  ส่วน คือ (๑) หน่วยนำไดอะลัยเซต (dialysate delivery unit) (๒) หน่วยนำเลือดออกนอกร่าง  กาย (extracorporeal blood delivery unit) (๓) หน่วยโมนิเตอร์ (monitoring unit) และ (๔)ไดอะลัยเซอร์ (dialyzer)


          ก. หน่วยนำไดอะลัยเซต ที่ใช้กันมี ๓ ระบบ คือ (๑) ระบบที่ไหลเวียนกลับมาอยู่ตลอด  เวลา (continuous recirculation system) ระบบนี้ ไดอะลัยเซตจะถูกส่งจากถังเก็บผ่านไดอะลัยเซอร์ แล้วไหลกลับ (๒) ระบบที่ไหลเวียนกลับเพียง บางส่วน (partial recirculation system) ระบบ นี้ปล่อยให้ไดอะลัยเซตไหลเวียนเข้าห้องสำหรับไดอะลัยส์ส่วนหนึ่ง แล้วปล่อยทิ้งไปส่วนหนึ่งและนำเอาไดอะลัยเซตใหม่เข้ามาแทนที่อยู่ตลอดเวลา (๓) ระบบที่ให้ผ่านครั้งเดียว (single pass system) ระบบนี้ใช้ไดอะลัยเซตใหม่ผ่านไดอะลัย เซอร์ โดยไม่นำกลับมาอีก
         สำหรับวิธีไหลเวียนกลับมาตลอดเวลานั้น ต้องใช้ไดอะลัยเซต ให้ไหลผ่านห้องสำหรับ ไดอะลัยส์ประมาณ ๗ ลิตร/นาที ส่วนวิธีที่ให้ ไหลผ่านครั้งเดียวมักให้ไดอะลัยเซตไหลโดยมี อัตราเพียง ๐.๕ ลิตร/นาทีเท่านั้น
        ไดอะลัยเซตที่เตรียมไว้ใช้ไดอะลัยส์ ต้องมีอุณหภูมิเท่ากับอุณหภูมิของเลือด จึงต้องมี เครื่องอุ่นและเครื่องควบคุมให้มีอุณหภูมิตามที่ ต้องการคือ ๓๗ องศาเซลเซียส ในบางแห่งเตรียมไดอะลัยเซตไว้ที่อุณหภูมิต่ำ  ๆ แล้วจึงค่อยทำให้
 อุ่นขึ้นเมื่อจะทำไดอะลัยส์ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ระบบส่งน้ำยาไดอะลัยเซตอาจเตรียมไว้สำหรับใช้กับผู้ป่วยคน เดียว แต่ในศูนย์ที่ทำไตเทียมโดยเฉพาะอาจทำ ถังเก็บขนาดใหญ่สำหรับใช้กับผู้ป่วยหลาย  ๆ คน
 ก็ได้

          ข. หน่วยนำเลือดออกนอกร่างกาย อาจ ใช้วิธีนำเลือดโดยอาศัยความดันบวกทำให้เกิดการกรองโดยใช้ความดันบวก (positive pressure ultrafiltration) หรืออาจใช้แรงดูดที่ทำให้เกิด การกรองโดยใช้ความดันลบ (negative pressureultrafiltration)


         ค. หน่วยโมนิเตอร์ เพื่อที่จะทำให้เครื่องไตเทียมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้อง  มีหน่วยโมนิเตอร์เพื่อตรวจวัดการทำงานของ ระบบต่าง  ๆ  ทั้งข้อมูลของไดอะลัยเซตทางด้าน ความเข้ม อัตราการไหล อุณหภูมิ และความดัน
 นอกจากนั้นยังต้องโมนิเตอร์ระบบของเลือดที่ ส่งออกมาจากตัวผู้ป่วย และโมนิเตอร์สภาพของ ตัวผู้ป่วยเองด้วย


         ง. ไดอะลัยเซอร์ ไดอะลัยเซอร์สำหรับใช้ ในการแลกเปลี่ยนของสารต่าง  ๆ นั้นเป็น อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของเครื่องไตเทียม ได้ มีการสร้างไดอะลัยเซอร์เป็นแบบท่อขด (coil) หรือเป็นแบบแผ่น (plate) แต่พบว่ามีขนาดโต
 ดังนั้น ในปัจจุบันนี้จึงมีการสร้างไดอะลัยเซอร์ ชนิดที่เป็นท่อกลวงขนาดเล็ก (hollow fiber dialyzer) โดยท่อเล็กที่อยู่ภายในนั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๒๕๐ ไมครอน และมีความยาว ประมาณ ๓๐ ซม. ไดอะลัยเซอร์ที่ทำเป็นท่อกลวง ซึ่งใช้กันทั่วไปนั้น จะมีท่อกลวงขนาดเล็กจำนวน  ถึง ๑๐,๐๐๐ ท่อ ท่อเล็ก  ๆ ดังกล่าวนี้นำมารวม กันเป็นมัด และนำไปบรรจุในกระบอกพลาสติกโดยวิธีทำให้ได้ไดอะลัยเซอร์ซึ่งมีพื้นที่แลกเปลี่ยน มากแต่มีขนาดเล็ก


          ในปัจจุบันนี้เครื่องไตเทียมได้ก้าวหน้าไป มาก โดยได้นำคอมพิวเตอร์มาประกอบเข้าเป็น  ส่วนหนึ่งของเครื่อง โดยมาช่วยควบคุมการทำ งานของระบบต่าง  ๆ และแสดงข้อมูลต่าง  ๆ ที่ ได้โมนิเตอร์ไว้ รวมทั้งการจัดตั้งโปรแกรมการ
 ทำงานของเครื่องซึ่งรวมทั้งปริมาณและความเข้มของไดอะลัยเซตที่ต้องการใช้อีกด้วย

แหล่งที่มา : guru.sanook.com

อัพเดทล่าสุด