https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ หน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย คือ MUSLIMTHAIPOST

 

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ หน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย คือ


1,233 ผู้ชม


โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ หน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย คือ

 

      ระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nervous system)

            ระบบประสาทชนิดนี้มีการทำงานที่เป็นอิสระอยู่นอกอำนาจจิตใจ (Involuntary) ระบบประสาทอัตโนมัติจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน (Visceral organs) ของร่างกายให้อยู่ในสภาพปกติ เช่นการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac muscle) กล้ามเนื้อเรียบ การทำงานของต่อมต่างๆ ทั่วร่างกาย 
หน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ 

ระบบประสาทอัตโนมัติ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของโครงสร้างของอวัยวะต่างๆ ที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ ได้แก่
     1. กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle) ของอวัยวะต่างๆ
     2. กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle )
     3. ต่อมต่างๆ (secretory glands)
โครงสร้างของระบบประสาทอัตโนมัติ 
     ระบบประสาทอัตโนมัติ ประกอบไปด้วยเซลล์ประสาท 2 เซลล์ ได้แก่
     1 เซลล์ประสาทตัวแรกที่มีเส้นประสาทออกจากก้านสมอง (brain stem) และไขสันหลัง (spinal cord) ไปซินแนปส์กับเซลล์ประสาทตัวที่สองที่ปมประสาท (ganglion) นอกระบบประสาทส่วนกลาง เรียกว่า preganglionic neuron 
     2 เซลล์ประสาทตัวที่สองจะไปเชื่อมต่อกับอวัยวะเป้าหมาย (effector organ) เรียกว่า postganglionic neuron
ระบบประสาทอัตโนมัติ นี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
   1.ระบบประสาท sympathetic เป็นระบบประสาทที่มีใยประสาทมาจากไขสันหลังส่วนอก และ ส่วนเอวตอนต้น (Thoracolumbar) แต่มีศูนย์กลางที่เป็นกลุ่มเซลล์ใน lateral horn ของ gray matter ในไขสันหลัง จากศูนย์กลางนี้จะมีใยประสาท (Preganglionic fibers) ไปสู่ปมประสาท คือ sympathetic ganglion ที่อยู่ด้านข้าง และ ด้านหน้าของกระดูกสันหลัง และปมประสาท sympathetic ganglion นี้ จะให้ใยประสาท (Postganglionic fibers) ออกไปควบคุมการทำงานอวัยวะต่างๆ 
      ระบบประสาท sympathetic เป็นระบบประสาทของการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่เกิดขึ้นทันทีทันใด หรือ ขณะตื่นเต้น เช่น ในการต่อสู้กับศัตรู การทำงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือในระยะที่เกิดการป่วยไข้ ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ม่านตาขยาย เป็นต้น

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ หน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย คือ

รูปแสดง ระบบประสาทอัตโนมัติ 
ที่มา Frederich H. Martini. Edwin F. Bartholomew. Essentials of anatomy and physiology. U.S.A., Prentice-Hall , Inc. 1997.

    2. ระบบประสาท parasympathetic (Cranio sacral divison) เป็นแขนงที่มีต้นตอมาจาก สมองบริเวณ Midbrain, pons, และ medulla oblongata รวมทั้งไขสันหลังบริเวณก้นกบ (Sacral region) เป็นระบบประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการสะสมพลังงาน ควบคุมการทำงานของอวัยวะภายใน เส้นเลือดและต่อมต่าง ๆ ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำงานได้ เช่น จะทำให้หัวใจเต้นช้าลง ช่วยในการเคลื่อนไหวของท่อทางเดินอาหารเพิ่มขึ้น ทำให้มีการย่อยและการดูดซึมอาหารมากขึ้น เพื่อเป็นการซ่อมแซมและสร้างพลังงานสำหรับร่างกายไว้ใช้

โครงสร้างและหน้าที่ของระบบประสาทและระบบต่อมไร้ท่อ หน้าที่ของระบบประสาทอัตโนมัติ หน้าที่ของระบบประสาทส่วนปลาย คือ

รูปแสดง ระบบประสาท Parasympathetic
ที่มา
 Frederich H. Martini. Edwin F. Bartholomew. Essentials of anatomy and physiology. U.S.A., Prentice-Hall , Inc. 1997.

      อวัยวะในร่างกายส่วนใหญ่จะมีระบบประสาททั้งสองนี้ไปเลี้ยง โดยระบบประสาททั้งสองนี้จะทำงานตรงกันข้ามกัน เพื่อให้เกิดการสมดุลเหมาะสมที่ร่างกายจะสามารถดำรงค์ชีวิตอยู่ได้
อวัยวะที่ระบบประสาทอัตโนมัติไปเลี้ยง (innervation) 

     1. อวัยวะที่มีเฉพาะเส้นประสาทพาราซิมพาเทติกไปเลี้ยง ได้แก่
        - ต่อมพาโรติด (parotid gland)
        - ต่อมน้ำตา (lacrimal gland)
        - nasopharyngeal glands 
     2. อวัยวะที่มีเฉพาะเส้นประสาทซิมพาเทติกไปเลี้ยง ได้แก่ 
        - ต่อมเหงื่อ (sweat glands)
        - ต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla)
        - กล้ามเนื้อขน (erectors pili muscle)
        - กล้ามเนื้อเรียบของหลอดเลือด
    3. อวัยวะที่มีเส้นประสาทอัตโนมัติทั้ง 2 ชนิด ไปเลี้ยง ได้แก่ 
        - ต่อมน้ำลาย (salivary glands)
        - หัวใจ
        - ปอด (กล้ามเนื้อเรียบของหลอดลม)
        - อวัยวะภายในช่องท้องและอุ้งเชิงกราน

แหล่งที่มา : bcnlp.ac.th

อัพเดทล่าสุด