https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หน้าที่ของครู บทบาทหน้าที่ของครูที่ดี หน้าที่ของครู ld MUSLIMTHAIPOST

 

หน้าที่ของครู บทบาทหน้าที่ของครูที่ดี หน้าที่ของครู ld


1,320 ผู้ชม


หน้าที่ของครู บทบาทหน้าที่ของครูที่ดี หน้าที่ของครู ld

 



บทบาทของครูในทัศนะอิสลาม
 
     
     
     
  เป็นครูที่ง่ายๆ หมายความว่า เป็นครูที่สอนสิ่งที่ง่ายๆ หรือสอนสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งง่าย และหมายถึง ครูที่มีความเรียบง่าย ดูแลเอาใจใส่ลูกศิษย์ ให้ความเมตตาต่อลูกศิษย์โดยเสมอกัน  
      

     อิสลามได้ให้ความสำคัญยิ่งต่อการศึกษาหาความรู้ซึ่งถือเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การศรัทธาและการปฏิบัติตนเพื่อแสดงความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยความสำคัญของการศึกษา อิสลามจึงยกย่องและให้เกียรติแก่ผู้ศึกษาหาความรู้ และปราชน์ผู้ให้ความรู้หรือครูผู้สอน ดังหลักฐานจาก อัลกรุอ่านและอัลฮาดีษ ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า "และผู้เดินทางแสวงหาความรู้ พระผู้เป็นเจ้าจะทำให้ง่ายขึ้นสำหรับเขาหนทางไปสู่ทรวงสวรรค์" 
(รายงานโดย อาบูฮูรอยเราะฮฺ มุสลิม อิบนุมาญะฮฺ ติรมิซี)
     ครูให้อะไรแก่ศิษย์ ? 
1) ให้ความรู้ ความรู้ที่จะยังประโยชน์แก่ศิษย์ในฐานะผู้รับ และแก่ตัวครูเองในฐานะผู้ให้ ทั้งในดุนยา และอาคิเราะห์ ความรู้ที่ครูได้ถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ คือความรู้ที่ยังประโยชน์ เมื่อศิษย์ได้รับประโยชน์จากความรู้ อัลลอฮฺ(ซบ.)จึงให้ประโยชน์ดังกล่าวแก่ครูเช่นเดียวกัน 
2) ให้โอกาส ครูต้องให้โอกาสศิษย์เสมอในการศึกษาเล่าเรียน เพราะการศึกษาเล่าเรียนไม่มีคำว่าสาย เมื่อโอกาส และจังหวะของชีวิตแต่ละคน อัลลอฮฺ(ซบ.)ทรงกำหนดให้ไม่เหมือนกัน ครูจึงไม่ควรปิดกั้นโอกาสของศิษย์ ไม่ว่าด้วยกรณีใดๆ
3) ให้ความคิด นอกจากความรู้ที่ครูจะต้องถ่ายทอดให้แก่ศิษย์โดยไม่ปิดบังแล้ว ครูจะต้องให้ความคิดแก่ศิษย์ด้วย คือให้ศิษย์คิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปขยายต่อ หรือนำไปประยุกต์ใช้ในภาวะต่างๆได้ ครูจึงไม่ใช่ครูสอนหนังสือ แต่เป็นครูสอนคน และสอนคนให้เป็นมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนา 
4) ให้ชีวิต ครูเป็นผู้ให้ชีวิต ในที่นี้หมายถึง ให้จิตวิญญาณ และอุดมการณ์ ซึ่งเป็นสารัดถะสำคัญของชีวิต นักเรียน นักศึกษาหลายคนที่ประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากมีครูที่ให้อุดมการณ์ และให้จิตวิญญาณแก่ศิษย์ จนสามารถยึดเป็นหลักในการต่อสู้ และฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆของชีวิตได้ 
5) ให้กำลังใจ ครูต้องเป็นผู้ให้กำลังใจศิษย์ โดยเฉพาะเมื่อศิษย์เกิดความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ หรือหมดหวัง การให้กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่ครูไม่ควรมองข้าม กำลังใจเปรียบเหมือนยาหอมที่ชโลมใจให้รู้สึกสดชื่นอยู่เสมอ ศิษย์หลายคนที่เคยท้อแท้ในชีวิต แต่เมื่อได้กำลังใจจากครูก็กลับฮึดสู้จนประสบความสำเร็จได้ 
6) ให้อภัย ครูต้องให้อภัยศิษย์เสมอ ไม่ว่าศิษย์จะทำความผิดมากน้อยเพียงใด การให้อภัยเป็นคุณธรรมที่สำคัญยิ่งของผู้ที่เป็นครู หากครูเป็นพ่อ ลูกศิษย์ก็คือลูก เมื่อลูกทำอะไรที่ผิดพลาด พ่อควรว่ากล่าวตักเตือนด้วยความเอ็นดู ควรให้อภัย และให้โอกาส ครุคือผู้เติมเต็ม “ศิษย์ทุกคนที่เราสอนล้วนมีความรู้ โดยเฉพาะความรู้ที่ครูไม่รู้ ครูกับศิษย์จึงรู้กันคนละอย่าง มีความถนัดกันคนละอย่าง ดังนั้นครูจึงมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเติมเต็ม และต่อยอดความรู้ที่เรายังขาดกันคนละอย่าง” คำอธิบายนี้ทำให้ผมนึกถึงระบบครูกับศิษย์ในกระบวนการถ่ายทอดหะดิษในอิสลาม กล่าวคือ ในการรายงานหะดิษนั้น ครูกับศิษย์จะทำหน้าที่เป็นผู้เติมเต็มให้กันและกัน ครูจะให้รายงาน (หะดิษ) แก่ศิษย์ ในขณะที่ศิษย์ก็จะให้รายงาน (หะดิษที่ครูไม่มี) แก่ครู ครูจึงเป็นทั้งครูทั้งศิษย์โดยทำหน้าที่เติมเต็มให้แก่กัน 


