https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หน้าที่อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับยา คำศัพท์ คำอ่าน หมวดอาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ MUSLIMTHAIPOST

 

หน้าที่อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับยา คำศัพท์ คำอ่าน หมวดอาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ


4,764 ผู้ชม


หน้าที่อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับยา คำศัพท์ คำอ่าน หมวดอาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ

 
อาชีพช่างไฟและคำศัพท์ทางไฟฟ้า

อาชีพช่างไฟฟ้า
          การเลือกประกอบอาชีพทางช่างไฟฟ้านั้น หมายถึงการประกอบอาชีพที่น่าสนใจ และมีรายได้ดีอีกอาชีพหนึ่ง ช่างไฟฟ้ามีหลายประเภท และหน้าที่ของช่างไฟฟ้าก็แตกต่างกันมาก ช่างฟ้าที่ทำงานในสถานก่อสร้างขนาดใหญ่ ก็ใช้เครื่องมือและทักษะต่างๆ ที่แตกต่างไปจากช่างไฟฟ้าที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดีจะกล่าวโดยทั่วๆ ไปแล้ว ช่างไฟฟ้าทุกประเภทจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านไฟฟ้า มีความสามารถอ่านแบบพิมพ์เขียนวงจรไฟฟ้า และสามารถซ่อมแซมแก้ไขอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าได้
             แหล่งงานของช่างไฟฟ้า    ช่างไฟฟ้าส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้ทำงานให้กับผู้รับเหมางานด้านไฟฟ้า หรือไม่ก็ทำในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ นอกนั้นมีช่างไฟฟ้าอีกจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอย่างอิสระเป็นผู้รับเหมาเสียเอง และมีช่างไฟฟ้าจำนวนหนึ่งที่ทำงานให้กับองค์กรของรัฐบาล หรือทางธุรกิจ ซึ่งเป็นงานที่ให้บริการแก่หน่วยงานของตน แม้ว่าแหล่งงานของช่างไฟฟ้าจะมีอยู่ทั่วประเทศ แต่แหล่งงานส่วนใหญ่นั้นจะมีอยู่ในเขตอุตสาหกรรม หรือเขตพื้นที่ที่กำลังพัฒนา
    การฝึกอบรม คุณสมบัติและความก้าวหน้า  ตามความเห็นของโรงเรียนอาชีวะศึกษาและ สถานสอนฝึกหัดวิชาชีพนักเรียนที่สำเร็จหลักสูตรวิชาชีพ 3 ปี ควรจะมีความรู้ความสามารถประกอบอาชีพได้้เป็นอย่างดี แต่ก็มีบางคนที่ไม่มีโอกาสเรียนในสถานศึกษาวิชาชีพโดยตรง แต่ได้รับประสบการณ์จากการทำงานเป็นผู้ช่วยช่างไฟฟ้ามาเป็นเวลานาน และเข้ามารับการอบรมวิชาชีพเพิ่มเติมตามหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น เช่น โรงเรียนสารพัดช่าง หน่วยฝึกฝนอาชีพ
       สำหรับการศึกษาวิชาชีพของไทยมี 2 ประเภทด้วยกันคือ หลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระยะยาว หลักสูตรระยะนั้นจะเปิดสอนวิชาชีพด้วยระยะเวลาสั้นๆ ก็สำเร็จจบหลักสูตร เช่น 3 เดือน 6 เดือน โดยจะเน้นหนักทางวิชาชีพทางด้านเดียว เรียนภาคทฤษฎีช่าง และฝึกหัดภาคปฏิบัติ เหมาะสมกับการนำไปประกอบอาชีพส่วนตัว และโรงงานในตำแหน่งหน้าที่ผู้ช่วยช่างไฟฟ้าได้ สถานศึกษาที่เปิดสอนวิชาชีพนี้ ได้แก่โรงเรียนสารพัดช่าง หน่วยฝึกฝนอาชีพ สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งชาติ คุณสมบัติของผู้สมัครเรียนจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี โดยทั่วๆ ไปจะต้องมีพื้นฐานความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษมาบ้าง ส่วนหลักสูตรระยะยาวนั้น จะใช้เวลาถึง 3 ปี จึงจะสำเร็จ โดยได้วุฒิทางการศึกษาขั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) เปิดสอนวิชาหมวดวิชาชีพทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งหมวดวิชาสามัญด้วย ใช้เวลาเรียนสัปดาห์ละประมาณ 40 