https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืช ลักษณะ ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชแลพเซลล์สัตว์ MUSLIMTHAIPOST

 

หน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืช ลักษณะ ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชแลพเซลล์สัตว์


629 ผู้ชม


หน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืช ลักษณะ ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชแลพเซลล์สัตว์

 

โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์

เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ถึงแม้จะมีลักษณะและรูปร่างแตกต่างกัน  ขึ้นอยู่กับชนิดและ
การทำหน้าที่ของเซลล์  แต่ก็มีโครงสร้างพื้นฐานหรือส่วนประกอบที่สำคัญภายในเซลล์
คล้ายคลึงกัน  ดังภาพ

 

 

โครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่คล้ายกัน  คือประกอบด้วย  3  ส่วนใหญ่ ๆ ดังนี้

  1. ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์
  2. ไซโทพลาซึม
  3. นิวเคลียส

 

ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์


ประกอบด้วย   2  ส่วน  คือ  ผนังเซลล์  และเยื่อหุ้มเซลล์
                1.    ผนังเซลล์  (cell  wall)  เป็นผนังแข็งแรงอยู่ชั้นนอกสุด  มีลักษณะเป็นรูพรุนยอมให้สารผ่านเข้าออกได้สะดวก  ประกอบขึ้นจากสารเซลลูโลส (cellulose) เป็นสำคัญ  ช่วยให้เซลล์พืชแข็งแรงทนทานอยู่ได้นานนับปี  แม้ว่าเซลล์อาจตายไปแล้วก็ตาม  และถ้านำเซลล์พืชแก่  ๆ ไปแช่ในน้ำกลั่น  เซลล์ก็จะไม่แตก  เพราะผนังเซลล์มีแรงต้านสูง   ส่วนเซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้  ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น  เปลือกกุ้ง  กระดองปู  มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน  ( glycoprotein)  เซลล์ของพวกไดอะตอม  มีสารเคลือบเป็นพวกซิลิกา  สารเคลือบเหล่นนี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้
                2.    เยื่อหุ้มเซลล์  ( cell  membrane  หรือ  plasma  membrane)   อยู่ถัดจากผนังเซลล์เข้ามา  มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ เหนียว
  ประกอบด้วยสารประเภทไขมันและโปรตีน รวมกัน  เรียกว่า  

ไลโพโปรตีนเยื่อหุ้มเซลล์มีรูเล็กๆสามารถจำกัดขนาดของสารที่ผ่านเข้าออกได้ 

จึงมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่านซึ่งสารขนาดเล็กผ่านได้ ส่วนสารขนาดใหญ่ผ่านไม่ได้

เป็นตัวควบคุมปริมาณและชนิดของสารบางอย่างเช่น อาหาร อากาศ 

และสารละลายเกลือแร่ต่างๆ  และยังแสดงขอบเขตของเซลล์

และห่อหุ้มส่วนประกอบในเซลล์

 

 

 

 

 

 

ไซโทรพลาซึม (cytoplasm)

 

ไซโทพลาซึม  ประกอบด้วยของเหลวซึ่งเป็นสารประกอบหลายชนิดรวมทั้งอวัยวะของเซลล์หรื์ อออร์แกเนลล(organelle)  ต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน  ที่สำคัญ ได้แก่
               ไมโทคอนเดรีย  (mitochondria)  มีหน้าที่เผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงาน ATP  ให้แก่เซลล์ (การหายใจของเซลล์)  พบมากในเซลล์กล้ามเนื้อ  เซลล์ประสาท  และเซลล์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสิ่งขับถ่าย
                ไลโซโซม ( lysosomes)  มีลักษณะคล้ายถุงเล็ก ๆ ภายในมีเอนไซม์สำหรับย่อยสารต่าง ๆ เช่น คาร์โบไฮเดรต  ไขมัน  โปรตีน  ฟอสโฟไลพิด และสิ่งที่เซลล์ไม่ต้องกัน
                 ร่างแหเอนโดพลาซึมหรือเอนโดพลาสมิกเรติคิวลัม (endoplasmic 
reticulum)  ทำหน้าที่ขนส่งลำเลียงสิ่งต่าง ๆ ภายในเซลล์ไปยังเซลล์ข้างเคียง
                 กอลจิคอมเพลกซ์ ( golgi complex)  หรือกอจิบอดี (golgi bodies)  ทำหน้าที่สะสมโปรตีนเพื่ออัดแน่นส่งออกนอกเซลล์
                 คลอโรพลาสต์ (chloroplast)  พบเฉพาะในเซลล์พืช  ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง  เนื่องจากเป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์  (chlorophyll)
                 ไรโบโซม( ribosome)  ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนในเซลล์
                  เซนทริโอล (centriole)  พบเฉพาะในเซลล์สัตว์  ทำหน้าที่ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเคลื่อนที่ของโครโมโซมของสัตว์
                 แวคิวโอล (vacuole) พบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์  มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช  ทำหน้าที่เก็บอาหารของเสีย  และเป็นที่พักอาหารก่อนเข้าสู่ไซโทพลาซึ