     ครูเติมเต็มอะไรให้แก่ศิษย์ ? 
1) เติมเต็มความรู้ หมายถึง เติมเต็มความรู้ที่ศิษย์ไม่เคยรู้มาก่อน หรือเคยรู้มาอย่างผิดๆ หรืออย่างขาดๆ เกินๆ ครูต้องเป็นผู้เติมเต็มส่วนนี้ให้แก่ศิษย์ ขณะเดียวกันศิษย์ก็อาจเติมเต็มส่วนนี้ให้แก่ครูเช่นเดียวกัน เป็นไปตามทฤษฎีข้างต้นที่บอกว่า “เรารู้กันคนละอย่าง” 
2) เติมเต็มประสบการณ์ ครูมิใช่เป็นผู้เติมเต็มเฉพาะความรู้เท่านั้น แต่ครูจะต้องเติมเต็มประสบการณ์ให้แก่ศิษย์ด้วย ประสบการณ์ที่ครูถ่ายทอดให้แก่ศิษย์จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และอาจมากกว่าความรู้ด้วยซ้ำไป ครูจึงไม่ควรหวงประสบการณ์ แต่ควรเติมในส่วนที่ศิษย์ยังขาดอยู่ และศิษย์ก็มีส่วนช่วยเติมในส่วนที่ครูขาดอยู่เช่นเดียวกัน 
3) เติมเต็มสติปัญญา ครูได้ชื่อว่าเป็นผู้จุดประกายสติปัญญาให้แก่ศิษย์ ให้ศิษย์คิดเป็น ทำเป็น และรู้จักใช้สติปัญญาไปในทางที่ถูกต้อง และครูยังได้ชื่อว่าเป็นผู้เติมเต็มสติปัญญาให้แก่ศิษย์อีกด้วย เนื่องจากพัฒนาการของสติปัญญานั้นจำต้องอาศัยแบบฝึกหัดต่างๆจากครู เพื่อสติปัญญาจะได้รับการพัฒนาไปสู่จุดที่สมบูรณ์ และสุกงอมที่สุด ครูคือผู้มีเมตตา ความเมตตาเป็นคุณธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของครูที่จะขาดเสียมิได้ ครูที่สอนศิษย์ด้วยความเมตตาจะอยู่ในดวงใจของศิษย์ทุกคน และที่สำคัญคือ ครูจะได้รับความเมตตาจากอัลลอฮฺ(ซบ.) เป็นพิเศษ ดังหลักฐานจากหะดิษบทหนึ่งที่กล่าวไว้ว่า " ท่านจงเมตตาผู้อยู่ในโลก(มนุษย์)แล้วผู้อยู่บนฟ้า (อัลลอฮฺ) จะเมตตาท่าน (บันทึกโดยติรมิซียฺ ) 