ชั่วโมง หน้าที่ในการทำงาน จะมีตำแหน่งเป็นช่างไฟฟ้า มีความรู้ความสามารถทางด้านวิชาช่างไฟฟ้ารวมทั้งการเดินสายไฟฟ้าด้วย เนื้อหาในหลักสูตรนั้นจะต้องเรียนทฤษฎีวิชาไฟฟ้าและภาคปฏิบัติ งานช่าง อิเล็กทรอนิกส์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เขียนแบบเครื่องกล วิชาความปลอดภัย และการช่วยเหลือประถมพยาบาลเบื้องต้นในขณะปฏิบัติงาน รวมถึงการอ่านแบบพิมพ์เขียวได้ด้วย นอกจากนี้จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดทำแบบแผนผัง ระบบไฟฟ้าได้ด้วย แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนทางวิชาชีพช่างไฟฟ้านี้ก็ยังคงต้องการผู้เรียนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ความคล่องแคล่วในการใช้มือ ความกระฉับกระแฉง และที่สำคัญก็คือจะต้องไม่มีสายตาที่บอดสี เพราะเหตุว่าเราจะต้องใช้สีต่างๆ ของฉนวนบอกประเภทการใช้งานสายไฟ
     ช่างฟ้ามีความชำนาญ สามารก้าวขึ้นไปเป็นที่ปรึกษา ผู้ควบคุมดูแลและให้คำแนะนำทางเทคนิค หรือเป็นผู้ประมาณราคาในงานรับเหมาไฟฟ้าได้ และช่างไฟฟ้าจำนวนไม่น้อยที่ทำงานอดิเรก หรือทำงานอิสระรับเหมางานทางฟ้าทั่วๆ ไป ตามท้องถิ่นที่มีไฟฟ้าใช้
         โอกาสในการทำงาน มีการคาดคะเนกันว่า ในอนาคตงานของช่างไฟฟ้าจะมีแนวโน้ม สูงขึ้นมากกว่างานด้านอื่นๆ ทั้งนี้เพราะพลเมืองมากขึ้น และธุรกิจต่างๆ เติบโตขึ้น ความต้องการช่างไฟฟ้าเพื่อการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์และการเดินสายไฟฟ้าในบ้าน ในสถานที่ทำงานและอาคารต่างๆ ย่อมสูงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โอกาสที่ช่างไฟฟ้าที่ชำนาญจะได้งานทำจนแก่เฒ่าหรือได้ตำแหน่งหน้าที่การงานจึงมีมากขึ้นเช่นกัน
          ในขณะที่คาดกันว่างานของช่างไฟฟ้าจะมีเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในอนาคต ในแต่ละปีอาจเพิ่มขึ้นมากน้อยต่างกันได้ตามสภาวะของงานก่อสร้าง เมืองานก่อสร้างลดลง ช่างไฟฟ้าก็สามารถเปลี่ยนไปทำงานไฟฟ้าด้านอื่นได้ เช่น ทำงานเป็นช่างซ่อมบำรุงไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นช่างไฟฟ้าประจำโรงแรม บริษัท ร้านค้าใหญ่ๆ 
     สภาพรายได้และการทำงาน อัตราค่าจ้างแรงงานของช่างไฟฟ้าในระยะเริ่มแรกอาจ ได้รับต่ำกว่าหรือสูงกว่ากันบ้างแล้ว แต่ฐานะ และสวัสดิการของโรงงานและบริษัท ถ้ามีความชำนาญมาก อัตราค่าจ้างจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามสภาพการทำงานนั้น โดยทั่วไปแล้วอัตราค่าจ้างช่างไฟฟ้าจะค่อนข้างสูงกว่าช่างอื่นๆ ในงานก่อสร้างด้วยกัน นอกจากนี้ฤดูการทำงานของงานก่อสร้างนั้นจะมีผลกระทบต่อช่างไฟฟ้าน้อยกว่าคนงานประเภทอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ช่างไฟฟ้าจึงมีชั่วโมงการทำงานและมีรายได้ที่สม่ำเสมอมากกว่า
      ในด้านการทำงาน บรรดานายจ้างจะจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ให้กับช่างไฟฟ้า ถึงอย่างนั้นช่างไฟฟ้าก็ยังนิยมปฏิบัติงานโดยใช้เครื่องมือของตนเอง ในขณะปฏิบัติงานทางงานก่อสร้าง ช่างไฟฟ้าจะต้องยืนและปฏิบัติงานที่มุมแคบๆ เป็นเวลานาน และส่วนใหญ่เป็นงานในร่มคืออยู่ในอาคาร ฉะนั้นช่างไฟฟ้าจึงไม่ต้องผจญกับสภาพอากาศภายในนอกที่ต้องตากแดดรำฝนเหมือนคนงานอื่นๆ อย่างไรก็ตามช่างไฟฟ้าก็ต้องประสบกับการเสี่ยงภัยเช่นเดียวกับคนงานอื่นๆ เหมือนกัน เช่น ต้องเสี่ยงกับการพลัดตกจากบันไดจากนั่งร้าน และจากการถูวัตถุสิ่งของที่พลัดตกใส่ นอกจากนี้ยังต้องเสี่ยงกับการถูกไฟฟ้าช็อตอีกด้วย แต่เมื่อปฏิบัติงานด้วยความไม่ประมาทแล้วก็จะช่วยลดอัตราการบาดเจ็บจากอันตรายที่เกิดขึ้นได้

