https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันกราม หน้าที่ของฟัน MUSLIMTHAIPOST

 

ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันกราม หน้าที่ของฟัน


999 ผู้ชม


ลักษณะและหน้าที่ของฟัน หน้าที่ของฟันกราม หน้าที่ของฟัน

 

โครงสร้างของฟัน

........มีหลายท่านที่มีความสงสัยหรือยัง ไม่แน่ใจว่าฟันมีโครงสร้างหรือส่วน ประกอบอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจส่วน ประกอบของฟันกันให้มากขึ้นนะคะ

ฟันประกอบไปด้วยส่วนต่างๆ 3 ส่วนดังน
1. เคลือบฟัน (Enamel) 
 ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่อยู่ภายนอกสุดและมีความแข็งแรงที่สุดของฟัน ทำหน้าที่ห่อหุ้มและปกป้องเนื้อฟันและส่วนที่อยู่ข้างใน เคลือบฟันจะประกอบไปด้วยสารที่เรียกว่า Hydroxyapatite ซึ่งมีความแข็งสูง ฟลูออไรด์จะสามารถทำให้สารนี้มีความแข็งเพิ่มขึ้นได้ จึงมีการแนะนำให้แปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ 

2. เนื้อฟัน (Dentin)

ส่วนนี้จะอยู่ระหว่างเคลือบฟันกับโพรงประสาทฟัน  ส่วนนี้จะไวต่อการสัมผัสและอุณหภูมิมากกว่าเคลือบฟันมาก ดังนั้นเมื่อเคลือบฟันถูกทำลายออกไปไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามจนทำให้เห็นเนื้อฟันแล้ว มักจะมีอาการเสียวฟันตามมาเมื่อถูกกระตุ้นด้วยการสัมผัสหรืออุณหภูมิที่เปลี่ยนไปในช่องปาก
3. โพรงประสาทฟัน (Dental pulp)
ส่วนนี้จะประกอบไปด้วยเส้นเลือดและเส้นประสาทต่างๆที่มาหล่อเลี้ยงฟัน ทำให้ฟันมีชีวิตอยู่ได้ โพรงประสาทฟันนี้จะมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นทุกชนิดสูงมากเนื่องจากประกอบไปด้วยเส้นประสาทรับความรู้สึกจำนวนมาก ดังนั้นหากเคลือบฟันกับเนื้อฟันถูกทำลายออกไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟันแล้ว มักจะมีอาการปวดฟันแสดงออกมา 

ส่วนประกอบอื่นที่นอกเหนือจากฟันแล้ว ก็มีเหงือกกับกระดูกหุ้มรากฟัน(alveolar bone) ทั้ง 2 ส่วนนี้ทำหน้าที่เป็นตัวยึดฟันเอาไว้ไม่ให้หลุดออกไป โดยส่วนที่เป็นกระดูกหุ้มรากฟัน หากว่าถูกทำลายออกไป เช่น คนที่เป็นโรคเหงือก แล้ว ร่างกายจะไม่สามารถสร้างกลับคืนมาได้อีก ในคนที่ถูกทำลายออกไปมากๆ จะเป็นสาเหตุทำให้ฟันโยก

หวังว่าทุกคนคงมีความเข้าใจดีขึ้นถึงส่วนประกอบต่างๆที่มีอยู่ในช่องปากของเรากันมากขึ้นบ้างแล้วนะคะ


แหล่งที่มา : Siamdental.com

อัพเดทล่าสุด