     ใครบ้างที่ครูมีเมตตา ? 
1) เมตตาต่อศิษย์ ครูควรมีเมตตาต่อศิษย์ทุกคน และควรถือว่าศิษย์ทุกคนเป็นเสมือนลูก เสมือนหลาน ความเมตตาที่มีต่อศิษย์จะทำให้ครูมีความกระตือรือร้นในการสอน และสอนด้วยความสุข เพราะในดวงจิตของครูมีแต่ความปรารถนาดีที่ต้องการให้ศิษย์มีความรู้ และมีอนาคตที่ดีในภายภาคหน้า ครูที่มีเมตตาจะพูดกับศิษย์ด้วยคำพูดที่มีความไพเราะสุภาพ และอ่อนโยน และจะให้กำลังใจศิษย์อยู่เสมอ 
2) เมตตาต่อญาติ ครูควรมีเมตตาต่อญาติพี่น้องด้วยการช่วยเหลือ อนุเคราะห์ และสนับสนุนให้ทุกคนมีการศึกษา มีความก้าวหน้าในชีวิต และการงาน และช่วยเหลือในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทบาดหมางระหว่างเครือญาติ การมีเมตตาต่อญาติพี่น้อง จะทำให้ครูเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์และของคนทุกคน 
3) เมตตาต่อมิตร โดยธรรมชาติของอาชีพครู ครูจะมีแต่ผู้ที่เป็นมิตร ทั้งที่รู้จัก และไม่รู้จัก ดังนั้นครูจึงต้องมีเมตตาต่อมิตรทุกคน ด้วยการช่วยเหลือ การให้คำแนะนำ และอื่นๆ ตามอัตภาพ การมีเมตตาต่อมิตรจะบ่งบอกถึงการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของครู ทำให้ครูเป็นที่รักและเคารพแก่ศิษย์ แก่บุคคลทั่วไป 
4) เมตตาต่อศัตรู การมีเมตตาต่อศัตรูถือเป็นคุณธรรมขั้นสูงที่ครูทุกคนพึงมี เนื่องจากครูเป็นปูชนียบุคคล หมายความว่าเป็นบุคคลที่น่านับถือ ที่สำคัญคือครูเป็นตัวอย่างที่ดีของศิษย์ หากครูเป็นคนวู่วาม ใจร้อน และชอบผูกพยาบาท ครูก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีไม่ได้ การมีเมตตาต่อศัตรู คือการไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท และการให้อภัย ซึ่งทั้งหมดเป็นคุณธรรมอิสลามที่ท่านนบีมูฮัมหมัด(ซ.ล.)ได้ทำเป็นแบบอย่างไว้แล้วทั้งสิ้น 
5) เมตตาต่อคนทุกคน เมื่อครูคือผู้ที่มีหน้าที่อบรมสั่งสอน ครูจึงต้องมีความเมตตาต่อคนทุกคนโดยไม่เลือกชั้นวรรณะบทบาทของครูคือบทบาทของอุละมาอฺ (ผู้รู้) ในการเผยแพร่ เป็นบทบาทเดียวกับท่านนบีมูฮัมหมัด(ซ.ล.) ที่ถูกส่งมาเพื่อเป็นความเมตตาต่อชาวโลกทั้งมวล ดังที่อัลลอฮฺ(ซบ.)ตรัสว่า: “และเรามิได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใดนอกจากเพื่อเป็นความเมตตาต่อชาวโลกทั้งมวล (21 : 107) 
และท่านนบีมูฮัมหมัด(ซ.ล.) เป็นแบบอย่างของครูผู้มีเมตตาแก่คนทุกคน ท่านเคยกล่าวว่า: "แต่(อัลลอฮฺ)ได้ส่งฉันมาเป็นครู และเป็นครูที่ง่ายๆ” (บันทึกโดยอะห์หมัด) 
     คำว่า เป็นครูที่ง่ายๆ หมายความว่า เป็นครูที่สอนสิ่งที่ง่ายๆ หรือสอนสิ่งที่ยากให้เป็นสิ่งง่าย และหมายถึง ครูที่มีความเรียบง่าย ดูแลเอาใจใส่ลูกศิษย์ ให้ความเมตตาต่อลูกศิษย์โดยเสมอกัน


แหล่งที่มา : thaimuslim.com

อัพเดทล่าสุด