คำศัพท์ทางไฟฟ้า
          ช่างไฟฟ้าทุกคนจะต้องเข้าใจคำจำกัดความทั่วไปของคำศัพท์ที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้า เพื่อให้การสั่งวัสดุอุปกรณ์ และการอ่านรายละเอียดของวัสดุอุปกรณ์ของบริษัทผู้ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สั่งและผู้อ่านจะต้องมีความคุ้นเคยกับภาษาที่ใช้ในทางช่างไฟฟ้าด้วย ดังนั้นจึงควรอ่านคำจำกัดความแต่ละคำอย่างระเอียดให้เข้าใจ และควรพลิกดูคำเหล่านี้ทุกครั่งเมื่อมีความจำเป็น นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับคำนิยามของคำศัพท์เหล่านี้เพิ่มเติมในท้ายเล่มของหนังสือเล่มนี้ด้วย
       พลังงาน (energy) : ความสามารถในการทำงาน
       กำลังม้า (horsepower) : หน่วยวัดการทำงานของเครื่องจักรกลพวกมอเตอร์และเครื่องยนต์ เราจะใช้อักษรย่อ HP หรือ hp แทน โดยทั่วไปกำลังม้านี้จะใช้บ่งบอกเอาท์พุทของมอเตอร์ไฟฟ้า
     ไฟฟ้า (electricity) : การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนผ่านตัวนำไฟฟ้า 
     ตัวนำไฟฟ้า (conductor) : สสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวมันเองได้ง่าย
     ความนำไฟฟ้าหรือความเป็นสื่อไฟฟ้า (conductance) : ความสะดวกสบายต่อการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าในวงจร
     ฉนวนไฟฟ้า (insulator) : วัตถุที่มีคุณสมบัติด้านต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า อาจจะกล่าวได้ว่าสสารนั้น ขัดขวางการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน
     อำนาจแม่เหล็ก (magnetism) : คุณสมบัติอย่างหนึ่งของสสารที่แสดงอำนาจดึงดูดเหล็กได้
     ขั้วไฟฟ้า (polarity) : คุณสมบัติของประจุไฟฟ้าที่แสดงออกมา ซึ่งจะมีค่าเป็นบวกหรือเป็นลบ
     แม่เหล็กไฟฟ้า (electromagnet) : ขดลวดตัวนำไฟฟ้าที่แสดงอำนาจหรือคุณสมบัติทางแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟฟ้า ไหลผ่านขดลวดนั้น
     ขดปฐมภูมิ (primary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้า ซึ่งต่ออยู่กับแหล่งจ่ายไฟฟ้าและรับพลังงาน นั้นก็คือด้านรับไฟฟ้าเข้าของหม้อแปลงไฟฟ้า
     ขดทุติยภูมิ (secondary) : ขดลวดของหม้อแปลงไฟฟ้าที่ติดอยู่กับโหลด (ภาระทางไฟฟ้า) โดยจะรับพลังงานด้วยหลักการเหนี่ยวนำทางอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดปฐมภูมิไปสู่โหลดนั้นก็คือด้านจ่ายไฟออกของหม้อแปลงไฟฟ้า      กำลังไฟฟ้า (electric power) : อัตราการผลิตหรือใช้พลังงานทางทาวงไฟฟ้าในหนึ่งหน่วยเวลา
