https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น ม.5 การทดลองหน้าที่ของลำต้น MUSLIMTHAIPOST

 

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น ม.5 การทดลองหน้าที่ของลำต้น


952 ผู้ชม


โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น ม.5 การทดลองหน้าที่ของลำต้น

 

 

โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้นพืช

ลำต้นเป็นโครงสร้างของพืชที่เจริญถัดขึ้นมาจากราก ลำต้นมีข้อปล้องบริเวณข้อจะมีใบ ที่ซอกใบมีตาลำต้นทำหน้าที่ชูกิ่ง ใบ ดอก ผล และทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ธาตุอาหาร และน้ำ
- เนื้อเยื่อบริเวณปลายยอด (apical meristem) เป็นบริเวณปลายสุดของลำต้น เซลล์บริเวณนี้จะมีการแบ่งตัวตลอดเวลา
ลำต้นอ่อน
- ลำต้นอ่อน (young stem) อยู่ถัดจากตำแหน่งใบเริ่มเกิดลงมาลำต้นส่วนใต้ใบอ่อนก็ยังเป็นลำต้นระยะยังเจริญไม่เต็มที่ กล่าวคือ เซลล์บางบริเวณอาจพัฒนาไปจนเจริญเต็มที่แล้วระดับหนึ่ง แต่บางบริเวณยังแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนและขยายขนาดต่อไปได้อีก

เนื้อเยื่อทั้งหมดที่ศึกษาจากปลายยอดพืชนี้ ยังจัดอยู่ในระยะการเจริญเติบโตขั้นต้นคือ เจริญต่อเนื่องมาจากเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ซึ่งเป็นต้นกำเนิด
การเจริญเติบโตขั้นต้น
การเจริญเติบโตขั้นต้น (primary growth) ของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ที่บริเวณปลายยอดหรือปลายกิ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย หรือ เอพิคอล เมอริสเต็ม (apical meristem) ซึ่งมีการแบ่งเซลล์ตลอดเวลาทำให้เนื้อเยื่อส่วนปลายถูกดันให้ยืดยาวออกไปเรื่อย ส่วนที่เกิดจากเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายแบ่งเซลล์ออกมา
กลายป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นต้น
เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายแบ่งเซลล์ออกมา กลายป็นเนื้อเยื่อเจริญขั้นต้น ซึ่งแยกออกเป็น 3 บริเวณ คือ โพรโทเดิร์ม (protoderm) กราวด์ เมอริสเต็ม (ground meristem) และโพรแคมเบียม (procampium) ซึ่งเนื้อเยื่อเจริญทั้ง 3 บริเวณนี้จะเปลี่ยนแปลงต่อไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรขั้นต้น(primary permanent tissue)โดย
- โพรโทเดิร์ม เปลี่ยนเป็น เอพิเดอร์มิส (epidermis)
- กราวด์ เมอริสเต็ม เปลี่ยนเป็น คอร์เทกซ์ (cortex) พิช (pith) และพิชเรย์ (pith ray)
- โพรแคมเบียน เปลี่ยนเป็น โฟลเอมขั้นต้น (primary phloem) ไซเลมขั้นต้น (primary xylem) และวาสคิวลาร์ แคมเบียน (vascular cambium)
โครงสร้างภายในของลำต้นเมื่อตัดลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่และลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตามขวาง จะประกอบด้วยชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆ
เช่นเดียวกับในราก
1. เอพิเดอร์มิส (epidermis) อยู่ชั้นนอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ผิวเรียงเป็นแถวเดียว เซลล์บางเซลล์อาจ
เปลี่ยนไปเป็นขน ผิวด้านนอกของเซลล์นี้จะมีสารคิวทินเคลือบอยู่
2. คอร์เทกซ์ (cortex) เป็นเซลล์ที่อยู่ถัดจากเอพิเดอร์มิสเข้ามา ประกอบด้วยเซลล์หรือเนื้อเยื่อหลายชนิด
ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมา (parenchyma) และมีคอลเลงคิมา (collenchima) อยู่ใต้ผิวหรืออยู่ตามสันของลำต้น
3. สตีล (stele) สำหรับในพืชใบเลี้ยงคู่สตีลจะกว้างมากและแบ่งแยกจากชั้นคอร์เทกซ์ได้ไม่ชัดเจน ประกอบด้วย
3.1 มัดท่อลำเลียง (vascular bundle) อยู่เป็นกลุ่มๆ เรียงตัวในแนวรัศมีเดียวกันรอบลำต้น เซลล์ด้านในเป็นไซเลมด้านนอกเป็นโฟลเอม
3.2 วาสคิวลาร์เลย์ (vascular ray) เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่อยู่ระหว่าง
มัดท่อลำเลียง เชื่อมต่อระหว่างคอร์เทกซ์และพิช
3.3 พิธ (pith) อยู่ชั้นในสุดเป็นไส้ในของลำต้นประกอบด้วยเนื้อเยื่อพาเรงคิมาทำหน้าที่สะสมแป้งหรือสารต่างๆ

สำหรับลำต้นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ชั้นของเนื้อเยื่อต่างๆคล้ายกับในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่ต่างกันตรงที่มัดท่อ
ลำเลียงในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะกระจายอยู่ทั่วไป ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียมคั่นระหว่างไซเลมกับโฟลเอม ในพืช
บางชนิดพิชจะสลายไปกลายเป็นช่องกลวงอยู่ใจกลางลำต้น เรียกว่า ช่องพิช (pith cavity) พบในบริเวณปล้อง
เช่น ลำต้นของหญ้า และไผ่ แต่บริเวณข้อยังคงมีพิธอยู่
การเจริญเติบโตขั้นที่สองของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ (secondary growth)
- พืชใบเลี้ยงคู่ที่มีเนื้อไม้เป็นการเจริญเติบโตเพื่อขยายขนาดทางด้านข้าง โดย วาสคิวลาร์ แคมเบียม ซึ่งอยู่ระหว่างไซเลมกับโฟลเอม มีการแบ่งเซลล์เกิดเป็นไซเลมขั้นที่สองทางด้านในและสร้างเนื้อเยื่อโฟลเอมขั้นที่สองเพิ่มขึ้นทางด้านนอก ในการแบ่งเซลล์ได้ไซเลมขั้นที่สองจะเกิดขึ้นเร็วกว่าการเกิดโฟลเอมขั้นที่สอง
ประมวลภาพกิจกรรมการทดลอง

แหล่งที่มา : nokjibjibs.wordpress.com 

อัพเดทล่าสุด