 

นิวเคลียส (nucleus)  


                                 นิวเคลียส  เป็นส่วนที่สำคัญของเซลล์  โดยทั่วไปเซลล์จะมี  1  นิวเคลียสยกเว้นในเซลล์บางชนิด  เช่น  เซลล์พารามีเซียมมี  2  นิวเคลียส  เป็นต้น  นิวเคลียสเป็นโครงสร้างของเซลล์ที่เด่นชัดมากอาจจะอยู่ตรงกลางเซลล์  หรือค่อนไปข้างใดข้างหนึ่งของเซลล์ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่  
                                นิวเคลียสประกอบด้วยโครงสร้าง  2  ส่วน  คือ 
              1   เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear  membrane)  เป็นเยื่อหุ้ม  2  ชั้น  มีรูอยู่มากมายที่เรียกว่า  นิวเคลียร์พอร์ (nuclear  pores)  ทำหน้าที่เป็นทางติดต่อกับร่างแหเอนโดพลาซึม  เพื่อแลกเปลี่ยนสารระหว่างนิวเคลียสกับไซโทพลาซึม

              2.   สารในนิวเคลียส (nucleoplasm) เป็นส่วนที่อยู่ภายในนิวเคลียสทำหน้าที่เป็นตัวกลางสำหรับเกิดปฏิกิริยา

เคมีต่างๆประกอบด้วย

                             นิวคลีโอลัส (nucleorus)  ประกอบด้วยสาร RNA  และ  DNA  เป็นส่วนใหญ่  ทำหน้าที่สร้างไรโบโซม
                             โครมาทิน ( chromatin)  เป็นเส้นใยเล็ก ๆ  ยาว ๆ ขดไปมาเป็นร่างแห  เมื่อหดตัวสั้น ๆ และหนาขึ้นเรียกว่า  โครโมโซม (chromosome) ซึ่งประกอบด้วยโปรตีนและ DNA หรือที่เรียกว่า  ยีน (Gene)  และโปรตีนหลายชนิดบน  DNA  จะมีรหัสพันธุกรรมทำหน้าที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต

                                               

                นิวเคลียสมีหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทาง

                                               

พันธุกรรมจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานและควบคุมกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของเซลล์  เช่นกระบวนการแบ่งเซลล์   การสังเคราะห์โปรตีน  การสังเคราะห์เอนไซม์เป็นต้น

 

หน้าที่ของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ลักษณะโครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์พืช ลักษณะ ส่วนประกอบและหน้าที่ของเซลล์พืชแลพเซลล์สัตว์

โครงสร้างพื้นฐานของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

 

ตารางสรุปความแตกต่างระหว่างเซลล์พืชและเซลล์สัตว์

เซลล์พืช เซลล์สัตว์

1.  โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเหลี่ยม 
2.   มีผนังเซลล์อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์
3.   มีคลอโรพลาสต์ 
4.   ไม่มีเซนทริโอล 
5.   มีแวคิวโอลขนาดใหญ่

6.  ไม่มีไลโซโซม

1.  ส่วนใหญ่มีลักษณะกลมหรือรี 
2.   ไม่มีผนังเซลล์    มีเฉพาะเยื่อหุ้มเซลล์
3.   ไม่มีคลอโรพลาสต์ 
4.   มีเซนทริโอล 
5.   มีแวคิวโอลขนาดเล็ก

6.  มีไลโซโซม

 


แหล่งที่มา : ratchanee.thport.com

อัพเดทล่าสุด