    วัตต์ (watt) : หน่วยวัดกำลังไฟฟ้า เราเรียนอักรย่อตัวพิมพ์ใหญ่ W แทน กำลังไฟฟ้ามีจะเป็นอักษรบอกพลังงานไฟฟ้าที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้าแต่ละตัวในการทำงาน อย่างเช่น หลอดไฟ 1,000 วัตต์ เครื่องปิ้งขนมปัง 1,000 วัตต์ 
    กิโลวัตต์ (kilowatt) : หน่วยกำลังไฟฟ้าที่มีค่าเท่ากับ 1,000 วัตต์ เราใช้ตัวย่อว่า KW เพราะเหตุว่าในทางปฏิบัตินั้นโหลด หรือภาระทางไฟฟ้ามีจำนวนมากๆ จึงมีค่าวัตต์สูงๆ หน่วยวัตต์ซึ่งทำให้การเรียกหรือบันทึกค่ายุ่งยากและเสียเวลา เราจึงนิยมใช้กิโลวัตต์ซึ่งเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้นนี้แทน และยังมีหน่วยใหญ่กว่ากิโลวัตต์อีกก็คือ เมกกะวัตต์ (megawatt) ซึ่งเท่ากับ 1,000 กิโลวัตต์ หรือเขียนย่อๆ ว่า 1 MW
    กิโลวัตต์ – ชั่วโมง (kilowatt – hour) : หน่วยวัดการใช้กำลังไฟฟ้าในเวลา 1 ชั่วโมง เราจำใช้อักษรย่อพิมพ์ตัวใหญ่ KWH แทน ปกติแล้วการใช้พลังงานไฟฟ้าตามบ้านจะวัดค่าออกจากเครื่องวัดพลังงาน (หรือที่เราเรียกกันว่า หม้อมิเตอร์) มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ – ชั่วโมง หรือที่เรียกกันว่า ยูนิต (unit) แล้วคิดราคาไฟฟ้าที่เราต้องจ่ายเท่ากับ จำนวนยูนิตที่เราต้องใช้คูณด้วยราคาไฟฟ้าต่อหนึ่งยูนิต 
    ไฟฟ้ากระแสสลับ (alternating current) : ระบบไฟฟ้าที่ทิศทางการวิ่งของอิเล็กตรอนมีการสลับไปมาตลอดเวลา เราใช้สัญลักษณ์แทนด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ AC และมักนิยมใช้เป็นระบบไฟฟ้าตามบ้าน อาคาร โรงงานทั่วๆ ไป
    ไฟฟ้ากระแสตรง (direct current) : ระบบไฟฟ้าที่อิเล็กตรอนมีการวิ่งไปทางเดียวกันตลอดเวลา และต่อเนื่องกัน มักจะพบว่าใช้กันอยู่ทั่วๆ ไป ก็คือ เครื่องชาร์จแบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย แบตเตอรี่รถยนต์เป็นต้น ใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ DC เป็นสัญลักษณ์แทน
    วงจรไฟฟ้า (circuit) : ทางเดินไฟฟ้าที่ต่อถึงกัน และไฟฟ้าไหลผ่านได้ดี 
วงจรอนุกรมหรือวงจรอันดับ (series circuit) : วงจรไฟฟ้าที่มีทางเดินไฟฟ้าได้เพียงทางเดียว จากแหล่งจ่ายไฟฟ้าผ่านวงจรไฟฟ้าไปครบวงจรอีกขั้วของแหล่งจ่ายไฟ และในวงจรนี้อาจจะมีอุปกรณ์พวกฟิวส์ สวิตซ์ เซอร์กิต – เบรกเกอร์ โดยต่อเป็นวงจรอันดับเข้าไปเพื่อป้องกัน และควบคุมวงจรดังรูป ที่ 1

             วงจรขนาน(parallelcircuit):วงจรไฟฟ้าที่มีทางเดินไฟฟ้าของกระแสไฟฟ้าผ่านได้มากกว่า 1 ทางเดินขึ้นไป และจะมีอุปกรณ์เช่นพวกเต้าเสียบหลอดไฟต่อขนานกัน และข้อดีของวงจรก็คือ ถ้าอุปกรณ์ตัวหนึ่งตัวใดไม่ทำงาน ขัดข้องหรือเสียขึ้นมา วงจรทางเดินไฟฟ้าจะไม่ขนาน ซึ่งตรงกันข้ามกับวงจรอนุกรม อุปกรณ์ในวงจรขนานตัวอื่นๆ ยังคงทำงานได้ต่อไปดังรูปที่2

หน้าที่อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ อาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ ที่เกี่ยวข้องกับยา คำศัพท์ คำอ่าน หมวดอาชีพต่างๆภาษาอังกฤษ

รูปที่ 2 วงจรขนาน

     วงจรเปิด (open circuit) : สภาวการณ์ที่ทางเดินไฟฟ้าเกิดขาดวงจร เกิดวงจร หรือไม่ตลบวงจรทำให้กระแสไฟฟ้าไหลไม่ได้
     วงจรลัด (short circuit) : สภาวการณ์ที่เกิดมีการลัดวงจรทางเดินของกระแสไฟฟ้า อันเนื่องมาจากรอยต่อของสายต่างๆ พลาดถึงกัน มีกระแสไฟฟ้ารั่วต่อถึงกัน เป็นต้น
     แอมแปร์ (ampere) : หน่วยการวัดค่าอัตราการไหลของไฟฟ้าที่ผ่านตัวนำ เราจะใช้อักษรย่อตัวพิมพ์ใหญ่ A หรือ amp แทน ปกติแล้วหน่วยแอมแปร์นี้นิยมใช้ระบุขอบของการใช้กระแสไฟฟ้าด้านสูงสุดในการทำงานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นอย่างปลอดภัย อย่างเช่น เต้าเสียบ 15 แอมแปร์ ฟิวส์ 30 แอมแปร์
     เฮิร์ตซ์ (hertz) : หน่วยความถี่มีค่าเป็นรอบต่อวินาที การที่อิเล็กตรอนวิ่งไปในทิศทางหนึ่งแล้ววกกลับมาสู่แหล่งจ่ายไฟฟ้าจากนั้นก็มีอิเล็กตรอนวิ่งออกมาจากแหล่งจ่ายไฟไปในทิศทางหนึ่งวกกลับมา โดยทิศทางการวิ่งของอิเล็กตรอนทั้ง 2 ครั้งวิ่งสวนทางกัน (หรือพูดอีกนับหนึ่งก็คือ วิ่งสลับไปสลับมานั้นเอง) เราเรียกว่า 1 รอบ ความถี่ของระบบไฟฟ้าบ้านเราใช้ความถี่ 50 เฮิร์ตซ์ ใช้สัญลักษณ์ HZ แสดงแทน
     โอห์ม (ohm) : หน่วยความต้านทานทางไฟฟ้าใช้สัญลักษณ์แทนด้วยตัวโอเมก้า ( ? ) ความต้านทานจะพยายามต่อต้านการไหลของกระแสไฟฟ้า ความต้านทานเป็นได้ทั้งผู้ทำงานให้หรือขัดขวางการทำงานให้ผู้ใช้ไฟ มันทำงานให้ในขณะที่ใช้มันเป็นฉนวนหรือใช้ควบคุมวงจร ตัวอย่างเช่น เทปพันสายไฟ เต้าเสียบที่ทำจากพลาสติก จะป้องกันอันตรายให้กับผู้ใช้ไฟได้ และใช้ความต้านทานแบบปรับค่าได้ (rheostat) ปรับความสว่างของหลอดไฟฟ้า แต่มันจะขัดขวางการทำงานเมื่อผู้ใช้ไฟ ใช้สายไฟเส้นเล็ก และยาวมากๆ หรือมีสนิมตามจุดสัมผัสต่างๆ ของตัวนำ จะเป็นสาเหตุของการเพิ่มค่าความต้านทาน ทำให้เกิดความร้อนมากเกินไป พร้อมทั้งเกิดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าไปในสายตัวนำด้วย
   
  กฎของโอห์ม (Ohm’s law)
 : กฎที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างแรงดัน กระแส และความต้านทานในวงจรไฟฟ้า กฎนี้กล่าวว่า ค่ากระแสไฟฟ้า (I) จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับค่าแรงดันไฟฟ้า (E) และเป็นสัดส่วนผกผันกับค่าความต้านทาน (R)

I = E / R

     โวลต์ (volt) : หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าหรือแรงดันที่ทำให้เกิดมีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนภายในตัวนำไฟฟ้า เราใช้ตัวย่อแทนแรงดันไฟฟ้าด้วย V, E หรือ EMF ปกติจะใช้ E และ EMF แทนแรงดันที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าหรือ electromotive force (ซึ่งเป็นอีกนิยามหนึ่งของคำว่า โวลต์) เช่นเดียวกับคำว่า แอมแปร์แรงดันซึ่งระบุไว้ที่ตัวอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตการใช้แรงดันไฟฟ้าขณะทำงานได้โดยปลอดภัย เช่น มอเตอร์ 220 โวลต์ เครื่องเป่าผม 110 โวลต์ เราจะต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ากับแรงดันไฟฟ้าตามที่ระบุไว้เท่านั้น
แอมมิเตอร์ (ammeter) : เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรที่เราต้องการวัด โดยปกติเราจะใช้เครื่องมือนี้ต่ออนุกรมกับวงจรที่เราต้องการวัดค่ากระแส แต่ก็มีเครื่องมือวัดชนิดพิเศษที่ไม่ต้องต่อวงจรอันดับเข้ากับวงจรไฟฟ้านั้น จะได้กล่าวถึงในบทต่อๆ ไป 
โอห์มมิเตอร์ (ohm meter) : เป็นเครื่องวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่าความต้านทานไฟฟ้าเวลาใช้จะต้องไม่มีการจ่ายไฟจากแหล่งจ่ายไฟใดในวงจรไฟฟ้านั้น
โวลต์มิเตอร์ (volt meter) : เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ใช้วัดค่าแรงดันไฟฟ้า
มัลติมิเตอร์ (multimeter) : เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถวัดค่าแรงดัน กระแสและความต้านทานได้ในเครื่องวัดตัวเดียวกัน
National Electric Code : เป็นหนังสือคู่มือรวบรวมข้อแนะนำและกฎข้อบังคับในการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีความปลอดภัย แม้ว่าจะมีเนื้อหามากมายแต่หนังสือคู่มือนี้ก็ไม่มีจุดมุ่งหมายสำหรับการสอน หรือใช้แก่บุคคลที่ไม่เคยผ่านการอบรมมาก่อน ส่วนของไทยเราก็มีคู่มือพวกนี้หลายแห่งด้วยกัน เช่น คู่มือของการไฟฟ้านครหลวง การพลังงานแห่งชาติ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งหลักการและกฎข้อบังคับส่วนใหญ่ก็คล้ายๆ กับของ NEC (National Electric Code) ของต่างประเทศนั่นเอง
สวิตซ์อัตโนมัติหรือเซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker) : เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้จำกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดในวงจร เมื่อกระแสเกินค่าจำกัดเซอร์กิตเบรกเกอร์จะเปิดวงจรไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลสู่วงจรอีก จนกว่าจะกดปุ่มทำงานใหม่ ปัจจุบันใช้แทนสวิตซ์ฟิวส์กันมาก เนื่องจากสามารถต่อวงจรเข้าไปใหม่ได้ทันที ในขณะที่ฟิวส์ต้องสลับเปลี่ยนตัวใหม่เข้าไปแทน และยิ่งในระบบไฟฟ้า 3 เฟสด้วยแล้วถ้าเกิดขาดที่ฟิวส์เพียงเส้นเดียวเหลือไฟฟ้ามาแค่ 2 เฟสเท่านั้น อาจเกิดการเสียหายไหม้ขึ้นที่มอเตอร์ 3 เฟสได้ หลักการทำงานของเซอร์กิตเบรกเกอร์จะทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็ก เมื่อมีกระแสไฟฟ้าในวงจรไหลเข้ามามากๆ สนามแม่เหล็กจะดึงสวิตซ์ให้ตัดวงจรออก และบางแบบจะมีตัวป้องกันกระแสเกินขนาดด้วยความร้อนต่อร่วมมาด้วยโดยอาศัยการที่มีกระแสไหลผ่านความต้านทานของตัว ไบเมตอลลิก (bimetallic) (ไบเมตอลลิก เป็นโลหะที่ขยายตัวเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและหดตัวเมื่ออุณภูมิต๋ำลง) เมื่อกระแสไหลผ่านมากจะเกความร้อนมาก ตัวไบเมตอลลิกจะขยายตัวดึงให้สวิตซ์ตัดวงจรออก เราใช้ตัวอักษรย่อแทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ด้วย CB
ฟิวส์ (fuse) เป็นอุปกรณ์ป้องกันที่ใช้จำกัดกระแสไฟฟ้าสูงสุดในวงจร เมื่อกระแสเกินค่าจำกัดฟิวส์จะเกิดความร้อนมากขึ้นจนกระทั่งหลอมละลายขาดจากกัน วงจรก็จะเปิด ฟิวส์จะต้องอย่างอนุกรมกับวงจร
หม้อแปลง (transformer) : เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้นหรือต่ำลง เพื่อให้ตรงกับแรงดันที่ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ เช่น มีเครื่องซักผ้าแรงดัน 110 โวลต์ แต่มีไฟฟ้าแรงดัน 220 โวลต์ เราก็ต้องใช้หม้อแปลงแรงดัน 220 โวลต์ ให้เป็นแรงดัน 110 โวลต์ จึงจะใช้เครื่องซักผ้าได้ นอกจากนี้เรายังนิยมใช้หม้อแปลงกับเครื่องติดต่อภายใน และระบบเสียงกริ่งเรียก เป็นต้น
เฟส (phase) : หมายถึงชนิดของระบบไฟฟ้าที่ใช้มีทั้งระบบ 1 เฟส 2 สาย แล 3 เฟส 4 สาย อุปกรณ์ไฟฟ้า 1 เฟส 2 สาย จะใช้ตามบ้านที่อยู่อาศัย ส่วนระบบไฟฟ้า 3 เฟส 4 สาย นิยมใช้กับธุรกิจใหญ่กับโรงงานอุตสาหกรรม

 

แหล่งที่มา : nsru.ac.th

อัพเดทล่าสุด